เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 03:29:18
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ห้องนั่งเล่น (ผู้ดูแล: แชทซาโนย่า กอยุ่ง~*-., ©®*)
| | |-+  เล่าเรื่องภาษาอังกฤษกับการกลืนเผ่าพันธ์อะบอริจิโน่ ของชนผิวขาว
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน เล่าเรื่องภาษาอังกฤษกับการกลืนเผ่าพันธ์อะบอริจิโน่ ของชนผิวขาว  (อ่าน 694 ครั้ง)
inAus
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 14 สิงหาคม 2011, 18:10:13 »

รื่องราวในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลียช่วงหนึ่งที่รัฐบาลผิวขาวต้องการที่จะทำลายล้างวัฒนธรรมของชาวอะบอริจิน โดยการออกนโยบายกลืนเผ่าพันธุ์ (policy of assimilation) ในช่วงทศวรรษ 1880 ถึง 1960 วิธีการของรัฐก็คือการใช้กำลังแยกเด็กๆ ออกจากอกของพ่อแม่โดยรัฐเป็นผู้เลี้ยงดู กระจายเด็กอะบอริจินไปตามโบสถ์ สำนักสอนศาสนา และสถานเลี้ยงดูเด็กของคนผิวขาว ศาสนจักรถูกใช้เป็นเครื่องมือในการล้างเผ่าพันธุ์ด้วยความเชื่อที่ว่าชนเผ่าอะบอริจินเป็นพวกนอกรีต และเป็นหน้าที่ของคาทอลิกที่ดีที่จะทำให้เด็กเหล่านี้นับถือคริสต์ศาสนา วิธีคิดของรัฐบาลและศาสนจักรก็คือ การแยกเด็กออกจากครอบครัวนั้นเป็นวิธีการที่จะทำลายจิตวิญญาณของชาวอะบอริจินอย่างได้ผลที่สุด

“The morning the men came, policemen, someone from the
government, to take the children away from the black camp
along the river, first there was the wordless terror of heart-
jump, then the wailing, the women scattering and trying to
run dragging their kids, the men sullen, powerless before
this new white law they’d never heard of. Even the coppers
felt lousy seeing all those yowling gins. They’d have liked
the boongs to show a bit of fight, really, then they could
have laid about feeling justified.
But no. The buggers just took it. Took it and took it.
The passivity finally stuck in their guts.


ชี้ให้เห็นสภาพที่ชาวอะบอริจินถูกควบคุมและจำกัดบริเวณให้อยู่ในค่าย และนโยบายของรัฐบาลผิวขาวที่พรากลูกจากพ่อแม่ ก็เพื่อ “Take her away to big schools and teach her proper, eh? You like your kid to grow up proper and know about Jesus?” (290) ตำรวจที่บุกเข้ามาโดยการขี่ม้า จับเอาเด็กเล็กๆ ไป ท่ามกลางความโกลาหลของบรรดาแม่ที่พยายามพาลูกหนีในขณะที่ชาวอะบอริจินได้แต่มองและยอมรับชะตากรรม
IP : บันทึกการเข้า
inAus
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 14 สิงหาคม 2011, 18:16:19 »

ตัวเอกของเรื่อง หญิงอะบอริจินนาม “เนลลี” (Nelly) ได้ข่าวตำรวจบุกเอาตัวเด็กๆ ในค่ายอื่นมาแล้วจากคำบอกเล่าของ “รูที” (Ruthie) ญาติของเธอ
               ในตอนนี้ผู้เล่าเรื่องย้อนไปเล่าคำบอกเล่าของรูที หลังจากที่ตำรวจลักเอาตัวลูกของเธอไปพร้อมกับเด็กคนอื่นๆ เธอวิ่งตามลูกไป

“She bin chase that buggy two miles till one of the police he
ride back on his horse an shout at her an when she wouldn take
no notice she bin run run run an he gallop after her an hit her
one two, cracka cracka, with his big whip right across the face
so the pain get all muddle with the cryin and she run into the
trees beside the track where he couldn follow. She kep going
after that buggy, fighting her way through scrub but it wasn’t
no good. They too fast……”

