เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 21:12:20
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  พญามังราย บ่าใจ้ พ่อขุนเม็งราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 [2] พิมพ์
ผู้เขียน พญามังราย บ่าใจ้ พ่อขุนเม็งราย  (อ่าน 5005 ครั้ง)
simplack
พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,211



« ตอบ #20 เมื่อ: วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2011, 09:47:38 »

+1000000000000000
IP : บันทึกการเข้า

ได้เกิดมาเป็นคนก็ดีแค่ไหนแล้ว
A1essandro
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #21 เมื่อ: วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2011, 15:51:43 »

พญามังรายครับ ฟันธง ^^
IP : บันทึกการเข้า
คำอ้ายบ้านดู่
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,033


คำอ้ายบ้านดู่


« ตอบ #22 เมื่อ: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2011, 11:11:43 »

ง่ายๆ เลย ก็คือ ทำป้ายชื่อ "พญามังราย" ตรงอนุเสาวรีย์ห้าแยก

ผมว่าคงจะได้ผล ขับรถผ่านไปผ่านมาจะได้ฮู้ว่า อ่อ นี่อนุเสาวรีย์พญามังราย

คนรุ่นใหม่จะได้ฮู้ (อย่าลืมบ่ใช่ว่าทุกคนจะสนใจศึกษาประวัติศาสตร์)

ส่วนคนรุ่นเก่ามันเป็นเรื่องของการฮ้องติดปากไปละครับ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

อันนี้ง่ายๆ เลยแนะนำ ถ้าผมได้เป็นนายกเทศมนตรี ทำไปละ  ยิงฟันยิ้ม   ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
nataann
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #23 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011, 16:52:51 »

ตะก่อนล้านนาเฮาแสนจะยิ่งใหญ่หน๋า กอบกู้คืนมาบ๋อ
อิอิ หันตวยๆๆ
แต่บ่ดีอู้ดังไปเน้อ
เดียวเจอคัทเอ้าท์โฆษณาของบางพรรคการเมือง ว่าหมู่เฮาจะกบฏแห๋ม
เอิ๊กๆๆ
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #24 เมื่อ: วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2011, 18:14:03 »

อันนี้ซ้ำฮ้ายยยยยยยยย "สถาปนาจังหวัดเชียงราย" เกียรติภูมิของคนเจียงฮายแต้ๆ ขนาดพระธาตุดอยตุงก็ยังเป็นโฉมเก่าเข้าแหมมมมมม อ้อออออ๊อยยยยยย

คนแป๋งบ่ใช่คนฮู้ คนฮู้ซ้ำบ่ได้แป๋ง อันใดก็ดายน่อ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

ว่าแต่ Background วัดอ้ายเหลิมนี่ท่าจะแป๋งมาสมัยปุ้นละน่อ อิ อิ แซวเล่นบ่ดายเน้อ
จะไปฮ้องเปิ้นว่าอ้ายเหลิมได้จะได   ต้องฮ้องครูบาเหลิมเจ้าอาวาสวัดฮ่องขุ่น

วัดดอยตองจะเปิงก่อหา ? ?
IP : บันทึกการเข้า
samungkerm
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #25 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2011, 23:49:05 »

ผมว่า น่าจะเปน ผะญา (เสียงขึ้นนาสิก เหมือนแม่ญิง)มังราย น่าจะคึกว่า แน่นใจกว่า
IP : บันทึกการเข้า
krirung
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,992



« ตอบ #26 เมื่อ: วันที่ 05 มีนาคม 2011, 07:10:19 »

ที่จริงผมเห็นด้วยครับกับคำว่าพญามังราย  แต่มันติดอยู่ที่สื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆในปัจจุบันยังพิมพ์เป็น พ่อขุนเม็งรายกันอยู่ จึงทำให้เด็กๆรุ่นหลังหรือชาวบ้านทั่วไปจดจำและพูดกันจนติดปากซึ่งหากยังเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆผมว่าประวัติศาสตร์ล้านนาอาจจะบิดเบือนได้ครับ
ปล.ต้องช่วยกันพิมพ์ให้ถูกและร่วมใจแก้ไขชื่อถูกต้องเสียทีครับ เจ๋ง
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #27 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 20:02:51 »

เข้ามาอ่านช้าไปสองเดือน ขอออกความเห็นด้วยคนนะครับ

 
คำว่า มังราย เป็นชื่อที่คนล้านนาออกเสียง
ทำดูเหมือนเป็นเรื่องใหญ่โต พยายามโยงไปไหนถึงไหนกันก็ไม่รู้ครับ วันนี้ก็ออกมายอมรับกันแล้วว่าที่ถูกต้องคือ  พญามังราย (จริงๆยอมรับกันมาตั้งนานแล้วครับ)
คำว่าพ่อขุนความหมายก็คือกษัตริย์เหมือนกันกับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยไม่ได้ต่ำต้อยอะไรนะครับ
คำว่าพญา ซะอีกที่ฟังดูแล้วคล้ายๆกับพระยา หรือเจ้าพระยาที่ดูจะเป็นได้แค่แม่ทัพ นายกอง
ส่วนป้ายต่างๆที่ยังผิดอยู่ก็ช่วยบอกเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล  อบจ. อบต.ที่เป็นคนล้านนาคนพื้นที่ทั้งนั้นแก้ไขนะครับ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดนะครับ

คำว่าพ่อขุนเม็งราย ไม่ได้เป็นคำๆเดียวในโลกที่เรียกออกเสียงกันผิดๆหรอกครับ


กรุงศรีอยุธยา พม่าเรียก โยเดีย
เราเรียกเมืองหลวงเก่าของพม่าว่า ร่างกุ้ง  หรือ ย่างกุ้ง คนพม่าเรียก ยางกอน
เราเรียกพระเจ้าบุเรงนอง คนพม่าเรียกว่า บายินนอง
พระเจ้าอลองพญา  คนพม่าเรียกว่า อะ-ลาว-มิน-ตะ-หย่า
เนเมียวสีหบดี  คนพม่าเรียกว่า เหน่-เมี้ยว-ตี่-ห๊ะ-ป่ะ-เด๊
คนจีนเองยังเรียกเมืองหลวงของตัวเองไม่เหมือนกันเลยครับ
แมนดารินเรียกเป่ยจิง กวางตุ้ง เรียก ปักกิ่ง
และคนจีนเรียก โตเกียว ว่า ตงจิง ส่วนคนญี่ปุ่นเรียกปักกิ่งว่า เป็กกี้
เรียกEndlandอิงแลนด์ว่าอังกฤษ
เรียก Franceฟรานซ์ ว่า ฝรั่งเศส โดยที่คนฝรั่งเศสเองออกเสียงว่า ฟร้องซ์

จังหวัดเชียงราย คุณเรียกว่า เจียงฮาย       
พญามังราย ที่คิดว่าถูกต้อง ผมว่า พญามังฮาย ไม่ถูกต้องกว่าหรือครับ

IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #28 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 20:21:38 »

บรรยายจากบันทึกของคณะกรรมการเขียนพระราชประวัติพญามังรายในการจัดทำหนังสือ " นวมหาราช" ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

"พญามังราย" หรือ "พ่อขุนเม็งราย" อย่างไรจึงจะถูกต้อง?

