เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 16 มิถุนายน 2024, 04:10:34
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  อยากรู้เรื่องกฏหมายมังรายศาสตร์แบบละเอียดๆ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน อยากรู้เรื่องกฏหมายมังรายศาสตร์แบบละเอียดๆ  (อ่าน 6713 ครั้ง)
ILoVePaNgYa
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 973


« เมื่อ: วันที่ 15 กันยายน 2010, 22:18:56 »

อยากขอข้อมมูลเกี่ยวกับกฏหมายมังรายศาสตร์ แบบละเอียด เพื่อจะเอาไปทำรายงานเปรัยบเทียบกับกฏหมายตราสามดวงครับ
IP : บันทึกการเข้า

ไม่หล่อแต่จน....
ILoVePaNgYa
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 973


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 16 กันยายน 2010, 20:07:22 »

มีท่านผู้ใดพอจะทราบบ้างไหมครับ...กรุณาบอกด้วยครับ...ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า

ไม่หล่อแต่จน....
demonza
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 224


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 16 กันยายน 2010, 20:19:00 »

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7363abfb7649d06

นี่เป็นข้อมูลเบื้องต้นของกฏหมายมังรายศาสตร์

มีวิทยานิพนธ์ของ ม.ธรรมศาสตร์ เล่มหนึ่ง คนเขียนชื่อ ปภัสสร เธียรปัญญา  ทำดุษฎีนิพนธ์เรื่อง จักรวาลวิทยาสยาม อำนาจและการเมืองในกฏหมายตราสามดวง

ถ้าเป็นบุคคลที่ศึกษาเรื่องกฏหมายตราสามดวงแบบนักวรรณคดี ให้ลองโทรไปที่คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร นครปฐม  ท่านอาจารย์ภาควิชาภาษาไทยที่นั่น ศึกษาเรื่องนี้หลายท่าน รวมทั้งกฏหมายมังรายศาสตร์ด้วย รวมทั้งอาจให้ข้อคิดในการศึกษาเปรียบเทียบกับคุณ เพราะมีอาจารย์ที่จบวรรณคดีเปรียบเทียบจากจุฬาโดยตรง2ท่าน
IP : บันทึกการเข้า
ILoVePaNgYa
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 973


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2010, 07:02:37 »

ขอบพระคุณมากๆครับที่กรุณา...ให้ความกระจ่าง
ขอบคุณอีกครั้งครับ...
IP : บันทึกการเข้า

ไม่หล่อแต่จน....
demonza
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 224


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2010, 17:57:11 »

ไม่เป็นไรครับ  ผมเองเคยเรียนที่นั่น ผมเลยรู้ว่าใครมีความสามารถด้านไหน
แต่ผมมองกฏหมายตราสามดวงในฐานะวรรณคดีเล่มหนึ่ง
กฏหมายมังรายศาสตร์ก็เช่นกัน
คุณเป็นนักกฏหมายกระมัง?? จึงศึกษาเปรียบเทียบกฏหมายทั้ง2ฉบับ
จริงๆแล้วควรจะศึกษา กฏหมายพระมนูมานนวศาสตร์ด้วยครับเพราะมันคือที่มาของกฏหมายตราสามดวงที่เขียนในรัชกาลที่1 รายงานของคุณท่าทางจะน่าอ่าน  ถ้าทำเป็นวิทยานิพนธ์ป.โท ได้ก็แจ๋วเลย
IP : บันทึกการเข้า
ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,466



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2010, 19:12:38 »

รอคนต่อไปมาตอบนะครับ
ละอ่อนไม่มีความรู้เรื่องนี้ (เรียนมาน้อย)  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

..............
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2010, 23:22:58 »

มังรายศาสตร์

มังรายศาสตร์ หรือ กฎหมายพระยามังราย เป็นกฎหมายเก่าแก่ที่สุด แห่งอาณาจักรล้านนา เป็นกฎหมายที่พัฒนาขึ้นมาจากระเบียบแบบแผน ขนบธรรมเนียมท้องถิ่นศาสนาและจารีตประเพณีที่สั่งสมกันมาจนเป็นระบบ มีการแบ่งหมวดหมู่และลักษณะเด่น ในด้านหลักความคิดทางกฎหมายใกล้เคียงกับความคิดของกฎหมายสากลอื่น ๆ เมื่อเป็นกฎหมายที่พัฒนาขึ้นมาจากจารีตประเพณี จึงสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชนล้านนาเป็นอย่างดี

มังรายศาสตร์นี้เป็นที่ยอมรับกันอยู่โดยทั่วไปแล้วว่าเป็นกฎหมายเก่าแก่ที่สุดแห่งอาณาจักรล้านนา ซึ่งกษัตริย์ล้านนาได้ใช้กฎหมายฉบับนี้ปกครองบ้านเมืองมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 700 ปี นับตั้งแต่พระญามังรายได้ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1839 เป็นต้นมา

