เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 กรกฎาคม 2025, 21:20:04
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ตู้ฟักไข่ อัตโนมัติ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ตู้ฟักไข่ อัตโนมัติ  (อ่าน 495 ครั้ง)
kaichamp
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« เมื่อ: วันที่ 25 กรกฎาคม 2016, 18:01:31 »

มีสุดยอดพ่อพันธุ์ไก่ และแม่พันธุ์ไก่ที่ดี ผสมออกมา แต่แม่ไก่ไม่ยอมกกไข่
แม่ไก่ไข่ซ้อนกัน แย่งกันกก ไข่แตก ไข่ร้าว กินไข่

ไข่ไก่หาย โดนขโมยไข่ เกิดความเสียหาย
สภาพอากาศแปรปรวน ร้อนเกิน ชื้นเกิน หนาวเกิน ไข่ฟักไม่ออก

ตู้ฟักไข่มีอัตราความสำเร็จของการฟักที่สูงกว่าการฟักเองตามธรรมชาติ

ตู้ฟักไข่ตู้เดียวใช้แทนแม่ไก่ได้หลายตัว

คำถามที่พบ บ่อย จากการฟักไข่

 ทำไมลูกไก่ ถึงขาถ่าง ขาแบะ?

ตอบ: เกิดจากอุณหภูมิที่ไม่คงที่ ขณะทำการฟักไข่ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่ใช้ตู้ฟักหรือเครื่องฟักที่ไม่ได้มาตรฐาน อีกกรณีหนึ่งที่เป็นไปได้คือ พื้นปูรองลื่นเกินไป วิธีแก้ปัญหาคือ ให้หาไหมพรม หรือเชือกนิ่ม ๆ มาผูกขาทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน ไม่ให้ถ่างออก ทิ้งไว้ 2-3 วัน แล้วจึงแกะเชือกออก ลูกไก่จะมีอาการดีขึ้น

 ทำไมลูกไก่จึงตายขณะเจาะเปลือก?

ตอบ: ปัญหานี้พบได้บ่อยครั้ง เนื่องจากความชื้นที่ไม่เหมาะสม ขณะทำการฟักไข่

ถ้าความชื้นมากเกินไป จะทำให้ลูกไก่ฟักตัวเร็วกว่าปกติ ขนาดตัวจะโต ท้องป่อง และตัวจะนิ่ม สะดือไม่แห้ง ปิดไม่สนิท

ถ้าความชื้นน้อยเกินไป ลูกไก่จะมีขนาดตัวเล็กและแห้ง น้ำหนักตัวน้อย บางตัวจะแห้งอยู่ภายในไข่ และขนจะ ติดกับเปลือกไข่ อาจทำให้ลูกไก่พิการได้

 วิธีการเก็บไข่ก่อนนำเข้าฟัก ทำอย่างไร?

ตอบ: การฟักไข่โดยปกติ ควรจะฟักด้วยเครื่องฟักไข่ทันสมัยที่มีขนาดบรรจุตั้งแต่ 48-1,000 ฟอง การฟักจะแบ่งออกเป็นรุ่น ๆ โดยรวบรวมไข่ให้ได้จำนวนหนึ่ง ก่อน จึงนำเข้าตู้ฟักพร้อมกันทีเดียว เพื่อทำให้ลูกไก่เกิดเป็นชุด ๆ พร้อมกัน ในทางปฏิบัติเราจะรวบรวมไข่เข้าตู้ฟักทุก ๆ 3-5 วัน โดยการเก็บไข่ไว้ในห้องเก็บไข่ที่มีอุณหภูมิ 65 องศาฟา เรนต์ไฮ หรือ 18.3 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80%

  การอุ่นไข่ ก่อนนำมาฟัก หลังการเก็บไข่ในห้องเย็น ทำอย่างไร?

ตอบ: การอุ่นไข่ เป็นขั้นตอนการนำไข่ออกจากห้องเย็น มาไว้ในห้องอุ่นไข่ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิ จนอุณหภูมิที่ผิวฟองไข่ให้ใกล้เคียงอุณหภูมิในห้อง ถ้าอุณหภูมิสูงไม่เพียงพอ จะส่งผลทำให้อุณหภูมิภายในตู้ฟักลดต่ำลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพการฟัก

การอุ่นไข่จะพบปัญหาหยดน้ำมาจับที่ผิวเปลือกไข่ ซึ่งเกิดจากฟองไข่ที่เย็นกระทบกับความร้อนผสมกับความชื้นในอากาศ เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ และเกาะติดอยู่บริเวณผิวเปลือกไข่ กรณีที่มีเชื้อโรคที่ผิวไข่ หยดน้ำนี้ สามารถนำพาเชื้อโรคเข้าไปในไข่โดยวิธีการออสโมซิส ซึ่งจะทำให้ ประสิทธิภาพการฟักลดลง อาจเกิดปัญหาไข่เน่า หรือลูกไก่อ่อนแอฟักไม่ออก

 การกลับไข่ ทำไปเพื่ออะไร?

ตอบ: การกลับไข่ระหว่างการฟักนั้น จะส่งผลให้มีการกระจายของอุณหภูมิและความชื้นบนฟองไข่แต่ละด้านสม่ำเสมอกัน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน และป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนติดเยื่อเปลือกไข่ นอกจากนั้นการกลับไข่ยังมีส่วนช่วยให้เกิดความสมดุลของการไหลของอากาศภายในตู้ และสิ่งที่สำคัญคือถาดพลิกไข่ จะต้องกลับไข่ทำมุม 45 องศากับแนวระนาบเสมอ

 การจัดไข่ลงถาดพลิก ทำอย่างไร?

ตอบ: การจัดไข่ลงถาดเพื่อเข้าตู้ฟัก ให้เรียงไข่ตั้งด้านป้านขึ้นด้านบน ด้านแหลมหันลงข้างล่าง เนื่องจากปกติแล้วช่องอากาศของไข่จะอยู่ทางด้านป้าน และเชื้อลูกไก่จะลอยขึ้นข้างบนเสมอ ถ้าวางไข่โดยเอาด้านแหลมขึ้น ลูกไก่จะได้อากาศไม่เพียงพอ และมีโอกาสตายสูง

 ลักษณะของไข่ ในวันที่ 7 ของการฟัก มีแบบใดบ้าง?

ตอบ: ลักษณะของไข่ที่มีเชื้อ 7 วัน จะเห็นเส้นเลือดสีแดงเป็นร่างแห เหมือนรากไม้ ตรงกลางเป็นจุดและเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เมื่อส่องเสร็จแล้วให้เอาเข้าตู้ฟักทันที

ลักษณะของไข่เชื้อตาย จะเห็นเป็นเส้นวงแหวน ไม่มีร่างแหแตกแขนง หรือมีจุดสีดำติดเปลือกไข่ ซึ่งในกรณีนี้ ควรนำไข่ใบนั้นออกจากตู้ฟัก เพื่อป้องกันการเน่าเสียของไข่

ลักษณะของไข่ไม่มีเชื้อ เมื่อส่องจะเห็นเป็นสีใสไม่มีเส้นเลือด ควรคัดลอกออกทันทีเมื่อพบ




*  ตู้ฟักไข่-1.jpg (101.07 KB, 470x394 - ดู 290 ครั้ง.)

* ตู้ฟักไข่-ขาย.jpg (124.34 KB, 470x394 - ดู 272 ครั้ง.)

* ตู้ฟักไข่-2.jpg (127.99 KB, 470x394 - ดู 436 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
kaichamp
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 25 กรกฎาคม 2016, 18:02:41 »

มีสุดยอดพ่อพันธุ์ไก่ และแม่พันธุ์ไก่ที่ดี ผสมออกมา แต่แม่ไก่ไม่ยอมกกไข่
แม่ไก่ไข่ซ้อนกัน แย่งกันกก ไข่แตก ไข่ร้าว กินไข่

ไข่ไก่หาย โดนขโมยไข่ เกิดความเสียหาย
สภาพอากาศแปรปรวน ร้อนเกิน ชื้นเกิน หนาวเกิน ไข่ฟักไม่ออก

ตู้ฟักไข่มีอัตราความสำเร็จของการฟักที่สูงกว่าการฟักเองตามธรรมชาติ

ตู้ฟักไข่ตู้เดียวใช้แทนแม่ไก่ได้หลายตัว

คำถามที่พบ บ่อย จากการฟักไข่

 ทำไมลูกไก่ ถึงขาถ่าง ขาแบะ?

ตอบ: เกิดจากอุณหภูมิที่ไม่คงที่ ขณะทำการฟักไข่ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่ใช้ตู้ฟักหรือเครื่องฟักที่ไม่ได้มาตรฐาน อีกกรณีหนึ่งที่เป็นไปได้คือ พื้นปูรองลื่นเกินไป วิธีแก้ปัญหาคือ ให้หาไหมพรม หรือเชือกนิ่ม ๆ มาผูกขาทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน ไม่ให้ถ่างออก ทิ้งไว้ 2-3 วัน แล้วจึงแกะเชือกออก ลูกไก่จะมีอาการดีขึ้น

 ทำไมลูกไก่จึงตายขณะเจาะเปลือก?

ตอบ: ปัญหานี้พบได้บ่อยครั้ง เนื่องจากความชื้นที่ไม่เหมาะสม ขณะทำการฟักไข่

ถ้าความชื้นมากเกินไป จะทำให้ลูกไก่ฟักตัวเร็วกว่าปกติ ขนาดตัวจะโต ท้องป่อง และตัวจะนิ่ม สะดือไม่แห้ง ปิดไม่สนิท

ถ้าความชื้นน้อยเกินไป ลูกไก่จะมีขนาดตัวเล็กและแห้ง น้ำหนักตัวน้อย บางตัวจะแห้งอยู่ภายในไข่ และขนจะ ติดกับเปลือกไข่ อาจทำให้ลูกไก่พิการได้

 วิธีการเก็บไข่ก่อนนำเข้าฟัก ทำอย่างไร?

