เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 กรกฎาคม 2025, 06:32:59
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  บอร์ดกลุ่มชมรม
| |-+  ชมรมคนรักรถ
| | |-+  ถ้าซื้อรถแบบโอนลอยต้องใช้เอกสารอะไรบ้างครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ถ้าซื้อรถแบบโอนลอยต้องใช้เอกสารอะไรบ้างครับ  (อ่าน 3385 ครั้ง)
[ตา-รา-บาว]
"^^"
ผู้ดูแลบอร์ด
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,240


-หนุ่มบาวเองคร๊าฟ-


« เมื่อ: วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2011, 15:14:17 »

สอบถามเป็นความรู้หน่อยนะครับ สมมุติจะซื้อจากเชียงใหม่ โดยการซื้อแบบโอนลอย เราต้องเตรียมเอกสาร(สัญญาต่างๆ)อะไรบ้างครับ ทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขาย และมีโอกาสเสี่ยงมากไหมครับเกี่ยวกับการซื้อขายแบบโอนลอย ควรตรวจสอบเรื่องอะไรเป็นพอเศษครับ


รบกวนขอคำแนะนำหน่อยนะครับ..........
IP : บันทึกการเข้า

"เป็นอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง"
--พุทธทาส--
WEBMASTER
เจ้าสำนักใหญ่
Administrator
แฟนพันธ์แท้
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,540

บุคคลทั่วไป


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2011, 15:25:08 »

สอบถามเป็นความรู้หน่อยนะครับ สมมุติจะซื้อจากเชียงใหม่ โดยการซื้อแบบโอนลอย เราต้องเตรียมเอกสาร(สัญญาต่างๆ)อะไรบ้างครับ ทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขาย และมีโอกาสเสี่ยงมากไหมครับเกี่ยวกับการซื้อขายแบบโอนลอย ควรตรวจสอบเรื่องอะไรเป็นพอเศษครับ


รบกวนขอคำแนะนำหน่อยนะครับ..........

โอกาสเสี่ยงมีมากแน่นอนครับ เพราะไม่ได้ไปโอนที่สำนักงานขนส่งไม่มีการตรวจสอบจากขนส่ง  หากรถนั้นขโมยมาและสวมป้ายทะเบียนปลอมมาขายให้เรา ซวยเลยครับ ขนส่งบอกไม่ผ่าน ตังค์ก็จ่ายให้คนขายไปเรียบร้อยแล้่ว ถ้าจะตรวจสอบเป็นพิเศษก็น่าจะตรวจสอบทะเบียนรถที่จะซื้อขายกัน ลองเอาไปเช็คที่ขนส่งดูครับ ว่าจะผ่านหรือเปล่า
IP : บันทึกการเข้า

ติดตามข่าวสารได้ที่เพจ :  https://www.facebook.com/crfocus
[ตา-รา-บาว]
"^^"
ผู้ดูแลบอร์ด
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,240


-หนุ่มบาวเองคร๊าฟ-


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2011, 15:28:34 »

สอบถามเป็นความรู้หน่อยนะครับ สมมุติจะซื้อจากเชียงใหม่ โดยการซื้อแบบโอนลอย เราต้องเตรียมเอกสาร(สัญญาต่างๆ)อะไรบ้างครับ ทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขาย และมีโอกาสเสี่ยงมากไหมครับเกี่ยวกับการซื้อขายแบบโอนลอย ควรตรวจสอบเรื่องอะไรเป็นพอเศษครับ


รบกวนขอคำแนะนำหน่อยนะครับ..........

โอกาสเสี่ยงมีมากแน่นอนครับ เพราะไม่ได้ไปโอนที่สำนักงานขนส่งไม่มีการตรวจสอบจากขนส่ง  หากรถนั้นขโมยมาและสวมป้ายทะเบียนปลอมมาขายให้เรา ซวยเลยครับ ขนส่งบอกไม่ผ่าน ตังค์ก็จ่ายให้คนขายไปเรียบร้อยแล้่ว ถ้าจะตรวจสอบเป็นพิเศษก็น่าจะตรวจสอบทะเบียนรถที่จะซื้อขายกัน ลองเอาไปเช็คที่ขนส่งดูครับ ว่าจะผ่านหรือเปล่า

อ่าครับ หนักใจตรงนี้ละครับอ้าย เพราะมีโอกาสไปดูรถแค่วันเสาร์-อาทิตย์ วันธรรมดาก้ทำงาน เลยสอบถามไว้ก่อน อิอิ  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

"เป็นอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง"
--พุทธทาส--
siwanon
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 916

Thanee Advertising


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2011, 15:44:28 »

เว็นสัญญา ซื้อขายสิครับ  แล้วก็เซ็นรับรองบัตรประชาชน  ของผู้ซื้อและผู้ขาย  ว่าซื้อของอะไร วันไหน  รถก็จดเลขโครงเลข เครื่อง หรือขูดเอา ทำสำเนาสองชุดแจกคนละใบ ...ถ้าเป็นรถที่ขโมยมาหรือมีปัญหา จะผ่อนหนักเป็นเบาได้
IP : บันทึกการเข้า


