เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 14:36:07
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ณ.เชียงรายหายไปเพราะ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ณ.เชียงรายหายไปเพราะ  (อ่าน 8635 ครั้ง)
NOtis
ผู้ดูแลบอร์ด
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,450


« เมื่อ: วันที่ 05 ตุลาคม 2010, 22:40:01 »

พอดีไปดูในเว็บอื่นมาเบิ้ลมาว่าจะอี้บ่หู่ว่าจิงเท็จเเค่ไหน ท่านใดฮู้เรื่องอธิบายที่คับ
ว่ามันจิงก๋



ที่ไม่มีเพราะว่าเจ้าปลัดคำตุ้ยเจ้าเมืองคนสุดท้ายเสียมารยาทต่อข้าหลวงที่มาตรวจราชการจึงถูกปลดและเนรเทศจากนั้นก็ไม่มีการตั้งเจ้าเมืองอีกแต่ให้ข้าราชการจากส่วนกลางมาปกครองแทน ส่วนลูกหลานเจ้าปลัดคำตุ้ยไม่มีใครกล้าไปขอนามสกุล ณ เชียงราย เนื่องจากเกรงว่าจะต้องโทษแต่จะใช้นามสกุลอื่นแทนโดยมากจะใช้ เชื้อเจ็ดตน
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 05 ตุลาคม 2010, 23:00:58 »

เคยตอบไปแล้วครับในกระทู้
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=7471.0
แต่ยะรีเพลย์อีกรอบแล้วกันน่อ

ที่ไม่มีนามสกุล ณ เชียงราย
เรื่องนี้มีคนยกขึ้นมาถกนานละ โดยเฉพาะในเว็บสังคมคนล้านนาที่เชียงใหม่
ไหนๆก็มีคนอยากรู้ละ ผมจะเล่าให้ฟังแล้วกัน

เริ่มจากลำดับเจ้าหลวงเชียงรายก่อนครับ
เจ้าหลวงธรรมลังกา พ.ศ.2386-2407 ตำแหน่งเจ้าเมือง
เจ้าหลวงอุ่นเรือน พ.ศ.2407-2419 ตำแหน่งเจ้าเมือง
เจ้าหลวงสุริยะ พ.ศ.2419-2433 ตำแหน่งเจ้าเมือง
พระยารัตนาณาเขต (เจ้าหลวงเมืองไชย) พ.ศ.2442-2448


ส่วนสาเหตุที่ไม่มีนามสกุล “ณ เชียงราย” ก็...
มันเป็นเรื่องเล่าที่ปรากฏในเอกสารรายงานการตรวจราชการแผ่นดิน เรื่องมันเกิดขึ้นราว พ.ศ.2433
กล่าวกันว่า เจ้าปลัดคำตุ้ย ผู้สำเร็จราชการแทนเจ้าเมืองเชียงราย (เจ้าหลวงสุริยะ)
เมาเหล้าแล้วลวนลามช่างฟ้อน+ดูหมิ่นข้าหลวงสยามที่มาตรวจราชการเมืองเชียงราย
จึงถูกปลดพร้อมเนรเทศ แล้วยกเลิกระบบเจ้าเมืองในเชียงรายและตั้งข้าราชการมาปกครอง
ส่วนลูกหลานของท่านไม่มีใครกล้าไปขอใช้นามสกุล ณ เชียงราย
เพราะเกรงจะโดนพระอาญา

แต่ในข้อเท็จจริงปรากฏว่า
หลังเจ้าคำตุ้ยโดนปลด สยามยังให้มีตำแหน่งเจ้าหลวงเชียงรายน่อ
โดย "เจ้าเมืองไชย" ลูกเจ้าอินต๊ะ (เจ้าหลวงเชียงแสน) เป็นเจ้าหลวงเชียงรายคนสุดท้าย
ดังนั้นการลงโทษเจ้าคำตุ้ยน่าจะเป็นเรื่องพฤติกรรมส่วนบุคคลมากกว่า

