เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 01:34:10
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  นักลงทุน การเงิน การธนาคาร
| | |-+  กองทุนทองคำในประเทศไทย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน กองทุนทองคำในประเทศไทย  (อ่าน 1213 ครั้ง)
NoOK-ManiA
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 422


"WE LOVE OUR KING"


« เมื่อ: วันที่ 14 สิงหาคม 2011, 18:01:38 »

 ผู้ที่ชื่นชอบการลงทุนในทองคำนั้น นอกจากจะทำได้ทั้งซื้อทองแท่งและทองรูปพรรณโดยตรงแล้ว อีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมไม่แพ้กันคือ การลงทุนผ่านกองทุนรวมทองคำ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่อย่างแพร่หลาย แม้กองทุนทองคำในไทยจะลงทุนแบบเดียวกันคือซื้อหน่วยลงทุนของ SPDR Gold Trust แต่ไม่ใช่ว่าผลตอบแทนของทุกกองจะเหมือนกันเสียทีเดียว บทความนี้ขอเล่าถึงลักษณะที่สำคัญของกองทุนทองคำในไทย ที่ทำให้ผลตอบแทนออกมาแตกต่างกัน เพื่อผู้อ่านจะได้พิจารณาและเลือกลงทุนได้เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองครับ

» เกริ่นนำ กองทุนทองคำในประเทศไทย

     ปัจจุบัน ตลาดกองทุนรวมไทยมีกองทุนทองคำอยู่ 17 กองทุน บริหารจัดการโดยบริษัทจัดการลงทุน 12 แห่ง มีขนาดกองทุนรวมประมาณ 13,856 ล้านบาท (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2554) ส่วนใหญ่ประมาณ 85% เป็นกองทุนรวมทองคำแบบเพื่อการลงทุนทั่วไป ส่วนที่เหลืออีก 15% เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือ RMF ที่มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ประเภททองคำ

     แม้ว่าจะเรียกกันโดยทั่วไปว่าเป็นกองทุนทองคำ แต่กองทุนเหล่านี้ไม่ได้นำเงินของผู้ลงทุนไปซื้อทองคำแท่งโดยตรงหรอกครับ จริงๆ แล้วเป็นการลงทุนผ่านหน่วยลงทุนของ SPDR Gold Trust (อ่านว่า “สไปเดอร์โกลด์ทรัสต์”) ซึ่งเป็นกองทุนประเภท ETF (Exchange Traded Fund) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริหารจัดการโดย World Gold Trust Services, LLC ในเครือของสมาพันธ์ทองคำโลก (World Gold Council) โดยกองทุน SPDR Gold นี้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ 4 แห่ง คือ นิวยอร์ก ฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.spdrgoldshares.com

» ผลตอบแทนกองทุนทองคำในไทยแตกต่างกัน

     กองทุน SPDR Gold Trust นั้นลงทุนในทองคำแท่งจริง ซึ่งทำให้ราคาหน่วยลงทุนเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับราคาทองคำแท่งตลาดโลก แต่ผลตอบแทนกองทุนทองคำในไทยทั้งหลายนี้มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ผู้เขียนขอยกปัจจัยสำคัญ 2 ประการที่อยากจะแนะนำให้ผู้อ่านต้องคำนึงถึงเมื่อเวลาเลือกลงทุนในกองทุนทองคำครับ

ตลาดหลักทรัพย์ของโลกที่ใช้อ้างอิงราคาซื้อขาย 

      ทองคำถือเป็นสินทรัพย์เรียกได้ว่ามีการซื้อขายกันตลอด 24 ชั่วโมง หมุนเวียนไปตามตลาดต่างๆ หากตลาดไหนถึงเวลาปิดทำการ ผู้ลงทุนในตลาดโลกสามารถทำการซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ประเทศอื่นได้ ดังนั้น แม้กองทุนทองคำในไทยจะลงทุนใน SPDR Gold Trust เหมือนกัน แต่ในรายละเอียดแล้ว ราคาซื้อขายที่ใช้อ้างอิงจะแตกต่างกันไปตามตลาดหลักทรัพย์ที่เลือก (ดูได้จากหนังสือชี้ชวน) เช่น กองทุนทองคำของ บลจ.กสิกรไทย บลจ.แอสเซทพลัส บลจ.อยุธยา และ บลจ.บัวหลวง อ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์ ขณะที่ บลจ.ทหารไทย อ้างอิงตลาดนิวยอร์ก ส่วน บลจ.เอ็มเอฟซี อ้างอิงตลาดฮ่องกง เป็นต้น ดังนั้น หากราคาทองในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงไปชั่วข้ามคืน ก็จะมีผลให้มูลค่าของแต่ละกองทุนในไทยต่างกันไปด้วย

      ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่ติดตามราคาทองคำในตลาดโลกสามารถดูคร่าวๆ ได้ว่า ถ้าลงทุนกองทุนทองคำที่อ้างอิงตลาดสิงคโปร์จะใช้ราคาปิดราว 5 โมงเย็นตามเวลาในประเทศไทย ตลาดฮ่องกงเร็วกว่าเล็กน้อยคือประมาณ 4 โมงเย็น ส่วนตลาดนิวยอร์กจะอยู่ประมาณตี 5 ของวันถัดไป