เนื่องจากมีผู้สอบถามกันอยู่เสมอว่า ทำไมพระนามกษัตริผู้สร้างนครเชียงใหม่ จึงมีการเรียกขานนามสับสนไม่เหมือนกัน เช่น อนุสาวรีย์ที่เชียงราย จารึกพระนามว่า "พ่อขุนเม็งราย" แต่พระบรมราชาอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ จารึกพระนามว่า "พญามังราย" ที่ว่าการอำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงรายใช้คำว่า "กิ่งอำเภอพญาเม็งราย" แม้ในเอกสารและบทความทางประวัติศาสตร์ที่เรียกขานพระนามไม่ตรงกัน แต่ปัจจุบันนี้ใช้พระนาม "พญามังราย" แล้วเป็นส่วนมากเรื่องนี้ผู้เขียนขอเรียนให้ทราบตามข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้
พระนามที่ถูกต้องคือ "มังราย" คำนำหน้าพระนามที่ถูกต้องก็คือ "พญา" ไม่ใช่ "พ่อขุน" กล่าวถึงพระนามที่ถูกต้องคือ "พญามังราย"ไม่ใช่ "พ่อขุนเม็งราย"
การเรียกขานคำนำหน้าพระนามของกษัตริย์ว่า…."พ่อขุน."เป็นคตินิยมของทางอาณาจักรสุโขทัยแต่คตินิยมทางอาณาจักรล้านนา ไม่ปรากฎว่าเรียกขานกษัตริย์ ว่า "พ่อขุน"คงมีแต่.พญา.."
หรือ .ขุน .เท่านั้น แม้กระทั่งชาวไทยเขิน รัฐเชียงตุงและชาวไทยลื้อ รัฐสิบสองพันนาก็ใช้คำว่า.."…พญา.." แทนตำแหน่งกษัตริย์ เรื่องพญามังรายสร้างเมืองเชียงตุง พญาจ๋องเป็นปฐมกษัตริย์สิบสองพันนาในตำนานเมืองเชียงตุงและตำนานสิบสองพันนา
ข้อเสนอและหลักฐานอ้างอิง ดังนี้
1.เหตุที่มีการเรียกพระนามว่า"เม็งราย"สืบเนื่องมาจากพงศาวดารโยนกเขียนโดย พระยาประชากิจกรจักรเปลี่ยนพระนาม "มังราย"เป็น "เม็งราย" ทั้งๆที่เอกสารตำนานต่างๆ ที่ผู้เขียนอ้างอิง เช่น ตำนานสิงหวัติ ตำนานเมืองหริภุญชัย ตำนานหิรัญนครเชียงแสน ตำนานพิงควงศ์ชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานเมืองพะเยา ตำนานเมืองเชียงราย ตำนานเมืองนาน ตำนานพระธาตุดอยตุงและต้นฉบับอักษรพื้นเมือง ล้วนแล้วแต่เรียกพระนามว่า "พญามังราย"หรือ "มังราย" ทั้งสิ้นไม่ปรากฏพระนาม "เม็งราย" หรือ "พ่อขุนเม็งราย" เลยสักแห่งเดียว ไม่ทราบเหตุผลใดที่พระยาประชากิจกรจักร จึงมาเปลี่ยนพระนามเป็น"เม็งราย"แต่ถึงกระนั้นในตอนท้ายของเล่มในรายพระนามกษัตริย์ก็มีคำว่า."มังราย." ถึงสองแห่ง พลอยให้ผู้เขียนประวัติศาสตร์รุ่นหลังเขียนพระนามผิดไปด้วย แต่ปัจจุบันนี้ ปรากฏว่าหันมาเขียนพระนาม "มังราย" ถูกต้องแล้วเป็นส่วนมาก
อนึ่งพระนาม " พ่อขุนเม็งราย" นักเขียนประวัติศาสตร์คงจะเพิ่งใช้พระนามนี้ทีหลังจากที่หลวงวิจิตรวาทการแต่งเพลงประวัติศาสร์ใช้พระนามในเนื้อเพลง "พ่อขุนเม็งราย"แต่บัดนั้นเป็นต้นมาความผิดพลาดที่เกิดด้วยเหตุนี้อีกประการหนึ่ง
2.หลักฐานที่ทางราชการถวายพระนาม "พญามังราย" ปรากฏในการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ สามกษัตริย์ ที่จังหวัดชียงใหม่ โดยที่ทางราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยพ่อค้าประชาชน และข้าราชการ ได้พร้อมใจกันร่วมทุนและดำเนินการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหงมหาราช)และพระยางำเมือง ซึ่งเป็นพระสหาย ร่วมน้ำสาบาน ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ (หลังเดิม) เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่พระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์ ทรงร่วมปรึกษาหารือวางแผนผังสร้างเมืองเชียงใหม่ และขนานนามเมืองว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เพื่อเป็นที่กราบไห้วเคารพสการะระลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และทางราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้จารึกพระนามไว้ที่ฐานพระบรมราชาอนุสาวรีย์ว่า ""พญามังราย"  พญาร่วง "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" และ "พญางำเมือง" ทั้งได้อัญชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถมาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2527 เวลา16.00 น.
3.เหตุผลที่จังหวัดเชียงใหม่และคณะกรรมการได้เรียกขานพระนามว่า"พญามังราย"ก็เพื่ออนุรักษ์ให้ถูกต้องตรงกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี เช่น เอกสารตำนานจากคำภีร์โบราณ ปั๊บสาและศิลาจารึกกับคตินิยมของชาวล้านนา ที่ไม่เคยเรียกพระนามกษัตริย์ของล้านนาโดยใช้คำนำหน้าว่า "พ่อขุน"แม้แต่พระองค์เดียว
4.การใช้คำนำหน้าพระนาม "มังราย"เป็นพ่อขุนมังราย ย่อมไม่เป็นการถูกต้องตามคตินิยมของชาวล้านนาและไม่ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตรื และโบราณคดีตามที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น คตินิยมของการใช้คำว่า "พ่อขุน"เป็นลักษณะของชาวอาณาจักรสุโขทัยตามลักษณะการปกครองของกษัตริย์ ทำนองพ่อปกครองลูกและปรากฏจากหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยเรียกคำนำหน้าพระนามว่า "พ่อขุน" เพียงไม่กี่พระองค์คือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนบานเมือง พ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนผาเมือง พ่อขุนบางกลางหาว(พระองค์เดียวกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์)และพ่อขุนศรีนาวนำถม เท่านั้นกษัตริย์พระองค์ไม่เรียก "พ่อขุน" เช่น พญาลิไทย พญาสือไทย(ศิลาจารึกหลักที่3 นครชุมกำแพงเพชร)
ฉะนั้นการที่จะช้คำนหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์ทางล้านเป็น"พ่อขุน." จะพทำให้สับสนและผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงในทางประวัติศาสตร์และโบราณงคดี เป็นการฝึกคตินิยมและเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวล้านนาโดยเฉพาะชาวเชียงใหม่
