วิกฤติการณ์นิวเคลียร์ของญี่ปุ่นในตอนนี้อาจจะทำให้หลายคนสงสัยว่าแล้วทำไมญี่ปุ่นจึงเอาโรงงานไฟฟ้าไปวางไว้ใกล้จุดกำเนิดแผ่นดินไหวขนาดนั้น คำตอบในวันนี้คือ นักวิทยาศาสตร์คาดไม่ถึงว่าบริเวณนั้นจะมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่วางตรงจุดบรรจบระหว่างแผ่นดินสี่แผ่นพอดี ได้แก่แผ่น Pacific (PA), Okhotsk (OK), Amur (AM), และ Philipine Sea (PS) อย่างไรก็ตามส่วนที่บรรจบระหว่างสี่แผ่นนั้นอยู่ค่อนไปทางใต้ของประเทศ และเกิดแผ่นดินไหวบ่อยจนนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่กว่า 8 ริกเตอร์ทุกๆ 150 ปีอยู่แล้ว ขณะที่เมืองเซนไดนั้นมีประวัติแผ่นดินไหวมากกว่า 7 ริกเตอร์บ้าง แต่ไม่เคยมีครั้งที่มากกว่า 8 ริกเตอร์เลยในหลายร้อยปีที่ผ่านมา
โดยปรกติแล้วแผ่นเปลือกโลกที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดคือแผ่นฟิลิปปินส์ (PA) ที่ยังอายุน้อยและเคลื่อนตัวบ่อย ขณะที่แผ่นแปซิฟิกนั้นค่อนข้างนิ่ง โดยมันเคลื่อนตัว 8 เซนติเมตรต่อปี ความเครียดที่เกิดขึ้นอาจจะสะสมมาเป็นเวลานาน
อย่างไรก็ตามความวางใจนี้อาจจะเกิดจากการที่นักวิทยาศาสตร์มองย้อนกลับไปไม่นานพอ โดยในปี 2007 เคยมีรายงานการศึกษาถึงบันทึกและหลักฐานแผ่นดินไหวในบริเวณเดียวกันตั้งแต่ปี 869 และประเมินไว้ว่าจะมีแผ่นดินไหวระดับ 8.1 ถึง 8.3 ริกเตอร์ภายใน 30 ปีข้างหน้าอย่างไรก็ตามมันเป็นการคาดการณ์จากบันทึกและหลักฐานแวดล้อมที่ย้อนกลับไปนานถึงกว่า 1,100 ปี (รายงานฉบับนี้ระบุว่าแผ่นดินไหวขนาดใหญ่นี้น่าจะเกิดขึ้นทุกๆ 1,000 ปีในบริเวณเดียวกัน)
ส่วนภาพประะกอบดูได้จากที่มาของข่าวค่ะที่มา:
http://community.akanek.com/node/1578