เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 18 กรกฎาคม 2025, 08:29:47
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 [65] 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 ... 96 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 417617 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1280 เมื่อ: วันที่ 12 กันยายน 2013, 11:50:16 »

พิษพาราควอท (Paraquat)

พาราควอทเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืช (Herbicide) จัดอยู่ในกลุ่มไบพัยริดิล (bipyridyl Compound) สังเคราะห์ขึ้นครั้งแรกในคริสศตวรรษที่ 19 ในครั้งนั้นมีนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้สารนี้วัดค่า Oxidation ซึ่งรู้จักดีในชื่อของ Methylviologen ในปีพ.ศ.2501 พาราควอทได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในทางเกษตรกรรมโดยบริษัทไอ.ซี.ไอ. แห่งประเทศอังกฤษ ใช้ชื่อทางการค้าว่า "กรัมม็อกโซน" (Gramoxone) รู้จักกันทั่วโลกว่าเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ต่อมาได้มีบริษัทอื่น ๆ ผลิตพาราควอทออกมาโดยใช้ชื่อทางการค้าต่าง ๆ กันมากมาย ปัจจุบันพาราควอทเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่แพร่หลายที่สุดชนิดหนึ่ง และเป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตเพราะได้รับพิษของพาราควอทหลายพันคน บางประเทศถูกห้ามขายในประเทศ เช่นมาเลเซีย

