เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 22 กรกฎาคม 2025, 06:20:32
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  มาตรวจสอบอาคารเบื้องต้นง่ายๆ หลังแผ่นดินไหว
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน มาตรวจสอบอาคารเบื้องต้นง่ายๆ หลังแผ่นดินไหว  (อ่าน 2398 ครั้ง)
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2014, 01:26:50 »

แผ่นดินไหวคราวนี้รุนแรงมาก หวังว่าพี่น้องชาวเชียงรายโฟกัสไม่เป็นอะไรมากนะครับ

ยังงัยเพื่อความปลอดภัย พรุ่งนี้เช้า เรามาตรวจสอบอาคารบ้านเรือนที่เราอาคัยอยู่ครับ

การตรวจสอบอาคารหลังแผ่นดินไหวว่าจะมีปัญหาหรือไม่

สรุปความง่าย ๆ สำหรับช่างธรรมดา ๆ สักคนหนึ่ง อาจจะเริ่มต้นเป็น 4 ข้อดังนี้นะครับ
 
1. ตรวจสอบดิ่ง-ฉากของอาคาร ว่าอาคารของเรานั้นยังดิ่งและฉาก (และระนาบ) ดีอยู่หรือไม่ ตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นทางสายตา หรือว่าจะเป็นลูกดิ่งหรือว่าจะเป็นลูกแก้ว (เอาลูกแก้วโยนลงที่พื้นห้อง แล้วดูว่าพื้นห้องนั้นเอียงไปทางเดียวกันหรือไม่ หากเป็นห้องน้ำ ลูกแก้วจะวิ่งไปทางเดียวกัน และไปหยุดที่ท่อระบายน้ำ แต่หากเป็นห้องปกติ ลูกแก้วจะกระจายไปทุกทิศทาง เพราะพื้นได้ระนาบเดียวกัน) หากทุกอย่างปกติ ก็ผ่านข้อ 1 ไปได้ครับ
 
2. ตรวจสอบสภาวะรอยร้าว ตรวจสอบให้หมดไม่ว่าจะเป็นส่วนของโครงสร้างหรือส่วนสถาปัตยกรรม เน้นการตรวจสอบรอยใหม่ ๆ นะครับ (รอยเก่าที่เป็นจนตะไคร่ขึ้นอาจจะไม่จำเป็นครับ) โดยเฉพาะรอยร้าวในลักษณะ “เฉียง ๆ” ครับ
 
ไม่ว่าจะเป็นรอยเฉียง ๆ ที่ผนังจากผนังล่างซ้ายไปมุมบนขวา หรือจะเป็นรอยเฉียง ๆ ที่บริเวณรอยต่อของมุมเสาและคานที่มาบรรจบกัน (รอยร้าวลักษณะนี้จะอันตราย เพราะเป็นอาการบอกเหตุว่า โครงสร้างของคานและเสากำลังจะแยกหลุดจากกัน) หากไม่มีรอยพวกนี้ก็ถือว่าผ่านข้อที่ 2 ไปได้ครับ

3. ตรวจสอบงานระบบ โดยเฉพาะทางแนว “ดิ่ง” เปิดช่องท่อของอาคารดูว่าท่อต่าง ๆ นั้นเอียงหรือไม่ อุปกรณ์การยึดเกาะทั้งหลายสมบูรณ์อยู่หรือมีท่อแตกหรือเอียงหรือไม่ มีคราบน้ำใหม่ ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ (หากมีคราบน้ำ ก็อาจแสดงว่าจุดข้อต่อหรือท่อมีปัญหา ในขณะที่เกิดความสั่นสะเทือนและขณะที่ตึกอาจจะเอียงไปมาขณะเกิดแผ่นดินไหว)ระบบลิฟต์ก็เป็นจุดหนึ่งที่ต้องตรวจสอบการทำงาน หากติดขัดก็อาจแสดงว่าปล่องลิฟต์อาจจะเอียง  (ตามตัวตึก) หรืออุปกรณ์บางอย่างของระบบนั้นเป็นปัญหาลองเปิดน้ำ เปิดไฟ เปิดแอร์ดูสักพักว่า ทุกอย่างทำงานเป็นปกติหรือไม่ เพราะระบบเหล่านี้จะเป็นตัวบอกเหตุของความเสียหายของโครงสร้างอาคารในภาพรวมได้
 
