วันก่อนได้เข้าไปดูเรื่อง"คนไม่เอาถ่านของเชียงราย"
http://www.oknation.net/blog/konklaifa/2010/08/25/entry-1เรายังได้รับฟังเรื่องราว ความเป็นมาที่สืบต่อเนื่องมาถึงเรื่องนี้ว่า..
จากปี2534-2539 รัฐบาลทหารพม่า่ สั่งการให้สร้า้งเส้น ทางรถไฟสายใหม่
ทีี่่ี่เชื่อมจากเมืองหลอยก่อในรัฐคะเรนนี ขึ้นไปยังเมืองล๊อกจอก และทาง
ด้า้นทิศตะวันออกเฉียงใต้จากเมืองส่วยหย่อง ชาวบ้านจำนวนมากมาย
ถูกบังคับให้มาทำการก่อสร้างเส้นทางรถไฟโดยไม่ได้รับค่าจ้าง
และระหว่างการก่อสร้างมีคนเสียชีวิตมากมาย
ในปัจจุบัน การก่อสร้างเส้นทางรถไฟที่มีความยาว 44 กิโลเมตร
ระหว่างเมืองนายกับน้ำจ๋างได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว ซึ่งจะเชื่อมเส้นทาง
รถไฟในภาคตะวันตก เส้นทางรถไฟสายนี้จะช่วยขนส่งโภคภัณฑ์
ทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้อำนาจรัฐแย่งชิงไปจากชุมชนในท้องถิ่น
เส้นทางรถไฟตัดผ่านโดยตรงเข้าไปยังเมืองกก ซึ่งเป็นจุดที่รัฐบาล
ทหารพม่า กับนักลงทุนจากไทยวางแผนร่วมกันที่จะขุดแร่ลิกไนต์
หลายล้านตันเพื่อส่งออกมายังประเทศไทย
(ภาพจาก-blog/konklaifa)
เพื่อนเราจากกลุ่มสิทธิมนุษย์ชนชายแดนระหว่างประเทศเล่าขยายความ..
ในต้นปี 2553 เจ้าหน้าที่อำเภอเมืองนาย ประกาศจะสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ตัดผ่านอู่ข้าวอู่น้ำไปยังทิศตะวันออกของเมือง ถ้าสร้างเส้นทางรถไฟใหม่สายนี้จะช่วยย่นระยะทางการเดินทางเพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่มีเรือกสวนไร่นา
แต่เป็นที่ชัดเจนว่าเส้นทางทิศตะวันออกจะตอบสนองความต้องการด้านความมั่นคงของรัฐบาลทหารเมืองนายเคยเป็นเขตอู่ข้าวอู่น้ำซึ่งอุดมสมบูรณ์
ที่สุดแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของรัฐฉานแต่ผลจากการบังคับย้ายถิ่นที่อยู่
ขนานใหญ่ระหว่างปี 2539-2541 การยึดที่ดินของกองทัพ และนโยบาย
ด้านเกษตรที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ผลผลิตข้าวและพืชผลอื่นๆ ลดลงมาก
การตัดสินใจสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ตัดผ่านไร่นาที่เหลือน้อยเหล่านี้
ย่อมทำให้ชาวนาในพื้นที่ไม่พอใจ
ในตอนแรกทหารบอกชาวนาในพื้นที่และผู้ใหญ่บ้านว่าจะยึดที่ดิน
เพียงเล็กน้อยโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ซึ่งเป็นที่ดินอุดมสมบูรณ์ที่จะถูกนำ
มาให้สร้างเส้นทางรถไฟ ทางการอ้างว่าจะไม่มีผลกระทบต่อที่ดิน
ส่วนอื่นอีกและจะมีการขนดินจากที่อื่นเพื่อมาทำไหล่ทางรถไฟเท่านั้น
ชาวบ้านจึงยอมรับข้อต่อรองอย่างไรก็ตาม ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์
ทางการสั่งห้ามไม่ให้ปล่อยน้ำเข้าที่นาบริเวณซึ่งติดกับทางรถไฟ
ถ้าพบว่าใครที่ปล่อยน้ำเข้านา คนๆ นั้นจะถูกจับกุม
จากนั้นรัฐก็ส่งคนงาน คนพร้อมกับรถแทรกเตอร์และรถสิบล้อเข้าไป
ขุดที่นาและนำดินมาสร้างไหล่ทางรถไฟ การขาดการส่งน้ำส่งผลให้พื้นที่
จำนวนมากนอกเหนือจากพื้นที่ถูกยึดได้รับผลกระทบ ชาวนาไม่สามารถหว่านพืชฤดูแล้งอย่างเช่น ถั่วเหลือง มะเขือเทศ แตงโม และแตงกวา
ทำให้ขาดผลผลิตเหล่านี้ไป นอกจากนั้น รถแทรกเตอร์ที่นำมาใช้ขุดดิน
จากที่นาข้างเคียงเพื่อก่อสร้างไหล่ทางรถไฟก็ทำให้เกิดร่องลึกมากมาย
ที่ดินหลายพันไร่ถูกยึดเพื่อก่อสร้างทางรถไฟ คิดเป็นประมาณ 13%
ของพื้นที่ลุ่มเพื่อการเพาะปลูกรอบๆ เขตเมืองนาย เฉพาะมูลค่ารวมของถั่วเหลืองที่ปลูกช่วงฤดูแล้งคิดเป็นประมาณ 750,000 บาท
ซึ่งเป็นรายได้ที่ต้องสูญเสียไปในปีนี้
ประเมินสถานการณ์ความเป็นมาดั่งนี้ บ้านเรายังจะยอมให้มีการ
ขนถ่านหินที่เป็นมลพิษ และ ขนความเจ็บช้ำน้ำใจของกลุ่มชน
ในต่างแดนเข้ามาอีกหรือ? ด้วยเหตุผลการค้าระหว่างประเทศ?
เพียงคุยไว้วันนี้ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้โปรดพิจารณา.