คำว่า "พ่อขุน"+พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 อธิบายว่า "พ่อขุน"(โบ) น.กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในสมัยสุโขทัย
5. หลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยมีดังนี้
5.1ศิลาจารึกหลักที่1 หน้า1ตอนที่2ว่า เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว " ." กลางบ้าน กลางเมืองมีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจมันจะกล่าวเถิง เจ้าเถิง ขุนบ่ไร้ไปลั่นกระดิ่ง อันแขวนไว้พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ "
5.2ในด้านที่4 กล่าวคือ "พ่อขุนรามคำแหง"ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ 1204 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้จึงมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้พ่อรามคำแหงนั้น หาเป็นท้าวพญาแก่ไทยทั้งหลาย
อนึ่งจะเห็นได้ว่า ตามหลักศิลาจารึกนั้น การเรียกขานพระนาม "พ่อขุน"มิใช่มีแต่พ่อขุนรามคำแหงเท่านั้น
แต่ได้เรียกถึง(ศิลาจารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุม สุโขทัย) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนบางกลางหาว
พ่อขุนผาเมือง พ่อขุนบาน และพ่อขุนนำถมอีกด้วย (มีคำว่า "ปู่พญา" พรญา)สรีนาวนำถม ซึ่งเป็นคนละพระองค์กับ "พ่อขุนนำถม")
5.3 ส่วนทางอาณาจักรล้านนาและสุโขทัยมีความสัมพันธีท่กษัตริย์ของล้านนาคือ พญามังราย พญางำเมือง และพระร่วง ที่เป็นพระสหายร่วมสาบานกัน และประชาชนทั้งสองอาณาจักรจะไปมาหาสู่ทำมาค้าขายซึ่งกันและกันก็ย่อมจะได้กิตติศัพท์เรียกขานกษัตริย์สุโขทัยว่า "พ่อขุน" อยู่เป็นเนืองนิจชาวล้านนาก็ไม่ได้เอาคตินิยมเรียกขานกษัตริย์ของสุโขทัยมาเป็นแบบอย่างด้วย คงเรียกขานพระนามกษัตริย์ของตนเอง " พญา" หรือไม่ก็มีเพียงคำว่า "ขุน" เท่านั้น สำหรับบางพระองค์หรือบาง
สมัยกาลแม้แต่พระสุมนเถระที่เป็นชาวสุโขทัย ซึ่งเป็นผู้ทำศิลาจารึก วัดพระยืน จังหวัดลำพูน ก็ไม่ได้จารึกพระนาม "พ่อขุนมังราย" ตามคตินิยมของชาวสุโขทัยซึ่งพระสุมนเถระเคยชินอยู่เป็นเนื่งนิจในอาณาจักรสุโขทัย แสดงว่าพระสุมนเถระได้ทราบถึงคตินิยมของชาวล้านนาเป็นอย่างดี จึงได้จารึกพระนากษัตริย์ ของล้านนาว่า "พญาคำฟู พญาผายู และพญามังราย"
5.4 อย่างไรก็ดี ในจารึกสุโขทัยหลักที่ 4หลักที่ 5หลักที่ 7และหลักที่ 8 จารึกพระนามกษัตริย์สุโขทัยว่า "พญา" (พรญา) ทั้งสิ้น
6. ความหมายคำว่า "พญา" พจนานุกรมฉบับราชฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้อธิบายไว้ว่า "พญา" (พะยา) (โบ) น.เจ้าแผ่นดิน เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า พะยา น.บรรณาศักดิ์สูงกว่า พระต่ำกว่า เจ้าพระยา" มีผู้รู้บางท่าน อ้างว่า พญา เป็นภาษาเขมร โดยอ้างพจนานุกรมเขมรว่า " พญา" (น) เจ้าชาย คำนำหน้าชื่อเจ้าเมือง คำนำหน้าชื่อรัฐมนตรี
และผู้รู้เท่านั้นกล่าวต่อไปอีกว่า การที่มีการใช้คำว่า " พญา"เนื่องจากไทยรับเอาวัฒนธรรมเขมรเข้ามาใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถแล้วอิทธิพลของภาษาเขมรจะขยายมาทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนมากที่สุด
เรื่องนี้ เป็นการที่อ้างเอาพจนานุกรมของเขมรด้านเดียว แต่พจนานุกรมไทยมิได้ถือว่าเป็นภาษาเขมร เพียงแต่อ้างว่าเป็นภาษาโบราณ ตรงข้ามถ้า คำใดเป็นคำเขมรแท้พจนานุกรมไทยจะระบุว่าเป็นภาษาเขมร เช่น เขนย เสวยเป็นต้น ส่วนการที่อ้างว่าภาษาเขมร หรือวัฒนธรรมเขมรแพร่เข้ามามากในสมัยพระบรมไตรโลกนารถคงจะหมายถึงคำว่า พระยา ซึ่งคำนี้ตามพจนานุกรมให้ความหมายเพียงตำแหน่งบรรดาศักดิ์ที่ต่ำกว่าเจ้าพระยา และสูงกว่าพระแต่คำว่า " พญา"ที่ทางล้านนาใช้นำหน้ากษัตริย์นั้น มีมาก่อนในสมัยพระบรมไตรโลกนารถ อย่างน้อยที่สุดก็เท่าที่ปรากฏ ในหลักศิลาจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน คือ พ.ศ. 1913 ตรงกับสมัยพญาลิไท และพระเจ้ากือนา
ดังนั้น ไม่ว่าจะอ้างเป็นภาษาเขมร ภาษามอญ หรือภาษาไทย ก็เป็นภาษาที่นำมาจากอินเดียกันทั้งสิ้น ไทยทางล้านนามิได้รับเอา วัฒนธรรม ทางเขมร แต่รับเอาวัฒนธรรมจากมอญ เพราะไปาหาสู่กับอาณาจักรหริภุญชัยอยู่เสมอ และยังผนวกเอาอาณาจักรหริภุญชัยเข้ามาในอาณาจักรล้านนา ในสมัยพญามังราย อิทธิพลของภาษามอญจึงเข้ามาปนอยู่ในภาษาถิ่นของล้านนาจนกลายเป็นภาษาของล้านนาไป ดังนั้นผุ้ใดจะมาอ้างว่าการใช้ " พญา"พระนาม ศรีอินทราทิตย์ รามคำแหง ก็เป็นภาษาต่างชาติเหมือนกัน
ดังนั้น ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงดังได้กล่าวมาแต่ต้น พระนามที่ถูกต้องของพระมหากษัตริย์แห่งล้านนาผู้ทรงสร้าง " นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" คือ พญามังราย ไม่ใช่พ่อขุนเม็งราย และทั้งที่เป็นการสมควรในการถวายพระสมัญญานามว่า " พญามังรายมหาราช" เพื่อเป็นการเทิดพระเกยรติในฐานะที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ยิ่งใหญ่แห่งแคว้นล้านนาไทย ทรงรวบรวมนครรัฐหรือแคว้นต่างๆทั้งได้ผนวกเอาอาณาจักรเดียวกัน ทำให้อาณาจักรล้านนา ไทยแผ่ไปอย่างกว้างใหญ่ไพรศาล และขยายพระราชอำนาจเข้าไปถึงอาณาจักรพม่าและหงสาวดี ปัจจุบันนี้นครเชียงใหม่ได้เจริญวัฒนาเป็นหลักในการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและเป็นศูนย์กลางแห่งอารยธรรมล้านนาสืบมาทุกวันนี้







* อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เชียงใหม่.jpg (7.88 KB, 275x183 - ดู 430 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #29 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2011, 21:54:38 »

แม่นแล้ว
IP : บันทึกการเข้า
nansom
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 461



« ตอบ #30 เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2011, 12:21:05 »

อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช แม่นแล้ว เพราะคนไทยกลางมาหล่อหื้อเฮา
ส่วนพญามังฮายนั้น อยู่ในใจ๋คนล้านนา เน้อ
IP : บันทึกการเข้า
ล้อล้านนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 444


« ตอบ #31 เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2011, 14:08:15 »

เข้ามาอ่านช้าไปสองเดือน ขอออกความเห็นด้วยคนนะครับ

 
คำว่า มังราย เป็นชื่อที่คนล้านนาออกเสียง
ทำดูเหมือนเป็นเรื่องใหญ่โต พยายามโยงไปไหนถึงไหนกันก็ไม่รู้ครับ วันนี้ก็ออกมายอมรับกันแล้วว่าที่ถูกต้องคือ  พญามังราย (จริงๆยอมรับกันมาตั้งนานแล้วครับ)
คำว่าพ่อขุนความหมายก็คือกษัตริย์เหมือนกันกับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยไม่ได้ต่ำต้อยอะไรนะครับ
คำว่าพญา ซะอีกที่ฟังดูแล้วคล้ายๆกับพระยา หรือเจ้าพระยาที่ดูจะเป็นได้แค่แม่ทัพ นายกอง
ส่วนป้ายต่างๆที่ยังผิดอยู่ก็ช่วยบอกเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล  อบจ. อบต.ที่เป็นคนล้านนาคนพื้นที่ทั้งนั้นแก้ไขนะครับ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดนะครับ

คำว่าพ่อขุนเม็งราย ไม่ได้เป็นคำๆเดียวในโลกที่เรียกออกเสียงกันผิดๆหรอกครับ


กรุงศรีอยุธยา พม่าเรียก โยเดีย
เราเรียกเมืองหลวงเก่าของพม่าว่า ร่างกุ้ง  หรือ ย่างกุ้ง คนพม่าเรียก ยางกอน
เราเรียกพระเจ้าบุเรงนอง คนพม่าเรียกว่า บายินนอง
พระเจ้าอลองพญา  คนพม่าเรียกว่า อะ-ลาว-มิน-ตะ-หย่า
เนเมียวสีหบดี  คนพม่าเรียกว่า เหน่-เมี้ยว-ตี่-ห๊ะ-ป่ะ-เด๊
คนจีนเองยังเรียกเมืองหลวงของตัวเองไม่เหมือนกันเลยครับ
แมนดารินเรียกเป่ยจิง กวางตุ้ง เรียก ปักกิ่ง
และคนจีนเรียก โตเกียว ว่า ตงจิง ส่วนคนญี่ปุ่นเรียกปักกิ่งว่า เป็กกี้
เรียกEndlandอิงแลนด์ว่าอังกฤษ
เรียก Franceฟรานซ์ ว่า ฝรั่งเศส โดยที่คนฝรั่งเศสเองออกเสียงว่า ฟร้องซ์

จังหวัดเชียงราย คุณเรียกว่า เจียงฮาย      
พญามังราย ที่คิดว่าถูกต้อง ผมว่า พญามังฮาย ไม่ถูกต้องกว่าหรือครับ



1. พ่อขุน กับ พญา ไม่ได้มีอันไหนต่ำต้อยกว่ากัน เพียงแต่ให้ยึดถือธรรมเนียมของประวัติศาสตร์อย่างถูกต้อง ว่า "ในอาณาจักรล้านนานั้นไม่มีคำว่า พ่อขุน จะมีเพียง พรญา อ่าน พญา ไม่ใช่ พระยา เป็นยศตำแหน่งที่สูงสุด ส่วน พ่อขุน มีใช้เฉพาะอาณาจักรสุโขทัย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของชนรุ่นหลัง และไม่ได้เกี่ยวข้องกับสำเนียงที่ผิดเพี้ยน มันคือการบิดเบือนความเป็นจริงของประวัติศาสตร์ไปต่างหาก

