เหยี่ยวเวหาความเป็นมาของโครงการสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมทางวิทยุสื่อสาร 245 เมกะเฮิรตซ์ (เหยี่ยวเวหา)
1.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมทางวิทยุสื่อสารความถี่ 245 เมกะเฮิรตซ์ (เหยี่ยวเวหา) เมื่อปี พ.ศ.2542 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การกระทำความผิดทางอาญาและรักษาความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสม
1.1 คำสั่ง ตร.ที่ 184/2542 ลง 16 มี.ค.42 เรื่อง แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา คณะอำนวยการ และคณะทำงานโครงการสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมทางวิทยุสื่อสาร 245 เมกะเฮิรตซ์
1.2 คำสั่ง ตร.ที่ 452/2542 ลง 6 ก.ค.42 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเหยี่ยวเวหาโดยมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของ กองตำรวจสื่อสาร
2.ศูนย์ปฏิบัติการเหยี่ยวเวหาได้มีการจัดโครงสร้างและกำหนดภารกิจหน้าที่การงาน ดังนี้.-
2.1 หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการเหยี่ยวเวหา
2.2 รองหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการเหยี่ยวเวหา
2.3 งานธุรการ มีหน้าที่ในการรับสมัครเหยี่ยวเวหา จัดและดำเนินการต่อบัตรสมาชิกที่หมดอายุ งานเตรียมการเปิดอบรมและฝึกทบทวนของโครงการฯ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตรวจสอบประวัติผู้ขอเป็นสมาชิกฯ
2.4 ศูนย์วิทยุเหยี่ยวเวหา มีหน้าที่รับ-ส่งข่าวสารระหว่างประชาชนและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับแจ้งข้อมูลข่าวสารและการประสานเหตุจากประชาชนที่เป็นสมาชิกโครงการฯ ในการแจ้งข้อมูลการก่ออาชญากรรม การจราจร การช่วยประสานเหตุกรณีเหตุเพลิงไหม้ ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายใน ตร.และหน่วยงานราชการอื่นที่เกี่ยวข้องในการระงับเหตุทางข่ายวิทยุ 245 เมกะเฮิรตซ์ และข่ายปกติของทางราชการตลอด 24 ชม. ต่อมา เมื่อเกิดเหตุอุทกภัยในพื้นที่ เหนี่ยวเวหา ได้ร่วมกันเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ กทม. ปทุมธานี และนนทบุรี โดยได้จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจเหยี่ยวเวหาขึ้นที่ ปทุมธานี,นนทบุรีและพื้นที่ บก.น.7,8,9 ดำเนินงานติดต่อประสานงานและส่งความช่วยเหลือให้กับผู้ที่ประสบภัยในทุกรูปแบบ แจ้งข้อมูลน้ำท่วม และประสานความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่
ภารกิจหน้าที่
1. รับแจ้งเหตุจากสมาชิกฯ
2. รับแจ้งเหตุจากหน่วยงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ข่ายการติดต่อสื่อสาร
จัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณไว้ทั้งหมด 4 จุด ในกทม. คือ
1. บนตึก EMPIRE สาธร กรุงเทพฯ
2. บนตึก FLORA VIEW ถ.พัฒนาการ ประเวศ กทม.
3. บนตึก SOFTWARE PARK ถ.แจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด กทม.