Thannee Car Wrap  ติดตั้งสติ๊กเกอร์ เคฟล่า 3M สติ๊กเกอร์สีดำด้าน สีต่างๆ ยี่ห้อ Mactac คุณภาพสูงจาก Germany และ Jap    093-1318183
[ตา-รา-บาว]
"^^"
ผู้ดูแลบอร์ด
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,240


-หนุ่มบาวเองคร๊าฟ-


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011, 10:02:59 »

เว็นสัญญา ซื้อขายสิครับ  แล้วก็เซ็นรับรองบัตรประชาชน  ของผู้ซื้อและผู้ขาย  ว่าซื้อของอะไร วันไหน  รถก็จดเลขโครงเลข เครื่อง หรือขูดเอา ทำสำเนาสองชุดแจกคนละใบ ...ถ้าเป็นรถที่ขโมยมาหรือมีปัญหา จะผ่อนหนักเป็นเบาได้


ขอบคุณครับ
........
.......
......
.....
....
...
..
.
ท่านอื่นมีไรแนะนำอีกหรือไม่ครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"เป็นอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง"
--พุทธทาส--
WEBMASTER
เจ้าสำนักใหญ่
Administrator
แฟนพันธ์แท้
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,540

บุคคลทั่วไป


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011, 10:09:14 »

อยู่เชียงใหม่นี่เอง เสียสละลางาน 2 วันโดนหักเงินเดือนช่างมัน
ไปโอนเองดีกว่าครับ ปลอดภัย ชัวร์ดี  ยิงฟันยิ้ม

เทียบกันแล้วก็ยังดีกว่าจ่ายตังค์ได้รถแล้ว แต่โอนมาเป็นชื่อของเราไม่ได้ ไม่ต่างกับขโมยรถเขามาขี่เลย ไม่คุ้มครับ
IP : บันทึกการเข้า

ติดตามข่าวสารได้ที่เพจ :  https://www.facebook.com/crfocus
Ting4949
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,095


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011, 13:03:45 »

- หนังสือ สัญญาซื้อขาย โดยกรอกรายละเอียดให้ครบ  ทั้งผู้ขาย - ผู้ซื้อ และ ตัวรถ
- ใบคำขอโอน ( ขอได้ที่ สนง.ขนส่ง ) กรอกรายละเอียด ให้ครบเช่นกัน แต่ยังไม่ต้องลงวันที่ และ ให้ผู้ขายเซ็นต์ชื่อให้ครบ
- หนังสือมอบอำนาจ  กรอกรายละเอียด แล้วให้ผู้ขาย เซ็นต์ชื่อให้ครบ
- สำเนาบัตรประชาชน + ทะเบียนบ้าน ของผู้ขาย เซ็นต์รับรองสำเนา ให้ครบ

หมายเหตุ : กรณี ผู้ขาย ได้เซ็นต์ชื่อลงในคู่มือ จดทะเบียนรถ ด้วยให้ตรวจดูว่า ลายเซ็นต์เหมือนกันหรือไม่ และ ตรวจดูรายละเอียด หมายเลขต่าง ๆ ของตัวรถ ให้ตรงกับคู่มือ จดทะเบียนด้วย นะครับ.
IP : บันทึกการเข้า
[ตา-รา-บาว]
"^^"
ผู้ดูแลบอร์ด
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,240


-หนุ่มบาวเองคร๊าฟ-


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011, 13:24:12 »

- หนังสือ สัญญาซื้อขาย โดยกรอกรายละเอียดให้ครบ  ทั้งผู้ขาย - ผู้ซื้อ และ ตัวรถ
- ใบคำขอโอน ( ขอได้ที่ สนง.ขนส่ง ) กรอกรายละเอียด ให้ครบเช่นกัน แต่ยังไม่ต้องลงวันที่ และ ให้ผู้ขายเซ็นต์ชื่อให้ครบ
- หนังสือมอบอำนาจ  กรอกรายละเอียด แล้วให้ผู้ขาย เซ็นต์ชื่อให้ครบ
- สำเนาบัตรประชาชน + ทะเบียนบ้าน ของผู้ขาย เซ็นต์รับรองสำเนา ให้ครบ

หมายเหตุ : กรณี ผู้ขาย ได้เซ็นต์ชื่อลงในคู่มือ จดทะเบียนรถ ด้วยให้ตรวจดูว่า ลายเซ็นต์เหมือนกันหรือไม่ และ ตรวจดูรายละเอียด หมายเลขต่าง ๆ ของตัวรถ ให้ตรงกับคู่มือ จดทะเบียนด้วย นะครับ.


