ฟิล์มกรองแสง อุปกรณ์เสริมสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับรถยนต์ทุกคัน ป้องกันแสงแดดสาดทะลุเข้ามาในรถ สร้างความร้อนให้คนที่นั่งอยู่ด้านในและทำให้ภายในรถเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร เช่น สีซีดจาง พลาสติกกรอบ หรือปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวด้วย ซึ่งปัจจุบัน
ร้านติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ก็มีฟิล์มให้เลือกติดหลากหลายประเภทจนเลือกแทบไม่ถูกกันเลยทีเดียว
หากใครกำลังมีแผนจะติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ใหม่ ไปดูกันดีกว่าว่าตอนนี้ในร้านติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์จะมีฟิล์มกรองแสงรถยนต์แบบไหนให้เลือกบ้าง แต่ละแบบมีจุดเด่นอย่างไร แล้วแบบไหนที่เหมาะกับรถยนต์คันโปรดของคุณ
ฟิล์มรถยนต์ประเภทคาร์บอน (Carbon Window Tint) ฟิล์มคาร์บอนหรือนาโนคาร์บอน มีจุดเด่นอยู่ที่การนำโมเลกุลคาร์บอนมาผสมไว้ในเนื้อฟิล์ม เพื่อช่วยสะท้อนแสงแดดและลดความเข้มข้นของรังสีต่าง ๆ ที่จะเข้ามายังในห้องโดยสาร และด้วยความที่มีคาร์บอนเคลือบอยู่บนชั้นฟิล์ม ฟิล์มประเภทนี้จึงมีความเข้มกว่าฟิล์มปกติที่อยู่ในร้านติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ เหมาะกับคนที่อยากได้ความเป็นส่วนตัวสูง แต่หากอยู่ในห้องโดยสารแล้วมองออกไป กระจกก็ยังใสตามปกติ ทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ไม่ดรอปแน่นอน
ฟิล์มกรองแสงแบบปกติหรือฟิล์มกรองแสงแบบย้อมสี (Dyed Window Tint) เป็นฟิล์มกรองแสงที่พบเห็นได้ทั่วไป กรองความเข้มของแสงจากดวงอาทิตย์ได้น้อยลงและสะท้อนรังสีได้บางส่วน จึงไม่สามารถลดความร้อนสะสมภายในห้องโดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานสั้นกว่าฟิล์มแบบอื่น จึงทำให้ไม่นิยมใช้มากนัก
ฟิล์มกรองแสงเซรามิก (Ceramic Window Tint) เป็นนวัตกรรมฟิล์มกรองแสงที่นำอนุภาคเซรามิกขนาดเล็กมาเคลือบบนชั้นฟิล์ม ทำให้มองจากภายนอกแล้วสามารถมองเห็นภายในรถได้ชัดเจน ป้องกันรังสี UV ได้สูงถึง 99% และประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนใกล้เคียงกับฟิล์มคาร์บอน จึงได้รับความนิยมจากผู้ใช้บริการร้านติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ไม่แพ้กัน
ฟิล์มลดความร้อนประเภทไอโลหะ (Metalized Window Tint) เรียกอีกอย่างว่าฟิล์มปรอท โดยผิวฟิล์มจะถูกเคลือบด้วยไอโลหะสีต่าง ๆ เมื่อมองจากข้างนอกจะเห็นว่ามีความมันวาวสูง ช่วยลดความร้อนสะสมภายในห้องโดยสารและลดแสงสะท้อนได้เป็นอย่างดี เหมาะกับคนที่ต้องการความสบายตาขณะขับรถ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการส่งผ่านสัญญาณดิจิทัลไม่ลื่นไหลเหมือนฟิล์มชนิดอื่น
และนี่คือ 4 ฟิล์มยอดนิยมในร้านติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่เรารวบรวมมาฝากกัน จะเห็นได้ว่าแต่ละแบบก็มีจุดเด่นแตกต่างกันออกไป จะเลือกใช้แบบไหนก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและความถนัดของผู้ขับขี่นั่นเอง