ผมสงสัยครับว่า
1.เคยได้ยินว่ากู้ภัย ได้รับเงินจากศูนย์นเรนทร เคสละ 1,500 บาท หากพาคนเจ็บ
เข้า รพ.ได้ หากพาเข้าไม่ได้ ก็ไม่ได้ซักบาท จริงหรือไม่ครับ
2.ถ้าไม่จริง ทำไมต้องแย่งคนเจ็บกันครับ เคยเห็นมีกระทู้กู้ภัยเชียงราย เนี่ยแหละครับ ทะเลาะแย่งคนเจ็บกัน มีคลิปประกอบด้วย
3.กรณีพาเข้า รพ.เอกชน กู้ภัยได้ผลประโยชน์จาก รพ.เอกชน ด้วยใช่ไหมครับ
ตามที่เคยพบเห็นและได้ยินมา ผมไม่เชื่อหรอกครับว่าทำด้วยจิตสาธารณะ เพราะเห็น
อาชีพนี้มี อยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง เป็นล่ำเป็นสัน ใน กทม. มีข่าวยกพวกตีกันเพราะแย่งคนเจ็บเป็นประจำไม่รู้จะแย่งกันทำไม ก็ไหนว่า ช่วยเหลือคนเจ็บ ไม่มีผลประโยชน์ แล้วถ้ามีจิตใจช่วยสาธารณะจริง ทำไม่ไม่เคยเห็นกู้ภัย ทำอย่างอื่นบ้าง เช่นกวาดถนน ทำความสะอาดสวนสาธารณะ ตัดหญ้าริมถนน เก็บขยะมูลฝอยริมถนน ไล่วัวควายที่ขี้เลอะเทอะตามท้องถนน หรือเป็นยามเฝ้าทรัพย์สินของราชการ ไม่ให้ถูกทำลาย ถูกลักไป เช่นช้างที่ขัวพญามังราย ก็ได้นี่ครับ ไม่จำเป็นต้องไปช่วยคนเจ็บจากอุบัติเหตุอย่างเดียว
ผมทำงานกู้ภัยไม่ใช่อาชีพครับแต่ผมทำเป็นอาสามาทำครับ
สำหรับหลายท่านเห็นผมตั้งกระทู้แบบนี้ต้องการอะไรตอบได้เลยแบบไม่อายว่าอยากให้ชาวบ้านชาวเมืองมองพวกเราชาวอาสากู้ภัยเขาอะไรมั่ง,มีอะไรมั่ง,ได้ทำอะไรแล้วมั่ง
ผมขอเล่าประวัตผมหน่อยนะครับเผื่อบางท่านจะมีคำถามทำมาหากินอะไรและมาทำอาสากู้ภัยทำไม
ผมนายณฐกร นามวงค์ เกิด 1/10/2522 เกิดเชียงรายโตเชียงราย ปัจจุบันประกอบอาชีพรับราชการ ตำแหน่ง นายช่างโยธา 5 สังกัด กองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ อ.พาน จ.เชียงราย วันจันทร์-วันศุก 08.30 - 16.00 น.ทำงานราชการ
http://www.moungkham.com/index.php/detail/member/5 หลังเลิกงาน,เสาร์,อาทิตย์มาทำงานอาสากู้ภัย และในหน่วยงานกู้ภัยมูลนิธิสยามรวมจ(ปู่อินทร์) เชียงราย ผมเป็นอาสากู้ภัยอยู่ในส่วนงานของหัวหน้ารถ .นเขต 019
และในหน่วยงานกู้ภัยส่วนใหญมักจะมีคนมองว่าเด็กกู้ภัยเป็นเกเรบ้างเป็นเด็กเว้นซ์บ้างท่านลองมองใหม่นะครับอย่างหน่วยงานผมมีหลากหลายอาชีพนะครับทั้งข้าราชการ,ทหาร,อาจารย์,เจ้าหน้าที่ป่าไม้,ผู้รับเหมา,เจ้าของร้านค้าต่างๆ,นักศึกษา,พนักงานบริษัท
ส่วนว่าพวกเราได้เงินค่าส่งคนเจ็บรายละ1500 บาทตอบได้เต็มที่เลยว่าไม่ได้ 1500 บาทหรอกคระบ ได้แค่เคสละ 350 บาทครับพวกผมนำไปใช้อะไรมั่ง
1.ค่าผ้าซับเลือด
2.ค่าน้ำเกลือล้างแผล
3.ค่าแอลกอฮอฆ่าเชื้อโรค รอบบาดแผล
4.ค่าอีลาสติก(ผ้ายืดรัดแผล)กรณีมีกระดูกหัก
5.ค่าถุงมือ
6.ค่าไไฟ้าประจำศูนย์
7.ค่าน้ำประปา
8.ค่าเช่าศูนย์วิทยุ(สำนักงาน)
9.ค่าบรรจุอ๊อกซีเจ้น
10.ค่าบรรจุถังดับเพลิง
และค่าอุปกรณ์อีกหลายอย่างที่ไม่ได้เอ่ยมาเกี่วกับงานกู้ชีพ,กู้ภัย
นียังไม่รวมค่าน้ำมัน,ค่ากิน,ค่าเครื่องดื่ม,ค่าชุด,และอีกหลายอย่าง
แต่ทั้งหมดทั้งมวนไม่ใช่ประเดนสำคัญแต่ที่สำคัญคือ"จิตใจที่ต้องการช่วยผู้คนในสังคมที่ต้องการความช่วยเหลือ"
ุ