...เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคน
ถ้าทุกท่านที่เข้ามาอ่าน ได้เห็นข่าวพายุพัดในหลายจังหวัดที่ผ่านมา
ขอเน้นไปที่ กรณีเสาไฟฟ้าโดนพัด แล้วล้มต่อเนื่องกันไป ทั้งๆที่น่าจะล้มแค่ต้นสองต้น
ทำไม ฝ่ายวิศวกร การสร้างเสา ไม่ออกแบบให้มันทนทาน หรือไม่ทนทาน แต่เอนเอียง
เจอพายุก็ไม่หักเปราะแบบนี้ หรืออย่างน้อย หักแบบยังมีติดตอ เอนเอียงแค่พอเสียว
นี่อะไร หักหนึ่ง สายไฟไปรั้ง ต้นข้างเคียง หักโค่นไปหมด เสียหายเฉพาะไฟฟ้าช่างมัน
แต่มันล้มทับบ้าน รถ ทับคน นี่ซิ เขาเคยคิดถึงกรณีนี้บ้างหรือเปล่า
จริงอยู่ถนนหนทางบ้านช่องขยายมาใกล้ชิดกัน แต่ทำอย่างไรล่ะ
เห็นมีคนคิดออกแบบการหล่อเสา คานบ้าน มีเหล็กปลอกถี่ๆ กันแผ่นดินไหว
ทำไมไม่เอามาออกแบบเฉพาะช่วงต้นเสาไฟแรงสูงเหล่านี้บ้าง
อาจทำไม่มาก ไปติดตั้งเฉพาะเส้นทางที่ลมพายุจะพัดผ่าน(ดูจากสถิติหรือคาดเดาเอา)
ซ่อมเสร็จ พายุมาใหม่ เสาแบบเดิม ติดตั้งแบบเดิม คงได้ล้มทับกันตามภาพอีก
ลองคิดใหม่ และลองทำแบบใหม่ มาใช้ดูบ้างนะครับ
ผมเสียดายชีวิตทรัพย์สินของประชาชนผู้เสียภาษี แล้วมาเสียของ แต่โทษธรรมชาติ
ทั้งที่สามารถป้องกันได้เพียงแค่กรณีข้างบน
เดี๋ยวมีเกิดอีกที่ไหน เอากรณีเสาไฟฟ้าที่ผมว่าไว้ไปเปรียบเทียบหน่อยนะครับ
พวกบ้านอยู่ใกล้เสาไฟ(ที่สร้าง)แบบนี้ เวลามีพายุ ก็ให้เตรียมตัว(หนี) หรือเตรียมใจ(รับเคราะห์กรรม)กันได้แล้วครับ.....
(อยากให้ทุกเหตุการณ์ มันได้มาสอนบทเรียนกับทุกฝ่ายครับ)
จริงๆแทนที่จะ
ไปเหมาหมดว่า เสาไฟฟ้า
ไม่ได้มาตรฐานเอย
ไม่มี
เหล็กปลอกกันแผ่นดินไหวเอย
ทำไมไม่มองทีต้นเหตุที่แท้จริงกันมากกว่าล่ะครับ
...
ไม่ได้เหมาหมดนะครับ แต่อยากให้ย้อนไปดูผลเสียหายจากลมพายุ ชื่อก็บอกแล้วว่ามันต้องแรงและรวดเร็ว ที่เสียหายตามข่าว ส่วนมากมีหลังคา ต้นไม้ใหญ่ กิ่งไม้ขวางลม เสาไฟฟ้าไม่ว่าเหล็กกลางใหญ่ และไม่เคยเห็นรถปลิว คนปลิว มีแต่ต้นไม้ล้มทับบ้าน ทับคน เสาไฟล้มทับรถ ทับบ้าน และทับคน ที่ กทม.เห็นข่าวผู้ชายร้องไห้เห็นเมียตายในรถถูกเสาไฟทับอัดก้อปปี้แล้ว ถ้าผมอยู่หน่วยงานการตั้งเสา ผมต้องย้อนไปมองที่เนื้องานของตัวเองครับ เป็นส่วนหนึ่งที่ ทำให้เขาตาย ถ้าเสาไม่เปราะ หรือหักง่าย ไม่พอ หักโค่นตามกันเป็นลูกระนาด ทำไมไม่หักแล้วค้างคาแค่โอนเอน ไม่ไปรั้งต้นอื่นให้โค่นไปด้วย อยากให้ช่วยคิดแก้ไขแค่นี้ ไม่ได้บอกว่าเป็นต้นเหตุจากการวิเคราะห์ง่ายๆครับ
1. ลมแรงกว่าปกติหรือเปล่า....
อธิบายไปแล้วว่าชื่อ พายุ2. เสาไฟฟ้าหลังๆจะทำสูงกว่าเดิม ทั้งนี้เพื่อสามารถพาดสายได้มากขึ้น แต่นั่นแหล่ะทำให้โมเมนท์ มากขึ้นตามตัว moment = force x distance ระยะเพิ่มแรงโมเมนท์ก็มากขึ้น ในขณะที่หน้าตัดรับแรงของเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงก็เพิ่มตาม แต่ ก็ไม่ได้เพิ่มในสัดส่วนที่สัมพันธ์กันอย่างมีนัย (หมายถึง ใหญ่มากๆ) แต่ส่วนตัวก็เชื่อว่าวิศวกรเค้าคำนวณมาแล้ว ซึ่งทั้งนี้ ก็ส่วนตัวผม คิดว่า วิศวกรเค้าคงออกแบบมาเผื่อแค่สายไฟ แรงลมธรรมดาๆ แต่พอมีลมแรงๆกับเสาสูง กับ แรงกระทำบางอย่าง (ฮืม) ทำให้เสา เกิด เสียหาย..
