เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 15:34:32
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  สิ้นยุคทองยางพารา
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน สิ้นยุคทองยางพารา  (อ่าน 488 ครั้ง)
sabaidree
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 565


« เมื่อ: วันที่ 12 มกราคม 2014, 23:38:59 »

http://www.technologychaoban.com/news_detail.php?tnid=756&section=2

“ลดต้นทุน - เพิ่มรายได้”
คือ ทางออกของปัญหา
ทุกวันนี้ เกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่เป็นสวนยางขนาดเล็ก และเป็นการปลูกยางเชิงเดี่ยวมากกว่า ร้อยละ 50 ทำให้ไม่สามารถเพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางได้ ประกอบกับยางพาราไม่สามารถให้ผลผลิตได้ทุกวันตลอดปีภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ เช่น ฝนตก ต้นยางผลัดใบ หรือยางพาราอยู่ในช่วงที่ยังกรีดไม่ได้ หากเกษตรกรรายใดไม่รู้จักวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน หวังพึ่งพาปัจจัยภายนอกมากเกินไป ย่อมเสี่ยงเจอปัญหาขาดทุนอยู่ร่ำไป และอาจไม่มีช่องทางลืมตาอ้าปากได้
หากทิศทางราคายางในตลาดโลกยังคงอยู่ในช่วงขาลงต่อไป ทางออกในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดคือ หันมาพึ่งพาตัวเอง เริ่มจากลดค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนการผลิตและหาช่องทางเพิ่มรายได้ในสวนยางให้ได้มากที่สุด 
 
แก้จน ด้วย “ระบบ
วนเกษตรยางพารา” 
ทุกวันนี้ มีเกษตรกรชาวสวนยางจำนวนมากสนใจที่จะปรับตัวเข้าสู่ระบบเกษตรผสมผสานแบบไร่นาป่าผสม หรือที่รู้จักกันดี ในชื่อ “วนเกษตรยางพารา” ซึ่งเป็นระบบที่เน้นการจัดการสวนยางเป็นหลักร่วมกับการทำเกษตรทุกแขนง ทั้งการปลูกพืชเกษตรในสวนยาง การปลูกพืชเกษตรร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ในสวนยางพารา
ระบบวนเกษตรยางพารา แก้จนได้จริง เห็นได้จากกรณีศึกษาตัวอย่างและรายได้ของวนเกษตรยางพาราในภาคใต้ ของ “ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี และคณะ” ในช่วงที่ผ่าน ที่ได้ข้อสรุปว่า ระบบวนเกษตรสามารถทำได้ในทุกช่วงอายุของยางพารา ตั้งแต่ 1 ปีแรกไปจนสิ้นสุดการเก็บผลผลิตยาง ระยะแรกของการปลูกยาง เกษตรกรสามารถปลูกพืชอายุสั้นที่ต้องการแสงแดดมาก เป็นพืชแซมยางได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพืชผัก พืชคลุมดิน พืชล้มลุก เช่น พริก มะระ มะเขือ สับปะรด มันขี้หนู ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นพืชที่ปลูกง่าย ขายคล่อง เป็นที่ต้องการของตลาด เมื่อต้นยางมีอายุมากขึ้น และเปิดกรีดได้ เกษตรกรสามารถเพิ่มรายได้ในพื้นที่ด้วยการปลูกพืชร่วมยาง เช่น เหมียง หมากแดง กระพ้อ ดาหลา กระวาน เป็นต้น จะช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเฉพาะยางพาราอย่างเดียว

สำหรับสวนยางที่มีต้นยางพาราอายุมากและให้ผลผลิตน้ำยางน้อยลง เกษตรกรสามารถปลูกไม้ผลยืนต้นที่ตนเองสนใจ ก่อนการตัดต้นยางขายไม้ 2-5 ปี เช่น ปลูกลองกอง ปลูกมังคุด เป็นต้น เมื่อต้นไม้เหล่านี้โตในระดับที่ต้องการปริมาณแสงมากขึ้นเพื่อการเจริญเติบโต และเริ่มให้ผลผลิตได้ เกษตรกรสามารถตัดต้นยางเพื่อขายไม้ การวางแผนเพาะปลูกในลักษณะนี้จะไม่ขาดรายได้ เพราะขณะที่รอผลผลิตจากไม้ผลก็ยังมีรายได้จากการขายยางพารา และยังมีรายได้จากการตัดไม้ยางขายอีกด้วย
นอกจากการปลูกพืชร่วมและแซมในระยะปกติแล้ว (ระยะ 3x7 เมตร) ยังสามารถขยายระยะปลูกของยางพารา (ระยะ 6x2.5x14 เมตร) เพื่อปลูกพืชร่วมยาง ในพื้นที่เดียวกัน เช่น สะตอ มังคุด ลองกอง ทุเรียน เงาะ สะละ สะเดาเทียม ฯลฯ เพื่อลดความเสี่ยงจากราคายางพาราได้ สำหรับวนเกษตรยางพาราของภาคเหนืออาจจะปลูกพืชร่วมยางได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ลำไย ลิ้นจี่  มะแข่น มะม่วง มะขามหวาน ฯลฯ เพราะหากราคายางลดลงมากก็ยังมีรายได้จากพืชชนิดอื่น ทำให้เกิดการยืดหยุ่นในการประกอบอาชีพการปลูกในลักษณะพืชร่วมและพืชแซมในแปลงวนเกษตรยางพารา นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถปลูก สะเดาเทียม ไม้ไผ่  สะตอ ฯลฯ ในลักษณะเป็นแนวกันลมหรือเป็นขอบเขตรอบๆ แปลงยางพาราได้ เพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กล่าวได้ว่า ระบบวนเกษตรยางพารา เป็นระบบทางเลือกที่สามารถแก้ปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน ขอยกตัวอย่างชีวิตจริงของเกษตรกรคนเก่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ “พิราเชนทร์ มุสิกรังสี” โทรศัพท์ (081) 677-5185 ที่ปลูกยางพาราเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวมานานนับ 10 ปี ก็ได้ข้อสรุปว่า การทำสวนยาง เป็นพืชเชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว มีรายได้ไม่เพียงพอเลี้ยงครอบครัว ต้องปรับตัวเข้าสู่ระบบวนเกษตรยางพารา ทำให้มีฐานะและรายได้ที่มั่นคงขึ้น
เมื่อยางสวนเก่าถึงอายุตัดโค่น คุณพิราเชนทร์ ตัดสินใจปลูกยางใหม่ทดแทนแค่ 5 ไร่ ที่เหลืออีก 3 ไร่ นำมาใช้ปลูกพืชผสมผสาน ระหว่างที่รอเปิดกรีดยาง ก็ลงทุนปลูกพืชแซมในสวนยางอย่างต่อเนื่อง เช่น ฟักทอง ตะไคร้ มะละกอ พริก ฟักเขียว ปลูกผักพื้นบ้าน ไผ่หวาน หน่อไม้ฝรั่ง ช่วยเพิ่มรายได้แก่ครอบครัวในพื้นที่ที่มีอยู่เดิม
รวมทั้งลงทุนเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง โดยปล่อยให้สัตว์กินหญ้าในสวนยาง เช่น แพะ วัว สัตว์ปีก รวมทั้งเลี้ยงหมูหลุม นอกจากมีรายได้จากการขายเนื้อสัตว์และไข่ไก่แล้ว ยังได้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยคอกบำรุงต้นยางอีกทางหนึ่งด้วย ขณะที่เกษตรกรบางรายนิยมเลี้ยงผึ้งพันธุ์ Apis mellifera เพื่ออาศัยเก็บน้ำหวาน โดยวิธีย้ายรัง เพียงแค่นำรังผึ้งไปวางในสวนยางช่วงยางผลัดใบ โดยเลือกวางรังผึ้งในบริเวณที่มีความหลากหลายของพืช วัชพืช ไม้ผล หรือไม้ป่า โดยทั่วไปสวนยางพาราเนื้อที่ 1.4 ไร่ จะสามารถเลี้ยงผึ้งได้ จำนวน 1 รัง