นโยบายป้องกันความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

      ปัจจัยที่มีความสำคัญและมีต่อกำไรขาดทุนของกองทุนเป็นอย่างมากคือ นโยบายป้องกันความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน กองทุนรวมบางกองแม้จะอ้างอิงราคาตลาดแห่งเดียวกัน แต่หากใช้นโยบายป้องกันความเสี่ยงคนละแบบ ก็จะทำให้ผลตอบแทนกองทุนรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญได้ ตัวอย่างเช่น กองทุน K-Gold และ Asset Plus Gold (ตลาดสิงคโปร์และป้องกันความเสี่ยงทั้งจำนวน) ให้ผลตอบแทนราว 18% ในปี 2553 ต่างจากองทุน AYF Gold และ Bualuang Gold (ตลาดสิงคโปร์และไม่ป้องกันความเสี่ยง) ซึ่งให้ผลตอบแทนราว 12%

      เหตุการณ์สำคัญในปี 2553 คือเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ทำให้กองทุนทองคำซึ่งเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือ Foreign Investment Fund (FIF) ประเภทหนึ่งได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย ถ้าไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงไว้ก่อนจะทำให้เมื่อแปลงมูลค่าต่างประเทศกลับมาเป็นเงินบาทก็จะได้ในจำนวนที่น้อยลง และสะท้อนเป็นผลตอบแทนที่ต่ำลง

      แต่การป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวนนี้จะส่งผลตรงข้ามเมื่อค่าเงินบาทอ่อนตัว อย่างเช่นในเดือนแรกของปี 2554 ที่ค่าเงินบาทอ่อนลง ทำให้กองทุนรวมที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจะให้ผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนที่ป้องกันความเสี่ยงทั้งจำนวน (เพราะสินทรัพย์สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อแปลงเป็นเงินบาทแล้วจะได้จำนวนที่มากขึ้น)

 
กสิกรไทย   แอสเซทพลัส   เอ็มเอฟซี   อยุธยา   ทหารไทย   บัวหลวง
ตลาดหลักทรัพย์   สิงคโปร์   สิงคโปร์   ฮ่องกง   สิงคโปร์   นิวยอร์ก   สิงคโปร์
นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน   ทั้งจำนวน   ทั้งจำนวน   บางส่วน   ไม่ป้องกัน   บางส่วน   ไม่ป้องกัน
ผลตอบแทน %   K Gold   Asset Plus Gold   MFC Intl Gold   AYF Gold   TMB Gold   Bualuang Gold
ขนาดกองทุน (ล้านบาท)   7,627   334   246   420   1,871   452
ปี 2553   18.95%   17.27%   17.25%   11.75%   11.74%   N/A
ปี 2554 ตั้งแต่ต้นปี   -4.87%   -5.49%   -5.20%   -3.18%   -2.21%   -2.99%
หมายเหตุ: ข้อมูล ณ 2 กุมภาพันธ์ 2554

     จากตารางนี้ น่าสังเกตว่า ผลตอบแทนกองทุนทองคำสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน คือ กลุ่มที่มีนโยบายป้องกันความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน (หรือดูเหมือนว่าจะเป็นเช่นนั้น) กองทุนเหล่านี้ให้ผลตอบแทนประมาณ 18% ในปี 2553 และ -5% ในเดือนแรกของปี 2554 ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่มีนโยบายไม่ป้องกันความเสี่ยง ให้ผลตอบแทนราว 12% ในปี 2553 และ -3% ในเดือนแรกของปี 2554 ทั้งนี้ เราดูคร่าวๆ จะเห็นว่าไม่ว่าตลาดไหนก็จะให้ผลตอบแทนใกล้ๆ กัน

     แม้การเลือกลงทุนในกองทุนทองคำมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงหลายประการ ไม่ว่าจะปัจจัยภาพรวมระดับโลกคือ ทิศทางเศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยน ราคาทองคำในตลาดโลก แต่ปัจจัยเหล่านี้กระทบต่อกองทุนทองคำในไทยในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น ถ้าจะเลือกกองทุนทองคำซักกอง แนะนำให้ดูที่ปัจจัยระดับกองทุน เช่น ตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้อ้างอิงราคา นโยบายป้องความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายจ่ายเงินปันผล และค่าธรรมเนียมการจัดการ เป็นต้น

    จากที่ได้วิเคราะห์เบื้องต้น สรุปได้ว่าการเลือกตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้อ้างอิงอาจมีผลบ้างแต่ไม่ได้ดูเด่นชัดเท่าไรนัก การเลือกนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมีความสำคัญมากกว่า เป็นตัวสำคัญที่บอกว่าทำไมกองทุนทองคำในไทยแต่ละกองให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน โดยสรุป ถ้ามองว่าเงินบาทจะแข็งค่าก็ให้เลือกกองทุนรวมที่มีนโยบายป้องกันความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน แต่ถ้ามองว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าก็ให้เลือกกองทุนรวมที่มีนโยบายไม่ป้องกันความเสี่ยงครับ

เนื้อหาในบทความนี้เป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน มิได้สะท้อนความเห็นของเครือธนาคารกสิกรไทยแต่อย่างใด การใช้ข้อมูลในบทความขอให้อยู่ในดุลยพินิจและการตัดสินใจของท่าน โดยธนาคารไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายอันเกิดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว และไม่ถือว่าธนาคารได้ชี้นำหรือชักจูงให้ท่านเข้าทำธุรกรรมใดๆ



ที่มา :  ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย
          โดย วสุ ศรีธิมาสถาพร และฉัตรพงศ์ วัฒนจิรัฏฐ์
          *หมายเหตุ ข้อมูล ณ วันที่ 12 มกราคม 2554


* 110309032620525.jpg (37.63 KB, 201x102 - ดู 178 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ความเป็นธรรม
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 04 กันยายน 2011, 02:55:46 »

ทุกอย่างต้องศึกษา
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!