เคยถามเพื่อนคนหนึ่งที่ทำงานราชการว่า งบประมาณต่อปีเนี้ยใช้แล้วเหลือเยอะแบบเอกชนไม่ดีเหรอเผื่องบประมาณปีหน้ามาเพิ่มอีกจะได้เอาไปใช้ประโยชน์ทางอื่นได้อีก แต่คำตอบที่ได้กลับมาคือต้องใช้ให้หมดเลยไม่งั้นปีหน้าจะไม่ได้งบ แล้วก็ถามกลับอีกทีว่า ถ้างบมันเหลือล่ะจะทำยังไง แต่ก็ไม่มีคำตอบกลับมา

แบบนี้ก็มีเน๊อะประเทศไทย
นี้น่าจะเป็นคำตอบว่าทำไมเขาชอบทำถนนช่วงฤดูฝน เพราะมันจะสิ้นปีงบประมาณมั้งครับ
เลยต้องรีบใช้เงินที่กันไว้ให้หมด ไม่เช่นนั้นก็ต้องคืนเงินกลับไปต้นสังกัดส่วนกลาง
แทนที่เงินจะลงสู่ท้องถิ่นทั้งหมด ก็ต้องย้อนกลับไปส่วนกลาง เลยต้องใช้เงินให้หมดเป็นปีๆไปครับ
ส่วนการใช้เงิน ส่วนราชการต้องจัดทำแผนหรือโครงการ และใช้เงินตามแผนหรือโครงการที่วางไว้ ปลายปีงบ โครงการไหนยังไม่ได้ใช้เงิน ก็ต้องรีบดำเนินโครงการเพื่อใช้เงินให้หมดครับ เพื่อให้เงินงบลงสู่ท้องถิ่นให้มากที่สุด (ไม่ต้องส่งคืนส่วนกลาง)
ผมคิดว่าบางทีถ้าเราเข้าใจผิด หรือไม่ทราบรายละเอียด
ก็อาจจะไม่เป็นธรรมกับหน่วยงานรัฐนะครับ
ผมไม่ได้เป็นข้าราชการท้องถิ่น แต่ก็พอรู้รายละเอียดในการใช้งบประมาณแผ่นดินบ้างเล็กน้อย
การใช้งบประมาณคงไม่ถูกต้องทั้งหมดตามที่กล่าวมานะครับ
และก็คงไม่มีหน่วยงานไหนที่ชอบทำงานหน้าฝนนะครับ
งบประมาณแผ่นดินของเราเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี สิ้นสุด 30 กันยายน ของปีถัดไป
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันที่เริ่มใช้งบประมาณแผ่นดิน
การจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ ก็จะเริ่มขึ้น ตามแผนที่วางไว้ของแต่ละหน่วยงาน
โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ เช่นถนนตามที่ท่านว่า
ซึ่งขั้นตอนจะเริ่มตั้งแต่ 1.ขออนุมัติผู้บริหารหน่วยงานในการดำเนินการ
2. การตั้งคณะกรรมการร่าง TRO หรือข้อกำหนดในการจ้าง
3. การตั้งกรรมการเปิดซอง ซึ่งปัจจุบันงบประมาณเกิดน 2 ล้านบาท
ต้องดำเนินการโดยวิธีประมูลด้วยระบบ-อิเล็กทรอนิกส์ ( e-Auction )
4.ต้องสรรหาตลาดกลางในการประมูล เช่น ของ TOT หรือของเอกชน
5.แต่งตั้งกรรมการตรวจการจ้าง ผู้ควบคุมงาน
6.ระเบียบพัสดุ และสำนักงบประมาณได้กำหนดว่าการจัดซื้อ-จ้าง
ทุกรายการต้องประกาศราคาให้ผู้รับจ้างทราบ และเปิดเผยต่อสาธารณะ
7.เมื่อคณะกรรมการร่าง TOR เสร็จ ต้องเอาไปประกาศลงในตลาดกลาง
เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบและวิจารณ์ TOR ซึ่งใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน
หากมีผู้ยื่นคัดค้านหรือทักท้วง คณะกรรมการก็ต้องนำกลับมาพิจารณาใหม่
และนำไปประกาศใหม่ จนกว่าจะไม่มีผู้ทักท้วง
8.จากนั้นก็ประกาศขายซอง ซึ่งกำหนดระยะเวลา 15 หรือ 30 วัน เพื่อให้มีผู้มายื่นประมูล
9.เมื่อมีผู้ซื้อซอง กรรมการเปิดซองต้องประชุมชี้แจงผู้ประมูลทั้งหมด
กรณีมีผู้มายื่นซองรายเดียว ก็ต้องมีการยกเลิก และเริ่มขบวนการใหม่ เพราะถือว่าไม่มีการแข่งขัน
ซึ่งอาจใช้ระยะเวลามากกว่า 60 วัน
10.จากนั้นต้องเปิดซองเพื่อพิจารณาคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ตามระเบียบสำนักนายก
