เสริมความรู้นิดน่ะ ครับ สำหรับ ท่านที่กำลังเล่นเครื่องเสียงมือใหม่
ปรีแอมป์ อุปกรณ์เครื่องเสียงที่เพิ่มขึ้นมาในชุดเครื่องเสียงชิ้นนี้ คงไม่ถูกใจนักกับนักเล่นกลุ่มแรกที่เน้นคุณภาพความบริสุทธ์ของสัญญาณเสียง เพราะเมื่อเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปหนึ่งชิ้น เสียงก็จะถูกเปลี่ยนแปลงเบี่ยงแบนให้มีคุณภาพเปลี่ยนไปจากการบันทึก แต่กลับนักเล่นอีกกลุ่มที่เอาความชอบและความพึงพอใจในความไพเราะเสียงเพลงเป็นที่ตั้ง การปรับแต่งที่สะดวกสบาย อาจต้องการและเลือกหามาใช้งาน
นักเล่นเครื่องเสียงหลายท่านทราบแล้วว่าปรีแอมป์ทำหน้าที่ขยายสัญญาณจากฟร้อนท์ เพื่อเพิ่มสัญญาณขาออกให้มากชุดขึ้น สำหรับต่อเพาเวอร์แอมป์เพิ่มหลายๆตัว ปรีแอมป์บางเครื่องยังรับแหล่งรายการได้มากว่าหนึ่ง เช่น สามารถรับฟังเสียงจากเครื่องเล่นดีวีดีสลับกับเครื่องเล่นซีดีได้ ปรีแอมป์บางเครื่องเสริมฟังก์ชั่นการปรับแต่งเสียง มีอีควอไลเซอร์ปรับแต่งเพิ่มลดความถี่เสียงในช่วงต่างๆ รวมถึงการแยกความถี่ให้ออกไปสำหรับการใช้งานกับลำโพงซับวูฟเฟอร์ ข้อสำคัญที่สุดสำหรับนักเล่นที่ต้องการความดังของพลังเสียง ปรีแอมป์สามารถขยายแรงดันขาออกของฟร้อนท์ ให้แรงเพียงพอที่จะส่งไปยังเพาเวอร์แอมป์เพื่อสร้างพลังและความดังของเสียง กล่าวมาถึงตรงนี้ปรีแอมป์ก็มีประโยชน์มากมายทำให้น่าหามาใช้งานบ้างแล้วนะครับ
แต่ปรีแอมป์ก็มีส่วนที่ทำให้เสียงเปลี่ยนไป กับชุดเครื่องเสียงที่มีอุปกรณ์คุณภาพดี ฟร้อนท์มีแรงดันขาออกสูงพอ หรือมีการถ่ายทอดรายละเอียดคุณภาพเสียงที่ดีอยู่แล้ว การใส่ปรีแอมป์(ไม่ว่าจะมีคุณภาพอย่างไร)เข้าไปในระบบ การทำงานของปรีแอมป์จะมีส่วนทำให้คุณภาพเสียงนั้นเปลี่ยนแปลงไป บางครั้งเพิ่มความเพี้ยนเข้าไปในระบบ ด้วยลักษณะทางเสียงที่มีความเป็นอิเล็กทรอนิกส์ นักเล่นบางท่านบอกว่าการเพิ่มปรีแอมป์เหมือนการใช้ปรีแอมป์ซ้อนปรีแอมป์ คือ ภายในฟร้อนท์ก็จะมีภาคปรีแอมป์สำหรับส่งแรงดันสัญญาณออกมาแล้ว ภายในเพาเวอร์แอมป์ก็จะมีภาคปรีแอมป์ในการรับสัญญาณเช่นกัน การเพิ่มปรีแอมป์เข้าไปก็เหมือนเป็นการเพิ่มการทำงานของอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน จึงเกิดการขยายที่ทับซ้อนกัน มีความเพี้ยนหรือส่งผลให้เสียงเปลี่ยนแปลง มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพของปรีแอมป์เป็นสำคัญ