อย่างไรก็ตาม หากเราวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมืองในยุคนั้น
ต่อให้วันนั้นเจ้าคำตุ้ยจะไม่ดื่มเหล้าเมาจนขาดสติ หรือเรื่องเจ้าคำตุ้ยจะไม่เคยเกิดขึ้นจริง
แต่รัฐบาลสยามก็จะยกเลิกระบบกินเมืองของเชียงรายอยู่ดี
โดยเจ้าหลวงเมืองไชย เจ้าหลวงองค์สุดท้ายโดนลดลำดับความสำคัญ
มีฐานะต่ำกว่าข้าหลวงชาวสยาม
เพราะภัยคุกคามจากอังกฤษในพม่า และฝรั่งเศสในลาว
ทำให้สยามต้องเร่งจัดการหัวเมืองชายแดนเช่นเชียงราย / เชียงแสน
ให้มาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
(มิใช่ขึ้นต่อเชียงใหม่ อย่างที่แล้วๆมา)

นอกจากนี้ ยังไงเมืองเชียงรายก็คงไม่ได้พระราชทานนามสกุล “ณ” อยู่ดี
เพราะที่แล้วๆมา ตั้งแต่ พ.ศ.2486 เชียงรายก็เป็นหัวเมืองชั้นรองที่ขึ้นกับหัวเมืองชั้นเอกคือ
เชียงใหม่ (และเชียงใหม่ก็ไปขึ้นกับกรุงเทพฯอีกที) เช่น เดียวกับเมืองพะเยาที่ขึ้นกับลำปาง
เชียงของที่ขึ้นกับเมืองน่าน โดยปัจจุบันเชื้อสายเจ้าหลวงพะเยาสายตรงจะใช้นามสกุล “ศีติสาร”
ส่วนทายาทเจ้าหลวงเชียงของใช้นามสกุล “จิตตางกูร”

จะเห็นได้ว่าที่พะเยากับเชียงของ
แม้เจ้าของทั้งสองเมืองจะไม่ได้เมาเหล้า แต่ยังไงก็ไม่ได้นามสกุล “ณ”
อย่างไรก็ดี นามสกุลเจ้าพะเยา “ศีติสาร” ก็ยังได้รับการพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ.2457
และเจ้าเชียงของ “จิตตางกูร” ก็รับพระราชทานในปีเดียวกัน

ส่วนนามสกุล “เชื้อเจ็ดตน” ของเชื้อสายเจ้าหลวงเชียงรายและเชียงแสน
เป็นนามสกุลที่ตั้งขึ้นเองในหมู่ทายาท มิได้เกี่ยวข้องกับบุคคลชั้นสูงที่บางกอกแต่อย่างใด


ส่วน “ณ เมืองพาน” ไม่ทราบว่าตั้งเองหรือเปล่า เพราะผมก็เคยเห็น
นามสกุล “ณ” อื่นๆอีกหลาย “ณ” มาบ้าง แต่พอสอบวงศ์ตระกูล
ปรากฏว่ามิได้มีเชื้อเจ้าแต่อย่างใด
(เช็คข้อมูลได้ที่นี่ http://www.amed.go.th/aboutus/palace/sur_order.htm)

อ้อ นามสกุล “ณ แพร่” ก็ไม่มีนะครับ
เพราะในอดีตเจ้าหลวงเมืองแพร่เคยเข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ เมื่อ พ.ศ.2445

พอดีว่าแนบรายชื่อนามสกุล “ณ” ที่ได้รับการพระราชทานมาด้วย
ถ้านอกเหนือจากรายชื่อข้างล่างนี้ ถือว่าไม่ได้รับการพระราชทานนะครับ


ต้นสกุล ณ : นามสกุลพระราชทาน

ณ กาฬสินธุ์ --- พระไชยสุนทร (หมาสุ่ย) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ พระยาไชยสุนทร (เก)
กรมการพิเศษเมืองกาฬสินธุ์ มณฑลร้อยเอ็ด

