
ที่โลตัสไม่แน่ใจครับว่าข้อมูลแน่แค่ไหน จริงแท้อย่างไร แต่เพื่อนทำงานตลาดหุ้นบอกว่าที่แม่กรไปหัวดอยที่กำลับปรับที่ของไทยวัสดุในเครื่อ CPN หรือเซ็นทรัล และที่หน้าสนามบินที่บ้านดู่ของโลตัส แต่ไม่ชัวน่ะครับสำหรับผม แต่ที่ชัวร์จะไม่มี The mall มาโผล่ในเชียงรายแน่นอน ข้อมูลจากการสัมนาหุ้นวันที่2มีนาที่เชียงรายที่ผ่านมา และขอตอกย้ำเรื่องthemall ตามนี้
"เดอะมอลล์" กางแผนการเติบโต 5 ปี เร่งสปีดโปรเจ็กต์ลงทุน พร้อมลุยทุกทำเลที่มีศักยภาพ แตกแบรนด์ใหม่เสริมทัพใต้อาณาจักร "เดอะมอลล์-เอ็มโพเรียม-พารากอน-เอ็มควอเทียร์-สกายพอร์ต" ล่าสุดน้องใหม่ "บลู พอร์ต" ทุ่ม 4 พันล้านเปิดบิ๊กไซซ์ 1.4 แสน ตร.ม. ใจกลางหัวหิน สร้างทีมงานพร้อมลุยดึงมืออาชีพร่วมทีม ควบคู่แปลงโฉมสาขาเดิมเพิ่มพื้นที่-เติมแม่เหล็กยกระดับลูกค้า
นอกเหนือจากสาขาโคราช ดูเหมือนภาพการลงทุนของ "กลุ่มเดอะมอลล์" จะเทน้ำหนักให้กับตลาดกรุงเทพฯ และเน้นไปที่โครงการพัฒนาพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่ ซึ่งแต่ละแห่งจะมีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่ซ้ำแบบใคร ตอกย้ำกับภาพการลงทุนที่เมกะโปรเจ็กต์หมื่นล้าน "เอ็มควอเทียร์" หรือเอ็มโพเรียม 2 ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง และพร้อมเปิดให้บริการในปี 2558
เมื่อเร็ว ๆ นี้ เดอะมอลล์เพิ่งถูกคัดเลือกให้เข้าไปบริหารพื้นที่ (สกายพอร์ต) ในท่าอากาศยานดอนเมือง ขณะเดียวกันเปิดกว้างการลงทุน "กูร์เมต์มาร์เก็ต" ในพื้นที่ค้าปลีกที่สนใจต้องการนำซูเปอร์มาร์เก็ตคุณภาพไปเปิดสาขา
ทว่าความเคลื่อนไหวของเดอะมอลล์ช่วงเวลาต่อจากนี้ ถือเป็นการเปิดฉากรุกครั้งใหญ่ที่สุดของยักษ์ใหญ่รายนี้ ด้วยรูปแบบการรุกคืบเป็นหน้ากระดาน
นอกจากเอ็มควอเทียร์ เดอะมอลล์มีแผนการลงทุนครั้งใหญ่กับโครงการเดอะมอลล์ บางนา, รามคำแหง รวมทั้งรีโนเวตสาขาที่มีอยู่เดิม ล่าสุดเดอะมอลล์เตรียมลงทุนครั้งใหญ่บนทำเลทองใจกลางเมือง "หัวหิน"
เร่งสปีดแผนเติบโต 5 ปี
นางสาวศุภลักษณ์ อัมพุช รองประธานกรรมการ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ฉายภาพการลงทุนของกลุ่มเดอะมอลล์ว่า อาจดูเหมือนเทน้ำหนักตลาดในกรุงเทพฯเป็นหลัก แต่ความจริงแล้วติดตามดูตลาดในทุกทำเลที่มีศักยภาพและมีกำลังซื้อมาโดยตลอด เพียงแต่ไม่ได้ประกาศหรือบอกใครซึ่งต้องยอมรับว่าทำเลดี ๆ ย่อมมีราคาแพงและเป็นที่ต้องการ ทั้งนี้ นับตั้งแต่เปิดสยามพารากอนเมื่อ 7-8 ปีก่อนก็เก็บตัวเงียบ ไม่ได้มีแผนลงทุนใหม่ ๆ นอกเหนือจากการลงทุนและรีโนเวตสาขาเดิมให้แข็งแรง
หลังจากนี้กลุ่มเดอะมอลล์จะเร่งสปีดการเติบโตในเชิงรุก ควบคู่กับแผนการเติบโต 5 ปีที่วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเอ็มโพเรียม 2, เดอะมอลล์บางนา หรือการเปิดสาขาหัวหิน ซึ่งจะทยอยเปิดในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน จากเดิมการลงทุนของกลุ่มเดอะมอลล์จะทำทีละสาขา เป็นผลจากการแข่งขันที่ดุเดือด ทำให้ต้องเร่งขยายธุรกิจเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด
ทั้งนี้รูปแบบการลงทุนของเดอะมอลล์ยึดมั่นในกลยุทธ์ "พันธมิตรธุรกิจ" โดยเฉพาะกลุ่มร้านค้าที่เดินเคียงคู่กันมาตลอด เช่นเดียวกับการลงทุนที่กำลังเกิดขึ้น ได้รับการตอบรับจากบรรดาพันธมิตรด้วยดี
ทุ่ม 4 พัน ล.เปิดสาขาหัวหิน