ขอบคุณนะครับ  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

"เป็นอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง"
--พุทธทาส--
กบฏ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,025



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011, 22:51:01 »

การโอนลอย เขาโอนกันอย่างไร มีเอกสารใดบ้าง
   
การโอนลอย ตามความหมายของกรมขนส่งคือ การที่เจ้าของรถได้ขายรถของตนแล้ว และทำการลงนาม ในเอกสารการโอนรถ และใบมอบอำนาจให้ผู้ซื้อ โดยมิได้มีการดำเนินการทางทะเบียนที่สำนักงานขนส่ง
1. หากผู้ซื้อไม่ดำเนินการเรื่องโอนให้แล้วเสร็จ และนำรถนั้นไปก่อความเสียหาย ผู้ขายจะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย เนื่องจากข้อมูลทางทะเบียนของทางราชการ
ซึ่งมีไว้เพื่อการตรวจสอบ ยังเป็นชื่อของผู้ขาย (เจ้าของเดิม) อยู่
2. หากผู้ซื้อไม่ดำเนินการเรื่องโอนให้แล้วเสร็จ ผู้ซื้ออาจเสียประโยชน์ เนื่องจากข้อมูลทางทะเบียนรถนั้น ยังไม่มีการแจ้งเปลี่ยนเป็นชื่อของผู้ซื้อ เมื่อปล่อยเวลา
นานไป เอกสารการโอนที่ผู้ขายมอบไว้ให้อาจใช้ไม่ได้ หรือสูญหายไป ซึ่งหากท่านไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถ ก็จะไม่สามารถดำเนินการทางทะเบียนในเรื่อง
ใดๆ ได้

ในการซื้อขาย รถยนต์ ก็ยังเป็นวิธีการที่สะดวกในการทำธุรกรรมด้านซื้อ- ขายรถยนต์ แต่อย่างลืมครับการโอนลอยยังเป็นวิธีการโอนรถยนต์ที่เสี่ยงอยู่มาก เช่น ถ้าเอกสารไม่ครบ หรือถูกปลอมแปลง ลายเซ็นไม่ครบ บัตรหมดอายุ รถติดคดีความ ทางสำนักงานขนส่งมักจะไม่ฟังเสียงใครทั้งสิ้น นอกจากจะให้คุณกลับบ้านมาเก็บเอกสารใหม่อย่างเดียว อย่างนี้ถ้าท่านคิดจะซื้อ-ขายรถยนต์ เรามาดูกันสักนิดครับว่า ต้องใช้เอกสารใด และควรตรวจทานระวังอย่างไรบ้าง จะได้ไม่ต้องมาปวดหัวทีหลัง
ตรวจทานให้ดีก่อนการเลือกซื้อรถ
   
1. สมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์ เป็นเอกสารครอบครอง สังหาริมทรัพย์ อย่างหนึ่ง สิ่งที่ต้องตรวจความถูกต้องควรมีดังนี้
1.1 เลขทะเบียนรถ จะต้องตรงกับป้ายทะเบียนรถยนต์ (ป้ายต้องเป็นของแท้มี ขส) ป้ายต่อทะเบียน และพ.ร.บ.
1.2 ปีที่จดทะเบียน ซึ่งจะระบุเป็น พ.ศ. ถ้าอยากทราบว่าเป็น ค.ศ. เท่าไรต้องลบด้วย ....
1.3 สี , หมายเลขเครื่อง , หมายเลขตัวถัง ต้องตรงกับ ตัวถังรถยนต์ และ หมายเลขเครื่องยนต์ที่ติดอยู่กับตัวรถ
1.4 ชื่อเจ้าของรถ ต้องตรวจดูชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ , เลขที่บัตร , ที่อยู่ ให้ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ
1.5 รายการเสียภาษี หน้า 16 – 17 ตรวจดูว่ามีรายการเสียภาษีครบทุกปี ไม่ขาดต่อทะเบียน หรือแจ้งจอด ยกเลิกการใช้งาน
1.6 รายการบันทึกของเจ้าหน้าที่ หน้า 18 – 19 ตรวจดูว่ามีรายการบันทึกในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรถอย่างไร เช่นการแจ้งย้าย แจ้งเปลี่ยนสี เปลี่ยนหมายเลขเครื่อง หรือขอใช้ทะเบียนบ้านในเขตไหน ต้องมีรายการบันทึกครบถ้วน
1.7 ลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต้องเซ็นให้ถูกต้องชัดเจน ตรงกับลายเซ็นในหนังสือต่างๆ
   

2. หนังสือสัญญาซื้อ – ขาย รถยนต์ เป็นหนังสือสัญญานิติกรรม ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน ต้องกรอกทุกรายละเอียด เช่น วันที่ , รายละเอียดผู้ขาย , รายละเอียดผู้ซื้อ , ราคาซื้อขาย , กำหนดการมัดจำและรับรถยนต์ ค่าใช้จ่ายในการโอน ว่าผู้ใดเป็นผู้ออกค่าโอน ลงชื่อผู้ซื้อ , ผู้ขาย และพยาน ระบุวันและเวลาที่ขาย และที่ได้รับรถไปแล้ว หนังสือตัวนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างสูง ต้องถือไว้ทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย ใช้แสดงประกอบการโอน มีผลทางด้านกฎหมาย เมื่อผู้ซื้อนำรถไปเกิดอุบัติเหตุ หรือใช้รถในการกระทำผิดกฎหมาย หรือผู้ขายอาจนำไปแจ้งรถหาย หรือนำเอกสารไปทำอย่างอื่น ต้องมีการตรวจเช็ครายละเอียดให้ดีทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย
3. แบบคำขอโอนและรับโอน เป็นหนังสือของทางกรมขนส่งทางบก ต้องใช้เมื่อต้องยื่นประกอบเอกสารการโอนรถยนต์ ต้องระบุวันที่ ชื่อรายระเอียดผู้โอน ผู้รับโอน เลขทะเบียน รายละเอียดเกียวกับรถที่โอน ราคาซื้อขาย และต้องลงลายมือชื่อทั้งผู้โอน และผู้รับโอน ให้ถูกต้องตามช่อง ที่ระบุไว้ครบทุกช่อง
   
4. สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน ของผู้ขาย และต้องตรงกับบัตรประชาชนตัวจริงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่หมดอายุ ทะเบียนบ้านต้องตรงกับหนังสือทะเบียนบ้าน ไม่มีการแจ้งย้าย หรือหมดอายุ ซึ่งผู้ขายต้องมีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ลงลายมือชื่อ หรือกำหนดรายละเอียดไว้ว่าใช้ในการโอนรถยนต์, แจ้งย้าย , เปลี่ยนสี , เปลี่ยนเครื่อง หรืออื่นๆไว้เป็นปลอดภัยที่สุด ถ้ารถต้องมีการแจ้งย้าย เปลี่ยนสี หมายเลขเครื่อง หรืออื่นๆ ต้องเพิ่มจำนวนอีกอย่างละชุด
5. หนังสือมอบอำนาจ เป็นหนังสือมอบหมายการกระทำใดๆเกี่ยวกับทะเบียนรถ ซึ่งเจ้าของรถไมสามารถมาดำเนินการเองได้ โดยต้องมีรายละเอียด วันที่ , ชื่อผู้มอบ และรับมอบ ระบุรายการที่ผู้มีอำนาจทำการแทน และลงลายมือชื่อ ให้ถูกต้องทั้งชื่อผู้มอบ , ชื่อผู้รับมอบ , พยาน และปิดอากรแสตมป์
   
6. หนังสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับผู้ขาย เช่น หนังสือเปลี่ยนชื่อและนามสกุล หนังสือหย่า ใบมอบมรดก และอื่นๆที่ต้องใช้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเอกสารสำคัญทางราชการ ในกรณีที่เป็นรถบริษัท ไฟแนนซ์ , ประกันภัย ,หรือมอบมรดก ต้องเตรียมเอกสารเช่น หนังสือรับรองบริษัท,ใบเสร็จรับเงิน , ใบเสียภาษี , และอื่นๆที่ใช้ต้องตรวจดูรายเซ็น ให้ถูกต้องและครบถ้วน
7. หนังสือยินยอม ในกรณีที่ขอใช้ในกรุงเทพ หรือในจังหวัดเดิมในทะเบียนรถ ต้องเตรียม หนังสือยินยอม ให้ทางเจ้าของรถเดิมเซ็นยินยอมขอใช้รถในทะเบียนบ้านเดิม หรือหาเจ้าบ้าน ที่มีชื่อ ที่อยู่ ในเขตที่ต้องการขอใช้ทะเบียนรถ และเซ็นรายมือชื่อ พร้อมแนบ สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนอีกหนึ่งชุด
8. ใบเสร็จต่างๆ เช่น ใบเสร็จซื้อเครื่องยนต์ ในกรณีที่ยังไม่ได้เปลี่ยนหมาเลขเครื่อง ใบเสร็จค่าเปลี่ยนสีรถยนต์ ที่ถูกต้องมีใบรับรองเสียภาษี หรือใบวิศวกรองรับการดัดแปลงรถยนต์ ใช้ในกับรถที่ยังไม่ได้แจ้งการดัดแปลง เช่นระบบขับเคลื่อน ระบบเบรก การเปลี่ยนหลังคา หรือการซ่อมจากอู่ที่ต้องมีการตัดต่อ หรืออะไหล่ตัวถังรถ

สรุปเอกสารสำคัญ
1. สมุดทะเบียนรถ รายละเอียดถูกต้อง และมีลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตรงกับเอกสารอื่นๆ
2. หนังสือสัญญาซื้อขาย ต้องระบุรายละเอียด วันและเวลารับรถ ลายมือชื่อผู้ขาย – ผู้ซื้อ และพยาน
3. แบบคำขอโอนและรับโอน ต้องลงลายมือชื่อทั้งผู้โอน และผู้รับโอน ให้ถูกต้องตามช่อง ที่ระบุไว้ครบทุกช่อง
4. สำเนาทะเบียนบ้านบัตรประชาชน ต้องเซ็นรับรองสำเนา ให้ถูกต้อง และต้องไม่หมดอายุ
5. หนังสือมอบอำนาจ ต้องมีลายเซ็นของผู้มอบอำนาจ
6. เอกสารเปลี่ยนแปลง เช่นใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล หรือใบหย่า ที่ต้องใช้เปลี่ยนแปลงเอกสารราชการ
7. หนังสืออื่นๆ ในกรณีที่เป็นบริษัท ไฟแนนซ์ ประกันภัย
8. ใบเสร็จต่างๆ ที่ใช้ควบคู่ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในรายการในทะเบียนรถ
เท่า นั้นครับการโอนลอยก็ถือว่าไม่เป็นเรื่องยุ่งยาก หรือต้องกังวนอีกต่อไป ไม่ต้องวิ่งไปกลับบ้านผู้ขาย กับขนส่งให้เสียเวลา เสียน้ำมัน หรือเสียอารมณ์ แต่ทางที่ดีเมื่อได้เอกสารมาแล้วควรรีบไปโอนโดยเร็วที่สุดดีกว่าครับ เพราะเอกสารบางตัวอาจมีการหมดอายุ เจ้าของเดิมเกิดเสียชีวิต หรืออื่นๆ อาจต้องเสียเวลามากไปกว่าเดิมอีก ต้องระวังไว้ด้วยครับ



ขอบคุณที่มาด้วยครับ...http://rathmine.multiply.com/journal/item/22
IP : บันทึกการเข้า

จากสูงสุด สู่สามัญ
กบฏ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,025



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011, 22:55:10 »

ของมีประโยชน์ อีกนิดครับ....

หากท่านเป็นคนหนึ่งที่ประสงค์อยากจะขายรถ เก่า ไม่ว่าจะขายให้กับ "เต้นท์รถ" หรือบุคคลทั่วไป หรือท่านประสงค์อยากจะซื้อรถเก่าก็ตาม ถ้าท่านเป็นมือใหม่ในการซื้อ-ขายรถ คำถามหนึ่งที่มักเกิดขึ้นก็คือการ "โอนลอย" ดีหรือไม่??!!
ท่านที่มีความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ในการขายรถมาแล้ว อาจจะเห็นว่าคำถามเรื่องการ "โอนลอย" ไม่เห็นที่จะต้องเป็นประเด็นใหญ่โต แต่ไม่น่าเชื่อว่า จากการเปิดข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์กระดานสนทนาชื่อดังอย่าง "พันธุ์ทิพย์" เว็บไซต์กฎหมาย หรือเว็บไซต์เกี่ยวกับการซื้อขายรถมือสอง ทุกอันจะมีคำถามเรื่องการ "โอนลอย" อยู่เต็มไปหมด
หลายคนมักจะเกิดคำถามเช่นว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไร? ดีหรือไม่? จะทำอย่างไร? จะมีผลอะไรตามมาหรือเปล่ากรณีที่เจ้าของรถใหม่ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อ แล้วไปก่ออุบัติเหตุ หรือแม้แต่เหตุอาชญากรรม? หรือ รถที่เราซื้อมาไปมีปัญหาอะไรมาก่อนหน้านี้หรือไม่? ต่างๆ นานาล้วนเป็นคำถามที่พัวพันกับการ "โอนลอย"จึง อยากจะถือโอกาสรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับการโอนลอย ให้ผู้ที่สนใจจะดำเนินการธุรกรรมเกี่ยวกับเรื่องรถได้รับทราบกัน ทั้งในแง่ของวิธีการปฏิบัติ และในแง่กฎหมาย เพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูลอย่างเว็บไซต์ www.meechaithailand.com เว็บไซต์ "เกจิ" กฎหมายมือฉมังของเมืองไทย โดย "มีชัย ฤชุพันธุ์" มีผู้ถามเรื่องนี้ถึง 2 รายด้วยกัน โดยรายแรก ถามว่า ...

 

"1.การ ซื้อขายได้ทำสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายและได้มีการชำระเงินส่งมอบและตรวจสภาพรถ แล้ว ถือว่า กรรมสิทธิ์เป็นของใครเพราะยังไม่มีการโอนเล่มทะเบียน
2.ถ้า สมมุติว่า ผู้ซื้อทราบภายหลังว่ารถยนต์มีการชนมา ก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าซื้อต่อมือที่1 โดยที่ข้าพเจ้าไม่ทราบ จะต้องรับผิดชอบรับคืนรถหรือไม่
3.หากในการตรวจสภาพรถยนต์ใช้ได้ปกติแต่ถ้าคนซื้อขับออกไป 1-2 วันแล้วมีปัญหา ข้าพเจ้าจะต้องรับผิดชอบหรือไม่
4.หาก ผู้ซื้อมิได้ไปทำการโอนเป็นชื่อของตนเอง และหากรถเกิดคดีความทางเพ่งและอาญา ข้าพเจ้าจะมีส่วนหรือไม่ จะอ้างหลักฐานการซื้อขายได้หรือไม่"
 