คุณสมบัติ
เป็นของเหลวสีน้ำเงินเข้ม มีรสเผ็ด, ขม และมีกลิ่นฉุน สลายตัวที่ 300ซ. ไม่ระเหย ที่ความเข้มข้นสูงสามารถกัดกร่อนโลหะ, ดีบุก, สังกะสีและอะลูมิเนียมได้ ละลายได้ดีในน้ำ แต่ละลายได้น้อยในแอลกอฮอล์และไม่ละลายในตัวทำละลายที่เป็นสารอินทรีย์อื่น ๆ มีความคงทนดีในภาวะกรด หรือภาวะเป็นกลาง แต่จะสลายตัวได้ง่ายในภาวะด่าง ถูกทำลายให้เสื่อมฤทธิ์เมื่อถูกแสงอุลตร้าไวโอเล็ต, สารที่มีพื้นผิวเป็นประจุลบและดินเหนียว
ชื่อการค้ามักลงท้ายด้วย Xone เช่น Gramoxone
อาการพิษเฉียบพลัน
WHO จัดให้พาราควอทเป็นสารที่มีพิษปานกลาง โดยพิจารณาจาก LD50 ของมัน พาราควอทเป็นพิษอย่างร้ายแรงต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่ว่าจะได้รับพิษโดยทางใด สารนี้ถูกดูดซึมได้น้อยมากทางผิวหนังที่ไม่มีแผล แต่ถ้าผิวหนังมีรอยขีดข่วนหรือเป็นแผล พาราควอทจะซึมผ่านได้ดี พาราควอทจะระคายเคืองต่อผิวหนังอย่างรุนแรง การได้รับพิษเข้มข้น อาจทำให้เล็บหลุดได้ เมื่อผู้ป่วยกินพาราควอทเข้มข้น จะมีอาการแสบร้อนในช่องปาก ทางเดินอาหารอักเสบ เนื่องจากฤทธิ์ในการกัดของพาราควอท คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย ท้องร่วงซึ่งบางครั้งอาจมีเลือดปนออกมา กระสับกระส่าย เลือดกำเดาไหล หายใจขัด เบื่ออาหาร หัวใจเต้นเร็ว ผิวหนังคล้ำ ระบบหายใจล้มเหลว เซลล์ตับและไตถูกทำลายและตายในที่สุด
อาการพิษเรื้อรัง
การสัมผัสพาราควอทติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เป็นแผลพุพอง ซึ่งยังผลให้สารนี้ซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นสาเหตุให้ได้รับพิษอย่างร้ายแรง การสูดดมพาราควอทติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เลือดกำเดาไหล ถ้าเข้าตาจะเป็นอันตรายแต่แก้วตา และทำให้ตาบอดได้ในเวลาต่อมา ถ้ากลืนกินพิษของมันจะเป็นอันตรายต่อกระเพาะ ไต ตับ หัวใจ และอวัยวะอื่น ๆ นอกจากนี้ พิษของพาราควอทยังสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของปอด กลายเป็นพังผืด ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อปอดอย่างรุนแรง
สารประกอบของสารนี้มักจะซึมลงไปปนเปื้อนในน้ำใต้ดิน
กลไกการเกิดพิษ
กลไกที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ สมมติฐานที่เชื่อว่าจะเป็นไปได้คือ พาราควอทถูก reduce โดยอ็อกซิเจน เกิด Superoxide radical (O2) หลังจากนั้นโดยเอ็นซัยม์ Superoxide dismutaseจะทำให้Superoxide radical ทำปฏิกิริยากับน้ำเกิด H2O2(Hydrogen peroxide). Superoxide radical และ H2O2จะออกฤทธิ์ไปทำลายผนังเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
ผลต่อระบบของร่างกาย (Systemic Effects)
การได้รับพาราควอทปริมาณน้อยถึงปานกลาง 2-3 วัน หลังจากได้รับพาราควอท อาจมีอาการของไตและตับถูกทำลาย ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณของพาราควอทที่ได้รับเข้าไป การทำลายของอวัยวะทั้งสองนี้ สามารถกลับเป็นปกติได้ ประมาณ 5-10 วัน หรือในบางครั้งอาจถึง 14 วัน หลังจากได้รับพาราควอท ผู้ป่วยจะมีอาการปอดถูกทำลาย ซึ่งไม่สามารถจะกลับเป็นปกติได้ การหายใจไม่สะดวก และทรุดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏจากการเอกซเรย์ และในที่สุดผู้ป่วยจะเสียชีวิตเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว
การได้รับพาราควอทปริมาณสูง เมื่อผู้ป่วยได้รับพาราควอทในปริมาณที่สูง เช่น เกินกว่า 100 ซีซี ของพาราควอทเข้มข้น อวัยวะหลายอย่างจะถูกทำลายและล้มเหลว และผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง หรือ 1-2 วัน
สำหรับผู้ใหญ่ การกินพาราควอทเพียง 3 กรัม อาจทำให้ตายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา (พาราควอท 3 กรัม เท่ากับปริมาณพาราควอทเข้มข้น 15 ซีซีหรือ 1 ช้อนโต๊ะ)
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพที่อวัยวะต่าง ๆ มีดังนี้
- ปอดมี Diffuse cellular intravascular fibrosis โดยมี infiltration ของ profibroblast เข้าไปในถุงลม ทำให้เกิด pulmonary edema ได้
- ตับมี Centrilobular fatty infiltration ตับจะมีขนาดโตขึ้น มีการคั่งของเลือดและน้ำดี
- ไตมี Cortical necrosis และ tubular necrosis มีขนาดโตขึ้น
- กระเพาะอาหารมีเลือดออกได้
- ต่อมหมวกไตจะถูกทำลาย
- หัวใจมี focal myocardial necrosis
การวินิจฉัย
1. ประวัติ
ผู้ป่วยทั้งหมดจะให้ประวัติว่ากินพาราควอทโดยจงใจฆ่าตัวตายแทบทั้งสิ้น มีส่วนน้อยที่หยิบยาผิด แพทย์จะวินิจฉัยได้จากชื่อและฉลากที่ญาติหรือตัวผู้ป่วยนำมา ผู้ป่วยที่มีสติดีอยู่อาจให้ประวัติว่าสารพิษที่กินมีรสเผ็ดร้อนและขม มีสีน้ำตาลไหม้หรือสีฟ้าแก่ซึ่งพอช่วยการวินิจฉัยในเบื้องต้นถ้าผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่รู้สึกตัว ควรรีบซักประวัติจากผู้นำส่ง หรือญาติผู้ป่วย และให้นำฉลากหรือขวดยามาให้แพทย์ทำการักษาดูโดยด่วนในเรื่องของสี เมื่อหลายปีที่ผ่านมาพาราควอทที่ผลิตเป็นน้ำยาสีน้ำตาลเข้ม ปรากฏว่ามีผู้เข้าใจผิดกคิดว่าเป็นยาสามัญประจำบ้าน จึงเกิดพิษโดยอุบัติเหตุเพราะการหยิบยาผิดได้ ในปัจจุบันจึงเปลี่ยนจากสีน้ำตาลมาเป็นสีน้ำเงินและเติมสารที่ทำให้อาเจียนเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในการป้องกันไม่ให้พาราควอทถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ส่วนหนึ่ง ฉะนั้นจะพบว่าน้ำล้างกระเพาะอาหารของผู้ป่วยที่กินพาราควอทเป็นสีน้ำเงินหรือสีฟ้าแก่
ปริมาณพาราควอทที่ผู้ป่วยกินเข้าไปก็มีความสำคัญต่อพยากรณ์โรค เพราะกรัมม็อกโซนชนิดร้อยละ 20 จำนวน 10 - 15 มล. ก็เพียงพอทำให้ผู้ป่วยตายได้ ดังนั้นถ้าผู้ป่วยกินมาหนึ่งอึกใหญ่ประมาณคร่าว ๆ ว่า 30 มล. จะเป็นประมาณมากเกินพอที่ทำให้ตายได้ จำเป็นต้องให้การรักษาเร่งด่วน ผู้ป่วยที่ให้ประวัติกินพาราควอทเพียงหนึ่งอึก แม้ยังไม่ทันกลืน รีบบ้วนออกมาในที่สุดยังตายได้ ระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับพาราควอทเข้าไปในร่างกายก่อนนำส่งโรงพยาบาลก็มีความสำคัญ ช่วยพยากรณ์โรคได้กล่าวคือ ระยะยิ่งนานอัตราการตายก็ยิ่งสูง