               ผู้เขียนเปลี่ยนมุมมองของการเล่าเรื่องไปเป็นมุมมองของเนลลีที่เล่าเรื่องของรูที ดังนั้นจึงเปลี่ยนภาษาให้สมจริงด้วยภาษาอังกฤษแบบอะบอริจินที่สร้างความสะเทือนอารมณ์ด้วยมุมมองและภาษาแบบซื่อๆ อย่าง “She bin run run run” หรือ “hit her one two, cracka cracka,” ที่ผสมผสานการซ้ำคำและการเลียนเสียงซึ่งได้ทั้งภาพและอารมณ์
               ดังนั้นเมื่อเนลลีเห็นตำรวจขี่ม้าเข้ามา เธอจึงไม่รอช้าฉวยตัวลูกชายวิ่งหนีเข้าป่าไปอย่างไม่คิดชีวิต ในใจของเธอคิดอยู่ว่าจะไม่ยอมให้คนผิวขาวพรากลูกไปจากเธอโดยเด็ดขาด เพราะคนขาวเข้ามาแย่งชิงทุกสิ่งไปจากพวกเธอ “Everything gone. Land. Hunting grounds. River. Fish. Gone. New god come. Old take still about killings. The old ones remembering the killings.”
               เนลลีพาลูกหนีไปพึ่งครอบครัวชาวผิวขาว คือ จอร์จและเมก เจ้าของฟาร์มที่เธอเคยเข้าไปทำงานบ้านให้ ทั้งสองสามีภรรยาเมื่อรู้เรื่องก็ช่วยพาลูกชายของเนลลีไปซ่อน และออกรับหน้าแทนเมื่อตำรวจเข้ามาค้นบ้านโดยบอกตำรวจว่าเนลลีไม่มีลูก แม้จะไม่เชื่อ ตำรวจก็ทำอะไรไม่ได้และออกจากบ้านไปมือเปล่า
               เมื่อตำรวจกลับไปนั้น เมกปลอบโยนเนลลีว่า เธอและลูกหนีมาอยู่ที่ฟาร์มของเมก และสามีได้ แต่เนลลีก็ยังเสียใจ เมกและจอร์จปลอบต่อไปอีกว่า ถ้าเช่นนั้นก็ให้สามีของเนลลีมาอยู่ด้วย และพ่อแม่และญาติๆ ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก เนลลีได้แต่ตอบว่า “Not same”
IP : บันทึกการเข้า
inAus
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 14 สิงหาคม 2011, 18:21:34 »

ในบทความเรื่องนี้ จบเรื่องดังนี้

“He put into her arms and the two of them rocked somberly
before him. He still hadn’t understood.
The old men old women uncles aunts cousins brother sisters
the humpies bottles dogs dirty blankets tobacco handouts
fights river trees all the tribe’s remnants and wretchedness,
destruction and misery.
Her second skin now
“Not same,” she whispers. And she cried them centuries
of tribal dream in those two words. “Not same.”

               แม้สองสามีภรรยาจะเสนอให้เนลลีมาพักอยู่ในบ้านเพื่อหลบตำรวจนั้น เนลลียืนยันอยู่เพียงว่า “Not same” ถึงอย่างไร “คนขาว” อย่างจอร์จก็ไม่อาจเข้าใจเธอได้ (He still hadn’t understood) ในฐานะของคนขาว จอร์จคิดว่าหากเนลลีกับลูกและสามีมาอยู่กับเขาก็เป็นอันแก้ปัญหาได้ แต่สำหรับชาวอะบอริจินแล้ว อัตลักษณ์ของพวกเขาผูกพันอยู่กับเผ่าซึ่งประกอบไปด้วยผู้เฒ่าผู้แก่และญาติ (The old men old women uncles aunts cousins brothers sisters) รวมทั้งแผ่นดินถิ่นฐาน (river trees all the tribe’s remnants and wretchedness) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่คนขาวไม่ได้รู้สึกผูกพัน
               ผู้เขียนบทความนี้สรุปความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของคนดำและคนขาวได้อย่างเฉียบคมจากการตั้งชื่อเรื่องสั้น สำนวนเดิมของภาษาอังกฤษคือ Home Is Where the Heart Is บ้านคือที่ไหนก็ได้ที่หัวใจรักและผูกพัน เพราะรากเหง้าทางวัฒนธรรมของคนผิวขาวไม่ได้ผูกพันอยู่กับธรรมชาติอันเป็นถิ่นกำเนิด ในขณะสำนวนเป็น Heart Is Where the Home Is สำหรับชาวอะบอริจินแล้ว ความรักความผูกพันอยู่ที่บ้าน นั่นคือ การเน้นที่ถิ่นฐานอันเป็นที่กำเนิดของเผ่าพันธุ์ ที่ซึ่งวัฒนธรรมของเผ่าฝังรากอยู่ และแม่น้ำ ต้นไม้ ก้อนหิน และภูเขา ไม่ใช่เป็นเพียงธรรมชาติ แต่เป็นที่สถิตย์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การพรากชาวอะบอริจินไปจากถิ่นฐานก็เท่ากับเป็นการแล่เนื้อเถือหนังพวกเขานั่นเอง เพราะถิ่นฐานเปรียบเสมือนผิวของคนเหล่านี้ (Her second skin now)

อ้างอิง: จากเรื่องสั้น Heart Is Where the Home Is (1987) ของ เทีย แอสต์ลี
IP : บันทึกการเข้า
....คนหน้าแหลม....
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,535


..........................


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 15 สิงหาคม 2011, 11:06:15 »

จีนไม่พอใจมากกับข้อความ free tibet ถ้ามีใครตะโกน free australia ชาวออสซี่จะรู้สึกไงนะ
IP : บันทึกการเข้า
นายเหตุผล
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 564



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 15 สิงหาคม 2011, 16:54:23 »

นานา จิตตัง
IP : บันทึกการเข้า
Ironmaiden
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,531



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2015, 02:38:26 »

จีนไม่พอใจมากกับข้อความ free tibet ถ้ามีใครตะโกน free australia ชาวออสซี่จะรู้สึกไงนะ
Free Prostitute
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!