เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 24 เมษายน 2024, 07:09:17
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ความอ่อนน้อมถ่อมตน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ความอ่อนน้อมถ่อมตน  (อ่าน 71838 ครั้ง)
ลุงหนาน
ผู้ดูแลบอร์ด
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 249



« เมื่อ: วันที่ 04 กรกฎาคม 2011, 15:12:31 »

ความอ่อนน้อมถ่อมตน
                 
         ความอ่อนน้อมถ่อมตน  เป็นมงคลข้อที่  23  ในมงคลสูตร  เป็นหลักปฏิบัติที่สอนให้คนเรารู้จักวางตัวให้เหมาะสม  ลดความเย่อหยิ่ง  ลดความหยาบกระด้าง  และไม่ให้หลงยึดติดอยู่ในลาภ  ยศ  อำนาจ  และตำแหน่ง
          ความหมายของความอ่อนน้อม    ความอ่อนน้อมถ่อมตนตรงกับภาษาบาลีว่า  นิวาตะ  แปลว่า  ไม่มีลม  ไม่พองลม  แต่ควบคุมตนเองให้อยู่ในสภาพปกติที่เป็นจริง  เหมือนลูกโป่งที่ยังไม่อัดลมเข้าไป  ความอ่อนน้อมถ่อมตนมีลักษณะคล้ายกับความเคารพ  แต่เป็นคนละความหมาย  กล่าวคือ  ความเคารพ  (คารวธรรม)  เป็นการตระหนักในคุณงามความดีของคนอื่นและสิ่งอื่น  แล้วปฏิบัติต่อบุคคลนั้นและสิ่งนั้นอย่างถูกต้องจริงใจ  โดยเป็นการแสดงออกทางกายและทางวาจาเป็นหลัก  ส่วนความอ่อนน้อมถ่อมตน  (นิวาตธรรม)  นั้นเป็นการตระหนักในตัวเองแล้วสามารถวางตนได้ถูกต้องเหมาะสม  ไม่หยิ่งยโสโอหัง  ไม่โอ้อวดเกินความจริง  ไม่ยกตนสูงและกดคนอื่นให้ต่ำ  มีความสุภาพ  ให้เกียรติผู้อื่น  รู้กาลควรไม่ควร  โดยเน้นเรื่องของภายในจิตใจเป็นหลัก 
                   กล่าวโดยสรุป  ความอ่อนน้อมถ่อมตนมีลักษณะตรงกันข้ามกับความเย่อหยิ่ง  ซึ่งหมายถึงการทะนงตนว่า  สูง  ดี  เด่น  เกินกว่าผู้อื่น  แล้วแสดงอาการจองหองเกินฐานะและยโสโอ้อวดเกินจริง  ความเย่อหยิ่งนั้นเกิดจากการที่คนยึดถือเอาสิ่งที่เป็นภาพลวง  ไม่ใช่สิ่งจริงแท้มาเป็นเครื่องมือยึดเหนี่ยว  และประเมินค่าตนเองว่าสูง  ดี  เด่นกว่าผู้อื่น  จากความหมายนี้  เราสามารถจัดจำแนกคนเย่อหยิ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ  ได้ดังนี้
                   1.     คนที่เย่อหยิ่งเพราะทะนงตนว่ามีชาติกำเนิดสูง
                   2.     คนที่เย่อหยิ่งเพราะทะนงตนว่ามีทรัพย์สินมากมาย
                   3.     คนที่เย่อหยิ่งเพราะทะนงตนว่ามีวงศ์สกุลดีเป็นที่นับถือของคนทั่วไป
                   4.     คนที่เย่อหยิ่งเพราะทะนงตนว่ามีการศึกษาสูง
                   คนเย่อหยิ่งดังกล่าวนี้มักมีความประมาท  และความประมาทเช่นนี้ทำให้คนที่เย่อหยิ่งนั้นลืมตัว  มีมานะจัด  และแสดงกิริยาวาจาหยาบกระด้าง  ดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่นที่มีชาติกำเนิด  วงศ์สกุล  ทรัพย์สิน  การศึกษาต่ำกว่า