4. ตรวจสอบหน้าต่างและระบบผนังกระจกว่ากระจกต่าง ๆ นั้นยังติดสนิทดีหรือไม่ ลองเอามือผลักดูเบา ๆ หากชั้นไม่สูงมากก็อาจจะเอาน้ำฉีดทดสอบดูได้ครับ หากทุกอย่างปกติก็แสดงว่าการสั่นไหวที่เกิดขึ้นนั้นไม่มากมายนัก ก็ถือว่าข้อสุดท้ายผ่านครับ


#######แต่ถ้าไม่แน่ใจในรอยร้าวที่เห็นหรือเกิดปัญหามากกว่านี้เช่นดินทรุดเห็นฐานราก เสา คานแตกจะซ่อมยังงัย เอารูปมาลงให้ผมดูครับ ผมจะช่วยวิเคาะห์ให้ครับ#########
IP : บันทึกการเข้า
vamplre01
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 665



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2014, 08:26:22 »

แผ่นดินไหวคราวนี้รุนแรงมาก หวังว่าพี่น้องชาวเชียงรายโฟกัสไม่เป็นอะไรมากนะครับ

ยังงัยเพื่อความปลอดภัย พรุ่งนี้เช้า เรามาตรวจสอบอาคารบ้านเรือนที่เราอาคัยอยู่ครับ

การตรวจสอบอาคารหลังแผ่นดินไหวว่าจะมีปัญหาหรือไม่

สรุปความง่าย ๆ สำหรับช่างธรรมดา ๆ สักคนหนึ่ง อาจจะเริ่มต้นเป็น 4 ข้อดังนี้นะครับ
 
1. ตรวจสอบดิ่ง-ฉากของอาคาร ว่าอาคารของเรานั้นยังดิ่งและฉาก (และระนาบ) ดีอยู่หรือไม่ ตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นทางสายตา หรือว่าจะเป็นลูกดิ่งหรือว่าจะเป็นลูกแก้ว (เอาลูกแก้วโยนลงที่พื้นห้อง แล้วดูว่าพื้นห้องนั้นเอียงไปทางเดียวกันหรือไม่ หากเป็นห้องน้ำ ลูกแก้วจะวิ่งไปทางเดียวกัน และไปหยุดที่ท่อระบายน้ำ แต่หากเป็นห้องปกติ ลูกแก้วจะกระจายไปทุกทิศทาง เพราะพื้นได้ระนาบเดียวกัน) หากทุกอย่างปกติ ก็ผ่านข้อ 1 ไปได้ครับ
 
2. ตรวจสอบสภาวะรอยร้าว ตรวจสอบให้หมดไม่ว่าจะเป็นส่วนของโครงสร้างหรือส่วนสถาปัตยกรรม เน้นการตรวจสอบรอยใหม่ ๆ นะครับ (รอยเก่าที่เป็นจนตะไคร่ขึ้นอาจจะไม่จำเป็นครับ) โดยเฉพาะรอยร้าวในลักษณะ “เฉียง ๆ” ครับ
 
ไม่ว่าจะเป็นรอยเฉียง ๆ ที่ผนังจากผนังล่างซ้ายไปมุมบนขวา หรือจะเป็นรอยเฉียง ๆ ที่บริเวณรอยต่อของมุมเสาและคานที่มาบรรจบกัน (รอยร้าวลักษณะนี้จะอันตราย เพราะเป็นอาการบอกเหตุว่า โครงสร้างของคานและเสากำลังจะแยกหลุดจากกัน) หากไม่มีรอยพวกนี้ก็ถือว่าผ่านข้อที่ 2 ไปได้ครับ