การเลือกปรีแอมป์ควรเลือกโดยพิจารณาจากการใช้อุปกรณ์ภายในวงจร ใช้อุปกรณ์คุณภาพดี ส่งผลต่อความเพี้ยนที่ลดน้อยและคุณภาพเสียงที่ดีมากขึ้น การออกแบบวงจรที่มีระบบแยกภาคจ่ายไฟออกเป็นสัดส่วน เพื่อลดความเพี้ยนและสามารถจ่ายกระแสไฟให้กับการทำงานในส่วนอื่นๆของวงจร ในส่วนของการปรับแต่งการใช้งานนั้นเลือกเอาโดยความชอบและประโยชน์การใช้งานเป็นหลัก สำคัญที่สุดควรได้ลองฟังและใช้งานดูว่า มีเสียงเพี้ยนหรือคลื่นรบกวนออกมาให้ได้ยินหรือไม่ ฟังก์ชั่นการปรับแต่งใช้งานที่เกิดผลต่อเสียงตรงตามต้องการ สามารถปรับแต่งเสริมให้เสียงเพลงไพเราะอย่างไร ย้ำอีกครั้งว่าต้องลองฟังลองใช้งานนะครับ แล้วจะรู้ว่่า ปรีแอมป์ก็สามารถสร้างเสียงเพลง ปรับแต่งความไพเราะได้ตรงใจต้องการ ได้ประสบการณ์ในการปรับแต่งไปอีกแบบครับ
ครอสโอเวอร์ ในที่นี้ เราหมายถึง " แอคทีฟ ครอสโอเวอร์ " ที่เป็นอุปกรณ์ตัดแบ่งช่วงความถี่เสียง ซึ่งต้องมีการป้อนแรงดันไฟเข้าไปในวงจร แตกต่างจาก พาสซีฟ ครอสโอเวอร์ ที่มีอยู่ในชุดลำโพง ทำงานคนละส่วนแต่มีหน้าที่ทำงานคล้ายๆกัน มีคุณลักษณะที่เป็นข้อสังเกตดังนี้
พาสซีฟ ครอสโอเวอร์ เป็นวงจรที่มีราคาไม่แพงนัก และง่ายในการติดตั้ง โดยปกติมันถูกออกแบบเพื่อให้ใช้เฉพาะความถี่ ถ้าคุณต้องการความรวดเร็วในการปรับแต่ง พาสซีฟ ครอสโอเวอร์อาจเป็นทางเลือกที่ดีในเรื่องนี้ แต่มันก็ยังมีความยึดหยุ่นน้อยและไม่สามารถทำการปรับแต่งน้ำเสียงอย่างละเมียดได้เหมือนกับ " แอคทีฟ ครอสโอเวอร์ "
แอคทีฟ ครอสโอเวอร์ ต้องมีสายแรงดันไฟ และสายต่อลงกราวด์ แต่สามารถช่วยให้คุณควบคุมน้ำเสียงดนตรีได้ดีกว่ากันมาก แอคทีฟ ครอสโอเวอร์ ช่วยให้เพาเวอร์แอมป์ของคุณคัดทิ้งความถี่ที่ไม่ต้องการได้ก่อน ที่แอมป์จะต้องขยายมันให้เปลืองแรง เป็นวิธีที่เพาเวอร์แอมป์จะสามารถรวบรวมกำลังไปจ่ายให้แต่เพียง ความถี่ที่คุณต้องการได้ยินมันเท่านั้น โดยไม่ต้องไปใส่ใจกับความถี่ที่คุณไม่ต้องการมัน
ถ้าคุณวางแผนเอาไว้ว่าจะมีการขยายระบบในอนาคต มันก็ต้องมีการเตรียมการเรื่อง ครอสโอเวอร์เอาไว้ด้วย เพราะในเพาเวอร์แอมป์บางเครื่องอาจไม่มีครอสโอเวอร์ติดตั้งเอาไ ว้ด้วย หรือถึงมีก็อาจไม่เหมาะสมกับระบบที่เราจะขยายมันในอนาคต
ครอสโอเวอร์ทำอะไรให้คุณได้บ้าง ? ครอสโอเวอร์เป็นอุปกรณ์ที่จำกัดขอบเขตของความถี่ที่จะถูกส่งไปย ังลำโพง ความคิดเกี่ยวกับครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ค ที่เปรียบเหมือนตำรวจจราจร ที่ให้เสียงสูงผ่านไปยัง ทวีตเตอร์ เสียงกลางผ่านไปยัง มิดวูฟเฟอร์ และเสียงต่ำผ่านไปยัง ซับวูฟเฟอร์
