เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 04:33:11
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 [71] 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 407067 ครั้ง)
vjmu
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 212



« ตอบ #1400 เมื่อ: วันที่ 24 ตุลาคม 2013, 20:03:44 »

กข 41 กับกข47 อายุเก็บเกี่ยว กี่วันครับ จะลองปลูกนาปรังครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1401 เมื่อ: วันที่ 24 ตุลาคม 2013, 22:05:03 »

กข 41 กับกข47 อายุเก็บเกี่ยว กี่วันครับ จะลองปลูกนาปรังครับ

กข 41 อายุเกี่ยวประมาณ 125-130 วัน  ส่วน กข 47 อายุเกี่ยวประมาณ 105-110 วัน ช้าเร็วนิดหน่อยขึ้นอยู่ปัจจัยในการปลูกครับ
IP : บันทึกการเข้า
bankey2122
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 38


« ตอบ #1402 เมื่อ: วันที่ 25 ตุลาคม 2013, 08:03:57 »

กขผ 3 อายุกี่วัน แถวนี้น่าปลุกมั้ย 
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1403 เมื่อ: วันที่ 25 ตุลาคม 2013, 11:02:34 »

กขผ 3 อายุกี่วัน แถวนี้น่าปลุกมั้ย 

อายุ 115-120 วันครับ ตอนนี้เมล็ดพันธุ์มีขายแล้วเหรอครับ เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตมากน่าจะมากที่สุดในประเทศตอนนี้  เป็นพันธุ์ที่กรมเค้าแนะนำให้ปลูกในภาคกลาง เพราะเคยทดลองว่าปลูกที่ภาคกลางได้ 1.4 ตัน/ไร่ แต่ภาคเหนือเรากลับลดเหลือ 1.1 ตัน/ไร่ น่าจะไม่สู้อากาศหนาว ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคขอบใบแห้งครับ
IP : บันทึกการเข้า
may111
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,104



« ตอบ #1404 เมื่อ: วันที่ 27 ตุลาคม 2013, 08:33:05 »

1.4 ตัน เยอะจริงๆ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1405 เมื่อ: วันที่ 27 ตุลาคม 2013, 18:54:48 »

ข้าวในแปลงนาตอนนี้เมล็ดข้าวอยู่ในระยะข้าวเม่าแล้วครับ คงจะเกี่ยวประมาณวันที่ 9 พ.ย. ครับเป็นวันหยุดพอดี


* 20131026_094232.jpg (83.01 KB, 700x525 - ดู 551 ครั้ง.)

* ripening-stage.png (155.45 KB, 700x381 - ดู 530 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1406 เมื่อ: วันที่ 27 ตุลาคม 2013, 19:06:39 »

เมื่อวานปั่นจักรยานรอบแถวหนองหลวงผ่านแปลงนาที่เกี่ยวแล้วเห็นเค้าเอาควายมาปล่อยทำให้นึกถึงประโยชน์ของควายในอดีต แม้แต่แปลงนาแปลงนี้ เกี่ยวด้วยรถเกี่ยวข้าวปกติเศษฟางจะต้องกระจัดกระจายเยอะมากเต็มท้องนา จนบางแห่งต้องเผาทิ้ง  แต่ควายนอกจากช่วยย่ำฟางแล้วยังกินเศษฟาง และตอ พร้อมย่อยสลายออกมาเสร็จสรรพ  คันนาไม่จำเป็นต้องตัดหญ้าควายช่วยเล็มตัดให้เรียบร้อย  การเลี้ยงควายในปัจจุบันถูกจำกัดให้อยู่นอกหมู่บ้านอาจเพราะกลิ่นจากมูลและอาจทำให้ถนนสกปรก บางหมู่บ้านอาจพบว่าไม่มีการเลี้ยงควายเลยก็มี เดี๋ยวนี้ควายเลยอาจไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก  อย่างหนองหลวงถ้าไม่มีควายรับรองว่าสนามหญ้ารอบ ๆ คงมีแต่ต้นไมยราบอยู่เต็มแน่นอน


* 20131026_154246.jpg (65.2 KB, 700x525 - ดู 553 ครั้ง.)

