เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 20:42:26
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ตลาดกลางซื้อขายสินค้าออนไลน์
| |-+  ซื้อขาย-เช่า-เซ้ง บ้าน ที่ดิน อาคารพาณิชย์ (ผู้ดูแล: nuifish, ©®*)
| | |-+  น้ำท่วมเฉียบพลัน สาเหตุเกิดจากอะไร?
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน น้ำท่วมเฉียบพลัน สาเหตุเกิดจากอะไร?  (อ่าน 115 ครั้ง)
smanpruksa
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126


« เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2023, 16:01:26 »

ประกาศเตือนอุทกภัยหรือน้ำท่วมเฉียบพลันจากกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจคอยเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันภัยที่อาจมาถึงตัวได้โดยไม่คาดคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่างก่อนเปลี่ยนฤดูกาล ที่สภาพอากาศมีความแปรปรวน (เตือนระวัง ‘น้ำท่วมฉับพลัน’ 11 จังหวัด https://workpointtoday.com/news0501/) และอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมแบบเฉียบพลัน แล้วสาเหตุของการเกิดน้ำท่วมเฉียบพลันมาจากอะไรบ้าง?
 
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน (วิธีเตรียมตัวรับมือน้ำท่วม เมื่อมีการแจ้งเตือน! https://www.smk.co.th/newsdetail/465) ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่จากสภาพท้องที่และความแปรปรวนของธรรมชาติ แต่ในบางท้องที่ การกระทำของมนุษย์ ก็มีส่วนสำคัญ ในการทำให้การเกิดอุทกภัยนั้นมีความรุนแรงมากขึ้น ด้วยสาเหตุดังนี้

1. น้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนัก
น้ำฝน เป็นต้นกำเนิดของน้ำที่ปรากฏบนผิวโลก เมื่อฝนตกลงมาบนผิวดินจะมีน้ำบางส่วนขังอยู่บนผิวดิน และบางส่วนซึมลงไปสะสมอยู่ในดิน เมื่อมีฝนตกมากขึ้นน้ำจะไม่สามารถซึมลงไปในดินหรือขังอยู่บนผิวดินได้หมด จึงเกิดน้ำไหลนองไปบนผิวดิน ซึ่งรวมแล้วจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณและพฤติกรรมของฝนที่ตก จากนั้นน้ำจะไหลลงสู่ที่ลุ่มต่ำลำน้ำลำธารแล้วไหลลงสู่แม่น้ำและทะเล

2. รูปร่าง ลักษณะ และส่วนประกอบของพื้นที่ลุ่มน้ำส่งผลให้เกิดน้ำท่วม
สภาพของฝนที่ตกในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยทั่วไปจะมีอิทธิพลโดยตรงต่อจำนวนน้ำที่เกิดขึ้นในลำธารและแม่น้ำ ปริมาณจะน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับความเข้มของฝนที่ตก ระยะเวลาที่ฝนตก และการแผ่กระจายของฝนที่ตกในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยรูปร่างของพื้นที่ลุ่มน้ำจะเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดน้ำท่วมมากหรือน้อยแตกต่างกัน ดังนี้

-   พื้นที่ลุ่มน้ำซึ่งมีรูปร่างคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรียกว่า "ลุ่มน้ำรูปขนนก" จะเกิดปัญหาน้ำท่วมหรืออุทกภัยในบริเวณที่ลุ่มไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะน้ำฝนที่ตกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำของแต่ละลำธารย่อยจะทยอยไหลลงสู่ลำน้ำสายใหญ่ในเวลาที่ไม่พร้อมกัน

-   พื้นที่ลุ่มน้ำซึ่งมีรูปร่างค่อนข้างกลม หรือเป็นรูปพัดเรียกว่า "ลุ่มน้ำรูปกลม" จะมีลำน้ำสาขาไหลลงสู่ลำน้ำสายใหญ่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งจากโดยรอบเป็นรัศมีของวงกลม พื้นที่ลุ่มน้ำลักษณะนี้น้ำจากลำน้ำสาขาต่างๆ มักจะไหลมารวมกันที่ลำน้ำสายใหญ่ในเวลาใกล้เคียงกัน จึงทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่บริเวณลำน้ำสาขาบรรจบกันเสมอ

-   พื้นที่ลุ่มน้ำซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มน้ำสองส่วนรวมกัน เรียกว่า "ลุ่มน้ำรูปขนาน" มักจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ ในบริเวณพื้นที่ตอนล่างจากจุดบรรจบของพื้นที่ลุ่มน้ำสองส่วนนั้น
 