ณ จัมปาศักดิ์ --- เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) เจ้านครจัมปาศักดิ์ เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบงคำ)
และเจ้าศักดิ์ประเสริฐ์ (เจ้าอุย) ซึ่งได้ขอเข้ามารับราชการในเมืองไทย
โดยไม่ยอมอยู่ในบังคับของฝรั่งเศส

ณ เชียงใหม่ --- พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑
และเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๓ เจ้าแก้วนวรัฐ (แก้ว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙
องค์สุดท้าย

ณ ตะกั่วทุ่ง --- พระยาโลหะภูมิพิสัย ผู้สำเร็จราชการเมืองตะกั่วทุ่ง อำมาตย์โท หลวงราชภักดี (หร่าย)
ยกรบัตรมณฑลปัตตานี

ณ ถลาง --- พระยาถลาง (ฤกษ์) พระยาสุนทราทรธุรกิจ (หมี) กระทรวงมหาดไทย
และพระอาณาจักรบริบาล (อ้น) กระทรวงมหาดไทย และพระพิไสยสุนทรการ (แปลง)
ฃ้าหลวงตรวจการกรมสรรพากรนอก

ณ นคร --- นายพลโท พระยาวรเดชศักดาวุธ (แย้ม) ปลัดทูลฉลองกระทรวงกระลาโหม

ณ น่าน --- พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (สุริย) พระเจ้าผู้ครองนครน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช

ณ ป้อมเพชร --- พระยาเพชร์ชฎ บรรดาศักดิ์เดิม พระสมุทบุรานุรักษ์ (ฃำ)
ผู้ว่าราชการเมืองสมุทปราการ เดิมตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ป้อมเพชร์ กรุงศรีอยุธยา พระยาเพชร์ชฎ

ณ พัทลุง --- พระยาพัทลุง (ขุน) บรรดาศักดิ์เดิม พระยาแก้วเการพพิไชย
ผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุง สมัยกรุงธนบุรี รองอำมาตย์เอก หลวงวิบูลย์บุรขันฑ์ (นพ)
กรมการพิเศษเมืองพัทลุง

ณ พิศณุโลก --- หม่อมคัทริน พระชายาในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ
กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ภายหลังในรัชกาลที่ ๗ พระราชทานนามสกุลเป็น จักรพงศ์

ณ มโนรม --- ผู้ว่าราชการเมืองมโนรม หลวงวินิจสารา (ดวง) นายเวรกรมบัญชาการ
กระทรวงนครบาล

ณ มหาไชย --- พระยานรนารถภักดี ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ตำบลมหาไชย พระยาเทพทวาราวดี (สาย)
อธิบดีกรมมหาดเล็ก สมัยรัชกาลที่ ๖

ณ ราชสีมา --- เจ้าพระยากำแหงสงคราม (ทองอิน) ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา

ณ ร้อยเอ็จ --- เพี้ยพระนคร (คำ) เจ้าเมืองร้อยเอ็จ พระยาขัตติยวงษา เอกาธิกะสตานันต์ (เหลา)
ผู้สำเร็จราชการเมืองร้อยเอ็ด

ณ ระนอง --- พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ชื่อเดิม ซู้เจียง แซ่คอ (คอซู้เจียง)
ผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง อำมาตย์เอก พระยารัตนเศรษฐี (ยู่หงี) ผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง

ณ ลำปาง --- พระเจ้าคำโสม พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๔ พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต (บุญทวงษ์)
เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๑๓

ณ ลำพูน --- เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑
และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓ พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (น้อยจักรคำ)
เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐ องค์สุดท้าย

ณ วิเชียร --- ผู้ว่าราชการเมืองวิเชียรบุรี พระยาประเสริฐสงคราม (ใจ)
จางวางกำกับราชการอำเภอวิเชียร จังหวัดเพ็ชรบูรณ์

