1 ท่านวางกรวยทำเป็นเลนมอเตอร์ไซค์ถาวรไปเลยครับ 1 เลนสำหรับชั่วโมงปรกติ การไหลของรถไม่มาก ถ้าชั่วโมงเร่งด่วนก็เปิดเลนมอเตอร์ไซค์เพิ่มชั่วคราวอีก1 เลน ใช้ยามยืนส่งบัตร 2 คน ถ้าเด็กเยอะ ไม่ต้องทำลูกคลื่นหรอกครับ
2 ทำสติ๊กเกอร์ติดรถและต้องแสดงบัตรขณะเข้าออก ใช้สำหรับนักศึกษาและบุคลากร(ไม่แน่ใจว่ามฟล.ทำรึยัง) จะช่วยโฟกัสจำนวนคนนอกที่เข้าออกม. และลดบัตรเข้าออกได้ครับ ไม่ต้องคอนโทรลบัตรวันละเป็นหมื่นใบ
3 ถ้าท่านอยากได้ความคิดเห็นเสียงสะท้อนจากนักศึกษาและบุคลากร ลองทำเป็นแบบสอบถามพ่วงไปในขั้นตอนการประเมินการเรียนการสอนดูครับ ซึ่งเป็นการบังคับให้ต้องทำ คำถามไม่ต้องมาก 5 ข้อก็น่าจะพอ 1เทอม สอบถามข้อมูล1ครั้ง พอครับ แล้วก็ลองพิจารณาจากผลคำตอบที่ได้ แล้วค่อยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อไป
ขอบคุณนะครับ สำหรับข้อแนะนำ


มาตรการที่ท่านว่า ทั้ง 3 ข้อ เราทำมาหมดแล้วครับ
1. การทำบัตรหรือสติ๊กเกอร์ ผ่านเข้า-ออก เราทำตั้งแต่ปี 46 ผมเป้นคนนำเสนอมาตรการนี้ ตอนที่มาทำงานที่นี่ เราทำ 3 กลุ่ม
- สีแดง สำหรับบุคลากร
- สีน้ำเงิน สำหรับนักศึกษา และ
- สีเขียวสำหรับผู้ประกอบการ(ร้านอาหารที่มาประมูลงานได้ในแต่ละปี ธนาคาร ร้านซักรีด)
มาตรการนี้ใช้ได้ดีในระดับหนึ่ง แต่มาระยะหลัง เมื่อรถที่ผ่านเข้าออก-มาขึ้น
เรากลั่นกรองหรือดูบัตรที่ติดหน้ารถไม่ทัน เพราะรถติดบริเวณจุดตรวจ
ปัญหาที่ 2 ที่พบ คือนักศึกษาและบุคลากรที่ติดบัตรหน้ารถ ไม่ชลอความเร็ว ไม่จอดให้ตรวจในยามวิกาล
เพราะถือว่ามีบัตรแล้ว และเป้นประเด็นโต็เถียงกันมาก ว่ามีบัตรแล้วทำไมต้องมาตรวจอีก
เพราะกรณีออกในยามวิกาล ถ้ามีเหตุสงสัยเราจะเรียกตรวจ
ปัญหาที่ 3 ที่พบ คือนักศึกษาที่จบไปแล้ว ลาออก หรือรีไทน์ เอาบัตรมาสวมอ้างเข้ามาในมหาวิทยาลัย
รวมทั้งพ่อค้า บุคลากร ที่ออกไปแล้ว เพราะไม่ได้คืนบัตร การที่จะไปตรวจสอบว่าบัตรหมดอายุหรือยัง ยากมากครับในขณะนั้น เพราะรถเพิ่มขึ้นหลายสิบเท่า
ภายหลังมามหาวิทยาลัยจึงได้มีประกาศยกเลิกมาตรการนี้ และได้เอาระบบการแจกบัตร
เหมือนสนามบัน แมคโคร และห้างใหญ่ๆ มาใช้ จะต่างกันก็ตรงที่เราไม่มีค่าจอดรถเท่านั้น
ทังนี้ก็เพื่อสกัดกั้น ไม่ให้ผู้ที่ไม่มีบัตรนำยานพาหนะออกนอกมหาวิทยาลัย
เพื่อเป็นมาตรการป้องปราม การโจรกรรม และการขนย้ายทรัพย์สินออกไป ถึงแม้จะไม่สามารถ
ป้องกันเหตุได้ 100% แต่ก็ช่วยได้มากครับ
เรื่องของแบบสอมถาม
มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานต้องมีการระเมิน ตามมาตรฐานการให้บริการ
เราทำแบบประเมินตามที่ท่านแนะนำ ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1000 กว่าตัวอย่าง
แต่เราจะได้แบบประเมินกลับมาปีละ ไม่ถึง 300 ไม่ใช่เฉพาะในห้องเรียนครับที่เราไปแจกแบบสอบถาม
เราเอาไปแจกที่หอพัก และขอความร่วมมือให้นักศึกษาช่วยกรอก
แต่ผมคิดว่าคงเป็นทุกที่ เพราะเป็นการขอความร่วมมือ ไม่ได้มีบทลงโทษว่าถ้าไม่ตอบจะเป้นอย่างไร
จึงได้แบบสอบถามกลับมาน้อย และนำปํญหาเหล่านั้นมาดำเนินการแก้ไข
เพราะปัญหาที่เราพบ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องแจกหรือไม่แจกบัตรครับ
ปัญหาที่มีผลกระทบกับชีวิตความเป้นอยู่ของนักศึกษามีมากกว่านี้ครับ
ทางมหาวิทยาลัยก็ต้องมาลำดับความสำคัญก่อนหลัง ในการแก้ปัญหา
โดยฌฉพาะเรื่องที่อยู่ที่กิน เรื่องห้องเรียน อุปกรณ์ต่างๆ
ปัญหาการแจก หรือไม่แจก หรือการสัมผัสมือ เป็นปัญหาที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับปัญหาอื่นครับ
ส่วนเรื่องกรวยจราจร และช่วงจราจร เราเปิดในช่วงพีคครับ
ไม่ได้เปิดตลอดทั้งวัน เนื่องจากข้อจำกัดในจำนวน รปภ. เพราะปีนี้เรามีการปรับลดจำนวน รปภ. ไปเยอะมาก
เพราะรัฐประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ จากวันละ 232 เป้น 300 บาท
แต่รัฐไม่ได้ให้งบประมาณมาอุดหนุน ทำให้เงินค่าจ้างที่เรานำมาจ้าง
ต้องเอามาจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ก็คือค่าเช้าพื้นที่ขายของ
ค่าจำหน่ายวัสดุ และขยะรีไซเคิล ค่าปรับจาก รปภ. แม่บ่าน ที่ผิดสัญญาจ้าง เป็นต้นครับ
แต่จะรับข้อเสนอไว้พิจารณาในการแก้ไขปัญญาต่อไปนะครับ