|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
   
ออฟไลน์
กระทู้: 4,046

|
 |
« ตอบ #1271 เมื่อ: วันที่ 09 กันยายน 2013, 21:33:39 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 กันยายน 2013, 21:43:27 โดย ubuntuthaith »
|
IP :
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
   
ออฟไลน์
กระทู้: 4,046

|
 |
« ตอบ #1272 เมื่อ: วันที่ 09 กันยายน 2013, 21:42:11 » |
|
|
|
|
|
|
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
   
ออฟไลน์
กระทู้: 4,046

|
 |
« ตอบ #1274 เมื่อ: วันที่ 11 กันยายน 2013, 21:46:43 » |
|
|
|
|
|
|
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
   
ออฟไลน์
กระทู้: 4,046

|
 |
« ตอบ #1276 เมื่อ: วันที่ 11 กันยายน 2013, 22:12:08 » |
|
"เกษตรอินทรีย์" กับระบบ Symbiosis การเกษตรอินทรีย์ ใช่เพียงว่าผู้ทำเกษตรจะไม่สนใจสารเคมีใดๆ และก็ไม่ถึงขนาดที่ว่าจะไม่สนใจอะไรเลย เพราะในระบบนิเวศน์อันอุดมสมบูรณ์ ย่อมต้องมีระบบที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ทั้งพืช สัตว์ ดิน น้ำ อากาศ เราอาจจะไม่สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับสิ่งที่เรียกว่า ความสมบูรณ์ ที่สุดได้ แต่เราสามารถแบ่ง และเลือกที่จะจัดการในสิ่งใดๆ ให้มีอย่างน้อย 1 อย่าง ที่สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกัน และไม่ทำให้การเกษตรล่ม หรือไปไม่ถึงฝั่งฝัน ระบบ symbiosis จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกษตรกร ได้ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกัน ของพืชและสัตว์อย่างเห็นได้ชัดเจน ระบบ symbiosis คืออะไร ซิมไบโอซิส คือ การอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิตสองชนิดที่เอี้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะที่ไหนเราสามารถจัดการกับปัญหาได้ ที่เห็นได้ชัดเจนคือการทำเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี การใช้วิธีการกำจัดและควบคุมแมลงศัตรูพืช ตัวห้ำ ตัวเบียน หรือแม้กระทั่ง การเลี้ยงปู การเลี้ยงกุ้ง ในนาข้าว โดยที่มีข้าวให้กินไปด้วย นาข้าวอินทรีย์กับ Symbiosis เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ เป็นการสร้างสภาวะที่มีการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศโดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้รับประโยชน์ ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ในเมื่อนาข้าวมีปลา มีหอย ทำไมจะเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปูเพิ่มเติมไม่ได้ ในเมื่อทั้งหมดนี้ จะช่วยเกื้อกูลนาข้าว ช่วยเกื้อกูลผัก ช่วยเกื้อกูลการเกษตร ให้มีผลผลิตดี โดยที่ทั้งสองฝ่ายก็สามารถอยู่รอดได้แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่าง ข้าวนาปู ข้าวอินทรีย์ที่หนิงเซี่ย ที่ได้นำเทคนิคการปลูกข้าวควบคู่กับการเลี้ยงปูน้ำจืด เข้ามาใช้ในแปลงนาข้าวตั้งแต่ปี 2552 นับเป็นการผสมผสานการเพาะปลูกควบคู่กับการเพาะเลี้ยงได้อย่างลงตัว เริ่มต้นได้มีการทดลองเพาะปลูกข้าวในนาปูจำนวน 1,000 หมู่ (ประมาณ 2.4 หมู่ เท่ากับ 1 ไร่) ใช้พันธุ์ข้าว Jing27 และพันธุ์ 843 โดยแปลงนา 1 หมู่สามารถเพาะปลูกข้าวได้ 550 กิโลกรัม และเพาะเลี้ยงปูได้ 25 กิโลกรัม ทำรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้นประมาณหมู่ละ 1,500 ? 