ขออนุญาตแนะนำ ตามประสบการณ์ความรู้เท่าหางอึ่ง จากการทำพวกไม้ผลนะครับ
ปัจจัยที่มีผลต่อการออกดอก
1. สายพันธุ์ คัดเลือกสายพันธุ์ที่ดี จะมีความสามารถในการออกดอกได้ดีตามสายพันธุ์
2. ปริมาณการสะสมอาหาร ถ้ามีการสะสมคาร์โบไฮเดรต (แป้งและน้ำตา) ไว้ได้มาก ก็จะสามารถออกได้ดี นอกเสียจากว่า ต้นมีอาการทรุดโทรม จุดนี้สำคัญมาก ชาวสวนต้องบำรุงช่วงหลังตัดแต่งกิ่ง หรือช่วงก่อนและขณะกักน้ำให้ได้มากที่สุด (แป้งและน้ำตาลจะไปสะสมไว้ในกิ่งซึ่งจะพร้อมสำหรับการออกดอก)
...อัตราส่วนระหว่างคาร์โบไฮเดรตกับไนโตรเจน (C/N ratio) ถ้าไนโตรเจนสูงก็จะไปส่งเสริมการเจริญทางกิ่ง ก้าน ใบ แทน ทำให้การสร้างดอกเกิดได้ช้า (ฝนตกผิดฤดูจึงทำให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากับฝนและในดินละลาย พืชจึงสร้างใบแทนดอกหรือสร้างทั้งใบทั้งดอกพร้อมกัน)
...ถ้าคาร์โบไฮเดรต หรือสารประกอบคาร์บอนในพืชมีอยู่มาก การที่พืชได้ฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมสูงจะกระตุ้นการออกดอกได้ทันที
ดังนั้น...การสะสมอาหารจึงสำคัญมาก พืชควรสะสมอาหารอย่างเพียงพอ เช่นโบรอน แคลเซียม แมกนีเซียม โพแตสเซียมและไนเตรท ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญของดอกและผลและธาตุเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของอาหารเหลวที่พบบนเกสรตัวเมียและละอองเรณูช่วยให้การงอกของละอองเรณูในการผสมเกสร ส่วนอาหารจากการสังเคราะห์แสงจะช่วยในการติดผลและพัฒนาของผล
3. ปริมาณฮอร์โมนในพืช ถ้ามีจิบเบอเรลลินมาก จะยับยั้งการพัฒนาตาดอก การใช้สารเคมียับยั้งการทำงานของจิบเบอเรลลินสามารถกระตุ้นการสร้างตาดอกได้เช่นกัน แต่ต้องระมัดระวังและศึกษาให้รอบคอบมิเช่นนั้นจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
4. อื่นๆ ก็ปัจจัยภายนอกเช่น
- น้ำ ปริมาณน้ำในดินมีต่อการออกดอก ไม้ผลในสภาพที่ขาดน้ำจะเกิดความเครียดในต้น แต่ถ้าน้ำมากเกินไปก็ทำให้ตาดอกตายได้เช่นกัน ปริมาณน้ำที่เหมาะสมต้องอาศัยประสบการณ์ครับ
- อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไปมีผลเช่นกัน ที่อุณหภูมิต่ำทำให้การเจริญของละอองเกสรช้า ส่งผลให้การพัฒนาในส่วนของไข่จากเกสรตัวเมียเลยระยะเวลาที่จะติดผลได้ ถ้าอุณหภูมิสูงเกินค่าวิฤติ (ปกติเกิน 36 องศา)ทำให้การติดผลต่ำ ดอกและผลอ่อนจะหลุดร่วง การใช้ละอองน้ำพ่นอาจบรรเท่าได้บ้าง
-ฝน ฝนที่มากเกินไป จะชะล้างสารอาหารเหนียวที่ปลายส่วนของยอดเกสรตัวเมียออกทำให้ไม่สามารถรับละออกเกสรตัวผู้ได้
-การเข้าทำลายของโรคและแมลง
การใส่ปุ๋ยเตรียมออกดอก จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ปุ๋ยที่ควรใช้จึงมีสองประเภทคือ
1. ปุ๋ยทางดินที่มีโพแตสเซียมสูง แต่มีไนโตรเจน และฟอสฟอรัสต่ำ เช่น 14-14-21 , 8-16-24 ฯลฯ
ปกติควรทะยอยใส่ตั้งแต่ยอดอ่อนชุดสุดท้ายได้แตกใบ เพื่อชลอการแตกใบอ่อน หรือกดตาที่จะแตกใบใหม่
2. ปุ๋ยที่มีฟอสเฟตสูง ปกติพ่นทางใบประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนออกดอก หรือใช้สารเคมีเร่งการออกดอก
ปุ๋ยที่ใช้ในกรณีนี้เช่น 0-52-34 , 10-45-17 ฯลฯ อิทธิพลของฟอสฟอรัส จะกดบทบาทปุ๋ยไนโตรเจนที่มีผลต่อการผลิตใบอ่อนลดลง
สรุป
- ปุ๋ยที่โพแตสเซียมสูง ใส่ก่อนออกดอกไม่น้อยกว่า 1 เดือน
- ปุยที่ฟอสฟอรัสสูง ใส่หรือพ่นก่อนออกดอกประมาณ 2 สัปดาห์
เพราะโพแตสเซียมใช้มีผลทางอ้อมในการสะสมแป้งและน้ำตาล ซึ่งใช้เวลานานกว่า แต่ ฟอสฟอรัสเคลื่อนย้ายได้เร็วและฉีดพ่นเข้าทางใบได้โดยตรง
หลักการออกดอกในไม้ผล พวกแป้งและน้ำตาลมีผลโดยตรงในการออกดอกและติดผลกิ่งที่สะสมไว้มากจะออกดอกได้ดีกว่ากิ่งที่สะสมไว้ต่ำ
ลองนำไปพิจารณาประยุกต์ใช้ดูครับ