นางสาวศุภลักษณ์กล่าวว่า บลูพอร์ต เป็นโปรเจ็กต์ลงทุนใหญ่ที่เพิ่งแทรกเข้ามาในแผนการลงทุน โดยเป็นการลงทุนร่วมกับพันธมิตรกลุ่มบริษัท ประยูรวิศว์ จำกัด ของตระกูลลิปตพัลลภ ในลักษณะร่วมทุน 50-50% สร้างศูนย์การค้ารูปแบบรีสอร์ตมอลล์ ภายใต้ชื่อ "บลูพอร์ต หัวหิน รีสอร์ท" บนพื้นที่ 25 ไร่ ตรงข้ามกับโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ด้วยเงินลงทุน 4,000 ล้านบาท พื้นที่ 1.4 แสน ตร.ม. ด้วยต้องการปั้นหัวหินเป็นแหล่งท่องเที่ยว และเมืองตากอากาศระดับโลกสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างประเทศ ซึ่งศูนย์การค้าบลูพอร์ต พร้อมเปิดบริการในปี 2558 เป็นการลงทุนครั้งสำคัญของกลุ่มเดอะมอลล์ เนื่องจากมองเห็นช่องว่างตลาดที่ยังไม่มีคู่แข่ง บวกกับการขยายตัวของหัวหินที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวกว่า 5 ล้านคนต่อปี ทั้งกลุ่มครอบครัวและทัวริสต์, คนต่างชาติที่พำนักในหัวหินกว่าสองหมื่นคน การเดินทางสะดวก ใกล้กรุงเทพฯ และภาพการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ บ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม ที่กำลังจะเปิดเพิ่มมากกว่า 4.5 หมื่นยูนิต โรงแรม และรีสอร์ต 6,000 ห้อง รวมถึงชาวต่างชาติที่พักอาศัยมากกว่า 2 หมื่นคน
"หลังจากลงพื้นที่ไปดูทำเลใช้เวลาตัดสินใจไม่นานเลย เพราะเราเห็นการเติบโตของตลาดหัวหินมาโดยตลอด ที่สำคัญทำเลสวยมาก หาไม่ได้อีกแล้วที่ดินผืนใหญ่ 25 ไร่ใจกลางเมือง ด้านหน้าติดทะเล ด้านหลังเป็นภูเขาและล้อมรอบถนนหลักทั้ง 4 ด้าน ที่สำคัญเป็นตลาดที่กำลังซื้อมีคุณภาพ"
เติมแม่เหล็กอัพเกรดสาขาเก่า
จากการเร่งสาขาในหลายโครงการขนาดใหญ่พร้อมกันเพื่อรับมือการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกที่รุนแรงและสอดรับตามแผนเติบโตที่วางไว้นี้ นางสาวศุภลักษณ์กล่าวว่า กลุ่มเดอะมอลล์ได้สร้างทีมงานด้วยการดึงมืออาชีพจากหลากหลายธุรกิจมาร่วมงาน ควบคู่กับการเร่งรีโนเวตสาขาเดิมให้ทันสมัย โดยเฉพาะการยกระดับศูนย์การค้าและร้านค้าเพื่อรองรับกับไลฟ์สไตล์ตลาดที่เปลี่ยนไป และขยายฐานลูกค้าใหม่ในตลาดกลางและบน
ล่าสุดเดอะมอลล์เพิ่งได้ผู้บริหารมือดีที่ปลุกปั้นอิเกีย นายทอม ฮูเซล และนางสาววรลักษณ์ ตุลาภรณ์ จากซิตี้แบงก์เข้ามาเสริมทีมผู้บริหาร ไม่เพียงการเตรียมลงทุนขยายพื้นที่เพิ่มในสาขางามวงศ์วาน, ท่าพระ, บางแค แต่ยังรวมถึงการเติมแม็กเนตร้านค้าใหม่ ๆ เข้าไปเสริมทัพด้วยกลุ่มฟาสต์แฟชั่นที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นแม่เหล็กสำคัญของการดึงทราฟฟิกเข้าศูนย์การค้าในปัจจุบัน ทั้งแบรนด์อินเตอร์และแบรนด์ในประเทศ ซึ่งได้เริ่มทยอยปรับปรุงแต่ละสาขาให้แข็งแรง เริ่มจากเดอะมอลล์, บางกะปิ, บางแค และท่าพระ เช่นเดียวกับสาขารามคำแหงที่ออกแบบเสร็จแล้ว รวมถึงโครงการเอ็มโพเรียม 2 ที่จะเปิดเผยรายละเอียดในต้นปีหน้า
"หลักในการทำงานของเรา ทุกอย่าง ทุกสาขาที่เราจะไปลงทุน มั่นใจว่าเราต้องชนะ อาจด้วยข้อจำกัดของเรื่องทีมงานบุคลากร บวกกับสไตล์การลงทุนที่ระมัดระวังตัว แต่เมื่อเราตัดสินใจไปแล้วทุกสังเวียนการแข่งขันที่ไป เราต้องมั่นใจ แต่ถ้าสังเวียนไหนรู้ว่าไปแล้วชนะยาก เราก็ไม่จำเป็นต้องไป"
หัวเรือใหญ่กลุ่มเดอะมอลล์มอง
เป้าหมายของกลุ่มเดอะมอลล์ในอนาคต จะมีคอลเล็กชั่นค้าปลีกที่หลากหลาย คล้าย ๆ เครือโรงแรมระดับโลก "สตาร์วูด" ที่มีความหลากหลายของแบรนด์สินค้า และกลุ่มทาร์เก็ต ซึ่งปัจจุบันมีทั้งเดอะมอลล์-ดิ เอ็มโพเรียม-สยามพารากอน-เอ็มควอเทียร์-สกายพอร์ต และล่าสุดน้องใหม่ "บลูพอร์ต"