เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 21 กรกฎาคม 2025, 17:30:29
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  อ.อัลเบิรต์ (Albert Lisec) จะผ่าตัดแต่เป็นเลือด Rh-negative (อฺ.ม.ราชภัฏเชียงราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน อ.อัลเบิรต์ (Albert Lisec) จะผ่าตัดแต่เป็นเลือด Rh-negative (อฺ.ม.ราชภัฏเชียงราย  (อ่าน 688 ครั้ง)
sripoom
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 463


« เมื่อ: วันที่ 15 สิงหาคม 2015, 08:15:30 »

ได้ทราบข่าว อ.อัลเบิร์ต สอน ม.ราชภัฏเชียงราย  จะผ่าตัดแต่จำเป็นใช้เลือด Rh negative
ผู้ที่ประสงค์จะบริจาคเลือด ติดต่อได้ที่ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ (ระบุชื่ออาจารย์ด้วย)
หรือติดต่อรายละเอียดที่ 0840457070
   เข้าใจว่าสามารถบริจาคได้ทุกกลุ่มเลือด
    ผมทราลข่าวมา หากผิดพลาดอย่างไร ขออภัยอย่างสูง ครับ
IP : บันทึกการเข้า
mammon
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 926


Mammon@Easy IT


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 19 สิงหาคม 2015, 10:33:00 »

มาให้ความรู้เกี่ยวกับคนที่อาจสงสัยครับ

การจำแนกหมู่โลหิตระบบอาร์เอช (Rh)
หมู่โลหิตนี้จะมีสารโปรตีนที่อยู่บนผิวของเม็ดโลหิตแดง ซึ่งเรียกว่า แอนติเจน-ดี (Antigen D) เป็นตัวบ่งบอกหมู่โลหิตระบบนี้ (Rh) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 หมู่ คือ
1. หมู่โลหิตระบบอาร์เอช บวก (Rh positive) คือ หมู่โลหิตที่มีแอนติเจน ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยมีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก ประมาณ 99.7 %
2. หมู่โลหิตระบบอาร์เอช ลบ(Rh negative) คือ หมู่โลหิตที่ไม่มีแอนติเจน ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยพบว่ามีหมู่โลหิตนี้เพียง 0.3 % หรือ 1,000 คน จะพบเพียง 3 คนเท่านั้น เราจึงมักเรียกว่า ?หมู่โลหิตหายาก? หรือ ?หมู่โลหิตพิเศษ? นั่นเอง
ในการรับโลหิตนั้นถ้าผู้ป่วยมีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก จะไม่ค่อยมีปัญหาเพราะมีถึง 99.7 % แต่ถ้าผู้ป่วยมีหมู่โลหิตอาร์เอชลบ จะมีปัญหา เพราะมีน้อยมากในคนไทย ฉะนั้นผู้ที่มีหมู่โลหิตชนิดนี้ต้องสนใจและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

ความสำคัญของหมู่โลหิตอาร์เอชลบ (Rh-negative)
ถ้า ผู้ป่วยที่มีหมู่โลหิตอาร์เอชลบ (Rh-negative) จำเป็นต้องรับโลหิตในการรักษาพยาบาลจะต้องรับโลหิตอาร์เอชลบเหมือนกัน เพื่อป้องกันการกระตุ้นผู้ป่วยให้สร้างแอนติบอดีต่อสารดี แต่ถ้าหากจำเป็นต้องรับโลหิตกรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถจัดหาโลหิตอาร์เอชลบให้ ได้และตรวจไม่พบแอนติ-ดีในโลหิตผู้ป่วย ผู้ป่วยรายนั้นสามารถรับโลหิตอาร์เอชบวก (หมู่โลหิตปกติ Rh-positive) เป็นการช่วยชีวิตได้ แต่ครั้งต่อ ๆ ไปจะรับโลหิตอาร์เอชบวกไม่ได้อีกแล้วจำเป็นต้องรับโลหิตอาร์เอชลบเท่านั้น เพราะผู้ป่วยอาจจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาแล้ว ซึ่งถ้าหากรับโลหิตอาร์เอชบวกเข้าไปอีกจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านขึ้นมา คือ ภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างจะไปทำลายเม็ดโลหิตแดงอาร์เอชบวก อาจทำให้ผู้ป่วยเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ในกรณีที่มีมารดาที่มี หมู่โลหิตอาร์เอชลบ แต่บิดามีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก ในกรณีมารดาตั้งครรภ์แรกและลูกในครรภ์มีหมู่โลหิตอาร์เอชบวกเหมือนพ่อ เม็ดโลหิตแดงของลูกมีโอกาสเข้าไปสู่กระแสโลหิตของมารดาได้ในระหว่างมีการ หลุดลอกตัวของรก มารดาก็จะสร้างภูมิต่อต้านเม็ดโลหิตของลูกขึ้นลูกแรกจะปลอดภัย ถ้าตั้งครรภ์ในท้องถัดมาหากลูกในครรภ์มีหมู่โลหิตอาร์เอชลบเหมือนแม่ก็จะไม่ มีปัญหา แต่ถ้าลูกมีหมู่โลหิตอาร์เอชบวกจะส่งผลให้ภูมิต่อต้านที่มารดาสร้างขึ้นหลัง คลอดลูกคนแรกไปทำลายเม็ดโลหิตแดงของลูกคนที่สองและคนต่อๆ ไปได้ ถ้ามีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก ทำให้ลูกเกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลืองและรายรุนแรงอาจตายในครรภ์ได้ ดังนั้นก่อนที่จะตั้งครรภ์ มารดาที่มีหมู่โลหิตอาร์เอชลบ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่ลูกได้

การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
โดย ทั่วไปเมื่อพูดถึงหมู่โลหิต Rh แล้วจะหมายถึงเฉพาะยีนคู่แรก ซึ่ง D เป็นยีนที่ทำให้คนเรามีหมู่โลหิตเป็น Rh บวก หรือถ้าไม่มียีน D จะเป็น Rh ลบ คนที่มียีน DD หรือชนิด Dd จะเป็น Rh บวก กล่าวคือ มี D แอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง ส่วนคนที่มียีนชนิด dd จะเป็น Rh ลบ ซึ่งมาจาก 3 กรณี ซึ่ง ศ.พญ.พิมล เชี่ยวศิลป์ ผู้ชำนาญการพิเศษ และผู้จัดการระบบคุณภาพ ก็ได้อธิบายไว้ดังนี้ค่ะคือ
1) พ่อและแม่มีหมู่โลหิต Rh บวก ทั้งคู่ เป็นยีนด้อยแฝงอยู่ (Dd)
2) พ่อ หรือ แม่ คนใดคนหนึ่ง มีหมู่โลหิต Rh บวก เป็นยีนด้อยแฝงอยู่ (Dd) และอีกฝ่ายหนึ่งมีหมู่โลหิต Rh ลบ
3) พ่อ และ แม่ ทั้งคู่มีหมู่โลหิต Rh-negative ซึ่งมียีนด้อย dd ทั้งสองคน

สำหรับ การป้องกันนั้น ทุกคนควรที่จะไปตรวจเลือดให้ได้แน่นอนเสียก่อนว่าโลหิตมีอาร์เอช ลบหรือไม่ อย่างไรก็ตามการดำเนินชีวิตก็เหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป เพียงแต่ต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุร้างแรง หรือทำอะไรเสี่ยง ๆ จนทำให้เกิดเลือดตกยางออก เพราะว่าหากเสียโลหิตมากๆ การหาโลหิตทดแทนค่อนข้างลำบาก เป็นที่ทราบแล้วคนไทยมีหมู่โลหิตพิเศษนี้น้อยมาก การบริจาคก็น้อยด้วย ปัจจุบันจากทะเบียนจำนวนผู้บริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตฯ มีเพียงประมาณ 5,000 คน เท่านั้น ฉะนั้นก็ขอฝากประชาชนชาวไทยทุกคน ไม่ควรจะตั้งอยู่บนความประมาณ เสียเวลาสักนิดไปตรวจหมู่โลหิตตามสถานพยาบาลต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ทราบว่าท่านมีหมู่โลหิตอะไร หากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องใช้โลหิต จะได้ช่วยได้อย่างทันท่วงที แต่ถ้าอยากจะทำบุญกุศลเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่นด้วยแล้ว ก็มาบริจาคโลหิต การบริจาคโลหิตจะตรวจหมู่โลหิต ทั้งระบบ ABO ระบบ Rh- และยังตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อทางโลหิต อีก 4 ตัวด้วยกัน คือ ไวรัสตับอับเสบบี , ไวรัสตับอับเสบ ซี, ซิฟิลิส, ไวรัสเอดส์ ให้อีกด้วย แต่คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิตได้ ต้องอายุ 17-60 ปี, น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป, ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ ทั้งสิ้น, นอนพักผ่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง,รับประทานอาหารมาก่อนบริจาคโลหิต ฯลฯ

การบริจาคโลหิตเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้รู้ว่าโลหิตของท่านเป็นหมู่โลหิตใด ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต
โทร. 0-2252-1637,0-2255,4567
IP : บันทึกการเข้า


รับทำระบบเซิฟเวอร์หอพักระบบไร้สายรับปรึกษาปัญหาตู้สล๊อตและตู้ยิงปลา ฟรี Tel. 089-432
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!