เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 13:37:09
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ปฏิจจสมุปบาทกับการรู้เเจ้งอริยสัจจสี่
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ปฏิจจสมุปบาทกับการรู้เเจ้งอริยสัจจสี่  (อ่าน 2129 ครั้ง)
miffy
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2010, 15:09:37 »

ขอคำชี้เเนะเรื่องสัจจสี่ปฏิจจสมุปบาทค่ะ  ว่าคืออะไรเเล้วสัมพันธ์อย่างไรกับอริยสัจจสี่
IP : บันทึกการเข้า
ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,008


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2010, 15:23:28 »

การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย (ปฏิจจสมุปบาท )
 มีองค์หรือหัวข้อ 12 การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน , ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม , การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น
 
   
คำอธิฐาน
ปฏิจจสมุปบาท มีองค์หรือหัวข้อ 12 การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน , ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม , การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น

1-2. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี
3. สงฺขารปจฺจยา วิญญาณ ํ เพราะ สังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี
4. วิญฺญาณปจจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี
5. นามรูปปจฺจยา สฬยตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี
6. สฬยตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬยตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี
7. ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา จึงมี
8. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี
9. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี
10. อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพ จึงมี
11. ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี
12. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี

โสกปริเทวทุกข์โทมนสสุปายาสา สมภวนติ

ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม

เอวเมตสส เกวลสส ทุกขกขนุธสส สมทโย โหติ

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการนี้

แสดงตามลำดับ จากต้นไปหาปลายอย่างนี้ เรียกว่า "อนุโลมเทศนา" ถ้าแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น ว่า ชรามรณะ เป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เรียกว่า "ปฎิโลมเทศนา"

วัฏฏะ 3 หรือ ไตรวัฏฏ์ วน , วงเวียน , องค์ประกอบที่หมุนเวียนต่อเนื่องกันของภวจักร หรือ สังสารจักร
กิเลสวัฏฏ์ วงจรกิเลส ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน
กรรมวัฏฏ์ วงจรกรรม ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ
วิปากวัฏฏ์ วงจรวิบาก ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬยตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น
สามอย่างนี้ ประกอบเข้าเป็นวงจรใหญ่แห่งปัจจัยยาการ เรียกว่า ภวจักร (วงจรแห่งภพ) หรือ สังสารจักรตามหลักปฏิจจสมุปบาท
 
 
องค์ หรือ หัวข้อ 12 มีความหมายโดยสังเขปดังนี้ 
อวิชชา ความไม่รู้ คือ ไม่รู้ในอริยสัจจ์ 4
สังขาร สภาพที่ปรุงแต่ง ได้แก่ สังขาร 3 หรือ อภิสังขาร 3
วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ ได้แก่ วิญญาณ 6
นามรูป นามและรูป ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
สฬายตนะ อายตนะ 6 ได้แก่ อายตนะภายใน 6
ผัสสะ ความกระทบ ความประจวบ ได้แก่ สัมผัส 6
เวทนา ความเสวยอารมณ์ ได้แก่ เวทนา 6
ตัณหา ความทะยานอยาก ได้แก่ ตัณหา 6
อุปาทาน ความยึดมั่น ได้แก่ อุปาทาน 4
ภพ ภาวะชีวิต ได้แก่ ภพ 3
ชาติ ความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะ
ชรามรณะ ความแก่ และความตาย ได้แก่ ชรา (ความเสื่อมอายุม ความหง่อมอินทรีย์) กับมรณะ (ความสลายแห่งขันธ์, ความขาดชีวิตินทรีย์)
ทั้ง 12 ข้อ เป็นปัจจัยต่อเนื่องกันไป หมุนเวียนเป็นวงจร ไม่มีต้นไม่มีปลายเรียกว่า ภวจักร (วงจรแห่งภพ) และมีข้อควรทราบเกี่ยวกับภวจักรอีกดังนี้ อัทธา 3, สังคหะ 4, สนธิ 3, วัฎฎะ 3, อาการ 20, มูล 2
 
 
ปฎิจจสมุปบาทนี้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ที่สำคัญคือ อิทัปปัจจยตา (ภาวะทีมีอันนี้ ๆ เป็นปัจจัย) ธรรมนิยาม (ความเป็นไปอันแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ) และ ปัจจยาการ (อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน)
IP : บันทึกการเข้า

ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,008


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2010, 15:28:57 »

