เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 12:02:51
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลท่องเที่ยว-โพสรูป
| |-+  กิจกรรมท่องเที่ยว/โปรแกรมทัวร์/รถเช่า (ผู้ดูแล: ⒷⒼ*, JAMES ..., ~อั่ย มู๋อ้วน*)
| | |-+  เที่ยววันไหว้พระจันทร์ที่ไหนดี ไหว้พระจันทร์ไหว้อย่างไร
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน เที่ยววันไหว้พระจันทร์ที่ไหนดี ไหว้พระจันทร์ไหว้อย่างไร  (อ่าน 578 ครั้ง)
smanpruksa
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126


« เมื่อ: วันที่ 24 ตุลาคม 2023, 10:50:36 »

เทศกาลไหว้พระจันทร์ประจำปี 2566 ตรงกับวันที่ 29 กันยายน 2566 เรียกแบบจีนว่าเทศกาล "จงชิวเจี๋ย" ชาวจีนมีความเชื่อว่า เป็นเทศกาลเพื่อเฉลิมฉลองฤดูกาลการเก็บเกี่ยวในช่วงที่พระจันทร์เปล่งแสงสวยงามที่สุด เดิมถูกจัดให้อยู่ในพระราชพิธีโบราณของ "ศาสนาขงจื๊อ" ลัทธิเต๋า โดยจะมีการบวงสรวงฟ้า ดิน พระอาทิตย์ และเทพเจ้าแห่งการเกษตรทุกปีเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน แล้วการไหว้พระจันทร์มีวิธีการไหว้อย่างไร ไปเที่ยววันไหว้พระจันทร์ที่ไหนได้บ้าง
 
ที่มาของเทศกาลวันไหว้พระจันทร์

ความเชื่อที่เล่าขานมาแต่โบราณระบุว่า ในยุคที่มองโกลเข้ายึดครองจีนได้การส่งทหารเข้าประจำตามบ้านของครอบครัวจีนหลังละ 1 นาย และได้บังคับให้ประชาชนต้องเลี้ยงดูทหารให้อิ่มหนำสำราญ สร้างความอึดอัดใจแก่ครอบครัวจีนยุคนั้นเป็นอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญการรบแห่งราชวงศ์หมิงจึงได้ออกอุบายในวันไหว้พระจันทร์  15 ค่ำ เดือน 8 ด้วยการสอดกระดาษพร้อมข้อความไว้ในขนมโดยมีใจความว่าให้ทุกครัวเรือน "สังหารทหารมองโกล" ที่ประจำอยู่ที่บ้านตนเองคืนดังกล่าว ซึ่งสุดท้ายได้ปฏิบัติพร้อมกันอย่างพร้อมเพรียงจนเกิดเป็นการปฏิวัติพาจีนโค่นล้มอำนาจการปกครองของมองโกลได้ในที่สุด
 
วิธีจัดโต๊ะไหว้วันไหว้พระจันทร์

ปัจจุบันได้ปรับรูปแบบมาเป็นการประดับโคมไฟสีแดง จัดงานรื่นเริง เชิดมังกร และตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์ขอพรสักการะเทพเจ้า ตลอดจนรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัว โดยต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ดังนี้

1.   เทียนสีแดง 1 คู่
2.   กระถางธูป ปักธูปไว้ราว 3-5 ดอก
3.   ถ้วยน้ำชา 4 – 5 ถ้วย
4.   น้ำสะอาด
5.   ผลไม้มงคล เช่น องุ่น, ส้ม, สาลี่, แอปเปิล ฯลฯ
6.   โคมไฟสีแดง
7.   ชุดอาเนี้ยเพ้า
8.   กระดาษเงินและกระดาษทอง

ขั้นตอนการไหว้

แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

1.   ช่วงเช้า จัดโต๊ะชุดของไหว้ และเพิ่มขนมไหว้พระจันทร์ ขนมโก๋ ขนมเปี๊ยะ
2.   ช่วงสาย ไหว้บรรพบุรุษ จัดชุดของไหว้  และเพิ่มขนมไหว้พระจันทร์  ขนมโก๋ ขนมเปี๊ยะ
3.   ไหว้พระจันทร์ในตอนค่ำ เมื่อดวงจันทร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้า เพิ่ม ขนมไหว้พระจันทร์ หรือขนมที่มีรูปทรงเหมือนพระจันทร์ รวมถึงเครื่องสำอาง เครื่องประดับสำหรับผู้หญิงที่สื่อถึงความสวยงามของพระจันทร์
 
บทสวดวันไหว้พระจันทร์

เทศกาลวันไหว้พระจันทร์ปีนี้ให้ไหว้ในช่วงเวลา 19.09 น. เป็นต้นไป การตั้งโต๊ะไหว้กลางแจ้งหันหน้าไปทางทิศที่พระจันทร์ขึ้น จุดธูป 3 หรือ 5 ดอก แล้วท่องบทสวดไหว้พระจันทร์แบบย่อว่า
"โอม จันทรา ศศิประภา นะมะฮา นะโม ไท้อิม ผู่สัก ม่อ ฮ่อ สัก" ขอบารมีแห่งองค์จันทราเทพ จันทราเทวี ได้โปรดประทานความสงบร่มเย็น ความรักที่มั่นคง ความมั่งคั่งความอุดมสมบูรณ์แก่ครอบครัว
จากนั้นให้เก็บโต๊ะก่อนที่พระจันทร์จะเลยศีรษะไป หรือเมื่อเทียนดอกใหญ่ดับลง จากนั้นให้แบ่งกันกินขนมไหว้พระจันทร์ โดยหั่นแบ่งให้เท่ากับจำนวนคนในครอบครัว ห้ามเกินหรือขาด และแต่ละชิ้นต้องมีขนาดที่เท่ากัน เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี ความกลมเกลียวกันของคนในครอบครัว

เที่ยววันไหว้พระจันทร์ที่ไหนดี?