ณ สงขลา --- เจ้าพระยาสงขลา (หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ) ชื่อเดิม เหยี่ยง แซ่เหงา เจ้าเมืองสงขลา
สมัยกรุงธนบุรี พระยาพฤกษาภิรมย์ (ฑิตย์) เจ้ากรมสวนหลวง

ณ หนองคาย --- พระประทุมเทวา เจ้าเมืองหนองคาย พระอนุชาติวุฒาธิคุณ (แพ)
นายอำเภอเมืองเพ็ญ เมืองอุดรธานี

ณ อุบล --- พระประทุมวงษา (คำผง) เจ้าเมืองอุบลคนแรก พระอุบลประชารักษ์ (เสือ)
กรมการพิเศษจังหวัดอุบลราชธานี

สกุล ณ ที่มีการต่อท้ายนามสกุล
พรหมสาขา ณ สกลนคร --- เจ้านครสกลนคร พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ)
ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม --- เจ้าเมืองมหาสารคาม
รัตนดิลก ณ ภูเก็ต --- พระภูเก็ตโลหเกษตรรักษ์
สุนทรกุล ณ ชลบุรี --- กรมขุนสุนทรภูเบศร์ พระนามเดิมว่า เรือง หรือ จีนเรือง ชาวเมืองชลบุรี
ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น เจ้าหม่อมหลวงจาบ

สกุล ณ ที่มีการต่อท้ายนามสกุลที่แยกออกจาก สกุล ณ เดิม
ณ นคร --- โกมารกุล ณ นคร
ณ ถลาง --- ประทีป ณ ถลาง
ณ พัทลุง --- สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
ณ ราชสีมา --- อินทรกำแหง ณ ราชสีมา

อ้างอิง
http://www.chiangkhong.com/memory/histry1.htm
http://webboard.mthai.com/5/2008-02-11/369050.html
http://board.dserver.org/s/saree/00000186.html
http://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna.html
http://www.lannaworld.com/cgi/lannaboard/reply_topic.php?id=23787
http://www.amed.go.th/aboutus/palace/sur_order.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2010, 23:18:50 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
~ Bullet for my Brother ~
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,630


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 06 ตุลาคม 2010, 20:22:18 »

อ้อ นามสกุล “ณ แพร่” ก็ไม่มีนะครับ
เพราะในอดีตเจ้าหลวงเมืองแพร่เคยเข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ เมื่อ พ.ศ.2445


เจ้าเมืองคนเก่าโดนกบฎเงี้ยวฆ่า ยังมีอนุเสาวรีย์อยู่ตรงที่ตายเลย จนต้องส่งคนใหม่มาปราบ
ว่าบ้านผมเป็นมอดไม้ แต่กะมาตัดไม้บ้านผมเอาไปแป๋งเสาจุงจาในกรุงเทพปู้น เมืองแป้แห่ระเบิด ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 06 ตุลาคม 2010, 20:52:59 »

อ้อ นามสกุล “ณ แพร่” ก็ไม่มีนะครับ
เพราะในอดีตเจ้าหลวงเมืองแพร่เคยเข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ เมื่อ พ.ศ.2445


เจ้าเมืองคนเก่าโดนกบฎเงี้ยวฆ่า ยังมีอนุเสาวรีย์อยู่ตรงที่ตายเลย จนต้องส่งคนใหม่มาปราบ
ว่าบ้านผมเป็นมอดไม้ แต่กะมาตัดไม้บ้านผมเอาไปแป๋งเสาจุงจาในกรุงเทพปู้น เมืองแป้แห่ระเบิด ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