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1281 เมื่อ: วันที่ 12 กันยายน 2013, 12:18:14 »

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนาข้าว

ผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนาข้าว
โดย คุณสุกัญญา อรัญมิตร นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ กรมการข้าว

บันทึกการประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเค­มีกำจัดศัตรูพืช ปี 2555
ระหว่างวันที่ 15 - 16 พฤศจิกายน 2555ณ โรงแรม มิราเคิลแกรนด์ ดอนเมือง กรุงเทพฯ

ผู้จัดการประชุม
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN : Thailand Pesticide Alert Network)
http://www.thaipan.org/



IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1282 เมื่อ: วันที่ 12 กันยายน 2013, 13:04:38 »

ผลไม้น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง ปลูกเล็ก ๆ  น้อยแถวคันนาก็น่าสนใจหากไม่โดนขโมยไปก่อนครับ



แก้วมังกร อยู่ในวงศ์ Cactaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับตะบองเพชร สกุล Hylocereanae แก้วมังกร มีพื้นเพดั้งเดิมอยู่ในอเมริกากลาง เข้ามาในเอเชียที่เวียดนามก่อน โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว โดยปลูกมากตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออกจากเมืองญาตรังไปจนถึงไซ่ง่อน

แก้วมังกรเป็นไม้เลื้อย มีลำต้นยาวประมาณ 5 เมตร มีรากทั้งในดินและรากอากาศ ชอบดินร่วนระบายน้ำดี ชอบแสงแดดพอเหมาะ โล่งแจ้ง แต่ไม่แรงกล้าเกินไป ดอกสีขาว ขนาดใหญ่กลีบยาวเรียงซ้อนกัน บานตอนกลางคืน ผลแก้วมังกรมีรูปทรงเป็นทรงกลมรี สีของเปลือกผลเมื่อดิบเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นมีสีแดงม่วงหรือสีบานเย็น มีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่รอบผล ผลแก้วมังกรส่วนใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 300 - 600 กรัม เมื่อผ่าผลแก้วมังกรจะเห็นเนื้อของผลแก้วมังกรสีขาวหากผลนั้นเป็นแก้วมังกรพันธุ์เวียดนามหรือพันธุ์ไทย และเนื้อผลจะมีสีแดงหรือชมพูเมื่อผลนั้นเป็นพันธุ์เนื้อสีแดง โดยมีเมล็ดสีดำเล็กคล้ายๆเม็ดงา หรือเม็ดแมงลัก กระจายฝังอยู่ทั่วเนื้อ แก้วมังกรสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมีดังนี้

พันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose.) เปลือกสีชมพูสด ปลายกลีบสีเขียว รสหวานอมเปรี้ยวหรือหวานจัด
พันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hylocercus megalanthus) เปลือกสีเหลือง ผลเล็กกว่าพันธุ์อื่นๆ เนื้อสีขาว เมล็ดขนาดใหญ่และมีน้อยกว่าพันธุ์อื่น รสหวาน
พันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hylocercus costaricensis) หรือพันธุ์คอสตาริกา เปลือกสีแดงจัด ผลเล็กกว่าพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง แต่รสหวานกว่า