3. ตรวจสอบงานระบบ โดยเฉพาะทางแนว “ดิ่ง” เปิดช่องท่อของอาคารดูว่าท่อต่าง ๆ นั้นเอียงหรือไม่ อุปกรณ์การยึดเกาะทั้งหลายสมบูรณ์อยู่หรือมีท่อแตกหรือเอียงหรือไม่ มีคราบน้ำใหม่ ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ (หากมีคราบน้ำ ก็อาจแสดงว่าจุดข้อต่อหรือท่อมีปัญหา ในขณะที่เกิดความสั่นสะเทือนและขณะที่ตึกอาจจะเอียงไปมาขณะเกิดแผ่นดินไหว)ระบบลิฟต์ก็เป็นจุดหนึ่งที่ต้องตรวจสอบการทำงาน หากติดขัดก็อาจแสดงว่าปล่องลิฟต์อาจจะเอียง  (ตามตัวตึก) หรืออุปกรณ์บางอย่างของระบบนั้นเป็นปัญหาลองเปิดน้ำ เปิดไฟ เปิดแอร์ดูสักพักว่า ทุกอย่างทำงานเป็นปกติหรือไม่ เพราะระบบเหล่านี้จะเป็นตัวบอกเหตุของความเสียหายของโครงสร้างอาคารในภาพรวมได้
 
4. ตรวจสอบหน้าต่างและระบบผนังกระจกว่ากระจกต่าง ๆ นั้นยังติดสนิทดีหรือไม่ ลองเอามือผลักดูเบา ๆ หากชั้นไม่สูงมากก็อาจจะเอาน้ำฉีดทดสอบดูได้ครับ หากทุกอย่างปกติก็แสดงว่าการสั่นไหวที่เกิดขึ้นนั้นไม่มากมายนัก ก็ถือว่าข้อสุดท้ายผ่านครับ


#######แต่ถ้าไม่แน่ใจในรอยร้าวที่เห็นหรือเกิดปัญหามากกว่านี้เช่นดินทรุดเห็นฐานราก เสา คานแตกจะซ่อมยังงัย เอารูปมาลงให้ผมดูครับ ผมจะช่วยวิเคาะห์ให้ครับ#########

+1  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
tong_piyanuch
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 190


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2014, 11:38:52 »

ฝากดูแนวร้าวให้หน่อยค่ะ รบกวนด้วย


* image.jpg (363.52 KB, 960x1280 - ดู 1160 ครั้ง.)

* image.jpg (208.78 KB, 960x1280 - ดู 1157 ครั้ง.)

* image.jpg (285.78 KB, 960x1280 - ดู 1155 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
BeNz-LoDsToNe
เอาที่ สบายใจ ดีต่อใจ ทุกท่าน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,600


-ไม่ฆ่าน้อง-ไม่ฟ้องนาย - ไม่ขายเพื่อน


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2014, 11:47:19 »

จัดไป เยี่ยมมาก
IP : บันทึกการเข้า
warawut35
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 418



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2014, 11:51:03 »

รอยด้านบนอันตรายเหมือนกันนะครับ

ลองดูว่ารอยที่แตกๆมันแตกเฉพาะรอบที่ฉาบปูนภายนอกประมาณ 1.5-2.5 cm. หรือไม่

ถ้าเกินจากนี้แสดงว่าแตกลึกไปถึงโครงสร้างเหล็กเสาอาจจะรับน้ำหนักจากชั้นบนไม่ได้ครับ

ถ้าแตกร้าว 1-2 ต้นยังพอซ่อมแซมได้ครับส่วนผนังก็รื้อก่อฉาบใหม่ได้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2014, 13:19:45 »

ช่วงนี้อย่าเพิ่งทำอะไรกับโครงสร้างนะครับ รอให้ after shock หมดไปก่อน ( แผ่นดินไหวขนาดเล็กๆ ต่อเนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งแรก)

