เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 10:44:18
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  พุทธวจน สำคัญอย่างไร ตั้งแต่ผมเข้าใจ พุทธวจน เราจะเจอทางตรงเข้านิพพานครับ ลองดู
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน พุทธวจน สำคัญอย่างไร ตั้งแต่ผมเข้าใจ พุทธวจน เราจะเจอทางตรงเข้านิพพานครับ ลองดู  (อ่าน 1709 ครั้ง)
ton_parata
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 22 พฤษภาคม 2012, 11:04:01 »

พุทธวจน
              คือหลักคำสอนที่ไม่มีการปรับเสริมเติมแต่ง หรือตกหล่น
เป็นคำสอนหรือคำพูดจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า เป็นหลักธรรมที่แท้จริงของศาสนาพุทธ
การเผยแผ่ศาสนาหรือสอนธรรมะ ด้วยคำสอนนี้จะทำให้ศาสนาพุทธมีเอกภาพและเป็นปึกแผ่น
เราเป็นชาวพุทธแต่เรากลับได้รับคำสอนที่แท้จริงน้อยมาก
ส่วนมากเป็นหลักคำสอนที่ผ่านการปรับเสริมเติมแต่ด้วยผู้ที่เผยแผ่หรือผู้สอน
ผ่านบดกลอน ถ้อยคำที่สวยงาม หรือวิธีการที่ทำให้เข้าใจหรือปฎิบัติได้ง่ายขึ้น
แต่จะต้องตาม "พุทธวจนะ" หรือไม่นั้นก็มิอาจทราบได้
เพราะฉนั้นาวพุทธจึงควรใช้ "พุทธวจนะ" เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดคำสอนที่ถูกต้อง

                     ผ่านมา ๒,๕๐๐ กว่าปี ก็เกิดมีหลายสำนัก
                  หลายครูบาอาจารย์ ทำให้มาตรฐานเริ่มมากในสังคม
            เริ่มหามาตรฐานกลางไม่ได้ ต่างคนต่างใช้ความเห็นของหมู่คณะ
                    หรือความเห็นของผู้นำหมู่คณะของตน
             เราต้องกลับมาถามว่าหมู่คณะนั้นใช้คำของพระตถาคต
             เป็นมาตรฐานรึเปล่า พระพุทธเจ้าท่านทรงเห็นถึงปัญหานี้
                        และท่านได้ตรัสกำชับในหลายๆครั้ง
                  ซึ่งรวบรวมข้อความสำคัญได้ถึง ๑๐ พระสูตร
                 ๑๐ พระสูตรของความสำคัญที่ชาวพุทธต้องศึกษา

๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด
อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการ
กล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิต
ดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคย
ได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
                                                มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐
                                                  พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๔๗
๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรม
ที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล
(อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
(โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).

                                         มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒ / ๔๘๕ / ๔๕๐.
                                              ปฎิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ น. ๔๓๑

๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลา
ระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำ
เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็น
ประการอื่นเลย.
                                                    อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓
                                             พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๘๕
๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า
อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตกหรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หา
เนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป) ภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิม
ของตัวกลองหมดสิ้นไปเหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้น
โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่.
เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่า
เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่อง
นอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมา
กล่าวอยู่, เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่า
เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของ
ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย
เรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
                                                                  นิทาน. สํ. ๑๖ / ๓๑๑ / ๖๗๒-๓
                                                                     ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๑๐๗
๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่
เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่
ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก
มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำ
สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะ
รู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน
ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?” ดังนี้.
ด้วยการ ทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้
ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทา ลงได้

                                                                     ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๒ / ๒๙๒
                                                              ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๓๕๒
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะ
ทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา-
มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วย
เรื่องสุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไป
ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์
กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว
ของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี
เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้
เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร
ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้
หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน
ปฏิปุจฉาวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อ
สุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษร
สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก
อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้
ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะ เหล่าใด
อันเป็น ตถาคตภาษิตอันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบ
ด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟัง
ด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่ง
ที่ควรศึกษา เล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว
ก็สอบถาม ซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็น
อย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้
หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา
ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัท
ที่เลิศ ในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้นคือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกา
จิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป:ไม่อาศัย
ความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.

                                                                       ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒
                                                           อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๕๐๕
๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิก
ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว อย่าง
เคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความ
เสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

                                                         มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
                                                           พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๔๖๕
๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้นถึงแม้
จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็น
มรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค)
เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). ภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้
เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมาย
ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมา-
สัมพุทธะกับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ

                                                                  ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕
                                                       อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๗๒๑
๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง
พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก
ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็นมูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรม
ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธ
วจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่
บอกสอน เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ, เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตร
ทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย !
นี่เป็นมูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...
(ในที่นี้ยกมาเพียง 2 ข้อ จาก 4 ข้อ ของเหตุเจริญแห่งพระศาสนา)

