ไขข้อเท็จจริง ลือ 'YU55' จะชนโลก!
สมาคมดาราศาสตร์ไทย โดย วรเชษฐ์ บุญปลอด ตอบคำถาม-ข้อสงสัยเกี่ยวกับข่าวลือกระหึ่มโลก กรณีดาวเคราะห์น้อย 'YU55' จะพุ่งชนโลกในวันอังคารที่ 8 พ.ย. 2554 ดังนี้
ถาม : 2005 YU55 คืออะไร?
ตอบ : 2005 YU55 (2005 วายยู 55) หรือบางคนอาจเรียกสั้นๆ ว่า YU55 (วายยู 55) เป็นชื่อวัตถุดวงหนึ่งที่ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2548 (ค.ศ.2005) จัดเป็นดาวเคราะห์น้อย ไม่ใช่ดาวเคราะห์ ปัจจุบันระบบสุริยะของเรามีดาวเคราะห์ 8 ดวงเท่านั้น
ถาม : มีขนาดใหญ่แค่ไหน?
ตอบ : คาดว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 400 เมตร
ถาม : 2005 YU55 จะพุ่งชนโลกในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จริงหรือไม่?
ตอบ : ไม่จริง เพราะแค่ผ่านใกล้โลกโดยใกล้ที่สุดที่ระยะห่างประมาณ 325,100 กิโลเมตร และผ่านใกล้ดวงจันทร์ที่ระยะห่างประมาณ 239,700 กิโลเมตร (ดวงจันทร์อยู่ห่างโลกเฉลี่ย 384,400 กิโลเมตร) ขณะใกล้โลกที่สุด ตรงกับวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2554 เวลา 06.28 น. ตามเวลาประเทศไทย
ถาม : การเข้าใกล้โลกของ YU55 จะทำให้โลกเกิดภัยพิบัติหรือไม่?
ตอบ : ไม่ มวลของวัตถุนี้ที่ระยะขนาดนี้มีแรงไม่มากพอที่จะส่งอิทธิพลต่อแผ่นดินไหว หรือแม้แต่น้ำขึ้น-ลง
ถาม : ขณะผ่านใกล้โลก เราจะเห็นด้วยตาเปล่าหรือไม่?
ตอบ : ไม่ มันสว่างน้อยเกินกว่าที่ตาเปล่าของเราจะมองเห็น จำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดู โดยเห็นเป็นจุดคล้ายดาวทั่วไป แต่เคลื่อนที่ไปท่ามกลางดาวฤกษ์ฉากหลัง ขณะใกล้โลกที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2554 มันจะสว่างที่สุดด้วยโชติมาตร 11 หรือจางกว่าดาวจางที่สุดที่ตาเปล่าจะเห็นได้ประมาณ 60 เท่า
ถาม : นอกจากโลกแล้ว YU55 ผ่านใกล้ดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือไม่?
ตอบ : YU55 โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยมีระนาบวงโคจรใกล้เคียงกับโลก ประ กอบกับวงโคจรที่รีมาก ทำให้มันมีโอกาสผ่านใกล้ดาวศุกร์และดาวอังคาร
ถาม : แล้วมีโอกาสที่ YU55 จะชนโลกหรือไม่?
ตอบ : การคำนวณขององค์การนาซ่า YU55 โคจรผ่านมาทางดวงอาทิตย์ทุกๆ 14 ปี โดยครั้งนี้จะไม่ส่งผลคุกคามใดๆ และไม่มีโอกาสชนโลกในระยะ 100 ปีนับจากนี้
- Khoasod
ส่วนวิธีการ "ทำลาย" หรือ "สกัด" ดาวเคราะห์น้อยไม่ให้พุ่งเข้ามาชนโลกจนเกิดหายนะ เบื้องต้นในวงการวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐาน-ทฤษฎีกันหลายรูปแบบ แต่ที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดมี 3 วิธีดังนี้ ประกอบด้วย
1.ใช้อาวุธนิวเคลียร์ยิงใส่เพื่อเปลี่ยนวิถีโคจร แต่มีข้อกังวลว่าระเบิดนิวเคลียร์จะกลับกลายเป็นว่าทำให้ดาวเคราะห์น้อยแตกตัวกลายเป็นชิ้นเล็กลง แล้วพุ่งชนพื้นโลกตรงจุดอื่นๆ แทนหรือไม่
2.ส่งฝูงยานอวกาศออกไปนอกโลก แต่ละลำติดตั้งกระจกสะท้อนแสงอาทิตย์ปรับมุมองศาให้สะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ไปยังพื้นผิวดาวเคราะห์น้อย เพื่อให้ก๊าซที่ผุดออกจากพื้นผิวเปลี่ยนวงโคจร
3.ส่งยานอวกาศพุ่งชนเพื่อเปลี่ยนวิถีโคจร ซึ่งวิธีนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย แต่ความสำเร็จยังไม่เป็นที่แน่ชัด
ข้อมูล: นาซ่า, เดลี่มิเรอร์, เดลี่เมล์, ซินหัว, สเปซดอตคอม,สนุกดอทคอม
ไผตี้ไปกู้เงินมา ถ้าบ่าเสี้ยงเตื่อขะไจ๋เอาไปคืนโวย ๆ เน้อ 555

;D;D;D;D;D;D