จ้าเมืองแพร่ไม่ได้โดนกบฏเงี้ยวสังหารครับ คนที่ท่านว่านั่นคือ พระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงชาวสยาม
ส่วนเจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่ แกพาครอบครัวหนีไปอยู่หลวงพระบางครับ
ประเด็นคือ หนีเงี้ยว หรือ หนีอะไร?
การก่อจลาจลในครั้งนี้มิใช่มีแต่เงี้ยว แต่มีคนล้านนาบางส่วนเข้าร่วมด้วย
เงี้ยวมิได้จ้องสังหารคนล้านนา แต่จะฆ่าเฉพาะคนสยามเท่านั้น
ซึ่งพระยาไชยบูรณ์คือหนึ่งในนั้น
โดยพระยาไชยบูรณ์หนีเงี้ยวไปหลบในป่า ภายหลังออกมาขออาหารชาวบ้าน
แต่ถูกหนานวงศ์ คนบ้านร่องกาศ แจ้งเงี้ยวมาจับ เพื่อหวังเงินรางวัล
สุดท้ายพระยาไชยบูรณ์ก็ถูกสังหารตรงที่ปัจจุบันเป็นอนุสาวรีย์นั่นแหละ


ต่อมา กองทัพสยามเข้ามาปราบปรามเงี้ยว
สยามสงสัยว่าจะมีเจ้านายเมืองแพร่ให้การสนับสนุนกบฏ
เนื่องจากช่วงนั้นสยามกำลังรวมศูนย์อำนาจ ริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองในล้านนา
อาจทำให้กลุ่มผู้นำล้านนาบางส่วนไม่พอใจ

อย่างไรก็ตาม สุดท้ายสยามก็ยกเลิกระบบกินเมืองของเมืองแพร่
โดยส่งข้าราชการมาปกครองโดยตรง
ส่วนเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย พะเยา ยังคงให้มีเจ้าหลวงต่อไป


ปัจจุบัน ที่เมืองแพร่มีทั้งอนุสาวรีย์ของเจ้าพิริยเทพวงศ์และของพระยาไชยบูรณ์
เร็วๆนี้ มีสื่อบางกระแสนำเสนอว่า เจ้าพิริยเทพวงศ์มิได้สมคบกับเงี้ยว
ซึ่งประเด็นนี้คงต้องศึกษากันต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 ตุลาคม 2010, 20:58:01 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
RX_ALCHEMIST
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 09 พฤศจิกายน 2010, 00:57:35 »

เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ไปอยู่หลวงพระบางคนเดียวครับ ส่วนแม่เจ้าบัวไหล และเจ้าน้อยอินทร์แปลงก็ให้มาพำนักที่วังวรดิศ ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แล้วเจ้าน้อยอินทร์แปลงก็ได้เสียกับนางต้นห้อง และลูกของทั้งคู่ก็คือ ........ "ยาขอบ" หรือ "โชติ แพร่พันธุ์" ครับ !!!
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 14 พฤศจิกายน 2010, 20:53:41 »

เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ไปอยู่หลวงพระบางคนเดียวครับ ส่วนแม่เจ้าบัวไหล และเจ้าน้อยอินทร์แปลงก็ให้มาพำนักที่วังวรดิศ ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แล้วเจ้าน้อยอินทร์แปลงก็ได้เสียกับนางต้นห้อง และลูกของทั้งคู่ก็คือ ........ "ยาขอบ" หรือ "โชติ แพร่พันธุ์" ครับ !!!


ที่ผมบอกว่า "ส่วนเจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่ แกพาครอบครัวหนีไปอยู่หลวงพระบาง"
มิได้หมายถึงพาญาติพี่น้องทุกคนไปครับ
คำว่าครอบครัวในที่นี้เปรียบกับญาติสนิทหรือคนใกล้ชิดบางคน
เพราะสถานการณ์ในช่วงนั้น
ถ้าเจ้าพิริยะเทพวงศ์พาทุกๆคนในตระกูลท่านไปหลวงพระบางทั้งหมด
คงลำบากน่าดู

เจ้าพิริยะเทพวงศ์ท่านคงไม่เก่งขนาดบุกป่าฝ่าดงไปหลวงพระบางคนเดียวหรอกนะครับ

ปัจจุบัน ยังมีเชื้อสายเจ้าอยู่ในเมืองแพร่ เช่น นามสกุลวังซ้าย นามสกุลเทพวงศ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีนามสกุลอื่นๆอีก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 14 พฤศจิกายน 2010, 20:56:17 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
RX_ALCHEMIST
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 28 พฤศจิกายน 2010, 00:49:20 »

เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ไปอยู่หลวงพระบางคนเดียวครับ ส่วนแม่เจ้าบัวไหล และเจ้าน้อยอินทร์แปลงก็ให้มาพำนักที่วังวรดิศ ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แล้วเจ้าน้อยอินทร์แปลงก็ได้เสียกับนางต้นห้อง และลูกของทั้งคู่ก็คือ ........ "ยาขอบ" หรือ "โชติ แพร่พันธุ์" ครับ !!!