แต่เราจะสังเกตุการณ์รอยร้าวที่เกิดขึ้นแบบเด็ก ป1. โดย


เด็ก ป.๑ เขาตรวจสอบรอยแตก รอยแยก รอยร้าว เบื้องต้นอย่างไร

    เวลาเกิดรอยแตกรอยแยกเล็กๆในบ้านเรา สิ่งที่เราจะต้องรีบจับตามองและ ระวังระไวก็คือ สำรวจว่าเจ้ารอยแตกแยกเหล่านั้นมันลามปามให้รอยแยกมันใหญ่ ขึ้น หรือรอยร้าวมันยาวขึ้นหรือเปล่า พวกเด็กนักเรียนประถมหนึ่ง เขาจะตรวจสอบ โดยการขีดเส้นที่ปลายของรอยแตก แล้วก็ขีดเส้นคาดรอยแยก พร้อมกับจดวันที่เอา ไว้ เมื่อเวลาผ่านไปถ้ารอยแตกมันยาวขึ้น ก็จะเห็นได้ง่ายว่ารอยมันผ่านเส้นที่ขีดเอา ไว้ (ซึ่งเด็กเขาก็อาจจะขีดเส้นไว้อีก แล้วก็จดวันที่เอาไว้อีก เพื่อรอดูพฤติกรรมการ แตกแยกต่อไป)

     ถ้ารอยแยกมันถ่างขึ้น ก็จะสังเกตเห็นได้ง่าย เช่นเดียวกัน ถ้าแยก ออกไม่หยุด ลามออกไปเรื่อยๆ เด็กประถมหนึ่งเขาก็จะต้องรีบไปหานายช่างผู้รู้ หรือ ไปหาวิศวกรเพื่อปรึกษาว่าเขาน่าจะทำอย่างไร เพื่อเขาจะได้มีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย ในการที่จะได้ไปเรียนประถมปีที่ ๒ ครับ 



* 100-296.gif (9.93 KB, 614x445 - ดู 1002 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2014, 13:23:02 »

บางทีความรู้เด็ก ป1 อาจจะไม่เพียงพอครับผมเลยหาเด็ก ป2 มาช่วยท่านตรวจสอบบ้าน

เด็ก ป.๒ เขาตรวจสอบรอยแยกอาคารอย่างไร


บ้านที่มีรอยแยกรอยร้าว บางครั้งก็จะขีดเส้นวัดดูยากเหมือนกัน เพราะ ลักษณะการแตกแยกอาจจะเป็นการเคลื่อนตัวของอาคาร หรือแตกอย่างไม่มีระบบ จนเด็กประถมหนึ่งก็งงเหมือนกัน จึงต้องใช้ความรอบรู้ของเด็กป.๒ เพราะเขาก็จะ ไปซื้อกระจกแผ่นบางๆเล็กๆ (เรียกว่ากระจกสไลด์ สำหรับดูกล้องขยายก็ได้) แล้ว เขาก็เอามาติดกาวอย่างดีที่ริมทั้งสองด้าน เอากระจกนั้นคาบทาบไว้กับรอยที่แตก แยก แล้วเขาก็จดวันที่เอาไว้
 
     หากทิ้งไว้สักหลายวันก็มาดูที่กระจกนั้น หากกระจกยัง ดีอยู่ก็แสดงว่าอาคารไม่มีการทรุดตัว หรือรอยแตกไม่มีการขยายออกไป แต่ถ้าแผ่น กระจกนั้นแตก เด็กประถมสองก็จะทราบว่า อาคารบ้านเขามีการเคลื่อนตัวแตกร้าว ออกไปเรื่อยๆ เขาก็จะวิ่งไปปรึกษานายช่างผู้รู้หรือวิศวกรครับ



* 100-297.gif (7.48 KB, 530x366 - ดู 974 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2014, 13:37:25 »