 อริยสัจจ์สี่ คือความจริงอันประเสริฐที่สุด เป็นความจริงที่ใช้ในการดับทุกข์ของชีวิตมนุษย์ เป็นการดับความทุกข์ที่
เหตุของทุกข์ หรือกล่าวได้ว่าใครกำจัดเหตุที่จะทำให้เกิดความทุกข์ได้ ความทุกข์ก็จะไม่เกิดสำหรับผู้นั้น
ความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจจ์ 4) ประกอบด้วย :-
1. ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
2.สมุทัย สาเหตุของการเกิดทุกข์
3.นิโรธ คือความดับของทุกข์
4.มรรค ทางไปถึงซึ่งความดับทุกข์

    ความสัมพันธ์องค์ประกอบทั้ง 4 คือ
1. สมุทัย ทำให้เกิด ทุกข์
2. ทุกข์ เป็นภาวะที่ตรงกันข้ามกับ นิโรธ
3. ใช้ มรรค ปราบสมุทัย จะเกิดนิโรธ
    เขียนเป็นสมการง่ายๆ เล่นสนุกๆ ได้เป็น :-
[1] (+/-มรรค) + สมุทัย = (+/-นิโรธ) โดยที่ + / - หมายถึงค่ามาก หรือค่าน้อย เลือกดูอย่างใดอย่างหนึ่ง
.....................หรือ
[2] (+/-มรรค) + สมุทัย = (-/+ทุกข์ )
.....................ยังเขียนต่อไปได้อีกคือ
[3] (+/-นิโรธ) = (-/+ทุกข์ ) ซึ่งเห็นได้ง่ายๆ ชัดๆ ว่า ภาวะที่นิโรธสูงความทุกข์จะต่ำ ภาวะนิโรธต่ำ ความทุกข์จะสูง

จาก [1]
หมายความว่าถ้าใช้มรรค ปราบสมุทัย นิโรธจะเพิ่มขึ้น ตามสัดส่วนความเข้มข้นของมรรคว่ามาก(+) หรือน้อย(-) แค่ไหน
ถ้ามรรคเข้มข้น 100% นิโรธก็จะเกิด 100% ก็คือภาวะนิพพานอย่างถาวรของพระอรหันต์
ถ้ามรรคเข้มข้น 50% นิโรธก็จะเกิด 50% (อะไรประมาณนั้น)ก็คือภาวะทุกข์-สุข ลุ่มๆ ดอนๆ ของปุถุชนอย่างเรา ๆ ทั้งหลาย
ถ้ามรรคหย่อนยานมากๆ นิโรธก็จะเกิดน้อย ชีวิตอยู่ในอบายภูมิ เช่นคุก ตะราง ในที่สุด หรือไม่มีสภาพเป็นคน...
........มรรคจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินชืวิตในสังคม..ครับ...

IP : บันทึกการเข้า

miffy
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2010, 17:17:39 »

หมายความว่า  ถ้าพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท ได้ครบ 12 องค์ก็จะเข้าใจในอริยสัจจสี่เหรอคะ
แล้วสภาวะนั้นเกิดขึ้นตอนไหน  ตอนที่เรานั่งสมาธิแล้วเข้าฌาณหรือเปล่า ฮืม ฮืม ฮืม
IP : บันทึกการเข้า
นายเหตุผล
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 564



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 24 กรกฎาคม 2010, 19:29:38 »

หมายความว่า  ถ้าพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท ได้ครบ 12 องค์ก็จะเข้าใจในอริยสัจจสี่เหรอคะ
ไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงขนาดนั้นก็ได้  เพียงแค่ให้รู้ว่า "สิ่งหนึ่ง  เป็นเหตุให้เกิด  อีกสิ่งหนึ่ง" เป็นลูกโซ่ไป  ที่สำคัญ ให้ยึดและเข้าใจใน  ความไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  ไม่มีตัวตน (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ฯลฯ

แล้วสภาวะนั้นเกิดขึ้นตอนไหน  ตอนที่เรานั่งสมาธิแล้วเข้าฌาณหรือเปล่า ฮืม ฮืม ฮืม
ถ้าเกิดขึ้นจากการศึกษาเล่าเรียน  ก็เป็นวิทยา(ความรู้)
แต่ถ้าเกิดขึ้นในขณะเข้าฌาน ก็เป็นปัญญา(รู้แจ้ง)

สำหรับความเห็นส่วนตัว  สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกินตัวสำหรับปุถุชนคนธรรมดาโดยทั่วไป
หลักใหญ่ๆ สำหรับคฤหัสถ์ทั่วไป  ก็แค่ัรักษาศีล 5 หรือศีล8 ให้ดี
มีพรหมวิหาร 4
ประพฤติกุศลกรรมบท 10
มีสติสัมปชัญญะให้มากๆ แล้วปัญญาก็จะตามมา ฯลฯ

เพียงแค่นี้ ชีวิตคุณทั้งชีวิตก็มีความสุขได้แล้วละครับ ^_^
IP : บันทึกการเข้า
ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,466



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 27 กรกฎาคม 2010, 22:18:56 »