หนึ่งในกิจกรรมสำหรับเทศกาลไหว้พระจันทร์ คือการออกท่องเที่ยวเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาล สินมั่นคงประกันภัยมีกิจกรรมท่องเที่ยววันไหว้พระจันทร์มาแนะนำดังนี้
 
1.   เทศกาลไหว้พระจันทร์ตลาดน้อย

วันศุกร์ที่ 29 กันยายน ชวนสัมผัสกิจกรรมดี ๆ ที่จะได้ดื่มด่ำวัฒนธรรมประเพณีแห่งย่านตลาดน้อย เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมแห่งย่านเก่า ผ่านเทศกาลไหว้พระจันทร์ ในคืนพระจันทร์เต็มดวงกลางฤดูใบไม้ร่วงกับงาน Talad Noi Mid - Autumn Festival 2023 ในคืนวันไหว้พระจันทร์ โต๊ะหน้าบ้านของชาวไทยเชื้อสายจีนจะถูกเติมเต็มด้วยอาหารคาวและขนมหวานนานาชนิด โคมไฟถูกจุดขึ้น พร้อมประดับประดาโต๊ะและซุ้มอย่างสวยงาม

เทศกาลไหว้พระจันทร์ถือเป็นประเพณีสำคัญในรอบปีที่ชาวจีนทุกคนตั้งตารอ ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใดทุกคนจะกลับมารวมตัวกันเพื่อพบปะและสังสรรค์ภายในครอบครัว เช่นเดียวกับ "ชาวตลาดน้อย" ย่านถิ่นฐานของคนจีนกวางตุ้งที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพ สังคมรุ่นลูกหลานในตรอกตันยังคงสืบทอดศิลปวัฒนธรรมและประเพณีจีนอันมีคุณค่าไว้ตามเทศกาลต่างๆ ในรอบปี

ร่วมออกเดินสำรวจย่านตลาดน้อยดื่มด่ำวัฒนธรรมประเพณีและความพิเศษกับ 'การละเล่นผีตะกร้า'หรือ หน่าโกว การละเล่นโบราณอีกอย่างที่เด็กไทยเชื้อสายจีน ยุคหลายสิบปีก่อน เทศกาลไหว้พระจันทร์ตลาดน้อย ในวันที่ 29 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 18.00 - 20.00 น. ณ บ้านเย็บหมอนไหว้เจ้าเฮงเสง ซอยวานิช 2 ตลาดน้อย


2.   พิธีไหว้พระจันทร์ ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิม อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ

สวนหลวง-สามย่าน ร่วมกับ คณะกรรมการศาลเจ้าแม่ทับทิม อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ จัดพิธีไหว้พระจันทร์ ในวันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 19.00 น. ผู้มีจิตศรัทธาสามารถเข้าสักการะขอพรเสริม สิริมงคล ด้านสุขภาพ การเรียน การงาน การเงินธุรกิจ ความรัก ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิม อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ พร้อมชวน Work Shop ทำข้าวเกรียบปากหม้อ เวลา 18.00 น. โดยไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงของไหว้และผลไม้มงคลจัดจำหน่ายสำหรับพิธีไหว้พระจันทร์ ดังนี้

•   ขนมไหว้พระจันทร์หลากหลายแบรนด์ ขนมมงคลทั้งสไตล์ไทยและจีน
•   ผลไม้มงคลหลากหลาย
•   ดอกไม้ พวงมาลัย ธูปเทียน และเครื่องไหว้ชุดเพ้าหรือชุดกระดาษไหว้
•   เครื่องไหว้มงคล อาทิ วุ้นเส้น สาหร่าย ฟองเต้าหู้ เห็ดหอม
 
เดินทางท่องเที่ยวเทศกาลไหนก็ปลอดภัยด้วยประกันตามไมล์2 คืนไมล์ คืนเงิน ประกันชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 11,600 บาท ทุนประกันเริ่มต้นที่ 200,000 บาท ไม่เก็บค่าเสียหายส่วนแรก (ยกเว้นกรณีผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์) ประกันภัยรถยนต์สำหรับคนขับน้อย ความเสี่ยงน้อย เบี้ยประกันถูกกว่าคนที่ขับมากกว่า รับเบี้ยประกันคืนสูงสุดได้ถึง 15%  เมื่อขับได้ตามระยะทางที่ลดลงตามเงื่อนไขที่กำหนด สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/2 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง  Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!