2. การปกครองของ "ไทย" ประชาชนไม่สามารถมีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับ "ส่วนกลาง" ซึ่งก็คือส่วน "ราชการ" นั่นเอง จะโยนให้มาเป็นหน้าที่ประชาชนท้องถิ่นเป็นผู้เปลี่ยนแปลงกันเองคงไม่ถูกต้องทั้งหมด ลำพังจะทำป้ายขึ้นมาเอง ควักเงินกันทำเอง กับงบประมาณประเทศชาติที่เสียภาษีทุกๆ วันมากมายมหาศาล หากใส่ใจกันซักนิด "ราชการ" รับฟัง "ประชาชน" แล้วทำด้วยกันจะดีกว่าไหม และก็ขอบคุณที่ช่วยเตือนว่า "ผู้ว่าฯ" ก็ไม่ใช่คนท้องถิ่น แต่ถูกส่งมาจาก "ส่วนกลาง"

3. คงต้องให้ไปศึกษา "หลักภาษาตัวธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง" ก่อนนะครับ อธิบายตรงนี้คงยาว เหตุด้วยอักษร "ไทย" ได้เข้ามามีบทบาทในประเทศนี้ ทำให้อักษร "ตัวเมือง" เกือบจะสาปสูญไปแล้ว ตัวเมืองมีหลักภาษาชัดเจน ยกตัวอย่างสั้นๆ พ (ไทย) ออกเสียง (ป) ล้านนา, ช (ไทย) ออกเสียง จ (ล้านนา), ท (ไทย) ออกเสียง ต (ล้านนา), ร (ไทย) ออกเสียง ฮ (ล้านนา) เป็นต้น ส่วนคำว่า เชียงราย ออกเสียง เจียงฮาย ด้วยเป็นภาษาล้านนาแท้ จึงออกเสียงนี้ได้ ส่วนคำว่า "มังราย" ร เป็นภาษาที่ถูกยืมมาจากภาษาอื่น (บาลี ฯลฯ) จะคงรูปเสียงเป็น ร ล (ไม่รัวริ้น เพราะคำรัวริ้น รากศัพท์มาจากเขมร ไทย ก็เลียนแบบเสียงเขมรมา) ก่อนที่จะถามว่าเรียก "มังฮาย" ถูกหรือไม่ถูกนั้น ลองศึกษาดูก่อนนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 เมษายน 2011, 15:09:45 โดย ล้อล้านนา » IP : บันทึกการเข้า
UnGpAo
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 565



« ตอบ #32 เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2011, 14:14:16 »

เข้ามาอ่านช้าไปสองเดือน ขอออกความเห็นด้วยคนนะครับ

 
คำว่า มังราย เป็นชื่อที่คนล้านนาออกเสียง
ทำดูเหมือนเป็นเรื่องใหญ่โต พยายามโยงไปไหนถึงไหนกันก็ไม่รู้ครับ วันนี้ก็ออกมายอมรับกันแล้วว่าที่ถูกต้องคือ  พญามังราย (จริงๆยอมรับกันมาตั้งนานแล้วครับ)
คำว่าพ่อขุนความหมายก็คือกษัตริย์เหมือนกันกับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยไม่ได้ต่ำต้อยอะไรนะครับ
คำว่าพญา ซะอีกที่ฟังดูแล้วคล้ายๆกับพระยา หรือเจ้าพระยาที่ดูจะเป็นได้แค่แม่ทัพ นายกอง
ส่วนป้ายต่างๆที่ยังผิดอยู่ก็ช่วยบอกเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล  อบจ. อบต.ที่เป็นคนล้านนาคนพื้นที่ทั้งนั้นแก้ไขนะครับ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดนะครับ

คำว่าพ่อขุนเม็งราย ไม่ได้เป็นคำๆเดียวในโลกที่เรียกออกเสียงกันผิดๆหรอกครับ


กรุงศรีอยุธยา พม่าเรียก โยเดีย
เราเรียกเมืองหลวงเก่าของพม่าว่า ร่างกุ้ง  หรือ ย่างกุ้ง คนพม่าเรียก ยางกอน
เราเรียกพระเจ้าบุเรงนอง คนพม่าเรียกว่า บายินนอง
พระเจ้าอลองพญา  คนพม่าเรียกว่า อะ-ลาว-มิน-ตะ-หย่า
เนเมียวสีหบดี  คนพม่าเรียกว่า เหน่-เมี้ยว-ตี่-ห๊ะ-ป่ะ-เด๊
คนจีนเองยังเรียกเมืองหลวงของตัวเองไม่เหมือนกันเลยครับ
แมนดารินเรียกเป่ยจิง กวางตุ้ง เรียก ปักกิ่ง
และคนจีนเรียก โตเกียว ว่า ตงจิง ส่วนคนญี่ปุ่นเรียกปักกิ่งว่า เป็กกี้
เรียกEndlandอิงแลนด์ว่าอังกฤษ
เรียก Franceฟรานซ์ ว่า ฝรั่งเศส โดยที่คนฝรั่งเศสเองออกเสียงว่า ฟร้องซ์

จังหวัดเชียงราย คุณเรียกว่า เจียงฮาย      
พญามังราย ที่คิดว่าถูกต้อง ผมว่า พญามังฮาย ไม่ถูกต้องกว่าหรือครับ