สำหรับคำตอบนั้น อ.มีชัย ระบุว่า ...
"1. เป็นของคนซื้อ เพราะสัญญาซื้อขายเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทะเบียนรถไม่ใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์ ถึงยังไม่เปลี่ยนแปลงทะเบียนก็โอนกันได้
2. ถ้าคุณไม่ได้ให้คำรับรองแก่เขาว่ารถไม่เคยถูกชน และเขารู้อยู่แล้วว่าคุณเองก็เป็นมือที่ 2 คุณก็ไม่ต้องรับผิดชอบ
3. เหมือน ข้อ 2
4. อ้างได้"

ขณะที่รายที่สองถามว่า ...
"ผม และภรรยาอยู่กินกันถูกต้องตามกฎหมายโดยการจดทะเบียนสมรส และในระหว่างที่อยู่กินกันนั้นผมได้ทำการเช่าซื้อรถยนต์ไว้กับไฟแนนซ์แห่ง หนึ่งโดยในสัญญาเช่าซื้อนั้นผมเป็นผู้เช่าซื้อ แต่ปัจจุบันผมและภรรยาต้องการที่จะหย่าร้างกัน โดยตกลงกันว่ารถยนต์คันดังกล่าวผมจะโอนลอยเป็นชื่อเค้า ผมจึงต้องการเรียนถามอาจารย์ ดังนี้
1.  การโอนลอยรถยนต์ในขณะที่ยังผ่อนชำระไม่หมดทำได้หรือไม่ครับ
2.  ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับรถยนต์คันดังกล่าวผมต้องเป็นคนรับผิดชอบใช่หรือไม่ครับ
3.  ผมสามารถทำหนังสือสัญญาอะไรได้บ้างครับเพื่อเป็นการยืนยันและป้องการหากเกิดอะไรขึ้นกับรถยนต์คันดังกล่าวแล้วจะไม่เดือดร้อนถึงผม
คำตอบของ อ.มีชัย ระบุว่า ...
1. ได้
2. ใช่
3 ถ้าอยากทำ ก็ทำหนังสือง่ายๆ ว่าภรรยาได้รับรถจากการโอนลอยไปแล้ว และลงชื่อภรรยา"

นอกจากนี้ ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เคยยกตัวอย่างผู้ขายรายหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีการโอนลอยในการซื้อขายรถ ปรากฎว่าจู่ๆ ก็มีจดหมายจากบริษัทประกันแห่งหนึ่ง แจ้งว่าให้ชำระค่าเสียหายจำนวน 12,000 บาท เหตุเพราะถูกรถของผู้ขายรายนี้ชนแล้วหลบหนี ซึ่งเป็นรถคันเก่าที่เคยขายไปให้กับเต้นท์รถเจ้าหนึ่งนานแล้ว โดยใช้วิธีการ "โอนลอย" พร้อมกับมอบหลักฐานต่างๆ เพื่อให้ทางเต้นท์ไปจัดการเรื่องทะเบียนทำให้ผู้ขายรายนี้ เกิดข้อข้องใจว่าเมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นจะทำอย่างไรต่อไป ในเมื่อไม่ใช่ผู้กระทำความผิดเลยแม้แต่น้อยทางศูนย์ฯ จึงแนะนำไปว่า ให้ ทำหนังสือถึงบริษัทประกันภัย เพื่อบอกกล่าวว่าไม่ได้เป็นผู้ครอบครองรถ พร้อมส่งหลักฐานการขายและส่งมอบรถแนบไปด้วย ทั้งนี้ ในทางกฎหมายการซื้อขายรถยนต์โดยการ"โอนลอย" กรรมสิทธิในรถยนต์ก็เป็นของผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ผู้ขายส่งมอบรถยนต์ให้แก่ ผู้ซื้อแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อผู้เป็นเจ้าของในทางทะเบียนปัจจุบัน ในการซื้อขายรถยนต์กับผู้ประกอบการเต้นท์รถ มักจะใช้วิธีการ "โอนลอย" คือให้ผู้ที่นำรถมาขายเซ็นหนังสือในหลักฐานต่างๆ ไว้ในลักษณะที่พร้อมจะเปลี่ยนชื่อในทางทะเบียนให้กับใครก็ได้ที่มาซื้อรถ ยนต์กับทางเต้นท์ ทั้งที่โดยปกติผู้ประกอบการจะต้องรับโอนรถมาเป็นชื่อของตัวเองก่อน เมื่อมีคนมาซื้อแล้วจึงค่อยโอนทะเบียนให้กับผู้ซื้อรายใหม่ต่อไป

