

นี่คือการ์ดจอแยกครับๆ - -*
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.299857906719909.68734.100000871064956&type=3บางคนถามมาว่ามีการ์ด NB ขายไหม คำตอบมีครับๆ
[เฉพาะรุ่น การ์ดจอแยก ]
ปัจจุบันการ์ดจอในโน้ตบุ๊กเริ่มมีหลากหลายรุ่นมากขึ้น บางครั้งอาจทำให้คนที่เลือกซื้อโน้ตบุ๊กสักเครื่องสับสน คิดว่าการ์ดจอนี้มีประสิทธิภาพสูงเมื่อมองแค่เพียงตัวเลข บางครั้งบางยี่ห้อก็ตั้งชื่อการ์ดจอคล้ายกันเสียเหลือเกิน วันนี้เราจะมาดูกันว่า การ์ดจอไหนเป็นการ์ดจอออนบอร์ดบ้าง โดยในแต่ละยุคจะมีความแตกต่างกันไป จะมีการเพิ่มความสามารถขึ้น ในปัจจุบันการ์ดจอออนบอร์ดนี้มีความสามารถเทียบเท่าการ์ดจอแยกรุ่นกลาง ๆ และรองรับการใช้งาน DirectX 11 ได้เลยทีเดียว
ประเภทของการ์ดจอ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. Integrated graphics card หรือที่เรียกกันติดปากว่า “การ์ดจอออนบอร์ด” ถูกออกแบบมาให้ใช้งานแสดงผลทั่วไปได้โดยประสิทธิภาพจะขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดและชิปเซต ต้องหยิบยืมทรัพยากรมาใช้ เช่น แรมของเครื่องมาใช้เป็นแรมของการ์ดจอ ทั้งยังมี core ในการประมวลผลที่ไม่ได้รวดเร็วนัก
2. Dedicated graphics card เรียกกันบ่อย ๆ ว่า “การ์ดจอแยก” หมายถึง การ์ดจอที่มีการทำงานแยกออกมาเป็นของตัวเองทั้งหน่วยประมวลผลการ์ดจอและแรมของการ์ดจอ ทำให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า แต่จะมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับระดับของการ์ดจอแยก ปัจจุบันบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตการ์ดจอแยกนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 บริษัท คือ ATI และ NVIDIA
ลักษณะการทำงานของการ์ดจอ
หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่าง ๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ซีพียู เมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลมาที่การ์ดแสดงผลเพื่อที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพ จากนั้นการ์ดแสดงผลก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ จะเห็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการส่งถ่ายข้อมูล ดังนี้
Graphics Processor เป็นหน่วยประมวลผลของการ์ดจอ ความเร็วหน่วยประมวลผลขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ถ้าเป็น Intel ชิปเซตจะมีผลในส่วนนี้ ส่วนถ้าเป็น ATI หรือ NVIDIA จะมีหน่วยประมวลผลการ์ดจอเป็นของตัวเอง
Memory เป็นหน่วยความจำของการ์ดแสดงผลที่เรียกกันว่า VRAM นั่นเอง การ์ดจอออนบอร์ดนี้จะขึ้นอยู่กับ RAM Bus ของเครื่อง
Graphics BIOS มีในการ์ดจอแยก จะเป็นตัวเก็บข้อมูลพื้นฐานของการ์ดจอเพื่อให้สามารถเข้ากันกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้
Digital-to-Analog Converter (DAC) เป็นตัวที่ช่วยจัดการระหว่าง VRAM กับจอแสดงผล ในปัจจุบัน DAC หรือ RAMDAC มีความเร็วสูงจนเกินพอ เราจึงไม่ค่อยพูดถึงส่วนนี้กัน
การ์ดจอออนบอร์ดกับการ์ดจอแยกแตกต่างกันอย่างไร ?
เราจะเห็นได้ว่าโดยหลัก ๆ แล้ว GPU และ VRAM จะมีผลต่อประสิทธิภาพการ์ดจอโดยตรง ปกติแล้วการ์ดจอออนบอร์ดจะมีประสิทธิภาพของ GPU และ VRAM ด้อยกว่าการ์ดจอแยก เพราะไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อแสดงผลสูง ๆ เพียงแค่ทำให้พอแสดงผลภาพ 2 มิติหรือ 3 มิติได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แน่นอนว่าประสิทธิภาพต้องได้การ์ดจอแยกไปเต็ม ๆ
จะรู้ได้ไงว่าการ์ดจอไหนออนบอร์ด...
