เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 กรกฎาคม 2025, 04:19:46
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ว่าด้วย พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา (ที่เป็นข่าว)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ว่าด้วย พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา (ที่เป็นข่าว)  (อ่าน 739 ครั้ง)
FanClub
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 115


« เมื่อ: วันที่ 11 เมษายน 2012, 16:42:24 »

พนง.40มหา′ลัยร้องรัฐบาลไม่ได้รับความเป็นธรรม คุณภาพชีวิตตกต่ำ ขอสิทธิเท่า"ข้าราชการ"
วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 10:46:19 น.
Share
675
พนักงานมหาวิทยาลัย 40 แห่ง ร้องรัฐบาลขอสิทธิเท่าข้าราชการ หลังพบคุณภาพชีวิตตกต่ำ ต้องทำอาชีพเสริมขายประกันนอกเวลางาน บางคนลาออกไปเป็นครูประถม หวั่นคุณภาพการศึกษาระยะยาวแย่ ′ภาวิช′หนุนแก้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน บวกพนักงานเพิ่ม ให้ได้สิทธิเท่าเทียม

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษา จัดเสวนาเรื่อง "เหลียวหลัง แลหน้า 13 ปี พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาไทย" โดยมีนายภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) นายขจร จิตสุขุมมงคล ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ น.ท. สุมิตร สุวรรณ อาจารย์ประจำคณะ ศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตกำแพงแสน ในฐานะผู้แทนเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา โดยมีพนักงานมหาวิทยาลัยกว่า 300 คน จาก 40 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วม

น.ท.สุมิตรกล่าวว่า เครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา เกิดจากการรวมตัวของพนักงานมหาวิทยาลัยกว่า 40 แห่งทั่วประเทศที่ได้รับความไม่เป็นธรรมจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับผ่านทางเฟซบุ๊ก และได้เริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์และการดูแล ที่ดีขึ้น โดยปัจจุบันมีพนักงานมหาวิทยาลัยประมาณ 40,000-50,000 คน อยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ และแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีพนักงานประมาณ 60% ของจำนวนบุคลากรทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) แต่สถานะดังกล่าวถูกผูกมัดด้วยสัญญาจ้าง ทำให้อาจารย์เกิดความกังวลว่า อาจจะถูกประเมินไม่ต่อสัญญาจ้างด้วยระบบที่ไม่เป็นธรรม

"ปัญหาดังกล่าวทำให้บุคลากรขาดกำลังใจ รวมถึงไม่ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามหลักที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้ให้ไว้ ที่สำคัญคือ การไม่ได้รับค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542 ที่กำหนดให้พนักงานมหาวิทยาลัยได้ 1.7 และ 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุที่เป็นอัตราปัจจุบัน และนโยบายที่รัฐบาลขึ้นเงินเดือน 5% ให้ข้าราชการ กลับไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยที่ทำงานมานานและอัตราเงินเดือนเกินอัตราบรรจุแรกเข้า ขณะที่บางมหาวิทยาลัยยังไม่ได้ปรับเงินเดือนให้พนักงานมหาวิทยาลัย" น.ท.สุมิตรกล่าว

น.ท.สุมิตรกล่าวต่อว่า เมื่อเร็วๆ นี้เครือข่ายได้ยื่นหนังสือถึงนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมถึงเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยว ข้องตั้งแต่ระดับรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สกอ. ผู้บริหารมหาวิทยาลัย เข้ามาดูแลพนักงานมหาวิทยาลัย โดยกำหนดกลไกการประเมินที่เป็นธรรม เพื่อสร้างความมั่นคงในประสิทธิภาพการทำงาน ยกเลิกระบบประกันสังคม โดยจัดทำสวัสดิการเอง กำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ต้องไม่น้อยกว่าระบบราชการเดิม และเสนอให้แก้กฎหมาย คือ พ.ร.บ.ระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มาเป็น พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.... เพื่อให้พนักงานมหาวิทยาลัยได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเท่าข้าราชการ

"หากเราปล่อยให้สภาพพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นเช่นนี้ จะส่งผลกระทบอย่างมากกับคุณภาพนักศึกษา และคุณภาพการศึกษาในระยะยาว เพราะเมื่ออาจารย์ยังไม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ก็ไม่มีกำลังใจที่จะสอน และบางคนต้องไปทำอาชีพเสริม เช่น ขายประกัน ขายของนอกเวลางาน แทนที่จะใช้เวลาพัฒนางานสอน หรือบางคนลาออกไปสอบเป็นครูประถม เพราะมีสถานะเป็นข้าราชการและได้รับสวัสดิการดีกว่า" น.ท.สุมิตรกล่าว

ด้านนายภาวิชกล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงานมหาวิทยาลัยขึ้นอยู่กับผู้บริหารและสภามหาวิทยาลัยว่าจะแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยต้องพยายามสะท้อนปัญหาเพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจ แต่ถ้าผู้บริหารยังไม่เข้าใจ แนวทางการแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาก็เป็นแนวทางที่น่าจะสามารถดำเนินการได้

ขณะที่นายขจรกล่าวว่า ยอมรับว่า สกอ.ไม่ได้เข้าไปดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ให้พนักงานมหาวิทยาลัย เพราะที่ผ่านมาได้กระจายอำนาจให้มหาวิทยาลัยต่างๆ บริหารจัดการตัวเองได้ เท่าที่ดูมีหลายแห่งสามารถนำงบประมาณที่ได้รับไปดูแลพนักงานได้อย่างดี ขณะที่อีกหลายแห่งไม่สามารถทำได้ ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยต่างๆ มีการดูดคนเก่ง คนดี เข้าไปเป็นอาจารย์ หากมหาวิทยาลัยใดไม่สามารถดูแลสิทธิประโยชน์ให้กับพนักงานได้ ก็จะไม่มีคนเก่งคนดีมาทำงาน


ที่มา : http://www.matichon.co.th
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!