แก้วมังกรเป็นไม้เลื้อยลำต้นอ่อนจำเป็นต้องมีหลักให้ลำต้นเกาะยึดซึ่งหลักจะเป็นไม้เนื้อแข็งหรือเสาซีเมนต์ก็ได้ ถ้าใช้ท่อซีเมนต์เป็นเสาซึ่งรูปทรงกลมภายในกลวงแต่เทปูนไว้ก้นท่อเพื่อไว้ใส่น้ำหล่อเลี้ยงให้เสามีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝังท่อซีเมนต์ลงในดินประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร ต้องสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5 – 2 เมตร ด้านบนของเสาทำเป็นร้านให้กิ่งเกาะแผ่ขยายออกไประยะปลูก 3 x 3 เมตร เตรียมหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร รอบ ๆ หลัก หลักละ 4 หลุม สำหรับปลูกหลุมละ 1 ต้น รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักเก่า 1 ปุ้งกี๋ เมื่อนำกิ่งพันธุ์ลงหลุมแล้วมัดกิ่งพันธุ์ให้แนบหลักและกันแดดให้ 1 – 2 สัปดาห์

แก้วมังกรนิยมรับประทานเป็นผลไม้สด เป็นส่วนผสมของฟรุตสลัดหรือปั่นเป็นน้ำผลไม้ เป็นผลไม้ที่สามารถรับประทานเพื่อบรรเทาอาการโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ตลอดจนช่วยลดความอ้วนเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีแคลอรีต่ำ เป็นผลไม้ที่มีกากใยสูง มีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่ช่วยทั้งในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยดูดซับสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย เช่น สารตกค้างจากยาฆ่าแมลงที่มากับผัก สารตกค้างเช่นตะกั่ว ที่มาจากควันท่อไอเสียรถยนต์ และสารอื่นๆ และยังช่วยลดการเกิดมะเร็งอีกด้วย


* IMG_7425_zps3daff6a8.jpg (135.87 KB, 1024x682 - ดู 528 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 12 กันยายน 2013, 13:07:11 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
Khunplong
สมาชิกลงทะเบียน
มัธยม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 836



« ตอบ #1283 เมื่อ: วันที่ 12 กันยายน 2013, 13:19:47 »

เข้ามาบ้านหลังนี้เมื่อไร ก็ได้ความรู้กลับไปแบบเต็มๆ เจ๋ง ขอนำความรู้เรื่องพิษจากสารเคมีกำจัดวัชพืชไปให้ท่านพ่อได้อ่านนะครับ ขอบคุณมากครับ  พอดีผมได้ลองนำสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชมาลองใช้ที่สวนผักหวานดู 2 ร่อง พ่นไว้ 1 อาทิตย์ได้ผลดีทีเดียวครับและใช้กับร่องผักหวานที่เหลือพ่นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา วันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ค่อยไปดูอีกที่ว่าได้ผลเป็นอย่างไรครับ และได้เอาไปให้นายกเทศมนตรีตำบลบ้านปล้องได้ทดลองใช้กับหญ้าหน้าบ้าน ถ้าได้ผลดีท่านจะสั่งมาใช้กำจัดหญ้าในโครงการถนนตัวอย่างครับ ผมหวังลึกๆว่าถ้าได้ผลและปลอดภัยคงจะเป็นแนวทางใหม่สำหรับชาวบ้านในการหันกลับมาทำเกษตรอินทรีย์ในตำบลได้ง่ายขึ้นครับ  พระสงฆ์ที่ท่านฉันเจจะได้ฉันพืชผักที่ปลอดสารพิษจริงๆเสียทีหลังจากที่ตรวจพบสารพิษในเลือดครับ
IP : บันทึกการเข้า

ไร่จันทร์กะสิน By Khunplong (ขุนปล้อง)
08-9432-5413(DTAC)09-3130-9451(AIS) @140 ม.10 ต.ปล้อง อ.เทิง จ.เชียงราย 57230 https://www.facebook.com/jatupong.tapiang
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1284 เมื่อ: วันที่ 12 กันยายน 2013, 22:36:33 »

เข้ามาบ้านหลังนี้เมื่อไร ก็ได้ความรู้กลับไปแบบเต็มๆ เจ๋ง ขอนำความรู้เรื่องพิษจากสารเคมีกำจัดวัชพืชไปให้ท่านพ่อได้อ่านนะครับ ขอบคุณมากครับ  พอดีผมได้ลองนำสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชมาลองใช้ที่สวนผักหวานดู 2 ร่อง พ่นไว้ 1 อาทิตย์ได้ผลดีทีเดียวครับและใช้กับร่องผักหวานที่เหลือพ่นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา วันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ค่อยไปดูอีกที่ว่าได้ผลเป็นอย่างไรครับ และได้เอาไปให้นายกเทศมนตรีตำบลบ้านปล้องได้ทดลองใช้กับหญ้าหน้าบ้าน ถ้าได้ผลดีท่านจะสั่งมาใช้กำจัดหญ้าในโครงการถนนตัวอย่างครับ ผมหวังลึกๆว่าถ้าได้ผลและปลอดภัยคงจะเป็นแนวทางใหม่สำหรับชาวบ้านในการหันกลับมาทำเกษตรอินทรีย์ในตำบลได้ง่ายขึ้นครับ  พระสงฆ์ที่ท่านฉันเจจะได้ฉันพืชผักที่ปลอดสารพิษจริงๆเสียทีหลังจากที่ตรวจพบสารพิษในเลือดครับ