1,800 หยวน อีกทั้งได้ข้าวที่ปลอดสารเคมี แถมยังเป็นการเพาะปลูกเชิงนิเวศวิทยาที่รักษาสิ่งแวดล้อมและไม่ทำร้ายสังคมอีกด้วย สำหรับปี 2553 ได้มีการขยายผลปลูกในแปลงนาข้าวจำนวน 50,000 หมู่ ในอำเภอเห้อหลาน (นครอิ๋นชวน) เมืองชิงถงเสียและเมืองจงเว่ย นอกจากนี้ ยังคาดการณ์กันว่าจะขยายผลการปลูกข้าวนาปูถึง 500,000 หมู่ภายในปี 2555 และเพาะเลี้ยงปูน้ำจืดได้อีก 4,000 ตัน  จากผลการทดลองการปลูกข้าวควบคู่กับการเลี้ยงปูนั้นพบว่า ปูเจริญเติบโตได้ดี ปูช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ทำให้ดินร่วนซุย มูลของปูยังเป็นปุ๋ยแก่ต้นข้าว ตลอดการปลูกข้าวจึงไม่จำเป็นต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน สารเคมีและเทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรมใดๆ เป็นการเพาะปลูกเชิงนิเวศวิทยาที่ส่งผลให้ต้นข้าวมีแร่ธาตุและสารอาหารสมบูรณ์ ตัวอย่างที่สอง กุ้งก้ามแดง ในนาข้าวอินทรีย์ที่ดอยอินทนนท์ โครงการหลวงได้ทดลองเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในนาข้าวของเกษตรกรที่บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่มีวิถีชีวิตชอบปลูกข้าวไว้บริโภคในครัวเรือน เพื่อไม่ให้วิถีชีวิตเดิมของชาวเขาเปลี่ยนไป จึงได้ทดลองเลี้ยงกุ้งก้ามในนาข้าว และพบว่ากุ้งสามารถเจริญเติบโตได้ดี มีอัตรารอดดี และกุ้งก้ามแดงไม่ทำลายต้นข้าว ยิ่งไปกว่านั้นมูลของกุ้งก้ามแดง และเปลือกกุ้งยังเป็นปุ๋ยอินทรีย์ไคโตซานอย่างดี บำรุงต้นข้าวให้เจริญงอกงาม และได้ผลผลิตที่ดีด้วย สำหรับผลการทดลองมีประโยชน์ต่อชาวเขา 2 ด้าน คือ กุ้งก้ามแดงมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 800 บาท และเกษตรกรยังคงมีข้าวไว้บริโภคด้วย ที่สำคัญมีการส่งเสริมพัฒนาการเลี้ยงกุ้งอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการค้าและการส่งออกมีทิศทางที่ดีมากอนึ่งผลผลิตกุ้งก้ามแดงรุ่นแรก ได้ส่งไปถวายเพื่อใช้ในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จฯ พระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานเลี้ยงแก่พระราชอาคันตุกะ ในวันที่ 13 มิถุนายน 2549 จะเห็นได้ว่า การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตสองชนิด จากที่หลายๆ คนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้เห็นกลับกลายเป็นการเพิ่มค่าให้สิ่งสองสิ่งได้มีคุณค่ามากขึ้นกว่าเดิม การทำเกษตรอินทรีย์ อาจไม่ใช่แค่การไม่ใช้สารเคมี หรือไม่ใช้อะไรเลย ปล่อยให้ธรรมชาติกัดกินอย่างเดียวไม่ได้ เพราะธรรมชาติในบางครั้ง ก็ไม่ได้สมบูรณ์อย่างที่คิด โดยเฉพาะผืนดินที่ผ่านสารเคมีมาก่อน เกษตรกรย่อมต้องเรียนรู้ถึงสิ่งที่ค่าในดิน ในน้ำ ให้มากกว่าเดิม และปรับเปลี่ยนทดลองถึงการอยู่ร่วมกันและเกื้อหนุนกันในเชิงนิเวศน์อย่างจริงจัง ย่อมได้มาซึ่งผลผลิตที่มีคุณค่า 
|
|
|
|
|
|
|