นอกจากนี้ สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ลุ่มน้ำ หรือขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำ ความยาว และความกว้างของพื้นที่ลุ่มน้ำโดยเฉลี่ย ระดับความสูง ความลาดชันของลำน้ำ และความลาดชัน ของพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งแนวทิศทางของพื้นที่ลุ่มน้ำ ล้วนมีอิทธิพลโดยตรงต่อการเกิดน้ำท่วมตามที่ลุ่มต่างๆ เมื่อมีฝนตกหนักด้วย

ในขณะที่ชนิดและขนาดของเม็ดดิน ลักษณะการเกาะรวมตัว และการทับถมของดินตามธรรมชาติ นับเป็นปัจจัยที่จะทำให้การไหลซึมของน้ำลงไปในดินมีปริมาณมากหรือน้อยแตกต่างกัน รวมถึงพืชที่ปกคลุมดินและสภาพการใช้ที่ดินในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหาน้ำท่วมตามท้องที่ต่างๆ ไม่น้อยเช่นเดียวกัน
 
3. น้ำทะเลหนุน
โดยทั่วไปพื้นที่ราบลุ่มตามบริเวณสองฝั่งแม่น้ำที่อยู่ห่างจากปากอ่าวหรือทะเล มักได้รับอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงอันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลหนุน เมื่อน้ำที่ไหลหลากลงมาตามแม่น้ำมีปริมาณมากและตรงกับฤดูกาลหรือช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูงเกินกว่าปกติ จะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมเฉียบพลันและอุทกภัยแก่พื้นที่ทำการเกษตรและในเขตที่อยู่อาศัยอย่างรุนแรง
 
4. การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม
พื้นที่หลายแห่งมักได้รับความเสียหายจากอุทกภัย เนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมของพื้นที่บริเวณนั้นๆ มีการเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม ไม่ว่าจะเป็น

(1)   การขยายตัวของเขตชุมชน และการทำลายระบบระบายน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เนื่องจากในอดีตพื้นที่ส่วนใหญ่เคยเป็นพื้นที่ทางการเกษตร ที่ประกอบด้วยพื้นที่ลุ่ม มีแอ่งน้ำ หนอง บึง และลำคลองธรรมชาติ เพื่อรับน้ำเข้าและระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้อย่างสะดวกโดยไม่มีน้ำท่วมขัง เมื่อมีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม หรือที่อยู่อาศัย จึงมีการถมดินปรับพื้นที่ สร้างถนน หรือสิ่งก่อสร้าง ขยายตัวออกไปเป็นบริเวณกว้าง เป็นเหตุให้แอ่งน้ำทางธรรมชาติต้องถูกทำลาย และภายในเขตชุมชนที่ตั้งขึ้นใหม่มักไม่ได้สร้างระบบการระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพขึ้นแทน เมื่อถึงเวลาที่มีฝนตกหนัก จึงทำให้เกิดน้ำท่วมขังนานและสร้างความเสียหายตามมา

(2)   แผ่นดินทรุด เนื่องจากพื้นที่ในเขตเมืองหรือชุมชน ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น มักจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ และแก้ไขปัญหาด้วยการสูบน้ำจากแหล่งน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อุปโภคบริโภคและเพื่อการอุตสาหกรรม จึงเป็นสาเหตุทำให้แรงดันของน้ำในแหล่งน้ำบาดาลที่ระดับลึกมีค่าลดต่ำลง น้ำในชั้นดินซึ่งทับอยู่บนชั้นกรวดทรายที่เป็นแหล่งน้ำบาดาลจะถ่ายเทไหลเข้าไปในชั้นกรวดทรายด้านล่างตามธรรมชาติ เมื่อน้ำในช่องว่างของดินสูญหายไปมากขึ้น ชั้นดินดังกล่าวจะค่อยๆ ยุบตัวลงทีละน้อย จนเกิดแผ่นดินทรุด ทำให้ผิวดินเป็นแอ่ง มีระดับต่ำกว่าปกติในบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมขังนาน หลังจากเกิดฝนตกหนัก เพราะการระบายน้ำออกไปจากพื้นที่ไม่สะดวก

ประกันภัยบ้านอยู่อาศัยรักษ์บ้าน ให้ความคุ้มครองที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ที่รับความเสียหายจากไฟไหม้, ฟ้าผ่า, ภัยระเบิด, ภัยจากยวดยานพาหนะ, ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ และภัยธรรมชาติ สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/others/ประกันรักษ์บ้าน หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!