                   จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า   ความอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นมีความหมายและลักษระที่ตรงกันข้ามกับความเย่อหยิ่งอย่างเห็นได้ชัด   ลักษณะของคนที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน   คนที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นไม่ใช่คนอ่อนแอดังที่กลายคนเข้าใจกัน  แต่เป็นคนที่อ่อนโยน  เข้มแข็ง  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและรู้จักยอมรับนับถือผู้อื่น  คือ  ผู้ที่ไม่มีปมด้อยและไม่มีปมเด่น  เป็นคนที่กล้าเผชิญกับความจริง   สามารถวิเคราะห์ตนเองได้  และมีความมั่นใจในตนเอง  กล่าวโดยสรุปคนที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นมีลักษณะเด่น  3  ประการ  ดังนี้
                   1.  มีกิริยาอ่อนน้อม
                   2.  มีวาจาอ่อนหวาน
                   3.  มีจิตใจอ่อนโยน
                   วิธีแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน
                   ความอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นแสดงออกได้  3  ทาง  เช่นเดียวกับความเคารพ  ดังนี้
                   1. การแสดงออกทางกาย  ได้แก่  การแสดงกิริยาท่าทางที่สุภาพ  นุ่มนวล  ไม่หยาบกระด้าง  ไม่ทำท่าหยิ่งยโส  ไม่มองคนด้วยสายตาเหยียด ๆ  รู้จักแสดงความเคารพผู้ใหญ่กว่าทั้งด้านชาติวุฒิ  วัยวุฒิ  และคุณวุฒิ  รู้จักให้เกียรติแก่สตรี  และพร้อมที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  การแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนทางกายต้องเป็นไปด้วยความจริงใจ  ไม่ใช่แสแสร้งหรือแสดงอาการพินอบพิเทาเกินกว่าเหตุ  จนกลายเป็นการประจบสอพลอ
                   2. การแสดงทางวาจา  ได้แก่  การพูดจริงด้วยถ้อยคำที่สุภาพ  อ่อนหวาน  ไพเราะ  น่าฟัง  ไม่หยาบคาย  นุ่มนวล  ชวนให้สบายใจ  รู้จักใช้คำพูดที่เหมาะสม  ถูกกาละเทศะ  และถูกกับบุคคล
                   3. การแสดงทางใจ  ได้แก่  การมีจิตใจอ่อนโยน  การมองโลกในแง่ดี  เนื่องจากใช้ปัญญาไตร่ตรองแล้วว่าคนเรานั้นจะให้ดีพร้อมบริบูรณ์ไปทุกอย่างเป็นไปไม่ได้  แม้ตัวเราเองก็เช่นกัน  การมีความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้   จะทำให้การพูดและกิริยาท่าทางที่แสดงออกมาเป็นไปด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน
ดังนั้นคนเราหากมีธรรมะข้อนี้ ก็จะมีคนรักและเมตตา และเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้้งหลาย ทำอะไรก็จะลุล่วงไปด้วยดีไม่มีอุปสรรค. เพราะอานิสงส์ของความเมตตา และอ่อนน้อม
IP : บันทึกการเข้า