4. บนยอดเขาเขียว จังหวัดนครนายก
3. สมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมทางวิทยุสื่อสาร 245 เมกะเฮรตซ์ (เหยี่ยวเวหา) ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2542-2547
1. ในเขต กทม. อบรม รุ่นที่ 1-17 จำนวนสมาชิกฯอบรมทั้งสิ้นประมาณ 4,250 คน
2. ในเขตพื้นที่ ตจว.อบรมทั้งหมด 17 รุ่น สมาชิกฯอบรมทั้งสิ้นประมาณ 4,631 คน
2.1 จว.สุราษฎร์ธานี 2 ครั้ง
2.2 จว.เชียงใหม่ 3 ครั้ง
2.3 จว.นครราชสีมา 1 ครั้ง
2.4 จว.ขอนแก่น 1 ครั้ง
2.5 จว.อุดรธานี 1 ครั้ง
2.6 จว.เชียงราย 2 ครั้ง
2.7 จว.อุบลราชธานี 3 ครั้ง
2.8 จว.พิษณุโลก 1 ครั้ง
2.9 จว.ภูเก็ต 1 ครั้ง
2.10 จว.นครศรีธรรมราช
2.11 จว.เพชรบุรี 1 ครั้ง
4.ปัจจุบัน ศุนย์ปฏิบัติการเหยี่ยวเวหา ขึ้นตรงอยู่ในความรับผิดชอบของ สส.ตั้งแต่ 30 มิ.ย.48
ตามที่ได้มี พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 โดยีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 30 มิ.ย.48 เป็นต้นไปนั้น ศูนย์ปฏิบัติการเหยี่ยวเวหา จึงขึ้นกับการบังคับบัญชาของ กองตำรวจสื่อสาร โดยอยู่ในความรับผิดชอบของ ฝสส.1 สส.(สสม.)มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
1. เป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารทางวิทยุระหว่างประชาชนกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้การรับแจ้งเหตุและข่าวอาชญากรรม
2. ควบคุมทะเบียนสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม
3. จัดทำรหัสประมวลสัญญาณเรียกขานของสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม
4. กำหนดระเบียบการปฏิบัติของสมาชิกและประสานงานในการฝึกอบรมสมาชิก
5. ตรวจและจำแนกประเภทของข่าวและติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. สถานที่ตั้ง ฝสส.1 สส.(สสม.) ศูนย์ฝึกสื่อสารลาดโตนด แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. 10210
6. กำลังพล ประกอบด้วย สว.1 นาย รอง สว.มาช่วยราชการ 1 นาย ชั้นประทวน 6 นาย
7. หลักสูตรการฝึกอบรมสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมทางวิทยุสื่อสาร 245 เมกะเฮิรตซ์
1.ภาคทฤษฎี 8 ชั่วโมง (1 วัน) ประกอบด้วย
1.1 สถานภาพและปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่รับผิดชอบ
1.2 กฎหมายที่ประชาชนควรทราบเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของประชาชนในฐานะผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ตาม ป.วิอาญา และกฎหมายอื่น ๆ
1.3 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม และความผิดในการครอบครองวิทยุคมนาคม
1.4 หลักการประสานงาน แนวทางการแจ้งข่าวกับศูนย์ปฏิบัติการเหยี่ยวเวหา
1.5 การจดจำตำหนิ รูปพรรณ ของคนร้าย รถยนต์หรืออื่น ๆ
2.ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย
2.1 การฝึกท่าบุคคลมือเปล่า และการจัดแถว (3 ชั่วโมง)
2.2 การฝึกการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ 7 ชั่วโมง)
2.3 การฝึกการป้องกันตัวขั้นพื้นฐาน (ถ้ามีงบประมาณ)
8.สมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมทางวิทยุสื่อสาร 245 เมกะเฮิรตซ์ (เหยี่ยวเวหา) ตั้งแต่ปี 2548-2552
1. ในเขต กทม.อบรม รุ่นที่ 18-21 รวมสมาชิกอบรมทั้งสิ้น 1,217 คน
2. ในเขตพื้นที่ ตจว. มีอบรมเพิ่มเติมดังนี้.-
2.1 จว.นครราชสีมา อบรมเพิ่มเติมจำนวน 3 รุ่นๆละ ประมาณ 200 คน รวม 600 คน
2.2 จว.อุบลราชธานี อบรมเพิ่มเติม จำนวน 4 รุ่นๆละ ประมาณ 200 คน รวม 800 คน
2.3 จว.ศรีสะเกษ อบรมใหม่ จำนวน 1 ครั้ง จำนวน 250 คน
รวมสมาชิกทั้งสิ้น ตามข้อ 2.1-2.3 รวมจำนวน 1,650 คน
ตามข้อ 2 ในพื้นที่ ตจว. แต่ละ ภ.จว.เป็นผู้ดำเนินการจัดอบรม โดยทำเรื่องขออนุมัติ ตร.ผ่าน สส.เป็นผู้พิจารณานำเสนอ ตร.พิจารณาอนุมัติ
9. ข่ายการติดต่อสื่อสาร
1. ระบบ UHF/FM ความถี่ 245 เมกะเฮิรตซ์
2. ระบบ VHF/FM ความถี่ ตร.ทุกข่าย (เฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝสส.1 สส.(สสม.))