* 20131026_154523.jpg (57.41 KB, 700x525 - ดู 638 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
wongsa
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 202


« ตอบ #1407 เมื่อ: วันที่ 27 ตุลาคม 2013, 20:03:48 »

เข้ามาอ่านข้อมูลได้ประโยชน์จ๊าดนั๊กเน้อ ขอบคุณเน้อ พอดีพี่อยู่ อ.แม่ลาว กำลังเตรียมวางแผนทำไร่นาในที่นา แต่ยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร  ไว้คงได้รบกวนถามพ่องเน้อ ขอบคุณเจ้า
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1408 เมื่อ: วันที่ 28 ตุลาคม 2013, 12:48:38 »

เข้ามาอ่านข้อมูลได้ประโยชน์จ๊าดนั๊กเน้อ ขอบคุณเน้อ พอดีพี่อยู่ อ.แม่ลาว กำลังเตรียมวางแผนทำไร่นาในที่นา แต่ยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร  ไว้คงได้รบกวนถามพ่องเน้อ ขอบคุณเจ้า

ยินดีครับ ช่วยได้ก็ช่วยครับ
IP : บันทึกการเข้า
สบายแมน
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,485



« ตอบ #1409 เมื่อ: วันที่ 28 ตุลาคม 2013, 12:50:49 »

อ่านจบมีความรู้พร้อมทำนาได้เลยนะครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1410 เมื่อ: วันที่ 28 ตุลาคม 2013, 20:10:18 »

อ่านจบมีความรู้พร้อมทำนาได้เลยนะครับ ยิงฟันยิ้ม

ฮ่า ขอบคุณครับ ได้ความรู้มาก็เอามาลงครับเผื่อเป็นประโยชน์กับคนอื่นบ้าง   บางครั้งก็จะได้กลับมาทบทวนได้อีก  ผมก็ได้ความรู้ที่กระทู้อนุรักษ์พรรณไม้และเห็ดหลินจือของคุณสบายแมนตั้งไว้เยอะพอสมควรเหมือนกันบางเรื่องไม่เคยรู้มาก่อนเลยก็พึ่งมารู้นี่แหล่ะครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1411 เมื่อ: วันที่ 28 ตุลาคม 2013, 20:25:38 »

การปลูกข้าวในญี่ปุ่น มีความเหมือนหรือต่างจากบ้านเราอย่างไร เกษตรกรมีวิถีในการดำรงชีวิตและทำเกษตรอย่­างไร และอาชีพชาวนาในญี่ปุ่นยังอยู่ได้ดีหรือไม่ ติดตามได้ใน #ดูให้รู้ ชุดวิถีธรรมชาติ วิถีแห่งความอยู่รอด

ดูให้รู้ ตอน ปลูกข้าว ปลูกชีวิต 27 ตุลาคม 2556

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1412 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2013, 16:41:20 »

ดูให้รู้ - มาตรฐานอาหาร จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค

IP : บันทึกการเข้า
may111
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,104



« ตอบ #1413 เมื่อ: วันที่ 30 ตุลาคม 2013, 10:22:45 »

ข้าวเปิ้ลงามแต้ลู่.... ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
wongsa
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 202


« ตอบ #1414 เมื่อ: วันที่ 30 ตุลาคม 2013, 15:54:23 »

พี่สนใจเรื่องกาลักน้ำค่ะ ถ้าน้ำเหมืองชลประทานอระดับอยู่ต่ำมากๆ เพราะเหมืองค่อนข้างลึก เราจะทำกาลักน้ำได้ก่อ และ เราควรทำตอนปรับคันนารอบที่ดินดีไหม และ สามารถทำหลาย ๆ จุดได้ไหม
มีคนบอกว่า มีร้านอุปกรณ์กาลักน้ำขาย พอรู้จักก่อเจ้า
ขอบคุณเน้อ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1415 เมื่อ: วันที่ 30 ตุลาคม 2013, 16:44:33 »

ข้าวเปิ้ลงามแต้ลู่.... ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

เดี๋ยวต้องรอดูวันเกี่ยวอีกทีครับว่าจะได้เยอะกว่าปีก่อนไม๊ ปีก่อนทำนาหว่านปีนี้ทำนาดำครับ  ฝนตกช่วงนี้บ่อยมาก ข้าวบางส่วนก็เลยเสียหายเป็นเมล็ดด่างด้วยครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1416 เมื่อ: วันที่ 30 ตุลาคม 2013, 16:58:13 »