เรียนพี่ tong_piyanuch

จากรูปที่ส่งมา เหมือนบ้านจะเป็นโครงสร้างบ้าน 2 ชั้นใช่ไหมครับ ไม่ทราบว่าตำแหน่งที่ตั้งอยู่แถวไหนของ ชร ครับ

รูปบ้านพี่ มีสิทธ์ที่โครงสร้างเสาเกิดการวิบัติ จะต้องกระเทาะปูนฉาบที่เสาออกมาดูรอยแตกของเสา และดูโครงสร้างรวมของทั้งบ้าน เพื่อจะได้ออกแบบแก้ไขเสริมความเข็งแกร่งต่อไปครับ

แต่เบื้องต้นก็หาเด็ก ป1 ป2 ทำเครื่องหมายที่รอยแตก ตามที่ผมโพสไว้ก่อนนะครับ

เป็นไปได้ อยากจะขอความร่วมมือวิศวกรของเชียงรายโฟกัส เข้าร่วมในการเข้าไปตรวจสอบให้ผู้ประสบภัยพิบัติด้วยครับ  

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 พฤษภาคม 2014, 16:03:11 โดย civilroom » IP : บันทึกการเข้า
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2014, 13:50:52 »

แนวทางในการ เสริมกำลังโครงสร้าง อาคารหลังจากเหตุแผ่นดินไหว นะครับ

1.เสริมฐานรากอาคาร  ด้วย เสาเข็มไมโครไพล์
2.เสริมเสาอาคาร ด้วยเหล็กรูปพรรณ หรือคาร์บอนไพเบอร์ ซึ่งขึ้นอยู่การคำนวณของวิศวกร
3.เสริมพื้น ด้วยเหล็กรูปพรรณ หรือคาร์บอนไพเบอร์ ซึ่งขึ้นอยู่การคำนวณของวิศวกรเช่นกัน

สู้ๆ ครับทุกท่าน  ผมยื่นอยู่เคียงข้างท่านครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2014, 13:59:26 »

แนวทางการปรับปรุงอาคารออกเป็น 4 ระดับ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงอาคาร ดังนี้ครับ
1) เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน
2) เพื่อให้โครงสร้างอาคารยังคงอยู่ได้
3) เพื่อให้อาคารยังคงใช้งานได้  
4) เพื่อให้โครงสร้างอาคารไม้ได้รับผลกระทบใดๆ เลย

ในทั้งสี่ระดับ การปรับปรุงอาคารที่มีการทำกันมากที่สุดคือ เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน ซึ่งหมายถึงการป้องกันความสูญเสียต่อชีวิต โดยหลักๆ คือการให้มั่นใจว่า อาคารจะไม่พังถล่มลงมาทับผู้อยู่ในอาคารหรือผู้ที่สัญจรผ่านไปมาในบริเวณใกล้เคียง โดยตัวอาคารจะยังคงสามารถตั้งอยู่ได้ให้ผู้ที่อยู่ในอาคารจะสามารถอพยพออกมาได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง อาคารเหล่านี้ อาจไม่สามารถปรับปรุงให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก และอาจต้องรื้อทิ้ง

การปรับปรุงอาคารในระดับต่อมาคือ การปรับปรุงให้โครงสร้างยังคงอยู่ได้ โดยหลักๆ คือการให้โครงสร้างอาคารมีความแข็งแรง ซึ่งเมื่อเกิดความเสียหายจากแรงแผ่นดินไหว ตัวอาคารจะยังคงตั้งอยู่ได้และมีความปลอดภัยพอที่จะให้ผู้อยู่ในอาคารอพยพออกมาได้ และหลังจากนั้น อาจต้องมีการปรับปรุงซ่อมแซมใหญ่ก่อนที่จะสามารถกลับเข้าไปใช้ประโยชน์ได้

การปรับปรุงอาคารอีกระดับหนึ่ง คือการปรับปรุงให้อาคารแข็งแรงในระดับที่จะเกิดความเสียหายต่ออาคารน้อยที่สุดในกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหว โดยอาคารจะยังคงสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งการปรับปรุงอาคารแบบนี้ เป็นการปรับปรุงระดับสูง โดยหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่รุนแรง อาคารจะต้องการการซ่อมแซมเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