ที่ผมบอกว่า "ส่วนเจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่ แกพาครอบครัวหนีไปอยู่หลวงพระบาง"
มิได้หมายถึงพาญาติพี่น้องทุกคนไปครับ
คำว่าครอบครัวในที่นี้เปรียบกับญาติสนิทหรือคนใกล้ชิดบางคน
เพราะสถานการณ์ในช่วงนั้น
ถ้าเจ้าพิริยะเทพวงศ์พาทุกๆคนในตระกูลท่านไปหลวงพระบางทั้งหมด
คงลำบากน่าดู

เจ้าพิริยะเทพวงศ์ท่านคงไม่เก่งขนาดบุกป่าฝ่าดงไปหลวงพระบางคนเดียวหรอกนะครับ

ปัจจุบัน ยังมีเชื้อสายเจ้าอยู่ในเมืองแพร่ เช่น นามสกุลวังซ้าย นามสกุลเทพวงศ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีนามสกุลอื่นๆอีก


ผมว่าเราคงเข้าใจไม่ตรงกันกับคำพูดสั้นๆในเว็บบอร์ด มันก็แน่อยู่แล้วที่เจ้าหลวงต้องมีคนติดตามไปด้วย แต่ที่บอกว่าไปคนเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าไปคนเดียวโท่ๆ ก็อาจมีคนติดตามไปด้วย แต่ก็ไม่ได้สำคัญอะไร ก็เลยบอกว่าไปคนเดียว เพราะไม่ได้ไปทั้งครอบครัว และไม่มีเจ้านายคนสำคัญคนอื่นตามไป เป็นคำพูดง่ายๆน่ะครับ แต่การที่คุณใช้คำว่า แกพาครอบครัวหนีไปอยู่หลวงพระบาง มันทำให้เข้าใจผิดไปเลยนะครับ ถึงแม้เจ้าหลวงจะมีลูกเมียอื่นอีก แต่ในความเข้าใจคนทั่วไปที่พอมีความรู้เรื่องนี้บ้าง ครอบครัวของเจ้าหลวงก็ต้องหมายถึงแม่เจ้าบัวไหลกับเจ้าน้อยอินทร์แปลงสิครับ นี่แหละญาติใกล้ชิดที่สุดแล้ว เพราะเป็นเมียเอกลูกเอก หรือถ้าเป็นคนที่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย ก็ยิ่งเข้าใจผิดว่าหมายถึงทั้งครอบครัว ตัวคุณเขียนคลุมเครือเองนะ ผมกลัวคนอื่นจะเข้าใจคลาดคลื่อนไป ก็เลยต้องช่วยเสริมข้อมูลเข้าไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 12 เมษายน 2011, 18:59:31 โดย KOSAYANAKORN » IP : บันทึกการเข้า
แสนฝาง
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 03 ธันวาคม 2010, 17:05:09 »

อยากทราบประวัตินามสกุล ณ น่าน ภายหลังมีผู้เปลี่ยนไปใช้นามสกุลอื่นแทน ณ น่าน แล้วหนีไปยังอยู่จังหวัดอื่นๆ แทน เนื่องจากถูกกวาดล้าง จริงหรือไม่
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 03 ธันวาคม 2010, 22:29:28 »

อยากทราบประวัตินามสกุล ณ น่าน ภายหลังมีผู้เปลี่ยนไปใช้นามสกุลอื่นแทน ณ น่าน แล้วหนีไปยังอยู่จังหวัดอื่นๆ แทน เนื่องจากถูกกวาดล้าง จริงหรือไม่