อาจกล่าวโดยสรุปถึง ข้อบทกฎหมายในมังรายศาสตร์ ได้ดังนี้

หมวดที่ว่าด้วยการปกครอง

การบังคับบัญชาตามลำดับขั้น

สายการบังคับบัญชา ได้กำหนดจำนวนอัตราขั้นต่ำขึ้นไปตามลำดับ ดังนี้

ไพร่ 10 คน ให้อยู่ในการบังคับบัญชาของนายสิบ 1 นาย

นายสิบ 2 นาย ให้อยู่ในการบังคับบัญชาของนายห้าสิบ 1 นาย

นายห้าสิบ 2 นาย ให้อยู่ในการบังคับบัญชาของนายร้อย 1 นาย

นายร้อย 10 นาย ให้อยู่ในการบังคับบัญชาของเจ้าพัน 1 นาย

เจ้าพัน 10 นาย ให้อยู่ในการบังคับบัญชาของเจ้าหมื่น 1 นาย

เจ้าหมื่น 10 นาย ให้อยู่ในการบังคับบัญชาของเจ้าแสน 1 นาย

หมวดที่ว่าด้วยการศึกสงคราม

เมื่อบ้านเมืองมีศึกสงคราม กฎหมายได้ระบุโทษของการหลบหนีจากงานศึก ดังนี้

ไพร่ หลบหนีจากผู้บังคับบัญชาคือนายสิบ เมื่อจับไพร่ได้ ให้ประหารชีวิตเสีย

นายสิบ หลบหนีจากนายห้าสิบ ให้ประหารชีวิตนายสิบเสีย

นายห้าสิบ หลบหนีจากนายร้อย ให้ประหารชีวิตนายห้าสิบเสีย

นายร้อย หลบหนีจากเจ้าพัน ให้ประหารชีวิตนายร้อยเสีย

เจ้าพัน หลบจากเจ้าหมื่น ให้ประหารชีวิตเจ้าพันเสีย

เจ้าหมื่น หลบหนีจากเจ้าแสน ให้ประหารชีวิตเจ้าหมื่นเสีย

เจ้าแสน หลบหนีจากพระเจ้าแผ่นดิน ให้ประหารชีวิตเจ้าแสนเสีย

นอกจากนั้นยังให้ริบทรัพย์ทั้งหมด ให้ประหารชีวิตเจ้าแสนเสียเพราะไม่ซื่อสัตย์ เจ้านายไม่รับเลี้ยง เป็นการประจานให้อับอาย และเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่คนทั้งหลาย ในทางกลับกัน หากผู้เป็นนาย หลบหนีละทิ้งผู้ใต้บังคับบัญชาในสมรภูมิเช่นนี้ ก็ให้ประหารชีวิตนายผู้หลบหนีผู้นั้นเสียเช่นกัน แต่หากผู้นั้นมีคุณความดีมากมาก่อน ก็สมควรลดโทษให้ โดยการสักที่หน้าผากแล้วปล่อยตัวไป ไม่ประหารการประจานเช่นนี้ร้ายกว่าตายเสียอีก

การปูนบำเหน็จรางวัล

หากทหารผู้ใดมีความกล้าหาญ เป็นที่ประจักษ์และเสียชีวิตในสมรภูมิ ให้รับอุปการะบุตรภรรยาเพื่อสืบเชื้อสายของทหารหาญผู้นั้น หากทหารผู้ใดได้ทำความชอบในการรบ ได้ตัดศรีษะข้าศึกที่มีตำแหน่งสูงกว่าตนขึ้นไป ก็ให้ดำรงตำแหน่งสูงนั้นพร้อมทั้งพระราชทานภรรยา เครื่องประกอบยศ และเครื่องประดับทองคำเป็นรางวัล สำหรับผู้ที่ทำความชอบ หากทหารผู้ใดไม่ได้ศรีษะเข้าศึกมา แต่กล้าหาญในการรบเป็นที่ประจักษ์ ก็พระราชทานรางวัลและตำแหน่ง ยศ บรรดาศักดิ์ เช่นกัน

มรดกเสนาอำมาตย์

หากเสนาอำมาตย์ผู้ใดประพฤติดีทำคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง ได้ถึงแก่กรรมไปในขณะปฏิบัติราชการอยู่นั้น ให้แบ่งปันมรดกตามคำสั่งของผู้ตาย หากไม่ได้สั่งความไว้ ให้แบ่งทรัพย์สินของผู้ตายเข้าคลังหลวงครึ่งหนึ่ง ไว้ให้แก่บุตรภรรยาครึ่งหนี่ง ทายาทของผู้ตายไม่ว่าหญิงหรือชาย พระเจ้าแผ่นดินรับชุบเลี้ยงเพราะเป็นเชื้อสายของคนดี แม้ทำผิด 2-3 ครั้ง ก็ไม่ควรประหารชีวิต ให้เห็นแก่ความดีของบรรพบุรุษ ให้ว่ากล่าวตักเตือน หากโทษหนักไม่อาจสั่งสอนได้ ก็ให้ลงโทษตามความผิดนั้น ๆ ได้

การผลัดเปลี่ยนเข้ารับราชการทหาร

กำหนดให้ไพร่มีการผลัดเปลี่ยนการเข้ารับราชการทหารเพื่อให้ได้อยู่บ้านทำมาหาเลี้ยงชีพ โดยกำหนดไว้ว่า ช่วงเวลา 10 วัน ให้มีโอกาสทำงานของตน

หมวดที่ว่าด้วยการเก็บภาษี

เมื่อมีผู้ไปกู้เงินมาลงทุน เจ้าของเงินจะเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ต่อเมื่อครบกำหนด 3 ปีไปแล้ว ผู้ใดขยันทำให้ที่ดินว่างเปล่าเป็นประโยชน์ ควรให้ทำต่อไปจนครบ 3 ปีแล้วจึงเก็บภาษี ผู้ใดสร้างบ้าน สวน นา ครบ 3 ปีแล้ว จึงควรเรียกเก็บภาษี

การแย่งชิงที่ดิน

หากมีผู้ใดใช้อำนาจเงิน จ้างวานจ้าหน้าที่ที่เป็นพนักงานที่ดินดำเนินการแย่งชิงเอาที่ดินจากผู้บุกเบิกแต่ดั้งเดิม กฎหมายนี้กำหนดว่าอย่าให้ที่ดินนั้นแก่ผู้ชิง เปรียบผู้ชิงคือคนบาป อย่าให้คนเช่นนี้มีอิทธิพลมาก เพราะคนดีจะหมดกำลังใจในการสร้างบ้านเมือง บ้านเมืองก็จะเสื่อมทรามไปในที่สุด

หมวดที่ว่าด้วยการกำหนดลักษณะไพร่และข้า

ห้ามผู้ที่เป็นขุนนางนำไพร่ (คนที่เป็นไท) มาเป็นข้า (ทาส)

รับใช้ โดยเฉพาะไพร่ 4 ลักษณะ ดังนี้

•  ผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว

•  ผู้ที่มีคดีติดตัว

•  ผู้ประพฤติตัวเป็นโจร

•  ผู้ที่ละทิ้งหน้าที่ราชการ

ผู้ใดเป็นไพร่แต่เอาตัวไม่รอด ได้เข้าไปเป็นข้ารับใช้ขุนนาง เมื่อพ่อแม่ตายลง ควรแบ่ทรัพย์สินให้เท่าที่ผู้ตายสั่งไว้ ถ้าไม่ได้สั่งก็ไม่ควรให้ เพราะเขาเอาตัวไม่รอด ซ้ำจะพาพี่น้องได้รับความลำบากไปด้วย

สถานภาพของไพร่และข้า

หากข้าหรือทาสแต่งงานมีลูกกับไพร่ กฎหมายกำหนดว่าลูกที่เกิดมานั้น ดำรงสถานภาพเป็นไพร่ แม้พ่อหรือแม่จะเป็นข้าก็ตาม เพราะไพร่พลเมืองหายาก

ลักษณะขุนนาง

กฎหมายนี้บ่งว่าในโลกนี้มีขุนนาง 2 ลักษณะ คือ

•  ขุนธรรม คือ ขุนนางผู้ที่ประกอบด้วยสังคหวัตถุ 4

•  ขุนมาร คือ ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยสังคหวัตถุ 4

กฎหมายไม่ให้สนับสนุนขุนมาร และเปรียบเสมือนต้นพืชที่เป็นยาพิษเกิดขึ้นกลางเมือง หากมีลูกมีหลานก็จะทำลาย ทำร้ายบ้านเมือง ควรเอาแบบอย่างขุนธรรม

หมวดที่ว่าด้วยการงดโทษและลงโทษกรณีต่าง ๆ

ผู้ใดฆ่าผู้กระทำผิด กฎหมายนี้ให้งดโทษ โดยเฉพาะผู้กระทำผิดในกรณีต่อไปนี้

•  สามีฆ่าภรรยาและชู้

•  เจ้าทรัพย์ฆ่าผู้ลักทรัพย์ขณะทำการ

•  เจ้าของบ้านฆ่าผู้ถืออาวุธจะเข้ามาฆ่าตนในบ้าน

•  เจ้าของบ้านฆ่าผู้บุกรุกในยามวิกาล

•  เจ้าของบ้านฆ่าผู้ที่กำลังขว้างปาหรือทำลายบ้านเรือน แต่หากจับมัดและฆ่า ผู้ฆ่านั้นต้องได้รับโทษ

เมื่อมีการจับกุมผู้ต้องหา ไม่ว่าโทษหนักหรือเบา ผู้ร้ายกลับถืออาวุธต่อสู้หรือหลบหนีไป ผู้ใดได้ฆ่าคนร้ายตาย กรณีนี้ไม่ถือว่าผู้ฆ่ากระทำผิด

หากผู้ร้ายยอมจำนนแล้วแต่วิ่งหนีไปโดยไม่มีอาวุธ เมื่อจับได้ไปผูกมัดไว้ อย่าฆ่า ผู้ใดฆ่า ถือว่าผู้นั้นมีความผิด หากจับกุมผูกมัดผู้ร้ายไว้แล้ว ไม่นำตัวมาให้เจ้าขุนพิจารณา แต่กลับฆ่าผู้ร้ายนั้น ผู้ฆ่ามีความผิด

ลักษณะโทษที่ผู้กระทำต้องงถูกประหารชีวิต

•  ได้ฆ่าผู้ที่ไม่มีโทษ ไม่มีความผิด •  ล่อลวงผู้อื่นไปฆ่าเพื่อชิงทรัพย์ •  ทำลายศาสนสมบัติ •  ดักทำร้ายผู้อื่นขณะเดินทาง

•  จี้ ปล้น ผู้อื่น •  ลักสิ่งของมีค่าของท้าวพระญามาไว้ในเรือนตน •  ลักขโมยทรัพย์สินของพระสงฆ์ •  ฆ่าพระสงฆ์

•  ลูกฆ่าพ่อแม่ •  น้องฆ่าพี่ •  ข้าฆ่านาย •  ภรรยาฆ่าสามี

ทั้ง 12 ข้อ ถือเป็นโทษหนัก

การตัดสินคดีความโทษหนัก มี 3 สถาน

•  ประหารชีวิต

•  ตัดอวัยวะ

•  ขายเป็นทาสที่เมืองอื่น

ผู้ที่จะพิจารณาตัดสินคดีให้คำนึงถึงเหตุ 4 ประการ

•  พิจารณาดูสถานภาพของทรัพย์สินว่ามากน้อย ดีเลว เพียงใด

•  พิจารณาดูน้ำหนักถ้อยคำว่าหนักเบาเพียงใด

•  พิจารณาดูเวลาที่เสียทรัพย์สินนั้น หากสูญเสียเมื่อราคาถูก หากสูญเสียขณะราคาแพง ก็พิจารณาตัดสินความเวลาของแพง

•  พิจารณาการทะเลาะวิวาทว่าใช้เวลามากหรือน้อยอย่างไร เกิดขึ้นเวลาใด เช้าหรือค่ำ

การตัดสินคดีให้ยึดถือปฏิบัติตามผู้รู้ทั้งหลาย และยกตัวอย่างการตัดสินคดีของตุลาการ ผู้มีวิจารณ์ญาณว่าจะไตร่ตรองดูฐานะทั้ง 5 คือ สิ่งของ เวลา สถานที่ ราคา และการชดใช้แล้วจึงจะตัดสิน

อ้างอิง

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=20b647e846d346e9

ชัปนะ ปิ่นเงิน, การปริวรรตและวิเคราะห์เนื้อหากฎหมายมังรายศาสตร์ฉบับวัดแม่คือ. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551

นิภาพรรณ ไชยมงคล, นิติปรัชญาในมังรายศาสตร์. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2531

ประเสริฐ ณ นคร ผู้ปริวรรต, มังรายศาสตร์ : ฉบับเชียงหมั้น : ต้นฉบับวัดเชียงหมั้น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ วิทยาลัยครูเชียงใหม่, 2528

ประเสริฐ ณ นคร ผู้ปริวรรต, มังรายศาสตร์ (ฉบับนอตอง). เชียงใหม่ : วิทยาลัยครูเชียงใหม่, 2524

พิธินัย ไชยแสงสุขกุล, กฎหมายครอบครัว : เปรียบเทียบกฎหมายมังรายศาสตร์กับกฎหมายตรา 3 ดวง. กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2528

มังรายศาสตร์ : ภาคปริวรรต. (พิมพ์ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2526

ศรีธน คำแปง ปริวรรต, มังรายศาสตร์ : ฉบับวัดไชยสถาน : ต้นฉบับวัดไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูเชียงใหม่, 2529

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว ผู้ปริวรรต, มังรายธรรมศาสตร์. เชียงใหม่ : [ม.ป.พ.], 2526




* 05.jpg (27.91 KB, 400x300 - ดู 4163 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 18 กันยายน 2010, 19:59:57 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2010, 23:28:35 »

ไม่ทราบว่าคุณเจ้าของกระทู้พำนักอยู่ที่ใด ณ ขณะนี้ครับ
จะได้แนะนำแหล่งข้อมูลที่สะดวกให้
เพราะ ถ้าอยู่เมืองเชียงใหม่นี่คงจะหาข้อมูลง่ายหน่อย
แต่ถ้าอยู่เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน เมืองแม่สาย เมืองแม่จัน
เมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองพาน หรือเมืองอื่นๆ
หรือจังหวัดอื่นๆ อาจต้องคุยกันยาวน่อ
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2010, 23:31:43 »

กฎหมาย "อาณาจักรหลักคำ" ของเมืองน่าน ก็น่าสนใจนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 กันยายน 2010, 23:36:14 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
~KT 2 U~
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,601


♥ แม่ค้าออนไลน์ ผู้ซึ่งเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ♥


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2010, 23:52:56 »

 ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ
IP : บันทึกการเข้า

ILoVePaNgYa
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 973


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2010, 01:10:47 »

ไม่ทราบว่าคุณเจ้าของกระทู้พำนักอยู่ที่ใด ณ ขณะนี้ครับ
จะได้แนะนำแหล่งข้อมูลที่สะดวกให้
เพราะ ถ้าอยู่เมืองเชียงใหม่นี่คงจะหาข้อมูลง่ายหน่อย
แต่ถ้าอยู่เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน เมืองแม่สาย เมืองแม่จัน
เมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองพาน หรือเมืองอื่นๆ
หรือจังหวัดอื่นๆ อาจต้องคุยกันยาวน่อ


ตอนนี้เรียนอยู่ที่ มน.พิดโลกครับ
IP : บันทึกการเข้า

ไม่หล่อแต่จน....
ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,466



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2010, 07:20:49 »

สุดยอดเลยท่านเชียงรายพันธุ์แท้
IP : บันทึกการเข้า

..............
demonza
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 224


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2010, 10:25:00 »

          เจ้าของกระทู้ เรียนที่มหาวิทยาลัยนเรศวร  เมืองสองแควพระพิษณุโลก
ก็เหมาะเจาะเลยครับ อาจารย์ภาควิชาภาษาไทยที่คณะมนุษยก็ให้คำปรึกษาได้
หรือจะขอข้อมูลของอาจารย์ที่ม.ศิลปากรจากอาจารย์ที่นั่นก็ได้ครับ
     
           ท่านคณบดี คณะอักษรศาสตร์คนปัจจุบันของม.ศิลปากรท่านก็ไปตรวจงานประเมินภายในของ ม.นเรศวรเมื่อปีก่อน
            รวมทั้งมีอาจารย์ในภาคภาษาไทยของม.นเรศวรจบ ป.เอกจากศิลปากร จำชื่อท่านไม่ได้ครับ
            ตามความเห็นของผม โทรไปคุยกับผู้รู้ดีกว่า หรือลงไปสนทนากันเลย ขอคำแนะนำ
            ตอนนี้รถไฟฟรีนี่ครับ คริๆ แต่มันมีเฉพาะกลางวัน ไม่ทันกาล
            ผมแนะนำให้นั่งรถเร็วที่ออกจากพิษณุโลกตอนสักเที่ยงคืน จะถึงหัวลำโพงตอนเช้า
แล้วต่อรถไฟขบวนที่261 กรุงเทพ-หัวหิน  รถจะไปจอดหน้าพระราชวังสนามจันทร์เลย
แล้วเดินไปที่คณะอักษรศาสตร์ เข้าไปหาอาจารย์เลยครับ
             อิอิอิอิอิ
IP : บันทึกการเข้า
ILoVePaNgYa
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 973


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2010, 13:55:47 »

ขอขอบพระคุณทุกๆท่านมากครับ..ที่กรุณาให้ความแนะนำที่ดีกับผมครับ
ขอขอบพระคุณอีกครั้งครับ...ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า

ไม่หล่อแต่จน....
ILoVePaNgYa
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 973


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 28 กันยายน 2010, 18:36:32 »

ตอนนี้เริ่มทำแล้วครับ เพราะอาทิตย์หน้าต้องส่งแล้ว ขอบคุณสำหรับข้อมมูลนะครับ

ตอนนี้ผมเจอหนังสือเล่มนึงชื่อหนังสือ มังรายศาสตร์ฉบับเชียงมั่น
IP : บันทึกการเข้า

ไม่หล่อแต่จน....
taekeuk_poomse
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 28 กันยายน 2010, 19:36:00 »

กฏหมายอาณาจักรหลักคำเมืองน่าน เปิ้นได้ปริวรรตมาจากตั๋วเมืองเรียบร้อยแล้ว
พระราชกถาสมเด็จพระเชษฐบรมราชาอนันตยศวรราชเจ้า องค์เป็นอิสสราธิบัตติองค์ เป็นเจ้าแก่รัฐประชาในไชยนันทเทพบุรีนครราชธานีนครเมืองน่าน มีพระราชกรุณาแก่มหาขัตติยราชวงษาและท้าวพญาราชเสวกาผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งมวล ว่าโบราณราชวรปิตตุจฉาองค์เป็นน้าได้เสวยราชสมบัติ เป็นเจ้าแก่รัฐประชามาช้านาน ก็เป็นเถิงแก่กรรมนำตนไปสู่โลกภายหน้า ละสถานบ้านช่องบ้านเมืองและเราท่านทั้งหลายเสียแล้ว ครั้นอยู่มาเถิงจุลศักราช ๑๒๑๔ ตัว เดือนเจ็ด ออกสามค่ำ ตัวเราจึงได้พาเอาขัตติยราชวงษาและขุนเสนาอำมาตย์ล่องลงไปเฝ้าพระมหากษัตริย์เจ้า ณ กรุงเทพมหานคร แล้วจึงมีพระมหากรุณาโปรดเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม หื้อตัวเราได้เป็นเจ้าได้เสวยราชสมบัติสืบราชตระกูลวงษาเป็นเจ้าแผ่นดินในเมืองนานรักษาราชตระกูลวงษารัฐประชานครสถานบ้านเมือง และวรพุทธ-ศาสนา ให้การกุ่งรุ่งเรืองให้อยู่เย็นเป็นสุขสืบต่อไปภายหน้า ตามดังโบราณประเพณีอันมีมาแต่ก่อนนั้น โปรดประการนี้ บัดนี้เราเป็นเจ้ามารำพึงเล็งหันวรพุทธศาสนานครสถานบ้านเมืองแห่งเราทั้งหลาย ทุกวันมานี้ หนภายนอก มีเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยทั้งหลาย ผู้บ่ดีสมคบกับด้วยกันกระทำเป็นโจรกรรมอันบ่ดี ไปลักเอาวัวควายของท่าน ลักทางเหนือเอาไว้ทางใต้ ลักทางใต้เอาไปไว้ทางเหนือ ลักทางวันตกเอาไปไว้วันออก ลักทางวันออกเอาไปไว้วันตก แลเอาของท่านไปซุ่มซ่อนไว้ ปาดหูตัดเขาเหมียด๑หมาย เสียใหม่ เพื่อจักหื้อของท่านสาปสูญแล้วเอาเป็นของตัว อนึ่งไปซื้อเอามาฆ่ากิน อนึ่งสมคบกันเล่นแท่นเล่นเบี้ยเล่นหมากแกวเล่นพนันขันต่อกัน เอาสรรพสิ่งของเงินทองกัน ลวดเป็นหนี้เป็นสินกับด้วยกันหาสง๒ จะใช้แทนบ่ได้ ลวดสมคบกันเป็นโจรไปลักเอาสิ่งของแห่งท่าน อนึ่งด้วยผู้คนทั้ง หลายก็ดี อันเป็นร้าง๓ เป็นบ่าว๔ ก็ดี แอ่ว๕ ค่ำมาคืน แอ่วร้างจา๖ สาว ถือศาสตราอาวุธกระทำตัวแปลกปลอม บ่หื้อรู้บ่ฮื้อหันหน้า บ่หื้อรู้จักว่าเป็นผู้ร้ายผู้ดี ในกรรมทั้งหลายฝูงนี้จักพาให้บ้านเมืองวินาศฉิบหายและร้อนรนแก่รัฐประชาบ้านเมืองต่อๆ ไปมีเป็นหลายประการต่างๆ เหตุนั้นเราเป็นเจ้าจึงปงพระราชอาญาไว้แก่เจ้าพระยามหาอุปราชาหอหน้า หื้อหาเจ้านายพี่น้องขัตติยราชวงษาแลลูกหลาน ท้าวพญาเสนาอามาตย์ผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งมวลมาพร้อมกัน ปรึกษาพิจารณาแลตั้งพระราชอาชญาเป็นราชอาณาจักรกดขี่สั่งสอนบาปบุคคลผู้บ่ดี อย่าหื้อเป็นเสี้ยนหนามแก่แผ่นดิน ร้อนรนแก่บ้านเมืองแห่งเราแลรัฐประชาต่อๆ ไป เพื่อให้วรพุทธศาสนาแลบ้านเมืองแห่งเรานี้หื้อได้อยู่เย็นเป็นสุขพึ่งด้วยเดชบุญคุณแห่งเราทั้งหลายสืบต่อไป ว่าฉะนี้ ครั้น อยู่มาเถิงจุลศักราชเดียวนี้ เดือนเจียงแรม ๑๐ ค่ำ เจ้ามหาอุปราชาหอหน้า จึงได้หาเอาเจ้านายพี่น้องขัตติยราชวงษาลูกหลาน แลท้าวพญาเสนาอามาตย์ขึ้นปรึกษาพร้อมกันยังโรงไชย เจ้าพระยาหอหน้าปรึกษากันพิจารณาด้วยอันจักตั้งพระราชอาณาจักรนั้นตกลงแล้ว ครั้นเถิงเดือนยี่ออก ๑ ค่ำ มีเจ้าพระยาอุปราชาหอหน้าเป็นประธาน และเจ้าพระยาราชบุตร เจ้าพระยาศรีสองเมือง เจ้าพระยาสุริยพงษ์ เจ้าพระยาวังซ้าย เจ้าพระยาวังขวา เจ้าพระยาอริยวงษา เจ้าพระยาเทิง เจ้าพระยาเมืองราชา เจ้าพระเมืองแก้ว เจ้าพระเมืองน้อย เจ้าพระวิไชยราชา เจ้าเมืองเชียงแขง เจ้าเมืองเชียงของ เจ้าเมืองเลน เจ้าราชวงษ์เมืองเลน เจ้าเมืองหลวง เจ้าเมืองเชียงลาบ เจ้าเมืองภูคา เจ้าเมืองล้ำ แลขัติยราชวงษา ท้าวพญาเสนาอามาตย์ราชเสวกผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งมวลพร้อมกันเอาเนื้อความปรึกษาตั้งราชอาชญานั้นขึ้นกราบหลอง๗ เถิงราชสำนักเราเป็นเจ้าแล้ว จึงได้พร้อมกันตั้งพระราชอาชญาไว้หื้อเป็นอาณาจักรหลักคำ ไว้สั่งสอนห้ามปรามเจ้านายท้าวขุนลูกหลานไพร่ไทยทั้งหลายอย่ากระทำกรรมอันบ่ดีสืบต่อไปภายหน้าว่าตั้งแต่ศักราช ๑๒๑๔ ตัวปีเต่าไจ้เดือนยี่ ออก ๑ ค่ำ วันพุธนี้ไป ภายหน้าห้ามอย่าหื้อเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยทั้งหลายได้สมคบกันกระทำกรรมบ่ดี เป็นโจรลักเอาทรัพย์สิ่งของเงินทองแลช้างวัวควายของท่านไปฆ่ากินก็ดี ลักเอาไปขายเสียก็ดี ลักเอาไป เหมียดหมายเสียใหม่ก็ดี อนึ่งซื้อเอามาฆ่ากินก็ดี ผู้จักขายก็รู้ว่าท่านจักเอามาฆ่ากินแล้วป้อย๘ ขายหื้อก็ดีในกรรมทั้งหลายมวลฝูงนี้อย่าหื้อได้กระทำเป็นอันขาด คันว่า๙ บุคคลผู้ใด ไปลักเอาควายท่านมาฆ่ากินจักเอาตัวใส่ราชวัตร๑๐ ไวแล้วหื้อใช้ค่าควายตามราคา แล้วจักเอาตัวไปฆ่าเสีย บ่หื้อเป็นเสี้ยนหนามแก่แผ่นดินต่อไป คันว่าลักเอาควายท่านขายเสียก็ดี ลักเอาไปตัดเขาปาดหูเหมียดหมายเสียใหม่ก็ดี โทษเสมอกัน จักเอาตัวเข้าใส่ราชวัตรไว้ คันว่าได้ของเก่าคืน หื้อไหม ๔ ตัวควาย คันว่าบ่ได้ของเก่าคืนฮื้อใช้ ๑ ไหม ๔ ตัวควาย ค่าควายพู่แม่ดำพอนใหญ่น้อยถือว่าค่า ๒๐๐ ดอก๑๑ คันเป็นว่าเจ้านายหื้อ คารวะอาชญา๑๒ ยากต่อกึ่ง๑๓ คันเป็นท้าวขุนหื้อใส่สินค่าคอ ๔๔๐ ดอก คันเป็นไพร่หื้อใส่สินค่าคอ ๓๓๐ ยากต่อกึ่ง อนึ่ง ตัวหากลักฆ่าควายตัวก็ดี ไปซื้อควายเปิ้นมาฆ่ากิน ผู้ขายก็รู่ว่าท่านจักเอาไปฆ่ากินแล้วป้อยขายหื้อก็ดี ถือโทษเสมอกัน คันว่ารู้แล้วจักเอาตัวใส่ราชวัตรไว้ คันเป็นเจ้านายหื้อใส่สินค่าคอ๑๔ ๔๔๐ ดอก ยากต่อกึ่ง คันเป็นไพร่หื้อใส่สินคอ ๓๓๐ ดอก ยากต่อกึ่ง อนึ่ง จักปริกรรมผีเทพดาอาลักษณ์นั้น คันว่าในราชสำนักในเวียงหื้อไหว้สา๑๕ คันเป็นหน้าบ้านหื้อปฏิบัติเถิงสนามก่อน คันว่าหัวเมืองนอก หื้อบอกเถิงพ่อเมือง หื้อได้รู้ก่อนคันบ่บอกหื้อรู้ ถือว่าเป็นโจรลักกินควาย คันได้รู้แล้วจักเอาตัวเข้าใส่ราชวัตรไว้ คันเป็นเจ้านายหื้อคารวะอาชญายากต่อกึ่ง คันเป็นขุนหื้อใส่สินค่าคอ ๔๔๐ ดอก คันเป็นไพร่ใส่สินค่าคอ ๓๓๐ ดอก ยากต่อกึ่ง อนึ่ง ห้ามอย่าหื้อเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยทั้งหลายบนผีหนังประกรรม๑๖ แลผีพระเจ้าหาดเชี่ยว๑๗ ว่าจะหื้อกินควาย อย่าหื้อกระทำเป็นอันขาด คันบุคคลผู้ใดยังกระทำ จะเอาตัวเข้าใส่ราชวัตรไว้ คันเป็นเจ้านายหื้อคารวะอาชญายากต่อกึ่ง คันเป็นขุนหื้อใส่สินค่าคอ ๔๔๐ ดอก คันเป็นไพร่หื้อใส่สินค่าคอ ๓๓๐ ดอก ยากต่อกึ่งฯ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ อนึ่ง พ่อเมืองนายบ้าน นายอ่ายนายเกิน๑๘ ทั้งหลายทุกตำบล อย่าได้ลาสา๑๙ ประมาท หื้อรักษาด่านทางเขตแขวงบ้านเมืองไผมันหื้อมั่นขันแข็งแรง แม้นว่าลูกค้าวานิชทั้งหลายคือว่าค่าช้างค่าม้าค่าวัว ค่าควายหาบแลสมณะชีพราหมณ์ทั้งหลาย ออกจากเมืองไปบ่มี ชะลางหนังสือ๒๐ ตีตราแต่ราชสำนักอย่าได้ปล่อยไปเป็นอันขาด ว่าคันเป็นคนหื้อจับตัวใส่คา หื้อมั่นขันส่งเข้ามาเถิงราชสำนักสนาม คันเป็นสมณะชีพราหมณ์หื้อเกาะเอาตัวเข้ามาเถิงราชสำนักสถาน คันว่าเป็นลูกค้าแลคนต่างประเทศเมืองอื่นเข้ามาเถิงนายอ่ายแล้ว บ่มีหนังสือชะลางตีตรา อย่าปล่อยเข้าด้วยง่ายหื้องดไว้ก่อน แล้วหื้อมาบอกเถิงพ่อเมืองนายบ้าน แล้วเกาะเอาตัวมาปฏิบัติเถิงราชสำนักสนามก่อน อนึ่ง ด้วยคนทั้งหลายหนีลุก์ ๒๑ ต่างประเทศบ้านเมืองที่อื่น เข้ามาแอบแฝงเพิ่งอาศัยอยู่กับเจ้านายท้าว พญาพ่อเมืองนายบ้านทั้งหลาย แลอาศัยอยู่กับวัดวาอารามที่ใดๆ ก็ดี แม้เป็นคนไทยใต้ก็ดี เป็นลาวก็ดี เป็นคนบ้านใดเมืองใดก็ดี หากหนีมาผู้ ๑ - ๒ - ๓ คนก็ดี แลหาชะลางหนังสือ บ่ได้แม้จักมาอาศัยอยู่กับบ้านใดเมืองใดก็ดี วัดวาก็ดี อย่าหื้อรับอะหยั้งด้วยง่ายหื้อเจ้านายท้าวขุนพ่อเมืองนายบ้านได้นำเอาฝูงคนนั้น เข้ามาปฏิบัติเถิงราชสำนักสนามก่อน จักได้ไล่เลียงไต่ถามหื้อรู้ก่อน คันว่าคนฝูงนี้หากมีการหนีเข้ามาเพิ่งพาอาศัยอยู่กับเจ้านายท้าวพญาพ่อเมืองนายบ้านทั้งหลาย ผู้ใดปิดบังเสียบ่ เอาตัวเข้ามาปฏิบัติเถิงสนามหื้อได้รู้ภายลุน๒๒ บังเกิดเป็นข้าลักกระโมยโจรเป็นประการใดก็ดี ตัวมันหากหนีหายไปหาตัวบ่ได้ จับเอาตัวเจ้าเรือนที่อาศัยแทนผู้นั้นตามโทษ อนึ่ง ลูกค้าทั้งหลายมาจากต่างบ้านต่างเมืองต่างประเทศอื่น เข้ามาหาซื้อช้างซื้อม้าซื้อวัวซื้อควายนั้น คันเข้ามาเถิงบ้านใดเมืองใดก็ดี อย่าหื้อเจ้านายท้าวขุนพ่อเมืองนายบ้านทั้งหลายอย่าได้นับซื้อขายต่อกันด้วยง่าย หื้อพาเอาตัวลูกค้าทั้งหลายเข้ามาปฏิบัติเถิงราชสำนักสนามก่อน อนึ่ง หาก ผู้ใดบ่ฟังลักซื้อลักขายกัน บ่มาปฏิบัติเถิงสนามนั้น จักเอาโทษตามอาชญา คันบ้านใดเมืองใด บ่กระทำตามพระราชอาชญาได้ ตั้งอาณาจักรหลักคำไว้นี้ สืบรู้จักเอาโทษจงหนัก ในพระราชอาชญาได้ปรึกษาพร้อมเพรียงกับด้วยมหาขัตยราชวงศ์อัครมหาเสนาอำมาตย์ชูตนชูคนได้ตั้งพระราชอาณาจักรตักเตือนสั่งสอนแก่เจ้านายท้าวพญาราษฎรทั้งหลาย แลพ่อเมืองนายบ้านทั้งหลายในขงจักขวัติเมืองน่านทุกตำบลชะและบุคคลผู้ใดกระทำล่วงเกินสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็จักเอาโทษตามพระราชอาชญา ซึ่งได้ตั้งอาณาจักรหลักคำไว้นี้ ทุกประการ