อย่ายึดมั่นกับสิ่งใดๆ เพราะอะไรๆ ก็ไม่แน่นอน
Alony
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 649


^_____^


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 04 กรกฎาคม 2011, 20:28:04 »







อ่อนน้อมถ่อมตนแล้วรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็จะยิ่งดีในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆค่ะ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

" ฉันจะมองแต่ข้อดีของผู้คน เพราะตัวฉันเองก็ไม่ใช่คนที่สมบูรณ์แบบ ฉันจึงไม่บังคับที่จะตรวจสอบข้อผิดพลาดของผู้อื่น " ( Mahatma Gandhi )
๋๋P
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,917



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2011, 02:00:46 »

 ยิ้มเท่ห์


* 1505.gif (22.11 KB, 50x50 - ดู 271 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
conscious
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2011, 04:26:41 »

- มีเรื่องรบกวนถามหน่อยครับ


เราจะมีวิธีทำใจเวลาที่เจอกับคนเย่อหยิ่ง ทะนงตนอย่างไรดี? แบบว่าคนคนนั้นก็ไม่ได้มีอะไรดีสักเท่าไร (คนส่วนใหญ่ก็เห็นคนนั้นว่าหยิ่ง ทะนงตน ไม่ใช่ว่าผมเห็นคนเดียว) แต่ว่าทะนงตนแบบเหมือนว่าจะไม่รู้ตัวเองด้วย


ผมว่าตัวเองก็เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนพอประมาณ แต่เวลาเจอคนประเภทนี้ก็อดใจไม่ได้ เกิดความรู้สึกหมั่นไส้ อยากดับเครื่องชนเลยครับ

นานๆ ผมจะไปเจอกับผู้คนสักทีครับ เพราะจริงๆ แล้วผมอยู่คนเดียวรู้สึกว่ามีความสุขกว่า ผมมีแนวคิดที่ว่า คนเยอะ เรื่องแยะ ถ้าตัดอะไรออกไปจากชีวิตได้ ความวุ่นวายมันก็น้อยลง ก็มีความสุขตามอัตภาพครับ


ขอขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้านะครับ  ยิ้มกว้างๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 กรกฎาคม 2011, 06:20:29 โดย Conscious » IP : บันทึกการเข้า
ลุงหนาน
ผู้ดูแลบอร์ด
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 249



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2011, 08:01:26 »

บทนี้ เขียนเล่า ไว้ดังนี้

…คนที่มาสวนโมกข์นั้นมีหลายประเภท หนึ่งในนั้นก็คือ
คนที่มาพูด คุยกับพระ เสมือนว่าท่านเป็นที่พึ่งทางจิตใจ
ให้คำปรึกษาได้ทุกเรื่อง

ครั้งหนึ่ง ตรงกับช่วงเทศกาลงานบุญพุทธศาสนิกชนต่างหลั่งไหล
มากราบนมัสการท่านพุทธทาส

มีสุภาพสตรีท่านหนึ่ง หลังจาก กราบนมัสการท่านพุทธทาสแล้ว
ก็ถือโอกาสปรึกษาปัญหาชีวิต กับท่าน

“อาจารย์คะ หนูมีความทุกข์ใจมากค่ะ หนูตั้งใจทำงานมาตลอดทั้งปี
ตั้งใจทำงานจริง ๆ แต่หัวหน้างานไม่เคยมองเห็นความดี
ของหนูเลยค่ะ ไม่เคยให้ความดีความชอบกับหนูเลยค่ะ”

ท่านพุทธทาสยิ้มเล็กน้อย ก่อนจะพูดขึ้นว่า

“มันก็เป็นเช่นนั้นแหละ”

สุภาพสตรีท่านนี้ ไม่เข้าใจ
ความหมายของคำตอบของท่านพุทธทาส
จึงถามย้ำ คำถามเดิมของตนอีกว่า

“หนูตั้งใจทำงาน ทำงานดี ไม่มีบกพร่อง มาตลอดหนึ่งปี
ทำไมเจ้านายไม่เห็นความดีความชอบ”

ท่านพุทธทาสฟังแล้วก็ หัวเราะในลำคอ ก่อนจะพูดประโยคเดิม

“มันก็เป็นเช่นนั้นแหละ”

เมื่อเห็นท่านพุทธทาสตอบไม่ตรงคำถาม ก็ชักจะฉุน

“ท่านอาจารย์คะ ทำไม อาจารย์ไม่ตอบคำถามของหนูตรง ๆ ล่ะคะ
หนูไม่เข้าใจ”