ขอบคุณครับที่เข้ามาแวะชมครับ  สารเคมีการเกษตรอันตรายที่มีขายในประเทศไทยมีหลายตัวครับ เกษตรกรหลายคนบอกว่าจำเป็นต้องใช้เนื่องจากขั้นตอนการทำที่เป็นไปที่เน้นปริมาณเลยต้องพึ่งสารเคมี  การใช้สารเคมีชาวไร่ชาวนามักจะไม่ค่อยคำนึงถึงคนอื่น บางคนที่นาอยู่ติดถนนแต่พ่นสารเคมีเช่นยาคุมหญ้า  ยาฆ่าแมลง พอเมื่อมีลมแรง ๆ ทำให้คนสัญจรไปมาบนถนนก็ได้สูดดมสารเคมีไปด้วย คนที่มีปัญหาเรื่องระบบการหายใจอยู่แล้วก็แย่ลงไปอีก ลูกเล็กเด็กแดงก็พลอยได้รับสารพิษไปด้วย  หน่วยงานของรัฐ  สหกรณ์ ก็มักมีเอี่ยวกับบริษัทเคมีด้วยบางครั้งก็เห็นเกษตรอำเภอพา Sale ขายยามาด้วยเสมอ  สารชีวภาพที่ปลอดภัยก็มีหลายตัวน่าใช้ครับ แต่คนส่วนใหญ่จะติดค่านิยมแบบเดิม ๆ คือต้องเห็นผลทันตาเลยขายไม่ค่อยดี จะทำโปรโมรชั่น ๆ ดี ๆ ก็แพ้บริษัทเคมีภัณฑ์ใหญ่ ๆ มีทั้งลด แลก แจก แถม  อย่างทุกวันนี้ประเทศทั่วโลกได้ปรับเปลี่ยนจากการเกษตรที่ใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์กันอย่างขะมักเขม้นโดยเฉพาะประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฯลฯ ทั้งที่ประเทศเหล่านี้ผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้เองและส่งขายไปยังต่างประเทศ  ในปัจจุบันนโยบายของรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรอินทรีย์  มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวิจัยพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์  รวมทั้งการให้เงินสนับสนุนแก่เกษตรกรเพื่อการปรับเปลี่ยนจากการเกษตรที่ใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์  ในประเทศไทย มีผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายสารเคมีแต่ละรายใช้ชื่อทางการค้าแตกต่างกันไปในสารออกฤทธิ์ชนิดเดียวกัน ทำให้มีชื่อทางการค้ามากมายในท้องตลาดสร้างความสับสนแก่เกษตรกรในการเลือกใช้เกษตรกรบางรายจึงใช้สารออกฤทธิ์ชนิดเดียวกันมากกว่า 1 ยี่ห้อในเวลาเดียวกัน เจ้าของร้านขายยาสารเคมีที่กฎหมายบังคับให้ผ่านการอบรมเพียง 2-3 วัน เทียบกับร้านขายยาที่ต้องมีเภสัชกรที่ต้องผ่านการศึกษาอย่างน้อย 5 ปี



IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1285 เมื่อ: วันที่ 12 กันยายน 2013, 22:57:33 »

ยาฆ่าแมลง ธรุกิจ บิดเบือนโรคร้าย ก่อมะเร็ง

ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า หน่วยการกำหนดปริมาณสารเคมี ประเทศไทย ยังไม่สามารถเรียนร้องค่าเสียหาย จากการตาย ของ เกษตร จากการเกิดมะเร็งและมีเพียง มะเร็งบางชนิดเท่านั้น ที่บริษัท ขายยาฆ่าแมลง ยอมรับ แต่ไม่รับผิดชอบค่าเสียหายก่อมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งสมอง มะเร็งผิวหนัง มะเร็งเต้านม มะเร็งระยะสุดท้าย ส่งผลกระทบ ปี 2555 ไทยใช้สูงสุด อันดับ 5 ของโลก คนไทยตายด้วยโรคมะเร็ง อันดับ หนึ่ง เสียชีวิต 1 ชั่วโมง ทุก 7 คน เกษตรกร คือ เหยื่อ