การปรับปรุงอาคารระดับสูงสุด คือการปรับปรุงให้แข็งแรงมากพอที่จะไม่ได้รับความเสียหายเลยจากแรงแผ่นดินไหว ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีการปรับปรุงอาคารที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรม

“แน่นอนว่า การปรับปรุงอาคารย่อมมีค่าใช้จ่าย ซึ่งเจ้าของอาคารจะลงทุนปรับปรุงอาคารหรือไม่มากน้อยเพียงใด คงขึ้นอยู่กับว่าต้องการสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยในระดับใด และมีความพร้อมในการลงทุนมากน้อยเพียงใด”

ผมพยายามหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเพื่อหื้อท่านวิศวกรได้เข้าใจการปรับปรุงซ่อมแซมมากขึ้นและจะได้อธิบายแก่เจ้าของบ้านหรือเจ้าของอาคารสาธารณะได้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 พฤษภาคม 2014, 14:01:47 โดย civilroom » IP : บันทึกการเข้า
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 10 พฤษภาคม 2014, 21:41:19 »

อุปกรณ์หาซื้อง่ายๆที่มิวนิคบุ๊คได้เลยครับ กล่องล่ะ 88 บาท ส่วนกาวหากาวที่ติดแน่นๆนะครับ ผมไม่มั่นใจในกาวสองหน้าสักเท่าไหร่

หนังสือเล่มนี้ได้มานานแล้วไม่เคยเปิดอ่านสักที วันนี้ได้ใช้แล้วครับ


* image.jpg (125.15 KB, 720x480 - ดู 532 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 10 พฤษภาคม 2014, 21:43:44 »

วันนี้ไปสำรวจมาสามที่ครับ


* image.jpg (168.52 KB, 720x720 - ดู 531 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
tung 7737
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,801



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 11 พฤษภาคม 2014, 08:02:28 »

ไม่ยากจะเชื่อ ก็ต้องเชื่อว่า เสียหายมากจริงๆ
IP : บันทึกการเข้า

ทำดี ขยัน อดทน ความจนอยู่ได้ไม่นาน
คนขาย น่ะ ..ไม่รีบ แต่คนชื้อ น่ะ..รีบๆหน่อยนะ
กา~ระ~เกด
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,743


ผลแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 11 พฤษภาคม 2014, 08:36:41 »

ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ เป็นกระทู้ที่ดีมากๆเลยคะ
และขอเป็นกำลังใจให้กับ จขกท. และผู้ที่เข้าไปตรวจความเสียหายให้ชาวบ้าน งานอาจจะหนักอาจจะเหนื่อยแต่ก็ สู้ๆ นะคะ  ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า

ในทางพระพุทธศาสนา ไม่มีคำว่าเหตุบังเอิญ ไม่มีคำว่าชีวิตไม่มีความยุติธรรม เพราะกฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ
ผลงานการถ่ายภาพติชมแลกเปลี่ยนด้วยนะคะ
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=380897
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 13 พฤษภาคม 2014, 00:46:46 »

ได้รับมอบหมายหื้อเป็นผู้เชียวชาญ(จำเป็น)ของหมู่บ้านในการออกแบบอาคารโบสถ์คริสตหลังใหม่
จึงได้ไปขุดหนังสือภาษาอังกฤษที่ซื้อมาดองออกมาอ่าน(อ่านบ่าใจ๋ออก ผ่อรูปเอายะ)

เขาบอกว่าสำหรับแปลนอาคารนั้น
1. ควรออกแบบแปลนอาคารที่มีลักษณะสมดุลทั้งแนวกว้างและยาวของอาคาร
2. หลีกเลี่ยงการออกแบบอาคารที่มีลักษณะแปลนรูปตัว L ตัว H  หื้อออกแบบทื่อๆอย่าง สี่เหลี่ยมจัตุรัส ผืนผ้า เป็นต้น
3. หลีกเลียงการออกแบบอาคารที่มีลักษณแปลนแบบกะบังลม(แปลไทยได้จะอี้ คนอ่านได้งงแน่ๆถ้าบ่ามีรูปประกอบ)

เสียใจ !! มีมีรูปแต่เอาลงหื้อดูบ่าได้ บ่าใจ๋เพราะติดลิขสิทธ์ แต่ติดที่เน็ตกาก !!

