jirapraserd
บุคคลทั่วไป
|
 |
« เมื่อ: วันที่ 07 สิงหาคม 2012, 10:53:17 » |
|
มิจฉาทิฏฐิคืออะไร รายละเอียด มิจฉาทิฏฐิคือ ผู้ที่มีความเห็นผิดไปจากกฎธรรมชาติ คือผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องสวรรค์มีจริง นรกมีจริง การกินเจแล้วได้บุญเป็นการโปรดสัตว์ (แต่คิดว่ากินเพื่อสุขภาพไม่ถือเป็นมิจฉาทิฏฐิ) ตายแล้วเป็นศุนย์ จะไม่กลับมาเกิดอีก บุญบาปไม่มี พ่อแม่ไม่มี เทวดาไม่มี โลกหน้าไม่มี พระอรหันต์ไม่มี พระพุทธเจ้าไม่มี คำสอนในพระไตรปิฏกไม่มี อย่างนี้เป็นต้น คนที่คิดในข้อความเหล่านี้ถือเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งสิ้น และเมื่อตนเองไม่เชื่อแล้วยังไม่พอ ยังนำเรื่องที่ตนเองคิดว่าเป็นอย่างนี้แล้ว ยังนำไปสอนคนอื่นให้หลงเชื่ออีก และก็มีผู้เชื่อตามที่บุคคลนั้นสอน บุคคลผู้สอนถือเป็นสุดยอดมิจฉาทิฏฐิอีก เมื่อเขาผู้นั้นได้ตายไปจากโลก จะไปเกิดในโลกัณฑ์ตนรก เป็นนรกที่อยู่ขอบจักรวาลเป็นนรกที่ไม่มีแสงสว่าง สิ้นแสงดาวทุกดวง จะได้เห็นแสง 1 ครั้งเมื่อบนโลกมนุษย์ได้อุบัติพระพทธเจ้า 1 องค์ เพียงชั่วฟ้าแลปเท่านั้น และผู้ที่เกิดในโลกันตนรกนี้จะมีผิวกายเป็นพังผืด เมื่อมองไม่เห็นกันในความมืด ถ้ามาแตะตัวโดนกันก็จะกินกันจนตาย แล้วก็กลับมาฟื้นใหม่ด้วยแรงกรรม เป็นอย่างนี้ 1 พุทธธันดร หรือ เปลี่ยนพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ การที่คนเราเป็นมิจฉาทิฏฐินี้ เป็นเพราะบุญเขานั้นยังไม่เต็มจึงไม่มีโอกาสได้ฟังธรรมมะที่ถูกต้องได้ จึงต้องอฐิฐานอยู่เสมอให้ได้พบได้เจอได้ฟัง ธรรมมะของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ทุกพบทุกชาติที่เกิดเป็นมนุษย์
*** องค์ประกอบของมิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง)(๑) ***
มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง เมื่อแยกบทแล้ว ได้ ๒ บท คือ
มิจฉา แปลว่า วิปริต
ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น
เมื่อรวมกันแล้ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ แปลว่าความเห็นที่วิปริต หมายถึง ความเห็นที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริง ดังวจนัตถะแสดงว่า
มิจฺฉาปสฺสตีติ - มิจฺฉาทิฏฐิ
แปลความว่า "ธรรมชาติใด ย่อมมีความเห็นที่วิปริตผิดไปจากความเป็นจริง ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า มิจฺฉาทิฏฐิ"
เรื่องมิจฉาทิฏฐินี้ พระพุทธองค์แสดงไว้อย่างกว้างขวาง มีสักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดที่ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่า เป็นเรา.
สำหรับมิจฉาทิฏฐิในมโนทุจริตนี้ มุ่งหมายเอา"นิยตมิจฉาทิฏฐิ" ๓ ประการ อันเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหยาบ ที่ให้สำเร็จเป็นอกุศลกรรมบทได้ ส่วนมิจฉาทิฏฐิอย่างอื่นนั้น เป็นเพียงทิฏฐิสามัญเท่านั้น
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ประการ คือ
๑. นัตถิกทิฏฐฺ มีความเห็นว่า ทำอะไรก็ตาม ผลที่พึงได้รับนั้น ย่อมไม่มีความเห็นผิดชนิดนี้ จัดเป็นอุจเฉททิฏฐิด้วย คือ เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตายแล้วก็สูญไป ไม่มีการเกิดอีก ในสามัญผลสูตร แสดงความเห็นผิด ชนิดที่เป็น นัตถิกทิฏฐินี้ว่า ได้มาจากความเห็นผิด ๑๐ อย่าง คือ
๑. เห็นว่า การให้ทานไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
๒. เห็นว่า การบูชาต่างๆ ไม่ได้รับผล
๓. เห็นว่า การต้อนรับเชื้อเชิญไม่ได้รับผล
๔. เห็นว่า การทำดี ทำชั่วไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
๕. เห็นว่า ผู้มาเกิดในภพนี้ไม่มี
๖. เห็นว่า ผู้ไปเกิดในภพหน้าไม่มี
๗. เห็นว่า คุณมารดาไม่มี
๘. เห็นว่า คุณบิดาไม่มี
๙. เห้นว่า สัตว์ที่ผุดเกิดเติบโตในทันที คือ สัตว์นรก เปรต เทวดา พรหม ไม่มี
๑๐. เห็นว่า สมณะพราหมณ์ ที่รู้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเอง และสามารถแนะนำชี้แจงสมณะพราหมณ์ ที่ถึงพร้อมความสามัคคี ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ นั้นไม่มี
