ไปหลวงน้ำทาที่ผ่านมาบ่าได้ไปเมืองสิงซักกำครับเห็นคนขับว่าถ้าจะไปเมืองสิงต้องขึ้นเหนือไปแหม ห้าหกสิบโลเส้นทางขึ้นดอยลงดอย ไปกลับอาจจะใช้เวลาเมิน เห็นว่าบรรยากาศสบาย ๆ เหมือนเมืองงอยครับ มีด่านชายแดนติดจีนโตย ถ้ามีเวลาแหมน้อยก็อยากไปเห็นครับ รูปอัพเดทน่าจะมีที่หมู่ ลุงจง ป๋าศักดิ์ครับเพราะไปแอ่วมาแล้วตอนกลางปีครับ
แหล่งท่องเที่ยวเมืองสิงห์
• บนทางหลวงหมายเลข 3 ห่างจากตัวเมืองมาทางทิศเหนือระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ผ่านทิวเขา สายน้ำทา และผืนป่าเขียงขจีของสองข้างทาง มาถึงเมืองสิงห์ เมืองเล็กๆ ตั้งอยู่บนที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ โอบล้อมด้วยทิวเขา มีสายน้ำยวนและม่าคอยหล่อเลี้ยง อดีตเคยเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญและเคยตกเป็นเมืองขึ้นของแคว้นทางตอนเหนือของไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกฝิ่นและเป็นผู้ผูกขาดการค้าฝิ่นเสียเอง
• นอกจากนี้เมืองสิงห์ยังเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมไทลื้อ ชาวไทลื้อนับเป็นหนึ่งในกลุ่มชนที่ใช้ภาษาตระกูลภาษาไทซึ่งรวมถึงพวกลาวลุ่ม ชาวเขาบางเผ่า ผู้คนในภาคเหนือของไทย และในรัฐฉานของพม่า ชาวไทลื้อมีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลยูนนานทางภาคใต้ของจีนห่างจากเมืองสิงห์เพียง 10 กิโลเมตร ชาวไทลื้อในลาวจึงได้ชื่อว่ามีสายเลือดและวัฒนธรรมแบบไทลื้อแท้กว่ากลุ่มอื่นๆ ที่อยู่นอกถิ่นฐานเดิมของบรรพบุรุษ
ใช่ว่าเมืองสิงห์จะมีชาวไทลื้ออาศัยอยู่อย่างหนาแน่น นอกเมืองออกไปยังมีชาวเขาเผ่าต่างๆ ทั้งม้ง เย้า มูเซอ อาข่า แวนแตน ส่วนใหญ่มักตั้งหมู่บ้านอยู่บนไหล่เขา และจะลงมาซื้อของในเมืองสิงห์กันทุกเช้า
• หากเดินทางมายังเมืองสิงห์แล้ว สามารถเดินทางท่องเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้ตามสะดวกเพราะแต่ละพื้นที่อยู่ไม่ไกลกันมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ในตัวเมือง สามารถเที่ยวครบได้ในวันเดียว
• วัดหลวงบ้านเชียงใจ : ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนสายหลักในเมืองใกล้ๆ กับแม่น้ำ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2430 เป็นสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาแบบไทลื้อ ภายในพระอุโบสถเป็นหลังคาทรงสูง มีหน้าต่างบานเล็กๆ และหมู่เสาที่ลงรักสีแดงดูสวยงามมาก ด้านนอกเป็นที่ตั้งของพระธาตุสีทองมีรูปทรงที่แปลกตา
• เรือนพญาเซกอง ปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำเมือง เก็บรวบรวมและแสดงประวัติเรื่องราว สิ่งของ เครื่องใช้ ของชนเผ่าต่างๆ ในเมืองสิงห์ แต่ต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าไปชม หลังจากนั้นเดินเข้าไปในซอยติดกับเรือนแห่งนี้จะเป็นที่ตั้งของตลาดเช้า และสถานีรถโดยสารแห่งใหม่ของเมืองสิงห์
• ตลาดใหญ่ เป็นตลาดประจำเมืองสิงห์ สมัยก่อนเป็นตลาดที่มีการซื้อขายฝิ่นที่ใหญ่ที่สุดในสามเหลี่ยมทองคำ ปัจจุบันเป็นตลาดจำหน่ายอาหาร เสื้อผ้า และของใช้ต่างๆ ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากจีน และยังเป็นตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของชนเผ่าต่างๆ ด้วย
• พระธาตุเชียงตึง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมือง เป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมสูง 10 เมตร ตั้งอยู่บนเนินเขาศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา-ล้านช้าง ทุกปีในวันเพ็ญเดือน 12 ชาวเมืองจะจัดงานฉลองบุญขึ้นธาตุ จัดเป็นงานใหญ่ประจำปี เหมือนกับงานฉลองพระธาตุหลวงนครเวียงจันทน์ที่จัดในเวลาเดียวกัน
• งานบุญพระธาตุเมืองสิงห์ (งานบุญประจำปี) ซึ่งจะจัดขึ้นในปลายเดือนตุลาคมหรือต้นพฤศจิกายน ตามกำหนดวันในปฏิทินทางจันทรคติของแต่ละปี สถานที่จัดงานคือบริเวณพระธาตุบนเขาทางทิศใต้ของตัวเมืองจัดเป็นงานบุญในพระพุทธศาสนา จึงมีทั้งธูปเทียนอาหารที่ชาวบ้านนำมาถวายพระ พวกชาวเขาเผ่าต่างๆ ก็มาร่วมงานบุญนี้อย่างคับคั่ง มีการแต่งกายประจำเผ่า ส่วนงานประเพณีสงกรานต์ในเดือนเมษายนและงานบุญบั้งไฟ เพื่อขอฝนในช่วงฤดูแล้งของเมืองสิงห์ก็ครึกครื้นไม่แพ้กัน
• ปัจจุบันการเดินทางไปยังหลวงน้ำทา ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะมีรถโดยสารประจำทางออกจากเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว หรือใช้บริการของสายการบินลาว เที่ยวบินจากเวียงจันทน์-หลวงน้ำทา หากต้องการเดินทางทางน้ำก็มีเรือจากห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (ด่านไทยลาว) ซึ่งเรือจะล่องไปตามลำน้ำโขง ไปยังหลวงน้ำทาและต่อด้วยรถยนต์ไปยังเมืองสิงห์
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
• ที่พักส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของเรือนพักและเกสต์เฮาท์ ตกแต่งแบบเรียบง่าย ราคาไม่แพงมาก มีอาหารไว้บริการลูกค้า ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเมืองสิงห์
การเดินทาง
• การเดินทางมายังหลวงน้ำทา มีรถประจำทางไว้บริการจากหลวงพระบางและห้วยทรายทุกวัน และจากหลวงน้ำทาก็มีรถประจำทางมายังเมืองสิงห์เช่นกัน ระยะทางประมาณ 59 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมง