ท่านใดเคยประสพปัญหานี้บ้างครับ อยู่ในเขตอำเภอเมือง ต้องการสร้างบ้าน
แต่การประปา และ การไฟฟ้า แจ้งว่า ท่านไม่อยู่ในเขตขยาย (ตามที่เขาแจ้งเราก็ไม่รู้นะครับ ขยายอะไร)
แล้วต้องการเรียกเก็บเงิน เพื่อเชื่อมต่อ ทั้งน้ำทั้งไฟ เกือบ แสนบาท
แล้ว AEC ที่ท่านประโคมข่าวกัน โครมๆ นะ แค่สาธารณูปโภคพื้นฐานท่านยังทำให้ประชาชนไม่ได้
ท่่านจะไปต้อนรับได้อย่างไรครับ
เขตอำเภอเมืองแท้ๆ จะสร้างบ้านก็ลำบาก ขอชั่วคราวก็แพง จะขอถาวร ก็บอกไม่มีเลขที่บ้าน จะขอเลขที่บ้าน ท่านบอกต้องสร้าง 80เปอร์เซ็นต์ แล้ว 80% ที่จะสร้างมันต้องใช้น้ำใช้ไฟฟ้า ไม่ทราบว่าใครเป็นคนต้นคิดระเบียบแบบนี้ กำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินการร้องกับสื่อนะครับ ใครเจอแบบผมช่วย โพสให้ด้วยครับ
..การสร้างบ้านแม้จะมีที่ตั้งอยู่ในเขตตัวเมือง จะชื่อ อ.เมือง หรือ อ. อื่นๆ
หรือแค่เป็นตำบล ชุมชน ก็คงไม่แตกต่างกัน เพราะระบบไฟฟ้า ประปา มีบริการอยู่ทุกที่
เพียงแต่ ที่แห่งนั้น มีแผนงานอนาคต วางไว้ตามจำนวนงบ(ก่อสร้าง) ที่จะขยายเขต(ภาษาของเขา)
เช่น แถวบ้านท่าน อาจมีแผนงานในอีกห้าปีข้างหน้า แต่ไม่ใช่เข้าซอยบ้านท่าน ก็ต้องรอต่อไป
ต้องการแบบส่วนตัว ที่ว่าเรียกเก็บเงิน(ระวังถูกหาหมิ่นนะคำนี้)..ก็ต้องดูว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง..
(ค่าเสา ค่ายกขน ค่าขุด ค่าแรง ค่าน้ำมัน ค่าสายไฟ ค่าอุปกรณ์..ฯลฯ..) ทำความเข้าใจตรงนี้ก่อน.
เออีซี อันแรกคือการพัฒนาคน(ไทย) ให้มีความรู้ และสื่อสารกับเพื่อนบ้านได้ทุกเรื่อง..
แต่ผมมองว่า..เรายังไม่สื่อสารกันเองระหว่าง.. ชาวบ้าน และ งานบริการของรัฐ..
สาธารณูปโภค เขาก็มีระบบ แผนงาน มีงบรองรับได้แค่ปีละไม่เท่าไร..ดูภาพรวมทั้งประเทศ หรือ
ดูแค่ภายในท้องถิ่นก็คงเข้าใจได้..เช่น เทศบาล มีงบใช้ด้านซ่อมแซมผิวถนน แค่ปีล่ะหลักแสน
แต่มีเนื้องานรวมกัน หลายที่ รวมแล้วเป็นหลักล้าน...เขาก็ต้องให้ตามความเร่งด่วน..
..ขอเอาประสบการณ์มาแนะนำ..
..สร้างบ้านอยู่ในซอยแยกย่อยมาจากถนนดำ(ในชุมชน) เป็นถนนดิน เละเทะหน้าฝน
ก็รอคิว ให้เทศบาลเอางบมาทำให้ ซอยข้างเคียงเขาไม่ลึก เส้นทางสั้นๆ ได้งบสร้างผิวคอนกรีต
ไปสองสามซอยแล้ว ซอยที่เราอยู่ก็รอ รอ ต่อไป เป็นปีที่ ๘ แล้ว เปลี่ยนนายกไปสามยก ก็คงต้องรอ
..มีเสาไฟเล็ก สายไฟฟ้าดำแค่สองเส้น..ขอหม้อชั่วคราว แต่ขอบ้านข้างเคียง(ญาติ) เป็นบ้านอ้างอิงใน
การรับใบแจ้งหนี้..ตอนนี้ก็มีค่าติดตั้ง ค่าประกัน ตามระเบียบของเขา ก็เกือบครึ่งหมื่น..ก็ต้องทำเพราะต้อง
เอาไฟฟ้ามาสร้างบ้าน มาปั๊มน้ำ(ห้วย) และปั๊มน้ำบาดาล(จ้างเขาเจาะ) มาผสมปูน และใช้ซักล้าง
..สร้างบ้านเสร็จ ก็ไปขอเลขที่บ้านจริงๆ แล้วไปคืนหม้อไฟฟ้าชั่วคราว ติดต่อให้มาติดตั้งหม้อไฟฟ้าถาวร ขอแรงไฟให้มีวัตต์สูง รองรับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านให้ได้..