1. ดูที่ยี่ห้อ ที่เห็นกันเกลื่อนก็คือ Intel ที่มีการ์ดจอออนบอร์ดให้มาพร้อมสำหรับผู้ที่ใช้งานทั่วไป เช่น ดูหนัง ฟังเพลง บางครั้ง ATI หรือ NVIDIA ก็ทำการ์ดจอออนบอร์ดออกมาเหมือนกัน ซึ่งจะเป็นรุ่น low-end สำหรับโน้ตบุ๊กราคาประหยัดในยุคก่อน
2. ดูที่ชื่อรุ่น นอกเหนือจาก intel แล้ว อีกสองยี่ห้อที่เราจะสับสนกันมากนั่นก็คือ ATI และ NVIDIA ที่ผลิตการ์ดจอแยกออกมา แต่ดันมีการ์ดจอออนบอร์ดแฝงออกมาด้วย ซึ่งเราอาจเรียกการ์ดจอออนบอร์ดนี้เป็นการ์ดจออยู่ในระดับ Low-end โดยส่วนใหญ่แล้วรุ่นของการ์ดจอสองค่ายนี้จะประกอบไปด้วยเลข 4 หลัก ไม่ก็ 3 หลัก เช่น ATI Mobility Radeon HD4650 โดยที่หลักพันจะบ่งบอก series ใหญ่ รองลงมาคือหลักร้อยจะบ่งบอกระดับของการ์ดจอ หลักสิบจะบอกความแรงที่แตกต่างกันเล็กน้อย, nVidia Geforce GT210M หลักร้อยจะบ่งบอกระดับ series ใหญ่ รองลงมาคือหลักสิบจะบอกถึงระดับการ์ดจอ และหลักหน่วยจะบอกความแรงที่ต่างกันเล็กน้อยตามรูปแบบเดียวกัน
ดังนั้น เราจะสังเกตเห็นได้ว่า การ์ดจอออนบอร์ดจะเป็นรุ่นการ์ดจอที่ :
ถ้าเป็น 4 หลักจะเป็นเพียงหลักร้อยไม่เกิน 2 ร้อย หรือเลขหลัก 100 ต้น ๆ ที่ใกล้จะหาร 1,000 ลงตัว หรือสามารถหาร 1,000 ได้ลงตัว
ถ้าเป็น 3 หลักจะเป็นเลขหลักสิบต้น ๆ ที่ใกล้จะหาร 100 ได้ลงตัว ตัวอย่างเช่น
ATI
Radeon HD4870 (High-End)
Radeon HD4850 (High-End)
Radeon HD4670 (Mid-High)
Radeon HD4650 (Mid-High)
Radeon HD4570 (Mid-Low)
Radeon HD4350 (Mid-Low)
Radeon HD4330 (Mid-Low)
Radeon HD4270 (Low-End)
Radeon HD4250 (Low-End)
Radeon HD4200 (Low-End)
Radeon HD4100 (Low-End)
Radeon HD4225 (Low-End)
3. ดูที่ Memory Speed การ์ดจอออนบอร์ดจะไม่มีแรมเป็นของตัวเอง ทำให้ไม่มีการเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับความเร็วของแรมการ์ดจอ (Memory Speed) ในการตรวจสอบ Memory speed จำเป็นต้องใช้โปรแกรมตรวจสอบหรือหาข้อมูลจากในเว็บไซต์
ถ้าหากยังไม่แน่ใจว่าตัวไหนเป็นออนบอร์ด เรามาดูไปพร้อมกันว่ามีตัวไหนและยี่ห้ออะไรกันบ้าง
INTEL
เป็นการ์ดจอออนบอร์ดที่ติดมาพร้อม CPU Core i 2nd generation ล่าสุด โดยผลทดสอบแสดงให้เห็นว่ามีความแรงเทียบเท่าการ์ดจอแยกรุ่นกลาง ๆ เลยทั้งยังรองรับถึง DirectX 10.1 เรียกได้ว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งการ์ดจอแยกก็สามารถที่จะใช้งานดูหนังความละเอียดสูงหรือเล่นเกมไม่หนักมากได้อย่างสบาย ได้แก่
Intel HD Graphics 3000
Intel HD Graphics 2000