ท่านพุทธทาสจึงพูดขึ้นว่า

“ก็บอกแล้วไงว่า มันก็เป็นเช่นนั้น…เป็นเช่นนั้น…
จะเอาอะไรอีกล่ะ ก็เขาน่ะเป็นเช่นนั้นนั่นแหละ”

ว่าแล้วท่านก็หัวเราะในลำคออีก ก่อนจะเทศน์สอนว่า

“ก็เขาเป็นของเขาเช่นนั้น เราจะไปคาดหวังอะไรจากเขา
มันต้องจัดการที่ตัวของเรา ไม่ใช่ที่ตัวของเขา

เรามีสิทธิ จะคาดหวังให้ผู้อื่น สิ่งอื่นเปลี่ยนแปลงได้
เรามีสิทธิ ที่จะสร้างปัจจัยเสริมให้ผู้อื่น สิ่งอื่นเปลี่ยนแปลง
แต่ถ้าหากว่า ผู้อื่น สิ่งอื่นเขาไม่เปลี่ยน
ก็ไม่ใช่เหตุที่เราจะต้อง ไปทุกข์กับเขา
มันอยู่เหนือการควบคุมของเรา

สุภาพสตรีท่านนั้นฟังแล้ว ก็ถึงบางอ้อ แล้วพูดว่า

“อ๋อ…มันก็เป็นเช่นนี้นี่เอง”

สิ่งที่ท่านพุทธทาสเทศน์สอนมานี้ ถูกต้องยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด

มนุษย์ชอบคาดหวังให้ผู้อื่นเป็นเช่นนั้น เช่นนี้
หรือทำเช่นนั้น เช่นนี้

โดยที่ลืมนึกไปว่า เขามีสิทธิที่จะเป็นหรือจะทำหรือไม่ก็ได้

เมื่อผู้อื่นไม่เป็น ไม่ทำตามที่เราต้องการ
มนุษย์มักจะเครียด มักจะโกรธ
หรือบางที คิดน้อยใจตัวเอง และคิดเคียดแค้นบุคคลผู้นั้น

ท่านพุทธทาสจึงเทศน์สอนว่า
เรามีสิทธิคิดคาดหวัง หรือสร้างปัจจัยเสริมต่าง ๆ นานา
ให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงได้

แต่ถ้า...เขาไม่ยอมเปลี่ยนแปลง นั่นเป็นเรื่องของเขา

ดังที่ท่านพุทธทาสสอนไว้ว่า
“ก็เขาเป็นของเขาเช่นนั้น” หรือ “มันเป็นเช่นนั้นเอง”

เข้าใจได้อย่างนี้
เราจะได้เลิกเจ้ากี้เจ้าการ หรือ เลิกคาดหวังสิ่งต่าง ๆ นานา
จากผู้อื่นเขาเสียที
ผลที่ติดตามมาคือ เราจะมีความสุขมากกว่าเดิมมากโขทีเดียว

เปลี่ยนแปลงตัวเองง่ายกว่าเปลี่ยนแปลงผู้อื่น
นี่คือสัจธรรมที่ไม่ต้องพิสูจน์ อะไร
IP : บันทึกการเข้า

อย่ายึดมั่นกับสิ่งใดๆ เพราะอะไรๆ ก็ไม่แน่นอน
conscious
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2011, 09:48:05 »

- ขอบพระคุณลุงหนานมากครับ คือความจริงแล้วผมก็ไม่ได้คิดว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงได้ หรือวันข้างหน้าเขาอาจจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นก็ได้ พูดง่ายๆ ว่าเราก็ต้องทำใจว่าเขาก็เป็นแบบนั้น


แต่ทีนี้ เราจะมีวิธีเพิ่มความอดทน อดกลั้น หรือปล่อยวางให้กับความรู้สึกของตัวเองอย่างไรดีครับ
คือเวลาที่อยู่คนเดียว ผมสงบและรู้สึกสุขมากๆ แต่เวลาถ้าได้เจอคนที่บอกนั้นมันก็ชวนให้ตบะแตกทุกทีเลย  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ลุงหนาน
ผู้ดูแลบอร์ด
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 249