..ในซอย มีบ้านมาสร้างเพิ่มขึ้น การใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ไฟตก ไฟไม่พอ ไฟฟ้าเขามีระบบตรวจสอบ
ก็ต้องรีบโยกงบหรือจัดสรร งบมาขยายเขต ตั้งเสาสูง ไฟสามเส้น มีหม้อแปลงกันไฟตก
รองรับปริมาณบ้านใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้น
..เขาทำตามระบบ และความจำเป็น ขยายแล้ว คนใช้ไฟหลายราย จ่ายรายเดือนได้คืนไปไม่น้อย..
..ส่วนถนน..คนละหน่วยงานกับไฟฟ้า ก็ต้องรอ และ รอต่อไป..
..การประปา เช่นกัน น้ำไปตามท่อ ตามถนนดำ ไม่พอ ต้องมีแรงดันในท่อให้ไปถึงผู้ใช้ โดยมากบ้าน
ที่อยู่ริมถนนจะได้รับประโยชน์ แม้จะเสียค่าเชื่อมต่อไม่มาก แต่จ่ายรายเดือนทุกเดือน ก็คงมากอยู่
..ท่อเมน จะแยกเข้าซอย ก็คล้ายกับเสาไฟฟ้า ถ้าในซอยมีแต่คนใช้บาดาล ไม่อยากได้ หน่วยงาน
ไหนจะผันงบมาเดินท่อให้สูญเปล่า..ยิ่งซอยถนนดินไม่ต้องพูดถึง ฝังท่อเสร็จ งบทำถนนคอนกรีตมา
ขุดให้ท่อหักพังอีก..จึงไม่มีความเร่งด่วน..บ้านในซอย ไม่ต้องคอย หาขุดเจาะบาดาลใช้ดีกว่า
(บ้านผมจึงมีระบบน้ำไว้รองรับ ๖ ระบบ ๑ บาดาล ๒น้ำฟ้า ๓น้ำบ่อ ๔น้ำคลอง ๕น้ำประปา
และสุดท้ายเมื่อ ๕ ระบบแรกล้มเหลวหมด ก็คือ ๖น้ำซื้อจากบรรทุกรถน้ำมาเทลงถังพัก)
..เรื่องการร้องเรียน ต้องมีเหตุผล มีหลักเกณฑ์ มีลำดับขั้นตอน มีกติกา มีปัญหาที่หน่วยงานไม่ทำตาม
กฎกติกา หรือ ไม่ทำตามหน้าที่่...แต่ที่ท่านว่ามาแต่แรก..ยังมองไม่ออกว่าตรงไหนที่เป็น ปัญหา..?
มีแต่..นึกว่า คิดว่า คิดเอาเองว่า ..เขาไม่ทำให้..แค่นั้นหรือครับ...
.ทำความเข้าใจ ในปัญหา และหาคำตอบให้ได้ บางอย่างมันติดขัดจริงๆ เช่น รอสร้างถนนในซอย
ก็เขาไม่มีงบเพียงพอ ก็ต้องรอให้เขาทำแบบปีละช่วงๆ ก็ยังดี..ได้คำตอบแล้ว อาจทำใจ รอคอยต่อไป
..แต่ ใจร้อน คิดจะไปร้องเรียนนำลงสื่อ สื่อก็ต้องมีบรรณาธิการ กลั่นกรอง พิจารณาก่อนเช่นกันว่า
สมควรนำออกอากาศไหม.?..ไม่งั้นออกอากาศไปผิด ๆ กลายเป็นการหมิ่นประมาท..
(..สรุปแล้ว ช่วยตัวเองให้พออยู่ได้ก่อน..พอใจในสิ่งที่มีอยู่ คงมีสุขแล้ว..)
..ให้ความเห็น และช่วยดัน เผื่อจะได้อานิสงฆ์ เรื่องการ ผันงบทำถนนมาเร็วขึ้นบ้าง..