ตอบ: การฟักไข่โดยปกติ ควรจะฟักด้วยเครื่องฟักไข่ทันสมัยที่มีขนาดบรรจุตั้งแต่ 48-1,000 ฟอง การฟักจะแบ่งออกเป็นรุ่น ๆ โดยรวบรวมไข่ให้ได้จำนวนหนึ่ง ก่อน จึงนำเข้าตู้ฟักพร้อมกันทีเดียว เพื่อทำให้ลูกไก่เกิดเป็นชุด ๆ พร้อมกัน ในทางปฏิบัติเราจะรวบรวมไข่เข้าตู้ฟักทุก ๆ 3-5 วัน โดยการเก็บไข่ไว้ในห้องเก็บไข่ที่มีอุณหภูมิ 65 องศาฟา เรนต์ไฮ หรือ 18.3 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80%

  การอุ่นไข่ ก่อนนำมาฟัก หลังการเก็บไข่ในห้องเย็น ทำอย่างไร?

ตอบ: การอุ่นไข่ เป็นขั้นตอนการนำไข่ออกจากห้องเย็น มาไว้ในห้องอุ่นไข่ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิ จนอุณหภูมิที่ผิวฟองไข่ให้ใกล้เคียงอุณหภูมิในห้อง ถ้าอุณหภูมิสูงไม่เพียงพอ จะส่งผลทำให้อุณหภูมิภายในตู้ฟักลดต่ำลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพการฟัก

การอุ่นไข่จะพบปัญหาหยดน้ำมาจับที่ผิวเปลือกไข่ ซึ่งเกิดจากฟองไข่ที่เย็นกระทบกับความร้อนผสมกับความชื้นในอากาศ เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ และเกาะติดอยู่บริเวณผิวเปลือกไข่ กรณีที่มีเชื้อโรคที่ผิวไข่ หยดน้ำนี้ สามารถนำพาเชื้อโรคเข้าไปในไข่โดยวิธีการออสโมซิส ซึ่งจะทำให้ ประสิทธิภาพการฟักลดลง อาจเกิดปัญหาไข่เน่า หรือลูกไก่อ่อนแอฟักไม่ออก

 การกลับไข่ ทำไปเพื่ออะไร?

ตอบ: การกลับไข่ระหว่างการฟักนั้น จะส่งผลให้มีการกระจายของอุณหภูมิและความชื้นบนฟองไข่แต่ละด้านสม่ำเสมอกัน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน และป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนติดเยื่อเปลือกไข่ นอกจากนั้นการกลับไข่ยังมีส่วนช่วยให้เกิดความสมดุลของการไหลของอากาศภายในตู้ และสิ่งที่สำคัญคือถาดพลิกไข่ จะต้องกลับไข่ทำมุม 45 องศากับแนวระนาบเสมอ

 การจัดไข่ลงถาดพลิก ทำอย่างไร?

ตอบ: การจัดไข่ลงถาดเพื่อเข้าตู้ฟัก ให้เรียงไข่ตั้งด้านป้านขึ้นด้านบน ด้านแหลมหันลงข้างล่าง เนื่องจากปกติแล้วช่องอากาศของไข่จะอยู่ทางด้านป้าน และเชื้อลูกไก่จะลอยขึ้นข้างบนเสมอ ถ้าวางไข่โดยเอาด้านแหลมขึ้น ลูกไก่จะได้อากาศไม่เพียงพอ และมีโอกาสตายสูง

 ลักษณะของไข่ ในวันที่ 7 ของการฟัก มีแบบใดบ้าง?

ตอบ: ลักษณะของไข่ที่มีเชื้อ 7 วัน จะเห็นเส้นเลือดสีแดงเป็นร่างแห เหมือนรากไม้ ตรงกลางเป็นจุดและเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เมื่อส่องเสร็จแล้วให้เอาเข้าตู้ฟักทันที

ลักษณะของไข่เชื้อตาย จะเห็นเป็นเส้นวงแหวน ไม่มีร่างแหแตกแขนง หรือมีจุดสีดำติดเปลือกไข่ ซึ่งในกรณีนี้ ควรนำไข่ใบนั้นออกจากตู้ฟัก เพื่อป้องกันการเน่าเสียของไข่

ลักษณะของไข่ไม่มีเชื้อ เมื่อส่องจะเห็นเป็นสีใสไม่มีเส้นเลือด ควรคัดลอกออกทันทีเมื่อพบ

http://www.xn--12cc9cxb8ezbye7ad.com/
https://www.facebook.com/toofukkai/
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!