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2011, 12:40:11 »

- ขอบพระคุณลุงหนานมากครับ คือความจริงแล้วผมก็ไม่ได้คิดว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงได้ หรือวันข้างหน้าเขาอาจจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นก็ได้ พูดง่ายๆ ว่าเราก็ต้องทำใจว่าเขาก็เป็นแบบนั้น


แต่ทีนี้ เราจะมีวิธีเพิ่มความอดทน อดกลั้น หรือปล่อยวางให้กับความรู้สึกของตัวเองอย่างไรดีครับ
คือเวลาที่อยู่คนเดียว ผมสงบและรู้สึกสุขมากๆ แต่เวลาถ้าได้เจอคนที่บอกนั้นมันก็ชวนให้ตบะแตกทุกทีเลย  ยิงฟันยิ้ม

อ่อ ตรงนี้เราก็ต้องคิดเชิงบวกบ่อยๆ ว่า คนเราบางทีก็มีอุปนิสัยที่แตกต่างกัน เกิดมาก็มีชีวิต และจิตใจต่างกันอยู่แล้ว ดังนั้นคนแต่ละคนก็มีดีและไม่ดีในตัวของมันเอง เราก็คิดว่า นิสัยเขาเป็นอย่างนัั้นเอง.. ช่างมันฉันไม่แคร์.. แล้วก็อีกอย่างหนึ่ง โบราณบอก มารบ่มี บารมีบ่เกิด อย่างน้อยเขาก็มาช่วยเป็นบททดสอบใจเรา ว่ามีความอดทนอดกลั้นมากน้อยแค่ไหน.. เราชนะใจเราได้หนึ่งครั้ง อานิสงส์มากกว่าการสร้างเจดีย์ทองคำเสียอีก ดังนั้นก็ไม่ต้องคิดมาก เขามาช่วยฝึกจิตเราให้รู้จักอดทนต่อสิ่งต่างๆ
IP : บันทึกการเข้า

อย่ายึดมั่นกับสิ่งใดๆ เพราะอะไรๆ ก็ไม่แน่นอน
Beebie13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2011, 13:24:25 »

สาธุเตอะจ้าว มาอ่านธรรมลุงหนานโพสท์เมื่อไหร่เป็นปลื้มใจทุกที หนูดีใจที่ได้อ่านธรรมดีๆและเข้าใจง่ายและที่สำคัญเป็นประโยชน์ต่อผู้คนมากมายจ้าว
IP : บันทึกการเข้า
ลุงหนาน
ผู้ดูแลบอร์ด
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 249



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2011, 14:27:38 »

ก่อนที่เราจะเอาชนะผู้อื่น
เราต้องเราชนะตัวเองเสียก่อน
ก่อนที่เราจะว่าผู้อื่น
เราต้องดูตนเองเสียก่อนก่อน
เพราะการไม่รู้จักตนเองนั้น
เป็นคนที่ทำอะไรๆผิดพลาดตลอดชีวิต
มิหน่ำซ้ำยังกล่าวโทษผู้อื่นร่ำไป
กระแสกิเลสทั้งหลายย่อมไหลไปตามอารมณ์ยากที่จะขวางกั้นได้
หากบุคคลนั้นขาดการรู้จักชีวิตที่แท้จริง
เรามายอมแพ้คนอื่น เพื่อชนะกิเลสตน
ดีกว่าที่ยอมพ่ายแพ้กิเลส เพื่อชนะคนอื่น
ไม่มีการเห็นอะไรในโลกนี้จะวิเศษดีเลิศไปกว่า
...การเห็นกิเลสของตนเองจริงๆ....
...และเมื่อเห็นได้จริงก็ย่อมทำลายได้แน่...
เมื่อใดที่กิเลสมากระทบ
ใจสงบก็กลับหมองไม่ผ่องใส
น้ำถูกแดดพลันระเหยกลายเป็นไอ
เปรียบดังใจทันกิเลสวิเศษจริง
IP : บันทึกการเข้า