1. พ่อขุน กับ พญา ไม่ได้มีอันไหนต่ำต้อยกว่ากัน เพียงแต่ให้ยึดถือธรรมเนียมของประวัติศาสตร์อย่างถูกต้อง ว่า "ในอาณาจักรล้านนานั้นไม่มีคำว่า พ่อขุน จะมีเพียง พรญา อ่าน พญา ไม่ใช่ พระยา เป็นยศตำแหน่งที่สูงสุด ส่วน พ่อขุน มีใช้เฉพาะอาณาจักรสุโขทัย เพราะประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของชนรุ่นหลัง และไม่ได้เกี่ยวข้องกับสำเนียงที่ผิดเพี้ยน มันคือการบิดเบือนความเป็นจริงของประวัติศาสตร์ไปต่างหาก

2. การปกครองของ "ไทย" ประชาชนไม่สามารถมีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับ "ส่วนกลาง" ซึ่งก็คือส่วน "ราชการ" นั่นเอง จะโยนให้มาเป็นหน้าที่ประชาชนท้องถิ่นเป็นผู้เปลี่ยนแปลงกันเองคงไม่ถูกต้องทั้งหมด ลำพังจะทำป้ายขึ้นมาเอง ควักเงินกันทำเอง กับงบประมาณประเทศชาติที่เสียภาษีทุกๆ วันมากมายมหาศาล หากใส่ใจกันซักนิด "ราชการ" รับฟัง "ประชาชน" แล้วทำด้วยกันจะดีกว่าไหม และก็ขอบคุณที่ช่วยเตือนว่า "ผู้ว่าฯ" ก็ไม่ใช่คนท้องถิ่น แต่ถูกส่งมาจาก "ส่วนกลาง"

3. คงต้องให้ไปศึกษา "หลักภาษาตัวธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง" ก่อนนะครับ อธิบายตรงนี้คงยาว เหตุด้วยอักษร "ไทย" ได้เข้ามามีบทบาทในประเทศนี้ ทำให้อักษร "ตัวเมือง" เกือบจะสาปสูญไปแล้ว ตัวเมืองมีหลักภาษาชัดเจน ยกตัวอย่างสั้นๆ พ (ไทย) ออกเสียง (ป) ล้านนา, ช (ไทย) ออกเสียง จ (ล้านนา), ท (ไทย) ออกเสียง ต (ล้านนา), ร (ไทย) ออกเสียง ฮ (ล้านนา) เป็นต้น ส่วนคำว่า เชียงราย ออกเสียง เจียงฮาย ด้วยเป็นภาษาล้านนาแท้ จึงออกเสียงนี้ได้ ส่วนคำว่า "มังราย" ร เป็นภาษาที่ถูกยืมมาจากภาษาอื่น (บาลี ฯลฯ) จะคงรูปเสียงเป็น ร ล (ไม่รัวริ้น เพราะคำรัวริ้น รากศัพท์มาจากเขมร ไทย ก็เลียนแบบเสียงเขมรมา) ก่อนที่จะถามว่าเรียก "มังฮาย" ถูกหรือไม่ถูกนั้น ลองศึกษาดูก่อนนะครับ
+ 1000 เห็นด้วยครับ
IP : บันทึกการเข้า

Tel:0882254024  Line:Tanggemo

ขายปรีกและส่ง มาร์คหน้านำเข้าจากต่างประเทศ
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #33 เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2011, 20:38:25 »

ด้วยความเคารพครับ
อย่างที่ผมกล่าวไว้ว่า พ่อขุนไม่ได้ต่ำต้อยอะไร ความหมายคือกษัตริย์ ผิดก็แก้ไขไปแล้ว

ข้อ1
 ก็เพราะว่า มีคนบางคนพูดไปในทำนองว่ามีการดูถูกดูหมิ่นพญามังรายเช่นเจ้าของกระทู้กล่าวไว้ว่า
ในประวัติล้านนาบ่ามีกำว่าพ่อขุน คนเขียนหรือบัญญัติคำนี้ขึ้นมาคือคนสยามเพื่อต้องการลดจั้นของกษัตริย์แห่งล้านนา พร้อมสลายวัฒนธรรมนี่สิครับบิดเบือน ซึ่งมันไม่ใช่ความจริงเลยซักนิดครับ เพราะถ้าจะลดชั้นหรือสลายวัฒนธรรมมีวิธีอื่นเยอะแยะครับ
ถ้าอยากรู้ว่าการสลายวัฒนธรรมจริงๆนั้นเป็นยังไง คุณลองไปยุคนไทยใหญ่ให้สร้างอนุสาวรีย์เจ้าฟ้าของไทยใหญ่ในเชียงตุงดูสิครับ
หรือคิดมุมกลับก็ได้ ถ้าวันนี้เป็นประเทศล้านนา คุณจะให้มีการสร้างอนุสาวรีย์กษัตริย์สยามมั๊ย จะมอบมหาราชให้กษัตริย์สยามอย่างที่พญามังราชมหาราชได้รึป่าว