ถ้าปราศจากครอสโอเวอร์แล้วคลื่นเสียงก็มีลักษณะเหมือนการจราจรที่ติดขัด มิดเรนท์ และ ซับวูฟเฟอร์จะพ้องเสียงไปในความถี่เดียวกัน และซับวูฟเฟอร์ในระบบก็จะพยายามส่งเสียงในย่านเสียงตัวโน๊ตสูงๆ ที่มันไม่สามารถทำได้ ก่อให้เกิดอาการ " สุมรวมกันอย่างรุนแรง " ( Fatal pile-up ) และทำลายเสียงแหลมด้วยลักษณะการแปรเปลี่ยนปัจจัยของโน๊ตเสียงเบ ส ซึ่งกระตุกต่อเนื่องในเปลายทางที่ผิดพลาด
ด้วยว่าเหตุเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง คุณจึงต้องค้นหาครอสโอเวอร์ในรูปแบบที่เหมาะสมกับลำโพงแต่ละตัว ถ้าเป็นการใช้ในลำโพงวางหิ้งในระบบเครื่องเสียงบ้านแบบ สองทาง 1 คู่ มันจะใช้ครอสโอเวอร์แบบ 2 ทาง ซึ่งในลักษณะของครอสโอเวอร์แบบนี้ ตัวกรองความถี่สูงผ่านจะขวางกั้นเสียงต่ำไว้ และผ่านเฉพาะย่านความถี่สูงไปให้กับทวีตเตอร์ ในขณะเดียวกันตัวกรองความถี่ต่ำผ่านจะขวางกั้นเสียงสูง และผ่านเฉพาะย่านความถี่ต่ำไปยังวูฟเฟอร์
ทำไมต้องใช้แบบแอคทีฟ ? ขั้นตอนการใช้งานของพาสซีฟ ครอสโอเวอร์จะต่อในช่วงสัญญาณหลังผ่านเพาเวอร์แอมป์ โดยทั่วไปจะใช้คาปาซิเตอร์หรือคอยส์ที่มีค่าเหมาะสมวางไว้ในระหว่างทางของสายลำโพง ดังนั้นมันจึงปรุงแต่งเฉพาะเสียงที่ผ่านการขยายกำลังแล้วเท่านั ้น การใช้พาสซีฟ ครอสโอเวอร์ จะต้องมีกำลังเสียงพอเพียง จุดตัดครอสโอเวอร์จะแปรเปลี่ยนไปตามอิมพีแดนซ์ของลำโพง เพราะความถี่จะถูกกำหนดโดยปฎิกริยาของโหลดลำโพง เมื่อคุณเปลี่ยนลำโพงจาก 4 โอห์มไปเป็น 8 โอห์มจุดตัดความถี่จะเปลี่ยนไปครึ่งหนึ่ง เช่น 100 Hz ก็จะเปลี่ยน 50 Hz
ในทางกลับกัน แอคทีฟครอสโอเวอร์จะมีการกระทำโดยตรงกับสัญญาณเสียงก่อนที่จะถูกป้อนเข้าเพาเวอร์แอมป์ ดังนั้นมันจึงไม่มีผลกระทบจากอิมพีแดนซ์ของลำโพง และทำให้ระบบเสียงนั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมาก การติดตั้งในระดับสัญญาณปรีแอมป์ ทำให้เพาเวอร์แอมป์ได้รับสัญญาณที่เข้มข้นเพื่อการขับขยายที่เต็มพละกำลังในช่วงความถี่นั้นๆ เพื่อผ่านต่อไปยังชุดลำโพง
ข้อด้อยของมันมีแค่เพียงเรื่องของความต้องการไฟ +12 โวลท์ , กราวด์ และสายควบคุมการ เปิด/ปิด อีเล็คโทรนิคครอสโอเวอร์ อาจมีส่วนใรการเพิ่มเสียงรบกวนให้กับระบบ แต่ด้วยงานติดตั้งคุณภาพสูงๆในปัจจุบันไม่น่าเกิดปัญหานี้ (นอกจากงานติดตั้งห่วยๆ ) แต่ข้อได้เปรียบของอิเล็คทรอนิคครอสโอเวอร์นั่นคือ การให้ความสะอาดชัดของเสียงแม้ว่าจะเปิดฟังความดังของระบบเสียง ในระดับแข่งขัน
เพาเวอร์แอมป์ในเรื่องการแบ่งคลาสของแอมป์นั้น จะแบ่งจากการไปอัดกระแสไฟให้กับทรานซิสเตอร์หรือ มอสเฟส ที่ทำหน้าที่ในวงจรขยายเสียง