เพาะเห็ดฟาง
เพิ่มรายได้ในสวนยาง
คุณวิทย์ หรือ “สุวิทย์ เพชรนิล” เกษตรกรชาวสวนยาง อาศัยอยู่ บ้านเลขที่ 51/3 หมู่ที่ 4 ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร. (084) 849-3865 คุณวิทย์ใช้พื้นที่สวนยางที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้เพิ่มโดยการเพาะเห็ดฟางด้วยทะลายปาล์มในสวนยาง ซึ่งเป็นการเกื้อกูลกันของพืช ต้นยางพาราสร้างร่มเงา และแสงแดดรำไรช่วยให้เห็ดเจริญเติบโตได้ดีขึ้น และเมื่อเห็ดหมดดอก ทะลายปาล์มจะกลายเป็นแหล่งอาหารอย่างดีของต้นยางพารา
คุณวิทย์ เล่าว่า ผมเห็นเพื่อนบ้านทดลองนำทะลายปาล์มมาเพาะเห็ดฟางแล้วมีรายได้ดี ในปีนี้ผมจึงทดลองเพาะเห็ดฟางดูบ้าง ก็ได้ผลดีจริงๆ ผมสั่งซื้อทะลายปาล์มมา 1 คันรถปิกอัพ ในราคา 1,100 บาท ซึ่งจะใช้เพาะเห็ดฟางได้ ประมาณ 30 ร่อง
ขั้นตอนแรก นำทะลายปาล์มมากองรวม หมักด้วยปุ๋ยยูเรีย ประมาณ 3 กิโลกรัม ฉีดน้ำ 2 วัน ต่อ 1 ครั้ง คลุมด้วยผ้าพลาสติก ประมาณ 7 วัน เพื่อให้ทะลายปาล์มชุ่มน้ำ หลังจากนั้นนำทะลายปาล์มไปกองระหว่างต้นยาง ความยาวประมาณ 5 เมตร โดยเลือกพื้นที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก โรยเชื้อเห็ดลงบนร่องที่เตรียมไว้ พื้นที่ 1 ร่อง จะใช้เชื้อเห็ดจำนวน 3 ก้อน โรยเชื้อก้อนละ 1 เมตร รอประมาณ 3 วัน ขึ้นโครงไม้ไผ่ให้โค้งเป็นแนวยาว สำหรับขึงผ้าพลาสติก รอประมาณ 7-9 วัน เห็ดฟางก็จะงอก สามารถเก็บไปขายได้
ด้านการดูแลรักษา หลังจากเพาะเห็ดแล้ว 4-5 วัน ให้เปิดชายผ้าพลาสติกออกบ้าง เพื่อระบายความร้อนออกจากกองเห็ดบ้าง เพราะถ้าอากาศร้อนเกินไปเส้นใยเห็ดจะไม่รวมตัวเป็นดอก นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้ว ยังเป็นการเพิ่มอากาศให้กับเห็ดอีกด้วย คุณวิทย์จะคอยให้น้ำแปลงเพาะเห็ดเพื่อให้เกิดความชื้นตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง พยายามพ่นน้ำให้เป็นฝอยลงบนกองเห็ดพอชุ่มชื้น
ส่วนการเก็บเกี่ยว หลังจากดอกเห็ดโตพอได้ขนาดที่ตลาดต้องการ คุณวิทย์จะเริ่มเก็บเห็ดทันที โดยเก็บดอกเห็ดออกขายไม่ต่ำกว่าวันละ 40 กิโลกรัม ถ้าเป็นฤดูหนาวจะเก็บได้ช้า และหลีกเลี่ยงการเพาะเห็ดในช่วงหน้าฝน เพราะได้ผลผลิตน้อยและเสี่ยงเจอโรค หลังจากเห็ดฟางหยุดให้ผลผลิต คุณวิทย์จะรื้อแปลงเก่าและย้ายไปเพาะปลูกในพื้นที่ใกล้เคียง สาเหตุที่หลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำในที่เดิม เพราะหากดูแลไม่สะอาดจริง อาจไม่ได้ผลผลิตเลย ทุกวันนี้คุณวิทย์พึงพอใจกับรายได้จากการเพาะเห็ดฟาง เพราะลงทุนแค่ 4,000-5,000 บาท แต่ได้ผลตอบแทนกลับมาถึง 2 เท่าตัว เรียกว่านับเงินเพลินจนลืมเหนื่อยกันเลย
 
เลี้ยง “แพะนม” ในสวนยาง
เพิ่มรายได้ ของ “อัคระฟาร์ม” จ.ภูเก็ต
ไปเยือนจังหวัดภูเก็ตงวดที่แล้ว สังเกตเห็นแพะซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ชาวสวนยางนิยมเลี้ยงในสวนยางพาราออกมาเดินรับแสงแดดยามเช้า และเล็มต้นหญ้าในสวนยางเป็นอาหาร การเลี้ยงแพะนมในสวนยางเป็นเรื่องง่าย โดยทั่วไปพื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่ จะมีปริมาณหญ้าเพียงพอสำหรับเป็นอาหารของแพะสำหรับ 1 ตัว ตกเย็น เกษตรกรจะเดินต้อนแพะกลับเข้าโรงเรือนที่ยกพื้นสูงจากพื้นดิน ประมาณ 1.50 เมตร มุงหลังคากันฝน พื้นปูด้วยไม้ระแนง ขนาด 1x2 นิ้ว มีร่องห่างของไม้ระแนง ประมาณ 1 นิ้ว เพื่อให้มูลแพะลอดผ่านลงพื้นดินได้ และยังช่วยให้พื้นคอกสะอาด
ภายในโรงเรือนแบ่งออกเป็นห้องย่อย โดยจัดการให้แพะรวมกันตามกลุ่มอายุ เพื่อให้แพะเกิดสัมพันธภาพที่ดีภายในฝูง จำนวนแพะต่อโรงเรือนจะต้องไม่แออัด ให้แพะได้อยู่อาศัยแบบสบาย โดยทั่วไปจะจัดพื้นที่ ประมาณ 2 ตารางเมตร สำหรับเลี้ยงแพะ 1 ตัว การดูแลรักษาทำได้ไม่ยาก แค่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรคอื่นๆ ปีละ 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน ถ่ายพยาธิทุก 3 เดือน
“อัคระ ธิติถาวร” ปราชญ์ชาวบ้านผู้ริเริ่มเลี้ยงแพะเป็นคนแรกในจังหวัดภูเก็ต และเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพเลี้ยงสัตว์ ปี 2551 ปัจจุบัน พักอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 43/1 หมู่ที่ 3 ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โทร. (089) 196-6003
คุณอัคระ วัย 51 ปี ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแพะลูกผสม ที่ให้ปริมาณน้ำนมสูง เลี้ยงง่าย โตเร็ว ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ให้น้ำนม 2-3 ลิตร ต่อตัว ต่อวัน มีระยะเวลาการให้น้ำนมนาน 8 เดือน ทนกับสภาพดินฟ้าอากาศและโรคในเมืองร้อนต่างๆ ได้ ปัจจุบัน ฟาร์มแพะนมครบวงจรแห่งนี้ เลี้ยงแพะ จำนวน 70 ตัว เป็นแม่แพะรีดนม จำนวน 50 ตัว แพะเนื้อ 20 ตัว นอกจากขายนมแพะพาสเจอไรซ์ ในยี่ห้อ นมแพะ “พรุจำปา” เฉลี่ยวันละ 100 ขวด มีรายได้เดือนละ 45,000 บาท และขายแพะพ่อแม่พันธุ์แก่ผู้ที่สนใจตามราคาท้องตลาด ในอัตรากิโลกรัมละ 250 บาท และจำหน่ายแพะเนื้อ ในอัตรากิโลกรัมละ 180 บาท   
โดยทั่วไป สวนยางเก่า แสงแดดมักส่องไม่ถึง ทำให้มีวัชพืชหลายชนิดที่ไม่ต้องการแสงมากนัก เช่น หญ้ามาเลเซีย หญ้าเห็บ หญ้าละมาน และหญ้าคา สามารถเจริญเติบโตอยู่ในสวนยาง ชาวสวนบางรายอาจ
IP : บันทึกการเข้า
Saramander
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 13 มกราคม 2014, 11:01:06 »

ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีๆ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!