ข้อ2
เรื่องงบประมาณพัฒนาท้องถิ่น มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน พูดง่ายๆตอนนี้ก็เป็นกันอย่างนี้กันทุกจังหวัด ไม่ได้มีแต่เชียงรายหรอกนะครับ
คุณไปฟังนักการเมืองท้องถิ่นพูด ใครก็อยากได้เงินไปใช้เยอะๆ อ้างจะให้เหมือนสหรัฐอเมริกา ลองไปฟัง สส.พูดมั่งสิครับ ถ้าเป็นประชาธิปไตยแล้วมันห่วยอย่างนี้อย่าเป็นมันเลยครับ
คิดถึงแต่ตัวเองก่อน ประเทศมาทีหลัง
ผมเคยไปเที่ยวเขื่อนท่าด่าน นครนายก ตัวเขื่อนมาจากงบกลาง แล้วรู้มั๊ยครับท้องถิ่นทำอะไร ก็ทำเสาไฟฟ้ามีช้างอยู่บนยอดมีโคมห้อยลงมาสวยงามมาก
แต่ถนนตรงนั้นเป็นถนนสวนกันข้างละเลนและฟุตบาทก็ไม่มีสองข้างทางเป็นท้องนาไม่มีบ้านคนอยู่เลย อย่าบอกนะว่าเชียงรายไม่มีแบบนี้

ข้อ 3
ผมไม่มีความรู้เรื่องภาษาครับ
ต่อไปจะมีใครออกมาว่าอีกมั๊ยครับเวลาเรียกพญามังราย แล้วรัวลิ้นเพราะสะกดด้วย ร เรือ

IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #34 เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2011, 20:48:05 »

อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ที่เชียงใหม่ รวมถึงอนุสาวรีย์พญามังรายมหาราช สร้างในสมัยใดและสร้างได้ยังไงครับ ถ้ามีการสลายวัฒนธรรม


อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เชียงใหม่
อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ได้ก่อสร้างขึ้นจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวเมืองเชียงใหม่ทั้งภาครัฐและเอกชน
ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ จากกรุงเทพมหานครขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2526 เวลา 11.49 น.
และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2527


อนุสาวรีย์พญามังรายมหาราช เชียงราย
ประชาชนชาวเชียงรายร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ ทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2507

อนุสาวรีย์พญางำเมือง พะเยา
วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2527 ได้อัญเชิญพระอนุสาวรีย์จากกรุงเทพฯ มาตั้งที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาแล้วจัดขบวนแห่โดยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน
ซึ่งมี นายสุดจิตร คอวณิช เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด มาตั้งที่ฐานแท่นริมกว๊านพะเยา วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2528 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จเปิดพระอนุสาวรีย์ และ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2530 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงทำพิธีบวงสรวงองค์พญางำเมืองเป็นครั้งแรก
และถือเป็นวันบวงสรวงพญางำเมืองเป็นประเพณีทุกปี



การรักท้องถิ่นรักษ์ล้านนาเป็นเรื่องที่ดีครับ แต่การนำเรื่องไปบิดเบือนทำให้เกิดการแตกแยก ผมขอประนามครับ




IP : บันทึกการเข้า
ล้อล้านนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 444


« ตอบ #35 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2011, 09:08:18 »

ด้วยความเคารพ คุณเขาอีโต้
     ผมขอจบที่ข้อเสนอแนะของผมที่คิดว่าชัดเจนเพียงพอ ส่วนเรื่องอื่นๆ ขอเพื่อนๆ ในบอร์ดช่วยกันไขข้อสงสัยให้ดีกว่าครับ และก็ยังไม่รู้ถึงจุดประสงค์ของคุณเขาอีโต้ที่ได้เข้าเล่นในบอร์ด "อู้กำเมือง เล่าเรื่องล้านนา" ว่าเป็นแนวทางไหน หากต้องการเติมแต่งข้อมูลความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์อย่างถูกต้อง หรือข้อมูลใหม่ๆ น่าสนใจก็สรียินดีชาดนัก แต่หากข้อมูลที่ยังคลุมเคลือก็ยังไม่น่าจะนำมาเผยแพร่ให้สับสน อย่างเช่น กรณีของเรื่อง "กบฎเงี้ยว" (ในกระทู้อื่น) หากศึกษาลงไปลึกๆ มองสถานการณ์ที่เป็นกลางแล้วจะพบข้อมูลเชิงลึกที่เรายังไม่ได้รับรู้อีกมาก แต่ไม่ใช่ที่ก็อปมาโดยยังไม่รู้ที่มาที่ไป รายละเอียดจะได้ตั้งกระทู้ใหม่ไว้ให้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 25 เมษายน 2011, 08:35:26 โดย ล้อล้านนา » IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #36 เมื่อ: วันที่ 25 เมษายน 2011, 11:29:19 »

ในภาษาล้านนา "ร"จะมีปรากฏให้เห็นในหลาย ๆคำ เช่น "หอก" ตัวล้านนา เขียน"หรอก"ถ้าเป็นฟ้อนต์ตัวเมือง จะมีตัว ระโวงนำหน้า เป็นต้น ต้องศึกษาให้ลึกซึ้งแล้วจึงจะรู้ว่า "ร"ตัวไหนควรจะเป็น "ฮ" หรือควรจะเป็น "ร"
หรือ "ล"
IP : บันทึกการเข้า
nansom
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 461



« ตอบ #37 เมื่อ: วันที่ 25 เมษายน 2011, 22:12:31 »

ไผบ่าฮู้มายืนทอดน่องอยู่ห้าแยกเจียงฮายหั้นนะ
ผ่อหยั่งคนใต้ผสมฝรั่ง แล้วยังไปนั่งที่กู่พญามังฮายแฮ๋มเน้อหมู่เฮา
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!