ผู้มีนัตถิกะทิฏฐินี้ มีความเห็น"ปฏิเสธผล" ซึ่งเท่ากับปฏิเสธอำนาจกุศล อกุศลเจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดผลต่างๆด้วย
๒. อเหตุกทิฏฐิ คือผู้ที่มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่กำลังได้รับความลำบาก หรือความสบายก็ตาม ไม่ได้อาศัยเหตุใดๆ ให้เกิดขึ้นเลย เป็นไปเองทั้งนั้น ในสามัญผลสูตรแสดงว่า ชนกเหตุ คือเหตุให้เกิด และอุปถัมภกเหตุ คือ เหตุช่วยอุปถัมภ์ ให้สัตว์ทั้งหลายมีความเศร้าหมอง ลำบากกาย ลำบากใจนั้นไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่กำลังเศร้าหมองและลำบากอยู่นั้น ก็ไม่มีชนกเหตุ และอุปถัมภกเหตุแต่อย่างใด เหตุที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายมีความบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากความลำบากกาย ลำบากใจนั้นไม่มี และสัตว์ทั้งหลายที่มีความบริสุทธิ์ พ้นจากความลำบากกายใจได้นั้น ไม่เกี่ยวกับชนกเหตุ และอุปถัมภกเหตุแต่อย่างใด
ผู้มีอเหตุกทิฏฐินี้ มีความเห็น"ปฏิเสธเหตุ"ไม่เชื่อว่ากรรมดี หรือกรรมชั่วที่สัตว์ทั้งหลายได้กระทำกันอยู่ทุกวันนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลได้ ผู้ที่ปฏืเสธเหตุ เท่ากับเป็นการปฏิเสธเหตุ และผล ดังสามัญผลสูตร อรรถกถาว่า "ผู้ที่เห็นว่า ความสุขทุกข์ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่เกี่ยวเนื่องมาจากเหตุ ก็เท่ากับว่า เป็นการปฏิเสธเหตุ และผล ไปพร้อมกันด้วย"
๓. อกิริยทิฏฐิ มีความเห็นว่า การกระทำต่างๆของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่สำเร็จเป็นบาป บุญแต่ประการใด ในสามัญผลสูตรแสดงว่า
ผู้ที่มีความเห็นผิดชนิดอกิริยทิฏฐิ เห็นว่า การทำดี ทำชั่วของสัตว์ทั้งหลาย จะทำเองก็ตาม ใช้ให้ผู้อื่นทำก็ตาม ไม่ได้ชื่อว่าเป็นบุญ บาป หรือฆ่สัตว์ด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นทำก็ตาม ลักทรัพย์ด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นลักทรัพย์ก็ตาม ไม่ได้ชื่อว่าเป็นบุญ บาป
ความเห็นผิดชนิดอกิริยทิฏฐินี้ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกรรม อันเป็นตัวเหตุ ฉะนั้นจึงเท่ากับว่า ปฏิเสธผลของกรรมด้วย ดังในสามัญผลสูตร อรรถกถาแสดงว่า
"เมื่อปฏิเสธการการทำบาป บุญที่เป็นตัวเหตุแล้ว ก็เท่ากับปฏิเสธผลของการทำบาป บุญนั้นด้วย"
นิยตมิจฉาทิฏฐินี้ เป็นความเห็นผิดชนิดที่สามารถส่งผล ให้เกิดใน"นิรยภูมิ"อย่างแน่นอน แม้พระพุทธองค์ก็โปรดไม่สำเร็จ (นิรยภูมิ - สัตว์นรก)
(คัดจากหนังสือ พระอภิธรรมมัตถสังคหะ)
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 16 กันยายน 2012, 20:21:26 โดย jirapraserd »
|
IP :
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jirapraserd
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 07 สิงหาคม 2012, 17:24:26 » |
|
xxx
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 16 กันยายน 2012, 20:22:40 โดย jirapraserd »
|
IP :
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
jirapraserd
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 10 สิงหาคม 2012, 14:03:18 » |
|
เข้าใจคำว่า "พระวินัย" หรือปล่าวครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
jirapraserd
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 16 กันยายน 2012, 19:09:55 » |
|
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
|
|
|
|
|
full moon
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2012, 07:03:12 » |
|
ผมไม่ค่อยรู้อะไร ? ครับ แต่สงสัยว่า ความคิดเห็นที่กำลังโพสท์ อยู่นี่เป็นสังขารขันธ์ใช่ไหม ?ครับ ถ้าไปยึดติดอยู่กับความคิดเห็นอยู่อย่างนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิหรือเปล่าครับ ? เห็นพระพูดบ่อย ๆ ว่า อุปทานขันธ์ห้าเป็นทุกข์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|