3. ระบบ EQSO (ระบบอินเตอร์เน็ต) อยู่ระหว่างปรับปรุงระบบ
10. พื้นที่รับผิดชอบของสมาชิกเหยี่ยวเวหาในเขต กทม.และปริมณฑล
1. ในเขต กทม.แบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบตามแบบของ บชน. คือ บก.น. 1-9 โดยมอบหมายให้ หน.บก.เขต เป็ยผู้รับผิดชอบประสานงานกับ สน.ท้องที่ ในการขอกำลังสนับสนุน แล้วแจ้งให้ ผบก.สส. เพื่อพิจารณา และหรือประสานงานมาที่ศูนย์ปฏิบัติการเหยี่ยวเวหา เพื่อแจ้งผู้บังคับบัญชาทราบต่อไป
2. ในเขตปริมณฑล คือ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และ สมุทรสาคร แบ่งเขตพื้นที่ตาม ภ.จว.นั้น ๆ โดยมอบหมายให้ หน.บก.เขต จว.นั้น ๆ เป็นผู้ประสานงานเช่นเดียวกับข้อ 1
11. ผลงานในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมฯที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน
1.ด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
1.1 ภารกิจหลักในรอบปี
1.1.1 งาน 5 ธันวามหาราช ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
1.1.2 งาน 12 สิงหามหาราชินี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
1.1.3 งานกาชาด ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ลานพระรูปทรงม้า
1.2 ภารกิจรอง
1.2.1 สนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ร่วมจุดตรวจการจราจร
1.2.2 ตามที่ผู้บังคับบัญชาร้องขอ
2.ด้านการป้องกันปราบปรามยาเสพติด
2.1 หาข่าว สนับสนุนกำลังพลในการร่วมจับกุม
2.2 แจ้งเบาะแสให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์เหยี่ยวเวหา เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
2.3 ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พิษภัยของยาเสพติด และโทษที่จะได้รับ
3.ด้านการจราจร
3.1 สนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ในการอำนวยการจราจร
3.2 ตามที่ผู้บังคับบัญชาร้องขอ
4. ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ
4.1 ผู้ประสบภัยน้ำท่วม
4.2 ผู้ประสบภัยหนาว
4.3 ผู้ประสบอัคคีภัย
12. ปัญหาอุปสรรค ฝสส.1 สส.(สสม.)
1. ขาดแคลนกำลังพล
2. ขาดงบประมาณสนับสนุน
3.ขาดการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานใน ตร.ทราบ
4. ระบบการติดต่อสื่อสารยังไม่ครอบคลุมในพื้นที่
5. ขาดความสนใจจากผู้บังคับบัญชาระดับ ตร.อย่างจริงจัง
13. ปัญหาอุปสรรคของสมาชิกฯ (เหยี่ยวเวหา)
1. ขาดการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานใน ตร.ทราบ
2. ระบบการติดต่อสื่อสารยังไม่ครอบคลุมในพื้นที่
3. ขาดขวัญ กำลังใจ จากผู้บังคับบัญชา
14. กฏหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1. คำสั่ง ตร.ที่ 382/2550 ลง 6 ก.ค.50 เรื่อง จัดตั้งศูนย์ประสานงานประชาชนและอาสาสมัครช่วยงานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2. ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ.2551
3. ระเบียบกองตำรวจสื่อสาร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีปฏิบัติ และการประเมินผลสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมทางวิทยุสื่อสาร 245 เมกะเฮิรตซ์ (เหยี่ยวเวหา) พ.ศ.2552
4. คำสั่ง ตร.ที่ 520/2553 ลง 15 ต.ค.53 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการ อำนวยการ กำหนดแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