เป็นการ์ดจอออนบอร์ดในตระกูล Intel core 2 duo ที่เป็นชิปเซ็ต Mobile Intel 945 , 965 , 4 Series Express Chipset Family และเป็นการ์ดจอของเน็ตบุ๊ก
Graphics Media Accelerator (GMA) 4700MHD (4 series)
Graphics Media Accelerator (GMA) 4500MHD (4 series)
Graphics Media Accelerator (GMA) 4500M (4 series)
Graphics Media Accelerator (GMA) 3150 (netbook)
Graphics Media Accelerator (GMA) X3100 (965 series)
Graphics Media Accelerator (GMA) 950 (945 series)
Graphics Media Accelerator (GMA) 900 (915 series)
Graphics Media Accelerator (GMA) 600 (netbook)
Graphics Media Accelerator (GMA) 500 (netbook)
AMD
เป็นการ์ดจอออนบอร์ดที่มาใหม่ล่าสุดช่วงปลายปี 2010 เกิดจากการรวมตัวกันของ AMD กับ ATI กลายร่างมาเป็น AMD Fusion ที่มาพร้อมกับ CPU ตระกูล E-Series , C-Series และกำลังเป็นที่พูดคุยกันตลอดต้นปี 2011 ว่าจะมาท้าชนกับ HD3000 , HD2000 ของ Intel ทั้งยังรองรับ DirectX 11 อีกด้วย
AMD Radeon HD 6310
AMD Radeon HD 6250
ATI
เป็นการ์ดจอที่เห็นกันค่อนข้างบ่อยในช่วงปี 2005-2008 และอาจมีสับสนกันบ้างเนื่องจากชื่อจะคล้าย ๆ กับของ Intel และการ์ดจอแยกของ ATI เอง เชื่อว่าหลายคนน่าจะซื้อพลาดกันมาบ้าง ลองมาดูรายชื่อกัน
Radeon HD 4270
Radeon HD 4250
Radeon HD 4200
Radeon HD 4100
Radeon HD 4225
Radeon HD 3200
Mobility Radeon HD 3400
Radeon HD 3100
Radeon Xpress X1270
Radeon Xpress X1250
Radeon Xpress X1200
Radeon Xpress 1250
Radeon Xpress 1150
Radeon Xpress 200M
Radeon Xpress 1100
NVIDIA
เป็นการ์ดจอออนบอร์ดของ NVIDIA ที่อาจเรียกว่าอยู่ในระดับ Low-End ก็ได้ ที่ทำออกมาเพื่ออย่างน้อยก็มีประสิทธิภาพดีกว่าการ์ดจอออนบอร์ดของ Intel ในระดับหนึ่ง แต่เมื่อเทียบกับ ATI แล้วจะไม่ค่อยได้เห็นการ์ดจอออนบอร์ดของ NVIDIA สักเท่าไหร่ จนปัจจุบัน NVIDIA แทบจะไม่ทำออกมาแล้ว
GeForce G 205M
GeForce G 102M
GeForce 9400M (G)
GeForce 9100M G
GeForce 8200M G
GeForce 7190M
GeForce 7150M
GeForce 7000M
GeForce Go 6150
GeForce Go 6100
สุดท้ายนี้เราจะเห็นได้ว่า การ์ดจอออนบอร์ดบางค่ายยังคงมีอยู่และบางค่ายก็แทบจะไม่ได้ทำออกสู่ท้องตลาดในปัจจุบัน
เพราะเทคโนโลยีสมัยนี้ก้าวไกลจนเรียกได้ว่าออนบอร์ดบางรุ่นแรงกว่าการ์ดจอแยกระดับกลางบางตัวเสียอีก แต่รู้เอาไว้จะได้ไม่เสียใจภายหลัง หากใครชอบซื้อโน้ตบุ๊กมือสอง ก็ควรจะมีความรู้เอาไว้สักนิด สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
ผิดถูกขอ อภัยมา ณ ที่นี้ด้วยๆ