ไม่เคยได้ยินเรื่องทำนองนี้เลยครับ
ขึ้นชื่อว่าสกุลหลวงตื่นมหาวงศ์ (เจ้าเมืองน่าน) แล้ว
เป็นตระกูลที่เก่าแก่กว่าเจ้าเจ็ดตนเสียอีก
หลังจากสวามิภักดิ์ก็ยังเป็นกลุ่มเจ้าที่ภักดีต่อกรุงรัตนโกสินทร์อย่างยิ่ง
ในยามศึกสงครามก็ช่วยเหลืออย่างดี ทั้งศึกเชียงแสน พ.ศ.2347
ศึกปราบฮ่อในลาว สงครามกวาดต้อนไทลื้อในสิบสองพันนา ฯลฯ เป็นต้น
ส่วนในยามสงบก็ทำนุบำรุงบ้านเมืองเป็นอย่างดี


ปัจจุบัน ทุกวันที่ 5 เมษายน ของทุกปีเป็น "วันพระเจ้าน่าน"
เจ้านายเมืองน่าน ข้าราชการทุกหมู่เหล่า
ต่างเข้าร่วมพิธีสักการะอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน
ณ อนุสาวรีย์พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าหลวงเมืองน่าน องค์ที่ 63
ซึ่งท่านพิราลัยในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2461 สิริรวมอายุได้ 87 ปี

อ้างอิง
http://www.oknation.net/blog/NamnanFanan/2010/04/05/entry-1
http://www.nan2day.com/forum/index.php?topic=5261.0
 



* 001.jpg (149.77 KB, 598x400 - ดู 3791 ครั้ง.)

* 002.jpg (193.52 KB, 598x400 - ดู 3651 ครั้ง.)

* 003.jpg (161.97 KB, 598x400 - ดู 4344 ครั้ง.)

* เจ้าสร้อยไข่มุก ณ น่าน ทายาทเจ้าราชบุตรอนุรสรังษี.jpg (124.23 KB, 598x400 - ดู 7853 ครั้ง.)

* เจ้าสร้อยไข่มุก ณ น่าน (เสื้อสีชมพู) และ เจ้าสมปรารณา ณ น่าน (เสื้อสีเทา) ทายาทเจ้าราชบุตรหมอ (151.34 KB, 598x400 - ดู 6329 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 03 ธันวาคม 2010, 22:36:49 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 03 ธันวาคม 2010, 22:40:34 »

เชื้อสายเจ้าเมืองน่านมีนามสกุลต่างๆ ดังนี้

1.ณ น่าน - รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานแก่ทายาท พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าอนันตวรฤทธิเดช และเจ้ามหาพรหมสุรธาดา
2.มหายศนันท์ - ทายาทเจ้าหลวงมหายศ เจ้าหลวงองค์ที่ 59
3.มหาวงศนันท์ - ทายาทเจ้าหลวงมหาวงศ์ เจ้าหลวงองค์ที่ 60
4.พรหมวงศนันท์ - ทายาทเจ้าวรญาติ (เทพรส) บุตรเจ้าพรหมเมืองเทิง ซึ่งเป็นน้องเจ้าหลวงมหายศ
5.จิตรวงศนันท์ - สายทายาทเจ้าหลวงอชิตวงศ์
6.วรยศ - สายทายาทเจ้าหลวงมงคลวรยศ
7.สมณะช้างเผือก - สายทายาทเจ้าหลวงสุมนเทวราช ผู้นำช้างเผือกไปถวายรัชกาลที่ 2
8.ไชยวงศ์หวั่นท๊อก - สายทายาทเจ้าหลวงอริยวงศ์หวั่นท๊อก


* รวมทายาทในแต่ละสกุลของเมืองน่าน.jpg (151.97 KB, 598x400 - ดู 5839 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 03 ธันวาคม 2010, 22:48:23 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!