สาธุ...อนุโมทามิ
IP : บันทึกการเข้า

..............
Mikas
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 31 กรกฎาคม 2010, 11:56:29 »

ทั้งอริยะสัจ 4 และ ปฏิจจสมุปบาท คือเหตุ ปัจจัยแห่งทุกข์ครับ
ถ้าเข้าใจ อริยะสัจ 4 ก็จะเข้าใจปฏิจจสมุปบาท หรือเข้าใจ เหตุปัจจัยของทุกข์ ซึ่งเป็นแก่นหลักของพุทธศาสนานั้นเอง

การที่จะเข้าใจได้ นั้นมีหลายระดับ ถ้าแค่เพียงคิดพิจารณา ก็จะเข้าใจในระดับคิดพิจารณา ซึ่งมันไม่ถึงจิต ถึงใจ ก็ยังดับเหตุแห่งทุกข์ไม่ได้

การที่จะให้เข้าใจถึงจิต ถึงใจ ต้องอาศัยการภาวนา เจริญสติ อย่างเดียวครับ เมื่อไหร่ เห็นทุุกข์สัจจะ ที่เกิดบนขันธ์ 5 อย่างแจ่มแจ้ง เมื่อนั้นแหละครับ  ถึงจะเข้าใจอริยะสัจ 4 และปฏิจสมุปบาท อย่างแท้จริง
IP : บันทึกการเข้า
ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,466



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 31 กรกฎาคม 2010, 19:00:33 »

ทั้งอริยะสัจ 4 และ ปฏิจจสมุปบาท คือเหตุ ปัจจัยแห่งทุกข์ครับ
ถ้าเข้าใจ อริยะสัจ 4 ก็จะเข้าใจปฏิจจสมุปบาท หรือเข้าใจ เหตุปัจจัยของทุกข์ ซึ่งเป็นแก่นหลักของพุทธศาสนานั้นเอง

การที่จะเข้าใจได้ นั้นมีหลายระดับ ถ้าแค่เพียงคิดพิจารณา ก็จะเข้าใจในระดับคิดพิจารณา ซึ่งมันไม่ถึงจิต ถึงใจ ก็ยังดับเหตุแห่งทุกข์ไม่ได้

การที่จะให้เข้าใจถึงจิต ถึงใจ ต้องอาศัยการภาวนา เจริญสติ อย่างเดียวครับ เมื่อไหร่ เห็นทุุกข์สัจจะ ที่เกิดบนขันธ์ 5 อย่างแจ่มแจ้ง เมื่อนั้นแหละครับ  ถึงจะเข้าใจอริยะสัจ 4 และปฏิจสมุปบาท อย่างแท้จริง



ชาติปิ ทุกขา...........ความเกิดก็เป็นทุกข์,
ชะราปิ ทุกขา..........   ความแก่ก็เป็นทุกข์,
มะระณัมปิ ทุกขัง..........   ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา..........   ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข..........ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข..........ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง..........  มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา..........ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์,
เสยยะถีทัง..........ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ,
รูปูปาทานักขันโธ..........ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือรูป,
เวทะนูปาทานักขันโธ..........   ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือเวทนา,
สัญญูปาทานักขันโธ..........   ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสัญญา,
สังขารูปาทานักขันโธ..........   ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสังขาร,
วิญญาณูปาทานักขันโธ..........   ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือวิญญาณ,

 การเข้าไปยึดยั่นถือมั่นในขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่แหละครับ  เป็นตัวทุกข์

รอท่านอื่นมาต่อบ้างครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 31 กรกฎาคม 2010, 20:02:16 โดย ละอ่อนโบราณ » IP : บันทึกการเข้า

..............
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 31 กรกฎาคม 2010, 21:00:00 »

               เคยอ่านเจอ
              อิทัปปัจจยตา
...เพราะมีสิ่งนี้    สิ่งนี้จึงมี......
...เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น....

ความหมายกระจ่างแจ้งหรือเปล่าครับ?
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,466



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 31 กรกฎาคม 2010, 21:11:40 »

               เคยอ่านเจอ
              อิทัปปัจจยตา
...เพราะมีสิ่งนี้    สิ่งนี้จึงมี......
...เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น....

ความหมายกระจ่างแจ้งหรือเปล่าครับ?


นี่ไงครับ ปฏิจจสมุปบาทที่ท่าน ap.41 โพสไว้ ตามนีเลยครับ

1-
2. เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี
3. เพราะ สังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี
4. เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี
5. เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี
6. เพราะสฬยตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี
7. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา จึงมี
8.เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี
9. เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี
10. เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพ จึงมี
11. เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี
12. เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายไม่สบายใจ จึงมี
IP : บันทึกการเข้า

..............
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!