คิดตรงกันนี่ ทำไมไม่คิดเผื่อลมพายุด้วยเลย ฐานเสาเคยมีเสาประกบซ้ายขวาก็เอาออก ฐานล่างมีปลอกคอนกรีต มั่นคงดีแล้ว
แต่ตัวเสาตรงโคนที่โผล่มาแค่ฟุตบาท จุดล่อแหลมมันอยู่ตรงนั้น...นี่ล่ะที่ผมอยากให้กลับ
ย้อนคิดคำนวณแก้ไขให้มันมั่นคงกว่าเดิม อย่างน้อย ไม่หักเปราะๆ และโค่นตามกัน3. มีแรงกระทำบางอย่าง ลองสังเกตุดูสิครับ แถวนั้นมีป้ายใหญ่ๆ มีต้นไม้ใหญ่ๆ ที่ไปล้มทับสายไฟหรือเปล่าครับ อันนี้น่าจะเป็นสาเหตุที่ผมว่า น่าจะเป็นนี้มากกว่านะครับ
ด้วยส่วนตัว ตามข้อ 3. oo น่าจะเป็นสาเหตุหลัก ในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้
เรามักจะเป็นช่างของการไฟฟ้ามาทำการตัดต้นไม้บ่อย แต่ก็นั่นแหล่ะ จำนวนงาน กับจำนวนคน
ต้นไม้เค้าโตขึ้นทุกๆวินาที...
อันนี้ขอแย้ง ต้นไม้ใหญ่สูงไม่เกินเสาที่เกิดเหตุครับ ที่เกิดคือ เสาไฟแรงสูง สายไฟ จะอยู่สูงกว่าต้นไม้ ย้อนดูภาพข่าวได้ทุกข่าวนะครับ ต้นไม้ไม่ได้ล้มทับสายไฟแน่นอน มีแต่ล้มทับบ้าน หรือเสาไฟแรงต่ำระดับหลังคาบ้านเท่านั้นแล้ว เราจะให้เค้าป้องกันอย่างไร ไปเพิ่มเสาใหญ่โตกว่านี้ มันก็ไม่ได้ผลหรอกครับเพราะสายไฟ พอมีหลายๆเส้นมันก็กลายเป็นมัดเชือก มีความแข็งแรงสูงไปซะอีก ถ้ามันล้มไปต้นนึง มันก็เลยลามๆๆๆ ไปไงล่ะครับ ผมเลยมองว่ามันสุดวิสัย..
ไม่ใช่ให้เพิ่มขนาดเสาครับ และไปดูเสาไฟแรงสูง จะมีสายไฟหลักๆกี่เส้น ไปดูก่อนให้ความเห็นนี้ครับ ไม่ใช่ว่ามีสายไฟวางพาดระหว่างเสาเป็นสิบเส้น ไม่ใช่แน่นอน ที่มันล้ม จากแรงลมมาปะทะแนวสายไฟกับแนวเสา เพียงแต่มันรุนแรงทำให้เสาแรกหัก แรงดึงผ่านสายไฟแรงสูง มันทำให้ต้นต่อไปล้มตามหักเปราะตามเราไม่ได้มองว่าปัญหานี้มันเป็นเรื่องธรรมชาติที่ผ่านแล้วผ่านไป
มัน ก็ต้องระดมการแก้ไขสิครับ เช่น ตามแนวทางหลวง พยายามไม่ให้มีต้นไม้สูง แจ้งให้พนักงานการไฟฟ้า ตัดแต่งกิ่งบ่อยๆ ประชาชนไม่ปลูกต้นไม้ที่รากไม่แข็งแรง ริมแนวเสาไฟฟ้า
จริงๆเสารุ่น เก่าก็หักนะครับ แต่เราไม่สังเกตุเองมากกว่า มันหักตลอด แต่ที่หลังๆมันหักเยอะๆ เพราะสายไฟฟ้ามันเยอะ เลยแข็งแรงกว่าเสาปูนอัดแรงมากกว่า
..ให้คนที่อยู่ในรถคันที่โดนเสาทับ มาบอกกล่าวความรู้สึกจะดีกว่าที่ผมบอกเล่าครับ.. ..มีคนให้ความเห็นข้างล่าง พอยืนยันสาเหตุได้นิดหน่อย...
.FanClub..ถูกของท่านครับ ถนนสายเก่า ๆ เช่นกัน เทหนามาก ๆ แต่ไม่ถึง 2 ปี พังซะแล้ว เดี๋ยวนี้ ไม่ว่าอะไรสร้างไว สวยงาม ใหญ่โต แต่คุณภาพมันเหมือนจะลดลงครับ คุณภาพผมเชื่อว่าลดครับ อยู่ในวงการเหล่านี้มาพอสมควร พอจะรู้อะไรบ้างครับ อิอิ...