อ.เดชา อธิบาย เมล็ดพันธุ์ลูกผสม หมัน ตัดต่อพันธุ์ ให้อ่อนแอ จากพันธุ์พ่อหมัน ต่างประเทศ ทำให้ ชอบปุ๋ย ชอบยาฆ่าแมลง จึงส่งผลให้ ยาฆ่าแมลงเมืองไทย ติดอันดับ 5 ของโลก



ฆาตกรเงียบ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 12 กันยายน 2013, 22:59:40 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1286 เมื่อ: วันที่ 13 กันยายน 2013, 16:17:48 »

เกษตรพันธสัญญา (เรื่องที่ทุกคนควรรู้).

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1287 เมื่อ: วันที่ 14 กันยายน 2013, 21:26:54 »

ช่วงเย็นปั่นจักรยานออกกำลังกาย จะได้สำรวจนาคนอื่นด้วยเผื่อจะได้เทคนิคใหม่ ๆ ครับ


* 20130914_171523.jpg (61.72 KB, 700x525 - ดู 487 ครั้ง.)

* 20130914_171826.jpg (76.37 KB, 700x525 - ดู 466 ครั้ง.)

* 20130914_171912.jpg (82.16 KB, 700x525 - ดู 461 ครั้ง.)

* 20130914_173025.jpg (84.71 KB, 700x525 - ดู 463 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1288 เมื่อ: วันที่ 14 กันยายน 2013, 21:38:06 »

ปั่นมาดูแปลงที่เป็นโรคขอบใบแห้งครับเป็นพันธุ์ กข41 เป็นนาดำด้วยรถดำนา เนื่องจากเจ้าของแกใส่ปุ๋ยยูเรียมากเพื่อให้ได้น้ำหนักดีคล้าย ๆ เหมือนช่วงนาปรังแต่คงใส่ปุ๋ยมากไปหน่อยบวกกับเป็นฤดูฝนและมีความชื้นสูง จึงเกิดโรคขอบใบแห้งซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หากเป็นโรคมาก ๆ  จะทำให้ท่อน้ำท่ออาหารอุดตัน ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้น แต่แปลงนี้ออกรวงแล้วเมล็ดข้าวใกล้จะเก็บเกี่ยวได้แล้วจึงรอดตัวไป  แต่ก็นำมาทำข้าวพันธุ์ต่อไม่ได้  สำหรับข้าวนาปีพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ได้แก่ มะลิ 105 กข6  ครับ


* 20130914_174557.jpg (57.5 KB, 700x525 - ดู 487 ครั้ง.)

* 20130914_174638.jpg (65.69 KB, 700x525 - ดู 467 ครั้ง.)

* 20130914_174737.jpg (79.7 KB, 700x525 - ดู 456 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1289 เมื่อ: วันที่ 14 กันยายน 2013, 21:49:08 »

ก่อนเข้าบ้านแวะดูแปลงนาตัวเอง สำรวจดูลำต้นซึ่งเตรียมพร้อมที่จะตั้งท้องแล้วครับปลายเดือนอาจได้ใส่ปุ๋ยบำรุงอีกรอบแต่ก็คงใส่ไม่มากครับเกรงว่าจะล้ม เนื่องจากน้ำปีนี้ค่อนข้างมากดินไม่แห้งเลยมีน้ำขังตลอดระบายออกก็ไม่ได้เพราะน้ำจากลำเหมืองไหลเข้านามาตลอดเนื่องจากมีการเร่งระบายน้ำจากหนองหลวงและฝาย แปลงนาที่อยู่ใกล้ๆ  หนองหลวงก็เสียหายกันมากเพราะระดับน้ำค่อนข้างสูงในปีนี้


* 20130914_175610.jpg (96.92 KB, 700x525 - ดู 444 ครั้ง.)

* 20130914_175630.jpg (82.47 KB, 700x525 - ดู 439 ครั้ง.)