หมายเหตุ อธิบายศัพท์โบราณ
๑. เหมียดหมาย หมายถึง ตำหนิ
๒. สัง= อะไร
๓. ร้าง= ม่าย
๔. บ่าว= ชายหนุ่ม
๕. แอ่ว= เที่ยว
๖. จา= พูด
๗. กราบหลอง =ทูล
๘. ป้อย =พลอย
๙. คันว่า= ครั้นว่า, ถ้าว่า
๑๐. ราชวัตร= เครื่องจองจำ
๑๑. ดอก= เงินดอก (เงินแท่ง)
๑๒. คารวะอาชญา =เงินสินไหมปรับให้แก่เจ้าผู้ครองเป็นเงิน ๑๒๐ รูเปีย
๑๓. ยากต่อกึ่ง= ปรับเป็นพินัยหลวง ครึ่งหนึ่งของราคาปรับไหม
๑๔. สินค่าคอ= สินไหม
๑๕. ไหว้สา= ทูล,บอก
๑๖. ผีหนังประกรรม= ผีหนังสำหรับคล้องช้าง
๑๗. ผีพระเจ้าหาดเชี่ยว= ผีที่สิงอยู่ในที่ทั่วไป คอยรับเครื่องบำบวงจากผู้สำเร็จปรารถนาในการบนบาน
๑๘. นายอ่ายนายเกิน นายด่าน
๑๙. ลาสา= เพิกเฉย
๒๐. ชะลางหนังสือ =หนังสือคู่มือเดินทาง
๒๑. ลุก์ =มาจาก
๒๒. ภายลุน= ภายหลัง
IP : บันทึกการเข้า
DaKoObB
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 18 ตุลาคม 2010, 14:35:00 »

สุดยอดเลยครับ...บ่เกยฮู้เลย
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!