พี่สนใจเรื่องกาลักน้ำค่ะ ถ้าน้ำเหมืองชลประทานอระดับอยู่ต่ำมากๆ เพราะเหมืองค่อนข้างลึก เราจะทำกาลักน้ำได้ก่อ และ เราควรทำตอนปรับคันนารอบที่ดินดีไหม และ สามารถทำหลาย ๆ จุดได้ไหม
มีคนบอกว่า มีร้านอุปกรณ์กาลักน้ำขาย พอรู้จักก่อเจ้า
ขอบคุณเน้อ

กาลักน้ำจะต้องอยู่ที่สูงลงที่ต่ำครับ  หากเป็นคลองเหมืองเค้าจะนิยมทำฝายทดน้ำ บ้านเราเรียกว่าการบึงน้ำคือการกั้นให้ระดับน้ำสูงขึ้นจนไหลเข้าแปลงนาได้ แต่ถ้าต่ำมาก ๆ ก็คงต้องใช้เครื่องสูบเอาครับ เคยมีการใช้แบบการอัดแรงดันจากที่ต่ำขึ้นที่สูงโดยใช้ถัง 200 ลิตรที่เรียกว่าพญาแร้งน้ำแต่ปริมาณน้ำที่ได้ ไม่ค่อยมากครับเหมือนเปิดก๊อกน้ำธรรมดา


* 0970.jpg (146.23 KB, 640x480 - ดู 494 ครั้ง.)

* 0980.jpg (152.08 KB, 640x480 - ดู 474 ครั้ง.)

* 10cimg0172.jpg (64.62 KB, 640x480 - ดู 497 ครั้ง.)

* IMG_09345.jpg (218.78 KB, 720x451 - ดู 505 ครั้ง.)

* karuknam1.jpg (234.68 KB, 700x438 - ดู 832 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
may111
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,104



« ตอบ #1417 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2013, 09:41:54 »

ยาคุมหญ้าทุกคนใช้อะไรได้ผลดีที่สุดครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1418 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2013, 20:49:05 »

ยาคุมหญ้าทุกคนใช้อะไรได้ผลดีที่สุดครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

เดี๋ยวนี้เปลี่ยนจากการทำนาหว่านมาทำนาดำแทน ผมเลยไม่ได้ใช้ยาคุมหญ้าแล้วครับ  เมื่อก่อนทำนาหว่านเคยใช้พวกไทยโพต + เกาดี้ ก็ใช้ได้ผลดีครับ การกำจัดวัชพืชโดยการพ่นยาคุมหญ้าจะช่วยให้ผลผลิตมากขึ้น แต่รู้สึกว่าดินแย่กว่าเดิม ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น  ก็เลยไปศึกษาพบว่ายาคุมหญ้ามีฤทธิ์ทำลายจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในดินเป็นส่วนหนึ่งทำให้ดินเสื่อม ทั้งที่นาหว่านจะเสื่อมไวอยู่แล้วเพราะจำนวนต้นที่หนาแน่น ตอนนี้ก็เลยไม่ใช้เลยปล่อยไปตามธรรมชาติ อาศัยใช้ปุ๋ยคอกบ้างนาน ๆ ที พ่นจุลินทรีย์ด้วย ตอนนี้ก็ประหยัดค่าปุ๋ยเคมีไปได้พอสมควรเหลือ 1 ใน 3 ของนาหว่านครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1419 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2013, 21:04:45 »

อยากรู้ว่าดินดีหรือดินที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวเป็นอย่างไรลองศึกษาเบื้องต้นจากที่นี่นะครับ



ดินที่ใช้ปลูกข้าว เป็นหนังสือประกอบการบรรยายวิชาดินนา (009534) ของภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยของ Drs. F.N. Ponnamperuma , W.H. Patrick, Jr.,  K Kyuma ฯลฯ ซึ่งเป็นนักวิจัยชั้นนำของโลกทางด้านดินที่ใช้ปลูกข้าว เนื่องจากบทที่ 1 เป็นเรื่องของสถานการณ์การปลูกข้าวในโลก ซึ่งต้องมีการปรับปรุงตัวเลขและข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา จึงได้ทำการปรับปรุงข้อมูลในบทนี้ และเพิ่มบทที่ 9 เรื่องการจัดการธาตุอาหารพืชเพื่อการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของนักวิจัยไทย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน โดยได้รับความสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในปี พ.ศ. 2548-2550

คลิกอ่าน  https://docs.google.com/file/d/0B8AtgBF7YhaGeVV1WEVVSVhzcHc/edit?usp=drive_web&pli=1
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 [71] 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!