1. Class A พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้เน้นในเรื่องของคุณภาพเสียง ค่าความเพี้ยนตํ่า และเสียงรบกวนน้อย แต่มีข้อเสียในเรื่องของความร้อนที่ค่อนข้างจะสูงเพร าะมีการป้อนกระแสไฟให้ทรานซิสเตอร์อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่มีสัญญาณอินพุทเข้ามาก็ตาม และกำลังขับที่ได้นั้นก็ค่อนข้างจะน้อย แอมป์ประเภทนี้จึงเหมาะกับนักฟังที่เน้นรายละเอียดขอ งเสียงกลาง-แหลม ไม่เน้นอัดตูมตาม เป็นที่เอาเล่นแบบที่ว่าจะฟังเสียงใสๆๆๆนะครับ วัตต์จะไม่ค่อยแรงเท่าไร ราคา เอาเรื่องเหมือนกัน
2. Class B เป็นการใช้ทรานซิสเตอร์ 2ตัว ทำงานแบบ Push-Pull หรือ ผลัก ดัน ช่วยกันทำงานคนละครึ่งทาง และจะไม่มีการป้อนกระแสไฟล่วงหน้า ซึ่งมีข้อดีคือเครื่องไม่ร้อน แต่ข้อเสียกลับมากกว่าเพราะความผิดเพี้ยนสูงมาก เสียงจึงไม่มีคุณภาพ แต่ในปัจจุบันแอมป์ คลาสนี้คงจะไม่มีแล้ว
3. Class AB เป็นการรวมตัวกันของแอมป์ทั้ง 2คลาสที่กล่าวมา คือใช้ทรานซิสเตอร์ 2ตัว แต่จะมีการป้อนกระแสไฟปริมาณตํ่าๆเอาไว้ล่วงหน้าอยู่ ตลอดแต่จะไม่มากเท่าคลาส A และการจัดวงจรก็ใช้แบบ Push-Pull เหมือนคลาส B จึงทำให้พาวเวอร์แอมป์ประเภทนี้มีคุณภาพเสียงที่ค่อน ข้างดี ถึงแม้จะไม่เท่าคลาส A แต่ได้เปรียบในเรื่องของกำลังขับที่มากกว่า และเกิดความร้อนน้อยกว่า และคลาส AB นี้แหละเป็นแอมป์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และสามารถนำไปขับได้ทั้งลำโพงกลาง-แหลม หรือแม้แต่ซับวูเฟอร์ก็ได้
4. Class D เป็นพาวเวอร์แอมป์กำลังขับสูง เน้นหนักในเรื่องพละกำลังเพียงอย่างเดียว แอมป์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาสำหรับขับซับโดยเฉพาะ เหมาะกับพวกที่ชอบฟังเพลงหนักๆ เน้นพลังเบส กระแทกแรงๆ แบบนี้เป็นแอมป์ที่เรา นิยมมาขับซัพ กันเพราะมีวัตต์สูง แต่ก้อมีความเพี้ยนมากพอดู
5. CLASS H คือการนำเอาข้อดีในด้านประสิทธิภาพของแอมป์คลาสดี แต่ให้คุณภาพได้ดีเหมือนแอมป์คลาสเอบี แอมป์คลาสเอซนี้มีรูปแบบวงจรที่สลับซับซ้อนพอสมควรเร ียกได้ว่าเป็น แอมป์ที่ให้วัตต์สูงในแบบคลาสดี แต่ให้เสียงเหมือนคลาสเอบีและมีราคาแพง
CLASS H จะแสดงความสามารถได้เด่นชัด เมื่อเล่นกับโหลดต่ำๆ เช่น 2 โอห์ม หรือ 1 โอห์ม ปัจจุบันถือเป็นความก้าวหน้าที่สุดของแอมป์ประเภทกำลังขับสูง และแบบนี้ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไรในตอนนี้ เพราะการจัดวงจรที่ยุ่งยากซับซ้อน
6.CLASS T คือคือการนำเอาข้อดีในด้านประสิทธิภาพของแอมป์คลาสดี กับ คลาส เอบี มารวมกันเพือให้ได้เสียงดี และมีวัตต์ที่สูงขึ้น การจัดวงจรจะใกล้เคียงกับ คลาส h มาก แต่จะมีการกินกระแสมากว่าครับ