เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 กรกฎาคม 2025, 23:47:07
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  แผ่นดินไหว-รอยเลื่อน เงื่อนไขบูรณะโบราณสถาน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน แผ่นดินไหว-รอยเลื่อน เงื่อนไขบูรณะโบราณสถาน  (อ่าน 552 ครั้ง)
ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,009


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2011, 10:44:08 »

ประเทศ ไทยเป็นอีกประเทศที่เผชิญเหตุแผ่นดินไหวในปีนี้ ** ความเสียหายจากแผ่นดินไหวขนาด 5.6 ริกเตอร์ ที่ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 24 มี.ค. นอกจากกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินแล้ว แรงสั่นสะเทือนยังเลื่อนลั่นไปถึง "โบราณสถานเก่าแก่" ให้ได้รับความ "เสียหาย" เช่นกัน โดยเฉพาะโบราณสถานในภาคเหนือ

ยอดเจดีย์เก่าแก่วัดพระธาตุเจดีย์หลวงที่ "หักโค่น" ลงมานั้นน่าตกใจไม่น้อย

จากเหตุการณ์นี้เองจึงมีภารกิจการบูรณะโบราณสถานตามมา

กรมศิลปากรในฐานะที่รับผิดชอบโดยตรง จะมีแผนระยะยาวป้องกันโบราณสถานล้ำค่าให้รอดพ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติได้อย่างไร

นาย เอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณสถานของไทย ให้มุมมองต่อเรื่องนี้ว่า โบราณสถานที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว ประกอบด้วย

"วัดพระธาตุ เจดีย์หลวง" ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1887 เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ ฐานกว้าง 24 เมตร สูง 88 เมตร

ส่วนที่ หักเป็นแกนเหล็กที่เสียบไว้ในส่วนยอดเหนือระฆังคว่ำลงมา ตัวยอดของเจดีย์ตกลงมากระทบกับเจดีย์บริวาร ซึ่งตั้งอยู่ตรงฐานด้านทิศตะวันออก ด้านหลังพระวิหาร ทำให้เจดีย์เล็กเสียหาย และยอดเจดีย์ที่ตกลงมาแตกละเอียด นอกจากนี้ส่วนระฆังคว่ำด้านบนบิดงอไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตรงส่วนระฆังโดยเฉพาะส่วนกลางแตกร้าว และมีการแตกของอิฐจนเป็นโพรงใหญ่

"เจดีย์ ประธานวัดปราสาทคุ้ม" (ร้าง) ตั้งอยู่หลังตลาดสดเชียงแสน บริเวณองค์ระฆังมีรอยร้าว อิฐยุบตัว รอยดังกล่าวเป็นรอยเดิมที่ร้าว และขยายตัวออกเนื่องจากแผ่นดินไหว ส่วนฐานเจดีย์มีรอยแตกตลอดความสูง

"เจดีย์ วัดพระธาตุจอมกิตติ" บนยอดดอยจอมกิตติ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 แกนฉัตรชำรุด และเอนออกจากองค์ 15-20 องศา ส่วนองค์เรือนพระธาตุพบรอยร้าวเดิมขยายตัวกว้างมากขึ้น และเกิดรอยร้าวใหม่หลายแห่ง แผ่นทองจังโกบริเวณเรือนยอดบิดตัว และฉีกขาด ปล้องไฉนหักงอ

นายเอนกกล่าวว่า เบื้องต้นสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ ดำเนินการซ่อมแซมด่วน โดยตั้งนั่งร้าน และค้ำยันเรือนพระธาตุเอียง และมีรอยแตกร้าวใหม่ เพื่อป้องกันการพังทลายอันเกิดจากอาฟเตอร์ช็อก โดยส่วนที่มีทองจังโกหุ้มจะเปิดออกเพื่อสำรวจความเสียหายภายใน และจะออกแบบบูรณะต่อไป                            
            
            


นอกจากนี้ยังมี "วัดพระธาตุภูเข้า" อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นมณฑปก่ออิฐอยู่บนเนินเขา มีรอยร้าว ผนังแยกออก โครง สร้างอันตราย

"เจดีย์ วัดป่าสัก" (ร้าง) ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเชียงแสนไปทางทิศตะวันตก ปลียอดยาวประมาณ 1 ศอก ตกลงมา ซึ่งเป็นส่วนที่ได้รับการบูรณะใหม่ เรือนยอดเอียงผิดปกติ มีรอยแตกร้าวขององค์บัลลังก์รอง รับระฆังหลายแห่ง พบรอยแตกร้าวเก่าขยายตัว และเกิดรอยร้าวใหม่หลายจุด

นายเอนกกล่าว ว่า ทางกรมศิลปากรสำรวจเพื่อออกแบบเตรียมการ บูรณะให้มั่นคง โดยเจาะเย็บในส่วนที่แตกร้าวที่อยู่ภายในให้คงสภาพ ไม่พังทลายลงมา