11.กรณีที่มีผู้ยื่นซองครบถ้วน ก็กำหนดวันเคาะราคา เพื่อหาผู้รับจ้าง
12.กรณีได้ผู้รับจ้าง ก็ต้องเรียกมาทำสัญญากับรัฐ พร้อมหลักประกันสัญญา
ในระยะเวลาที่กำหนด
13.มีการส่งมอบพื้นที่เพื่อเข้าปฏิบัติงาน ตามขั้นตอน
14.ผู้รับจ้างดำเนินการตามสัญญา
15.กรรมการตรวจรับมอบงานเมื่อสิ้นสุดสัญญา และผู้รับจ้างส่งมอบงาน
ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ใช้เวลาไม่น้อยว่า 3-4 เดือน กรณีที่หาผู้ประมูลไม่ได้อาจใช้เวลา 5-6 เดือน
และกว่าจะได้ผู้รับเหมาและเริ่มงานก็ ย่างเข้าหน้าฝน
นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมการก่อสรา้งโครงการต่างๆ จึงไปเริ่มช่วงปลายร้อนต้นฝน
และไปเสร็จเอาหลังฤดูฝน
ต่อกรณีที่ว่าเร่งใช้งบประมาณ ถ้าใช้ไม่ทันต้องคืน ขออธิบายอย่างนี้นะครับ
กรณีที่มีสัญญาเกิดขึ้นแล้ว ถือว่ามีการผูกพันงบประมาณ ไม่ต้องส่งเงินคืนสำนักงบ
จนกว่างานจะสิ้นสุด ซึ่งหากไม่เสร็จในปีงบประมาณนั้นๆ ก็ขออนุมัติกันเงินงบประมาณ
เพื่อเบิกจ่ายเหลื่อมปี กรณีโครงการนั้นสัญญาหลายปี เช่น 3 ปีเสร็จ
ก็ต้องขออนุมัติกันเงินงบประมาณเบิกจ่ายข้ามปี
หลังสิ้นสุดสัญญาทั้งหมดแล้วถึงจะส่งงบที่เหลือคืนสำนักงบประมาณครับ
ต่อข้อถามว่า งบประมาณเหลือเยอะดีหรือไม่ และจำเป็นต้องใช้งบให้หมดหรือไม่
1. การที่งบประมาณเหลือเยอะดีหรือไม่ ถ้างานออกมาได้ประสิทธิภาพ
ได้เนื้องานตามที่กำหนด มีมาตรฐาน แต่ประมูลได้ในราคาที่ต่ำ งบเหลือมาก ย่อมเป็นผลดีต่อรัฐ
2.จำเป็นต้องใช้งบให้หมดหรือไม่ แยก เป็น 2 ประเด็นคือ
ถ้าใช้ไม่หมดแต่งานดีตามข้อแรก ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ให้หมด
การที่เร่งใช้จ่ายเงินงบประมาณ ไม่ใช่ต้องใช้ให้หมดเพราะใช้ไม่หมดไม่ได้เงินไม่ใช่ครับ
สำนักงบประมาณมีข้อกำหนดในการใช้งบประมาณชัดเจน
กรณีที่ได้รับงบประมาณในสมัยนี้ ไม่ได้เงินมาทั้งหมด สำนักงบประมาณจะให้มาเป็นงวดๆ
การทำงานจึงต้องทำให้ได้ตามแผน ถ้างานล่าช้า งบประมาณในงวดต่อไปก็ยังไม่ได้รับ
อีกอย่าง การทำงานในปัจจุบันจะมีคำรับรองการปฏิบัติงาน ถ้าทำไม่ได้ตามแผนที่วางไว้
ถือว่าการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานก็ไม่มีประสิทธิภาพ
การพิจารณาความดีความชอบก็ว่ากันไปตามเนื้องานครับ
กรณีที่ใช้งบประมาณไม่หมด เพราะไม่เป็นไปตามแผน การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
ในปีต่อไปจะไม่ได้รับการจัดสรรงบเพิ่มเติม เนื่องจากงบเก่ายังใช้ไม่หมด
ไม่มีประสิทธิภาพ สำนักงบประมาณจึงไม่จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้ครับ
กรณีที่งบประมาณเหลือจ่ายต้องส่งคืนสำนักงบประมาณ เพื่อเป็นเงินสำรองแผ่นดินต่อไป
ส่วนประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละหน่วยงาน แต่ละที่แต่ละแห่ง
ไม่ขอก้าวล่วง เพราะจะให้ได้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมดคงเป็นได้ยาก
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคลากรทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารลงไปของหน่วยงานนั้นๆ ครับ