* 20130914_175725.jpg (101.41 KB, 700x525 - ดู 482 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
may111
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,103



« ตอบ #1290 เมื่อ: วันที่ 16 กันยายน 2013, 10:15:21 »

ข้าวงามแต้อ้าย
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1291 เมื่อ: วันที่ 16 กันยายน 2013, 11:39:31 »

ข้าวงามแต้อ้าย
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

55++  ยิ้มกว้างๆ แปลง 13 ไร่มีหญ้าขึ้นนักขนาดครับนาปรับบ่าค่อยเรียบ  รูปถ่ายนี่แปลง 9 ไร่ปรับค่อนข้างดีกว่าหญ้าบ่าค่อยมีนักครับ  ปกติทำนาหว่านใส่ยาคุมหญ้า ที่นาเรียบบ่าเรียบหญ้าก็บ่าค่อยมีครับ รอบนี้ทำนาดำบ่าใส่ยาคุมหญ้าก็เลยขึ้นครับ นาปรังรอบต่อไปก็จะปรับฮื้อดีกว่านี้ กะว่าจะทำนาดำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ครับ
IP : บันทึกการเข้า
may111
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,103



« ตอบ #1292 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2013, 10:08:27 »

 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ นาปรังผมจะทำข้าวญี่ปุ่นครับ เห็นเขาบอกว่าทำแบบนาหยอด ครับ555+
ยังไม่เคยลองเหมือนกันครับ ยังไงจะมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังนะครับ ราคาดีมากเลยครับน่าสนใจจริงๆเลย.... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1293 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2013, 17:04:23 »

ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ นาปรังผมจะทำข้าวญี่ปุ่นครับ เห็นเขาบอกว่าทำแบบนาหยอด ครับ555+
ยังไม่เคยลองเหมือนกันครับ ยังไงจะมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังนะครับ ราคาดีมากเลยครับน่าสนใจจริงๆเลย.... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


ข้าวญี่ปุ่นตอนนี้คนไทยนิยมกินกันมากขึ้นครับโดยเฉพาะเด็ก ๆ เค้าตกแต่งอาหารให้น่ากินมาก  อย่างร้านอาหารญี่ปุ่นก็มีเยอะแยะมากมายตามห้าง แม้แต่ถนนคนเดิน ตลาดนัดคลองถม ในเซเว่นก็มีข้าวกล่องขายครับ  ผมว่าปลูกข้าวญี่ปุ่นบ้างก็ช่วยหลาย ๆ อย่าง ไม่ต้องลุ้นราคารับจำนำ รัฐบาลไม่ต้องมีภาระในการรับจำนำ ข้าวก็ไม่ล้นตลาดเพราะยังมีความต้องการสูง  มีบริษัทรับซื้อโดยตรงโดยมีการทำสัญญารับซื้อเรียบร้อย มีการประกันราคา อย่างเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยาก็ได้เปรียบเพราะอุณภูมิเหมาะสม  หากผ่านมาตรฐาน Organic Standards  แล้วก็ช่วยเพิ่มมูลค่าขึ้นอีกด้วยครับ


* 35686823182d60ee854fk9.jpg (135.33 KB, 500x375 - ดู 407 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1294 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2013, 20:55:45 »

ตามไปดูตัวแทนเกษตรกรดูงานกันบ้าง รายการตอนนี้ดูงานของ อ.เชาว์วัส หนูทอง ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี  จ.ลพบุรี ครับ

THE FARMER เกมเกษตรกร 16 กันยายน 2556

IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,576


canon eos


« ตอบ #1295 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2013, 23:28:45 »

ข้าวงามแต้อ้าย
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

55++  ยิ้มกว้างๆ แปลง 13 ไร่มีหญ้าขึ้นนักขนาดครับนาปรับบ่าค่อยเรียบ  รูปถ่ายนี่แปลง 9 ไร่ปรับค่อนข้างดีกว่าหญ้าบ่าค่อยมีนักครับ  ปกติทำนาหว่านใส่ยาคุมหญ้า ที่นาเรียบบ่าเรียบหญ้าก็บ่าค่อยมีครับ รอบนี้ทำนาดำบ่าใส่ยาคุมหญ้าก็เลยขึ้นครับ นาปรังรอบต่อไปก็จะปรับฮื้อดีกว่านี้ กะว่าจะทำนาดำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ครับ


 ยิ้มกว้างๆ...ถ้าทำไฮ่น้อยๆ..จะใช้เวลาปรับไม่นานครับ...ไฮ่น้อยๆเก็บกักน้ำได้นาน.....จะหื้อเหมาะ..ทำไฮ่น้อยๆยาวๆ...จะง่ายต่อก๋านจัดก๋าน...ไถหือทำเทือก,ใส่ปุ๋ย,ฉีดพ่นยาหรือฮอร์โมนทำได้ง่าย...เพียงแต่จะเสียพื้นที่แปลงนาเยอะตะอั้นอ่ะครับ....
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1296 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2013, 10:20:29 »