สำหรับ วัดภูมินทร์ จ.น่าน พระอุโบสถจัตุรมุข ภาพจิตรกรรมฝาผนังมีรอยร้าว และ วัดพระเจ้าตนหลวง จ.พะเยา บริเวณพระกรด้านขวาของพระเจ้าตนหลวงมีรอยแตกร้าวประมาณ 60 เซนติเมตร

"ขณะ นี้เจ้าหน้าที่ของสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ รวมถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำเขตหวงห้ามพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาเก็บรวบรวมชิ้นส่วนโบราณสถานที่หลุดร่อนลงมา สำหรับนำมาใช้เป็นหลักฐานในการบูรณะ"

การบูรณะในครั้งนี้ไม่เพียงต้องบูรณะซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด ยังต้องทำ "เผื่อ" เกิดแผ่นดินไหวในครั้งหน้า

รอง อธิบดีกรมศิลป์กล่าวด้วยความหนักใจว่า การบูรณะโบราณสถานแต่ละแห่งจะใช้งบประมาณแตกต่างกัน ปกติกรมศิลป์มีงบฯ ฉุกเฉินในการซ่อมแซมแค่ 4-5 ล้านบาท การประเมินค่าเสียหายในครั้งนี้จึงยังไม่ชัดเจน เพราะต้องออกแบบ และคำนวณ เพื่อรองรับการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นอีก ซึ่งไม่เหมือนกับการบูรณะธรรมดา ถ้าเกิดขึ้นอีกรอบ แล้วบูรณะแบบเดิมก็จะพังอีก จึงยังสรุปตัวเลขไม่ได้

ที่ ผ่านมาการบูรณะโบราณสถานไม่เคยคำนึงถึงการเกิดแผ่นดินไหว คำนึงแค่ให้มั่นคงแข็งแรง แต่ต่อไปนี้จะทำให้แข็งแรงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำให้มีแรงยืดหยุ่น เพื่อให้ลู่ลมไม่มีแรงต้าน เพราะหากแข็งแรงอย่างเดียวเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเจดีย์อาจพังลงมาทั้งองค์ แต่ตอนนี้ยังเป็นเพียงทฤษฎีที่คิดไว้ ยังไม่สามารถออกแบบได้

อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ "ระดับความรุนแรง" อย่างครั้งนี้ 5.6 ริกเตอร์

นาย เอนกบอกว่า ขณะนี้วิศวกรจะรังวัดโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบ ตั้งแต่ส่วนฐานถึงยอด และกำหนดจุดความเสียหาย ความกว้าง ความยาว ชนิดของวัสดุ เทคนิควิธีทำในสมัยโบราณ จากนั้นจะนำรูปแบบที่สำรวจและวิเคราะห์แล้วมาขึ้นรูปใหม่ เพื่อบูรณะตามเดิม นอกจากนี้วิศวกรจะคำนวณแรงที่ถูกกระทบจากแผ่นดินไหว เช่น ขนาด 5.6 ริกเตอร์ ถ้าจะไม่ให้เสียหายในความแรงขนาดนี้จะต้องเพิ่มปริมาณและวัสดุแบบใด หากจำเป็นก็ต้องใช้วัสดุที่มีคุณภาพสูง และเบา เหมือนเช่นประเทศญี่ปุ่นใช้ออกแบบอาคาร แต่คิดว่าขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุประเภทนั้น เพราะที่ผ่านมาส่วนฐานยังไม่ได้รับความเสียหาย มีเพียงแค่ยอดเท่านั้น

"เรา ยังไม่มีวิธีพิเศษในการบูรณะ แต่กำลังคิดกันว่าหากแข็งแรงไปก็ไม่ดี เพราะจะมีแรงปะทะ แต่หากปะทะแล้วมีแรงเบาที่ผ่อนให้แรงออกไปทางอื่นได้ ก็จะไม่เสียหาย คนสมัยโบราณเขาไม่ได้ใช้ซีเมนต์ เขาใช้ก่ออิฐ บางทีเป็นดินที่ทับกัน เวลาเปียกจะเป็นโคลนเหนียว แต่พอแห้งจะติดแน่นเหมือนกาว ตรงนี้ทำให้ผมสันนิษฐานว่ามันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งหรือไม่ที่ไม่ปะทะกับแรงของ แผ่นดินไหว หรือพายุ ในสมัยนั้น เพราะหากจะทำให้แข็งแรงก็น่าจะใช้เหล็กแทน มันอาจเป็นวิธีที่ช่วยให้ตัวโบราณสถานเสียหายน้อย เมื่อมีแรงจากภัยธรรมชาติมาปะทะก็ได้"

รองอธิบดีบอกอีกว่า วางแผนใช้เวลาในการบูรณะประมาณ 7-8 เดือน เพราะต้องอาศัยขั้นตอนในการทำงานทุกอย่าง และต้องคำนวณผลกระทบที่ได้รับว่าจุดไหนเสียหายมาก ต้องใช้จุดนั้นเป็นหลัก บุคลากรจะใช้วิศวกรของสำนักโบราณคดีเป็นหลัก นอกจากนั้นเป็นช่างโยธา และช่างศิลปกรรม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของส่วนกลางทั้งหมด ทั้งนี้ บุคลากรที่ทำงานด้านนี้มีจำนวนจำกัด หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นอีกก็จะลำบาก

สําหรับโบราณสถาน ที่ "เสี่ยง" หากมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกครั้งว่า ข้อมูลที่สำนักโบราณคดีสำรวจไว้ทั้ง 4 ภาค มีรอยเลื่อนที่ผ่านโบราณสถาน รัศมี 5 กิโลเมตร ทั้งหมด 44 แห่ง รัศมี 10 กิโลเมตร มีจำนวน 75 แห่ง รัศมี 20 กิโลเมตร มีจำนวน 178 แห่ง ทั่วประเทศมีประมาณ 200 แห่ง

ส่วน ที่มีปัญหามากสุดคือที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย เลย และพะเยา ที่ผ่านมากรมศิลป์ร่วมกับสถาบันในประเทศญี่ปุ่นสำรวจรอยเลื่อนดังกล่าว และศึกษาการแก้ไขปัญหาอุบัติภัย ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว พายุ และน้ำท่วม ที่จะเกิดกับโบราณสถาน อย่างกรณีน้ำท่วมเคยแก้ปัญหาที่วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ส่วนแผ่นดินไหวที่ดำเนินการแล้วคือที่พระธาตุดอย สุเทพ จ.เชียงใหม่ มีโครงการเพิ่มเสถียรภาพที่ราบเชิงเขา ป้องกันไม่ให้ดินสไลด์ตัว ขณะที่พระธาตุจอมกิตติ เคยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในปี 2549 ทางกรมศิลป์เข้าบูรณะ แต่แก้ไขมากไม่ได้ เพราะเราคาดการณ์ความแรงของแผ่นดินไหวไม่ได้

ใน ฐานะที่เรามีข้อมูลจากแผ่นดินไหว หรือว่ามีรอยเลื่อนที่ใด ช่วงไหนจะเกิด จึงน่าจะมีการศึกษารอยเลื่อน หรือพื้นที่เสี่ยงภัยเบื้องต้น เพื่อที่จะแก้ปัญหาถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้น เราจะคำนวณการออกแบบในการสร้างโบราณสถานได้ ยกตัวอย่างพระธาตุดอยสุเทพ ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาใหญ่ อีกฝั่งเป็นดินข้างในมีแกนภูเขา เมื่อมีฝนตกลงมาดินจะเริ่มไหลไปเรื่อยๆ จึงใช้คอนกรีตเสริมเหล็กป้องกันดินสไลด์ หากเรานำโครงการลักษณะนี้ไปปรับใช้ป้องกันโบราณสถานภาคเหนือแต่ละแห่งก็อาจ ป้องกันเรื่อง นี้ได้

"นี่คืองานใหญ่ของกรมศิลปากร เป็นแผนระยะยาวที่ต้องทำ เท่าที่ต้องตรวจสอบกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีรอยเลื่อนทั้งหมด 22 แห่ง ที่มีโบราณสถานสำคัญๆ ตั้งอยู่ นอกจากนี้ยังพบรอยเลื่อนนครนายก ที่เป็นรอยเลื่อนใหม่ กินพื้นที่ภาคกลางหลายจังหวัด มีโบราณสถานสำคัญๆ อยู่หลายแห่ง จึงจำเป็นต้องทำแผนระยะยาวครอบ คลุมทั้งประเทศ"

รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ต่อไปอยากให้มีการจัดทำคู่มือป้องกันโบราณสถานกรณีเกิดภัยพิบัติ ให้เป็นเหมือน "คัมภีร์" ที่เตรียมการวางแผนบูรณะได้ง่าย เพราะที่ผ่านมาประ เทศไทยไม่มีเรื่องนี้ จึงต้องแก้ไขไปตามสถาน การณ์ มันเลยไม่ทัน อย่างที่ซ่อมพระธาตุจอมกิตติครั้งที่แล้ว ก็คิดว่าคงมีแค่นี้

"แต่หากเราทำวัดเจดีย์หลวง ทำที่อื่นๆ ในแบบเดียวกัน คงจะแก้ปัญหาได้มากกว่าเดิม"

 ข้อมูลจาก
   ข่าวสด
IP : บันทึกการเข้า

หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!