ออกตัวก่อนนะว่า ผมไม่ดื่มช่วงเข้าพรรษา ออกพรรษามีดื่มบ้างตามโอกาสและสังคม
ในมิติและมุมมองของผม ผมว่า กฎหมายไทย ชอบเอากฎหมายที่ควบคุมคนไม่ดีส่วนน้อยมาทำให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อน และไม่มีความสุข
ทุกคนไปเที่ยวไปพักผ่อน การกินดื่ม เป็นเรื่องปกติในพื้นบ้านล้านนาทางเหนือของเรามาตั้งแต่อดีต
คนไปเที่ยวมีความสุข เป็นคณะ เป็นครอบครัว มันต้องมีกินมีดื่ม จะให้ไปนั่งเฉยๆ แล้วมีความสุข ผมถามจริงๆ จะมีสักกี่คนครับ?
พ่อค้าแม่ค้าขายสินค้า ขายเครื่องดื่ม สร้างรายได้เข้าท้องถิ่น จังหวัด ฯลฯ แต่ปัญหาที่เกิด คือวัยรุ่นทะเลาะวิวาท คนขับดื่มฯลฯ
วิธีแก้ ต้องจะมีกฎหมายเพิ่มโทษตรงนี้มากกว่าไหม?
เช่น
ดื่มสุราแล้วทะเลาะวิวาท จำคุก 3 ปี ปรับ3 แสน
ดื่มแล้วขับ ไม่ว่าจะมาก จะน้อย จำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสน
ปัญหามาจากกฎหมายบ้านเรามันอ่อน ไงครับ?
ผมถามว่า ทุกวัันนี้ก็ยังมีคนขับแล้วดื่ม ถูกจับไปโรงพักปรับไม่กี่บาทก็จบ
ประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว เช่นประเทศญี่ปุ่น นี่ถือว่าเรื่องใหญ่เลยนะครับ ประเภท ดื่มแล้วขับ
ประเภท แซงคิว ผิดกฎหมายหมด โทษแรงด้วย วินัยเขาจึงยอดเยี่ยมไงครับ
ผมอยากให้พิจารณาตรงนี้มากกว่า
ในหลายๆ เรื่องเมืองไทยชอบแก้ปัญหาปลายเหตุ
กฎหมายถูกสร้างขึ้นจากคนที่มีอันจะกิน จากคนอีกชั้นนึงในสังคม มิได้จาก "เหตุ และ ผล" ที่แท้จริง
จะถูกจะผิด ลองพิจารณาดูเถิด ฯลฯ
ผมชอบความเห็นนี้ครับ กระบวนการแก้ปัญหาของสังคมไทยมันค่อนข้าง'ดัดจริต'ไปนิดนะครับ ผมว่า ไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงของสังคม
ว่าด้วยหลักไตรสิกขา คำพระท่านว่า 'ศีล' ที่เดินนำหน้า 'ปัญญา' หรือละทิ้ง 'ปัญญา' ไว้เบื้องหลัง ท่านว่าคือ 'ศีลปลอม' ฉันใดก็ฉันนั้น...
กฎระเบียบบ้านเมือง ควรใช้ 'อ่องออ' กำกับ ดูเจตนารมย์ บริบทสังคม ประกอบกันไป