อย่ายึดมั่นกับสิ่งใดๆ เพราะอะไรๆ ก็ไม่แน่นอน
boy013
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2011, 15:00:59 »

ขอบคุณครับลุงหนาน สำหรับสิ่งดีๆมีให้อ่าน

เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงในหลวง พระองค์ท่านอาจจะสอนไว้ แต่ผมไม่เคยได้อ่านหรือได้ยินพระองค์ท่านสอนเรื่องนี้  อย่างน้อยพระองค์ท่านทำให้เห็นจากการกระทำ ในตอนท่านเสด็จเยี่ยมราษฎร  และนึกถึงคำสอนสมเด็จย่าที่สอนในหลวง  "อันที่จริงเธอก็ชื่อภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน แม่อยากเธออยู่กับดิน" ในหลวงท่านตรัสว่า "เมื่อฟังคำพูดนี้แล้วก็กลับมาคิด ซึ่งแม่ก็คงจะสอนเรา และมีจุดมุ่งหมายว่า อยากให้เราติดดินและอยากให้ทำงานให้ทำงานแก่ประชาชน"
IP : บันทึกการเข้า
conscious
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2011, 21:26:33 »

- ขอบพระคุณลุงหนานมากครับ คือความจริงแล้วผมก็ไม่ได้คิดว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงได้ หรือวันข้างหน้าเขาอาจจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นก็ได้ พูดง่ายๆ ว่าเราก็ต้องทำใจว่าเขาก็เป็นแบบนั้น


แต่ทีนี้ เราจะมีวิธีเพิ่มความอดทน อดกลั้น หรือปล่อยวางให้กับความรู้สึกของตัวเองอย่างไรดีครับ
คือเวลาที่อยู่คนเดียว ผมสงบและรู้สึกสุขมากๆ แต่เวลาถ้าได้เจอคนที่บอกนั้นมันก็ชวนให้ตบะแตกทุกทีเลย  ยิงฟันยิ้ม

อ่อ ตรงนี้เราก็ต้องคิดเชิงบวกบ่อยๆ ว่า คนเราบางทีก็มีอุปนิสัยที่แตกต่างกัน เกิดมาก็มีชีวิต และจิตใจต่างกันอยู่แล้ว ดังนั้นคนแต่ละคนก็มีดีและไม่ดีในตัวของมันเอง เราก็คิดว่า นิสัยเขาเป็นอย่างนัั้นเอง.. ช่างมันฉันไม่แคร์.. แล้วก็อีกอย่างหนึ่ง โบราณบอก มารบ่มี บารมีบ่เกิด อย่างน้อยเขาก็มาช่วยเป็นบททดสอบใจเรา ว่ามีความอดทนอดกลั้นมากน้อยแค่ไหน.. เราชนะใจเราได้หนึ่งครั้ง อานิสงส์มากกว่าการสร้างเจดีย์ทองคำเสียอีก ดังนั้นก็ไม่ต้องคิดมาก เขามาช่วยฝึกจิตเราให้รู้จักอดทนต่อสิ่งต่างๆ


- ขอบพระคุณอีกครั้งครับ ผมจะพยายามให้มากขึ้นครับ  ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
koyjang
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 132


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 07 กรกฎาคม 2011, 13:00:54 »

ความอ่อนน้อมถ่อมตน  เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 10 ที่สามารถทำบุญและได้บุญโดยไม่ต้องเสียตังค์
ท่านพุทธทาสชอบแสดงธรรมและสอนคำนี้บ่อย ๆ ค่ะ "อิทัปปัจยตา" มันก็เป็นเช่นนั้นเอง
ขออนุโมทนากับคุณลุงหนานที่ได้ให้ธรรมะเป็นธรรมทาน ซึ่งก็อยู่ในบุญกิริยาวัตถุ 10 อีกนั่นแหละคะ สาธุ สาธุ สาธุ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!