                                                                       จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๘ / ๑๖๐
                                                                     ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๓๕๕
๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน
๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุข้าพเจ้าได้สดับรับ
มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของ
พระศาสดา”...
๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่
พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุ
ผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมากเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น
คำสอนของพระศาสดา”...
๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุ
ผู้เป็นเถระ อยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอน
ของพระศาสดา”...
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบท
และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลง
สันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุ
นี้รับมาผิด” เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลง
ในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัสของพระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี”เธอทั้งหลายพึงจำ
มหาปเทส.. นี้ไว้

                                                                                  อุปริ. ม. ๑๔ / ๕๓ / ๔๑
                                                                                    อริยวินัย น. ๓๙๙
๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า “ธรรมวินัยของพวกเรามี
พระศาสดา ล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา” ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธอ
อย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว
แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายโดยกาล
ล่วงไปแห่งเรา
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักต้องมีตน
เป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็นประทีป
มีธรรม เป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่น เป็นสรณะ เป็นอยู่ อานนท์! ภิกษุพวกใด
เป็นผู้ใคร่ ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ใน สถานะอันเลิศที่สุดแล.

                                                       มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐ / ๑๕๙ / ๑๒๘


อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า
เป็นบุรุษ คนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย.... เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า... เธอทั้งหลาย
อย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย

                                            ม. ม. ๑๓ / ๔๒๗ / ๔๖๓.


IP : บันทึกการเข้า
ton_parata
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 22 พฤษภาคม 2012, 11:07:44 »

http://www.youtube.com/watch?v=hIhjqsvdSUY&feature=related

http://media.watnapahpong.org/
IP : บันทึกการเข้า
koyjang
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 132


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 31 พฤษภาคม 2012, 13:59:42 »

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ แห่งวัดนาป่าพง (สาขาวัดหนองป่าพง) คลองสิบ ลำลุกกา  พยายามเน้นสอน คำของพระพุทธเจ้า  ใหม่  ๆ เวลาท่านสอนคำพุทธวจน ในที่ต่าง ๆ  ท่านฉายสไลด์ให้ดู  ให้เห็น แต่เฉพาะคำของพระพุทธเจ้า ในพระไตรปิฏก ตอนแรก ๆ ที่ไปวัดท่าน เวลาฟังท่านเทศน์ ก็ยอมรับว่ายังงง ๆ อยู่  แต่พอไปบ่อย ๆ ยอมรับว่า ท่านอธิบายคำของพระพุทธเจ้า ได้ละเอียดและเข้าใจง่ายขี้น  ที่วัดท่านเป็นสถานที่ สงบร่มรื่น  เรียบง่าย  ถ้าไปทำบุญที่วัดท่าน(เคยไปแต่เฉพาะเสาร์_อาทิตย์) ญาติโยมถวายอาหารพระแล้ว  พระท่านสละแล้ว  ญาติโยมเอามาทาน  ต้องนำจาน ช้อน ไปเองของแต่ละท่าน  และต้องล้างภาชนะของตัวเอง  เพราะที่วัดไม่มีบุคลากรมาชวยล้างจานชาม  ทำให้พระท่านมีเวลาได้ปฏิบัติได้มากขึ้น จากวัดที่เคยมีคนไปน้อย ๆ  ตอนนี้ก็มีญาติโยมที่มีศรัทธาได้เพิ่มมากขึ้น ถนนหนทางก็ปรับปรุงให้ดีขึ้น  ท่านจะอยู่สนทนาธรรมช่วงเสาร์ _ อาทิตย์ หลังฉันเข้าแล้ว  ประมาณ ๑๐ โมงเช้า ไปจนถึงเที่ยง ใครมีคำถามที่ยังไม่เข้าใจก็สามารถสนทนาธรรมกับท่านได้  เป็นบรรยากาศที่เป็นกันเอง และอิ่มบุญจริง ๆ ค่ะ   ได้รู้พระวินัย และข้อปฏิบัติของพระจริง ๆ ก็จากที่นี่แหละค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
HS5RZS
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 14 กรกฎาคม 2012, 13:42:49 »

ผมเป็นคนหนึ่งที่เข้าใจในสิ่งที่พระองค์สอน ก็เพราะเรื่องนี้ ได้ทราบซึ้งถึงคำพูดที่ว่า "สวยงามในเบื้องต้นท่างกลางและในที่สุด"
IP : บันทึกการเข้า
HS5RZS
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 16 กรกฎาคม 2012, 18:02:18 »

ขออัพพุทธวจนครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
james_cr2001
magdafVE
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 276


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2012, 13:31:43 »

พระพุทธเจ้าท่านสอนใบไม้หนึ่งกำมือครับ คำสอนท่านง่าย ๆ ตรงไปตรงมา
เหมาะสำหรับมนุษย์ที่สุดครับ ธรรมะของท่านเป็นของสูง มิได้มีไว้เพื่อถกเถียงกัน
มีไว้เพื่อนำไปปฏิบัติ เพื่อเข้าสู่เป้าหมายสูงสุดคือ การไม่เกิด การไม่แก่ การไม่เจ็บ
และไม่ตาย ท่านสอนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
และงามในเบื้องปลาย
IP : บันทึกการเข้า

หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!