สรุปว่า หื้อออกแบบทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขัดใจสถาปนิคอย่างแรง
หรือทรง ปิรามิด นั่นและ รังรองแผ่นดินไหวบ่าล่ม

จบข่าว.
IP : บันทึกการเข้า
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 21 พฤษภาคม 2014, 17:14:49 »

เป็นอย่างไรบ้างครับการตรวจสอบอาคาร
หลังจากทราบผลตรวจก็จะได้รับคำแนะนำจากวิศวกรถึงแนวทางการซ่อมแซม

แต่มันก็ยังไม่ถูกใจท่านกันใช่ไหมครับ
ขนาดผมไปตรวจเอง วิธีซ่อมแซมที่ผมคิดขึ้นมาได้ก็ยังไม่ถูกใจตัวเองเลยครับ

วันนี้ผมได้วิธีซ่อมแซมในแบบที่ถูกใจมาได้แล้วครับ หรือเรียกอีกอย่างว่า "การบูรณะ"

อาคารที่ผมไปตรวจเป็นอาคารเก่าแก่อายุร้อยกว่าปีที่ก่อสร้างด้วยระบบ bearing wall
หรืออาคารที่ไม่มีเสาไม่มีคานนั้นล่ะครับ
ในจังหวัดเชียงรายที่เราๆรู้จักกันก็คือก็อาคาร คริสตจักรที่ 1 เวียง ที่เคยมีประเด็นรื้อ-ไม่รื้อมา

แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าอาคารของคริสตจักรสวนดอก มีอายุมากกว่าอาคารของคริสตจักรที่ 1 เชียวนะครับ

วิธีบูรณะอาคารนี้คือเสริมความแข็งแรงทางด้านบนกำแพงตำแหน่งคานอะเสโดยการเทคานคอนกรีตทับหลังเพื่อ lock โครงสร้างไม่ให้ขยับอีก

จากนั้นเราก็ลงมาซ่อมผนังบริเวณที่แตกร้าวด้วยการเย็บเหมือนแม็กซ์กระดาษ
หรือเสริมด้วยแผ่นเหล็กไร้สนิมเย็บ ก็เสร็จแล้ว

การซ่อมแบบนี้ไม่รวมความเสียหายเนื่องจากการทรุดตัวของดินใต้อาคารนั้นๆ
ซึ่งหากเกิดกรณีนี้ขึ้นก็ต้องพิจารณาการซ่อมตามมาตรฐานงานรากต่อไป

เหนื่อยครับแค่หลังเดียวผมก็แทบจะไม่มีเวลาทำแล้ว
นี่เสียหายเป็นหมื่นๆหลัง  และในอนาคตจะต้องมีเหตุการ์ณแผ่นดินไหวอีก

ขอให้คนอื่นๆที่ยังโชคดีไม่ประสบปัญหานี้ วางแผนการใช้ชีวิตในอนาคตกันด้วยนะครับ
ใครยังไม่เคยปลูกบ้าน หากคิดจะปลูก ต้องปลูกอาคารที่สามารถรับมือกับแรงแผ่นดินไหวได้

ใครที่ปลูกแล้ว ต้องอัฟเดทอาคารให้สามารถรับมือกับแรงแผ่นดินไหวให้ได้
ผมจะค้นคว้าหาวิธีการอัฟเดทโครงสร้างเพื่อรับแรงแผ่นดินไหวมาให้ ในเร็วๆนี้นะครับ

ฟรีครับฟรี   ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม   
 
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!