การที่เต้นท์รถส่วนใหญ่ซื้อขายรถยนต์ด้วยการโอนลอย เพราะไม่อยากรับภาระเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ซึ่งจะต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย จึงผลักภาระนี้มาให้กับผู้บริโภค ดัง นั้น ไม่ว่าในกรณีใดก็แล้วแต่ หากยังไม่ได้ไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของในทางทะเบียน โอกาสที่จะเกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อไม่สามารถจับตัวผู้กระทำผิด กฎหมายก็ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทางทะเบียนเป็นผู้ที่ขับรถยนต์ดังกล่าว ซึ่งได้กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นแต่หากถามว่าถึงที่สุดแล้วผู้ขายรถจะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายหรือไม่นั้น คำตอบคือ "ไม่" เพราะในข้อเท็จจริงไม่ใช่ผู้ขับรถยนต์ ไม่ได้เป็นผู้กระทำละเมิด จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหาก ผู้บริโภคท่านใดเจอปัญหาในลักษณะนี้ สิ่งที่ต้องทำก็คือ แจ้งให้คู่กรณีทราบเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ท่านมิได้เป็นผู้ครอบครองหรือใช้รถยนต์คันดังกล่าว โดยให้ข้อมูลหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการซื้อขายประกอบไปด้วย เพื่อจะได้หาตัวผู้ต้องรับผิดชอบต่อไป

การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลักษณะนี้คือ เมื่อ ซื้อขายรถยนต์ผู้บริโภคควรจะไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบครองรถในทาง ทะเบียนให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะขายรถให้กับผู้ประกอบการเต้นท์รถ หรือใครก็ตาม แม้ว่าวิธีนี้ท่านอาจจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการโอน เพราะเต้นท์รถคงผลักภาระในการโอนนี้มาให้กับผู้บริโภคแน่ๆ แต่ก็เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด ที่ไม่ต้องมาผจญกับปัญหาคดีอาญาแบบไม่รู้ตัว

(ติดตามอ่านได้จาก http://old.consumerthai.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=183&Itemid=59)

 

ขณะที่ เว็บไซต์ชื่อดังด้านการซื้อขายรถยนต์มือสอง usedcar.thaispeedercar.com ได้ให้ข้อมูลอย่างสมบูรณ์ เรื่องการเตรียมตัวในการซื้อขายรถ กรณีที่จะกระทำการ "โอนลอย" ไว้ว่า ...
"การโอนลอย" ตามความหมายของกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า "คือ การที่เจ้าของรถได้ขายรถของตนแล้ว และทำการลงนามในเอกสารการโอนรถ และใบมอบอำนาจให้แก่ผู้ซื้อ โดยมิได้มีการดำเนินการทางทะเบียนที่สำนักงานขนส่งฯ"

สำหรับเอกสารต่างๆ ที่ต้องใช้ในการโอนรถนั้น ประกอบไปด้วย

1.สมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์ โดยจะต้องตรวจสอบความถูกต้องดังต่อไปนี้
 1.1 เลขทะเบียนรถ จะต้องตรงกับป้ายทะเบียนรถยนต์ (ของแท้ต้องมีคำว่า "ขส.") ป้ายทะเบียน และพ.ร.บ.
 1.2 ปีที่จดทะเบียน
 1.3 สี, หมายเลขเครื่อง, หมายเลขตัวถัง, ต้องตรงกับตัวถังรถยนต์และหมายเลขเครื่องยนต์ที่ติดอยู่กับตัวรถ
 1.4 ชื่อเจ้าของรถต้องตรวจดูชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์, เลขที่บัตร, ที่อยู่ ให้ตรงกับบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
 1.5 รายการเสียภาษี หน้า 16-17 ตรวจดูว่ามีการเสียภาษีครบทุกปีหรือไม่ ไม่ขาดต่อทะเบียน หรือแจ้งจอด ยกเลิกการใช้งาน
 1.6 รายการบันทึกของเจ้าหน้าที่ หน้า 18-19 ตรวจดูว่ามีรายการบันทึกในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรถอย่างไร เช่น การแจ้งย้าย แจ้งเปลี่ยนสี เปลี่ยนหมายเลขเครื่อง หรือขอใช้ทะเบียนบ้านในเขตไหน ต้องมีรายการบันทึกครบถ้วน
 1.7 ลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต้องเซ็นให้ถูกต้องชัดเจน ตรงกับลายเซ็นในหนังสือต่างๆ

2.หนังสือสัญญาซื้อ-ขายรถ
เป็น หนังสือสัญญานิติกรรม ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันต้องกรอกทุกรายละเอียด เช่น วันที่, รายละเอียดผู้ขาย, รายละเอียดผู้ซื้อ, ราคาซื้อขาย, กำหนดการมัดจำและรับรถยนต์ ค่าใช้จ่ายในการโอนว่าผู้ใดเป็นผู้ออกค่าโอน, ลงชื่อผู้ซื้อผู้ขายและพยาน, ระบุวันเวลาที่ขาย และที่ได้รับรถไปแล้ว หนังสือตัวนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างสูง ต้องถือไว้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ใช้แสดงประกอบการโอน มีผลทางกฎหมาย กรณีที่ผู้ซื้อนำรถไปเกิดอุบัติเหตุ หรือใช้รถในการกระทำความผิดกฎหมาย หรือผู้ขายอาจนำไปแจ้งรถหายหรือนำเอกสารไปทำอย่างอื่น ต้องมีการตรวจเช็ครายละเอียดให้ดีทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย

3.แบบคำขอโอนและรับโอน
เป็น หนังสือของทางกรมขนส่งทางบก ต้องใช้เมื่อต้องยื่นประกอบเอกสารการโอนรถยนต์ ต้องระบุวันที่ ชื่อรายละเอียดผู้โอน ผู้รับโอน เลขทะเบียน รายละเอียดเกี่ยวกับรถที่โอน ราคาซื้อขาย และต้องลงรายมือชื่อทั้งผู้โอนและผู้รับโอน ที่ระบุไว้ครบทุกช่อง

4.สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของผู้ขาย
จะ ต้องไม่หมดอายุ บัตรประชาชนต้องตรงกับทะเบียนบ้าน มีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง หรือกำหนดไว้ว่าใช้ในการโอนรถ, แจ้งย้าย, เปลี่ยนสี, เปลี่ยนเครื่อง, และหากมีการแจ้งย้าย, เปลี่ยนสี, หมายเลขเครื่อง, หรืออื่นๆ ต้องเพิ่มจำนวนสำเนาไว้อีกอย่างละชุด

5.หนังสือมอบอำนาจ
เป็น หนังสือที่มอบหมายการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับทะเบียนรถ ซึ่งเจ้าของรถไม่สามารถดำเนินการเองได้ ต้องมีรายละเอียดดังนี้ วันที่, ชื่อผู้มอบและรับมอบ, ระบุรายการที่ผู้มอบอำนาจทำการแทน และลงลายมือชื่อให้ถูกต้องทั้งชื่อผู้มอบ, ชื่อผู้รับมอบ, พยาน และปิดอาการแสตมป์

6.หนังสืออื่นๆ เกี่ยวกับผู้ขาย
เช่น หนังสือเปลี่ยนชื่อและนามสกุล หนังสือหย่า, ใบมอบมรดก หรืออื่นๆ ที่ต้องใช้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเอกสารสำคัญทางราชการ ในกรณีที่เป็นรถบริษัทไฟแนนซ์, ประกันภัย, หรือมอบมรดก ต้องเตรียมเอกสาร เช่น หนังสือรับรองบริษัท, ใบเสร็จรับเงิน, ใบเสียภาษี, และอื่นๆ ที่ใช้ต้องตรวจดูรายชื่อ ให้ถูกต้องและครบถ้วน

7.หนังสือยินยอม
ใน กรณีที่ขอใช้ในกรุงเทพฯ หรือในจังหวัดเดิมในทะเบียนรถ ต้องเตรียมหนังสือยินยอมให้ทางเจ้าของรถเดิมเซ็นยินยอมขอใช้รถในทะเบียนบ้าน เดิมหรือหาเจ้าบ้านที่มีชื่อ ที่อยู่ในเขตที่ต้องการขอใช้ทะเบียนรถและเซ็นลายมือชื่อ พร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนอีกชุดหนึ่ง

8.ใบเสร็จต่างๆ เช่น ใบเสร็จซื้อเครื่องยนต์ในกรณีที่ยังไม่ได้เปลี่ยนหมายเลขเครื่อง ใบเสร็จค่าเปลี่ยนสีรถยนต์ที่ถูกต้องมีใบรับรองเสียภาษี หรือใบวิศวกรรองรับการดัดแปลงรถยนต์ใช้กับรถที่ยังไม่ได้แจ้งการดัดแปลง เช่น ระบบขับเคลื่อน ระบบเบรค การเปลี่ยนหลังคา หรือการซ่อมจากอู่ที่ต้องมีการตัดต่อ หรืออะไหล่ตัวถังรถ

(ติดตามอ่านได้จาก http://usedcar.thaispeedcar.com/document/sara3.htm)

นอก จากนี้ เพื่อความสะดวกของผู้อ่านกรณีที่จะดำเนินธุรกรรมด้านการซื้อ-ขายรถยนต์ ยังมีเว็บไซต์ที่กรมการขนส่งทางบก ได้รวบรวมเอกสารไว้สำหรับดาวน์โหลดเพื่อใช้ในการยื่นต่อกรมฯ ได้แก่ http://www.dlt.go.th/eform/index.php

หวัง เป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลเหล่านี้พอจะเป็นประโยชน์ได้บ้างสำหรับผู้ที่จะ ซื้อ-ขายรถยนต์ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาหลังจากดำเนินการต่างๆ แล้ว


ขอบคุณที่มาด้วยครับ...http://www.oknation.net/blog/thammanamai/2009/04/22/entry-8
IP : บันทึกการเข้า

จากสูงสุด สู่สามัญ
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!