ข้าวงามแต้อ้าย
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

55++  ยิ้มกว้างๆ แปลง 13 ไร่มีหญ้าขึ้นนักขนาดครับนาปรับบ่าค่อยเรียบ  รูปถ่ายนี่แปลง 9 ไร่ปรับค่อนข้างดีกว่าหญ้าบ่าค่อยมีนักครับ  ปกติทำนาหว่านใส่ยาคุมหญ้า ที่นาเรียบบ่าเรียบหญ้าก็บ่าค่อยมีครับ รอบนี้ทำนาดำบ่าใส่ยาคุมหญ้าก็เลยขึ้นครับ นาปรังรอบต่อไปก็จะปรับฮื้อดีกว่านี้ กะว่าจะทำนาดำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ครับ


 ยิ้มกว้างๆ...ถ้าทำไฮ่น้อยๆ..จะใช้เวลาปรับไม่นานครับ...ไฮ่น้อยๆเก็บกักน้ำได้นาน.....จะหื้อเหมาะ..ทำไฮ่น้อยๆยาวๆ...จะง่ายต่อก๋านจัดก๋าน...ไถหือทำเทือก,ใส่ปุ๋ย,ฉีดพ่นยาหรือฮอร์โมนทำได้ง่าย...เพียงแต่จะเสียพื้นที่แปลงนาเยอะตะอั้นอ่ะครับ....

ขอบคุณครับ  เดียวแล้วนาปีก็ว่าจะขึ้นคันนาใหม่หมดครับ ด้านกว้างของแปลงประมาณ 20 -25 m ฮื้อสามารถใส่ปุ๋ยหรือพ่นฮอร์โมนโดยบ่าต้องลงในแปลงนาครับ แปลงนาปัจจุบันนอกจากติดปัญหาเรื่องการปรับระดับยากแล้วเพราะแปลงใหญ่ ยังขนกล้ายากโตยครับเลยต้องทำใหม่ครับ


* 002.jpg (66.43 KB, 800x600 - ดู 407 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1297 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2013, 13:43:39 »

ตามไปดูงานกันต่อครับ

THE FARMER เกมเกษตรกร 17 กันยายน 2556

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #1298 เมื่อ: วันที่ 19 กันยายน 2013, 13:35:38 »

หอมแผ่นดิน ตอน...หัวใจไร้สาร

คนกลุ่มเล็กๆ ในชุมชนบ้านฝั่งคลอง ตำบลบ้านหลวง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม รวมตัวกันปลูกผักอินทรีย์
"ถ้าดินตาย น้ำตาย ธรรมชาติขาดความอุดมสมบูรณ์ นั่นหมายถึงว่า ชีวิตการเกษตรของพี่น้องประชาชนจะอยู่ไม่ไ­ด้"
จำปี เล็กมาบแค และเพื่อนบ้านหันมาทำเกษตรอินทรีย์ เพราะการเรียนร็ ดูงาน ทำให้รู้ว่าเกษตรอินทรีย์ เป็นทางเลือกที่ยั่งยืน
"การทำเกษตรอินทรีย์ มันไม่ได้ยากเกินความสามารถเลย เเต่มันต้องมีความขยัน ความอดทน ซึ่งเราเองก็ได้รวมกัน พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าเกษตรอินทรีย์มันสา­มารถทำได้ มันอยู่ได้ ทำได้จริง อยู่ได้จริง"

IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,576


canon eos


« ตอบ #1299 เมื่อ: วันที่ 20 กันยายน 2013, 19:02:32 »

 ยิ้มกว้างๆ...ส่วนหนึ่งของผลผลิตจากโครงการปลูกผักบนคันนา....วันปกติก็เก็บไปขายที่ตลาดในหมู่บ้าน...และทุกๆวันศุกร์จะนำผักไปขายที่หน้าวัดพระธาตุจอมกิตติ....อันนี้แม่กับแฟนช่วยกันเอาไปขายครับ...


* bm8302.jpg (238.33 KB, 800x600 - ดู 351 ครั้ง.)

* bm8304.jpg (273.56 KB, 800x600 - ดู 393 ครั้ง.)

* bm8305.jpg (264.03 KB, 800x600 - ดู 392 ครั้ง.)

* bm8306.jpg (258.3 KB, 800x600 - ดู 386 ครั้ง.)

* bm8307.jpg (237 KB, 800x600 - ดู 357 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
หน้า: 1 ... 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 [65] 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 ... 96 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!