เรื่องง่ายๆแบบนี้หลายท่านทราบแล้วแต่ก็เอามาให้อ่านกันลืมนะค่ะ

กลยุทธ์ในการวางแผนประหยัดภาษีในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือ การออมและลงทุนเพื่อให้ได้
สิทธิลดหย่อนภาษีซึ่งก็มีหลายช่องทาง ดังนี้
- ซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF)
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
- การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต
ซึ่งแต่ละวิธีมีรูปแบบและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนั้น อยากประหยัดภาษีอย่างคุ้มค่า คือ โดยไม่ทำผิดเงื่อนไข
จึงควรต้องศึกษาเงื่อนไขต่างๆ ให้เข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติ เพื่อให้การวางแผนภาษีเกิดประสิทธิผลมากที่สุด
ค่าลดหย่อน : ตัวช่วยสำคัญในการประหยัดภาษี
หลักการง่ายๆ ที่จะประหยัดภาษีคือ ทำอย่างไรให้รายได้สุทธิลดลงมากที่สุด วิธีการคือ
เพิ่มค่าลดหย่อนที่จะนำมา ลบกับรายได้พึงประเมินให้ได้มากที่สุด
ค่าลดหย่อนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ค่าลดหย่อนตนเองและสมาชิกในครอบครัว
- ค่าลดหย่อนส่วนตัวของผุ้มีเงินได้ ปีละ 30,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรสของผู้มีเงินได้ ปีละ 30,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 15,000 บาทต่อปี ไม่เกิน 2 คน
- ค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร คนละ 2,000 บาท ต่อปี ไม่เกิน 2 คน (เฉพาะศึกษาในประเทศ)
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาทต่อปี กรณีบิดามารดา อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ คนละ 60,000 บาทต่อปี สามารถใช้สิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนสำหรับดูแล บิดามารดาของตนเองและคู่สมรส รวมถึงบุตรตามกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม สำหรับการเลี้ยงดูคนพิการซึ่งเป็นบุคคลอื่นสามารถใช้สิทธิได้เพียง 1 คน
2. ค่าลดหย่อนจากการออม การลงทุน และซื้ออสังหาริมทรัพย์
- เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน คนละ 9,000 บาทต่อปี
- เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
- ค่าเบี้ยประกันชีวิต ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้และไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี สำหรับบิดามารดาของตนเองหรือคู่สมรส ที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
- ค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อนการเลี้ยงชีพ (RMF) ไม่เกินร้อยละ15 ของเงินได้
และเมื่อรวมกับยอดเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ(กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
ลดหย่อนภาษี ได้ไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
- ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
3. ค่าลดหย่อนอื่น ฯ
- เงินบริจาค ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ
1. เงินบริจาคการกุศลสาธารณะ หักลดหย่อนได้ 1 เท่า
2. เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา หักลดหย่อนได้ 2 เท่า