ไบโอริง(เซรามิคริง) ก็เป็นอีกหนึ่งวัสดุ ที่ใช้งานได้ดีไม่แพ้กัน รูพรุนสูง แต่ราคาค่อนข้างแพง
ไม่ ควรใช้พวกหินภูเขาไฟเพราะในระยะยาว อาจจะอุดตันได้ง่าย และอาจจะมีแร่ธาตุบางตัว ซึ่งเป็นโลหะหนัก ที่อาจจะละลายมาในน้ำ หากสะสมในปริมาณมากพอ ก็อาจจะเป็นพิษต่อสัตว์บางชนิดในตู้ได้เช่นกัน
หินเป็น - ทรายปูพื้นตู้
หิน เป็น ก็คือหินที่เก็บมาจากแนวปะการังในทะเลซึ่งจะมีสิ่งมีชีวิตต่างๆอาศัยอยู่ เช่น พวกแบคทีเรีย กุ้ง หอย สาหร่าย หนอน และสัตว์เล็กๆอีกมากมาย ฯลฯ ซึ่งหินเป็นนี้จะช่วยในการบำบัดน้ำและสร้างระบบนิเวศน์ในตู้ให้สมบูรณ์อีก ด้วย
ทราย จะเป็นทรายทะเลละเอียด หรือพวกเศษปะการังบดละเอียด ก็ใช้ได้เช่นกัน ทำการล้างให้สะอาดเสียก่อนที่จะนำมาใช้ หรือในบางระบบ อาจจะไม่มีการปูพื้นทรายเลยก็ได้ ประโยชน์คือทำให้ดูดตะกอน ทำความสะอาดได้ง่าย แต่ก็ควรจะต้องมีระบบการจัดการของเสียอื่นๆที่ดีเยี่ยมด้วย
3. น้ำทะเล
จะ เป็นน้ำทะเลแท้ (ไม่ควรใช้น้ำจากชายหาด เพราะความเค็มมักจะต่ำ และมีมลพิษสูง) หรือจะใช้เกลือวิทยาศาสตร์ผสมเป็นน้ำทะเลขึ้นมาก็แล้วแต่ความสะดวก
4. โปรตีนสคิมเมอร์
เป็น อุปกรณ์ที่ใช้ฟองอากาศ ในการแยกของเสียออกจากน้ำ ถือว่ามีความจำเป็น เพราะโปรตีนสคิมเมอร์ จะช่วยแยกไขมัน โ ปรตีน และสารประกอบ ส่วนเกินต่างๆออกจากน้ำ ก่อนที่มันจะเน่าเสีย กลายเป็นของเสียให้กับระบบ ซึ่งถือเป็นวิธีการกำจัดของเสียที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้คุณภาพน้ำในตู้ดีขึ้น แต่หากเป็นตู้เล็กๆ มีการเลี้ยงสิ่งมีชีวิตไม่มากนัก สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้ง่ายและทำได้บ่อย (เดือนละ 2-4 ครั้ง) ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้โปรตีนสคิมเมอร์ก็ได้
โปรตีนสคิมเมอร์ มีหลายยี่ห้อหลายรุ่นหลายราคา คุณภาพก็แตกต่างกันไป ควรจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตู้และงบประมาณของเรา
5. เทอร์โมมิเตอร์
สำหรับ วัดอุณหภูมิ จะเป็นแบบดิจิตอลราคาหลายร้อยหรือแบบปรอทราคาไม่กี่สิบบาท ก็ใช้ได้เหมือนกัน ใช้สำหรับดูความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในตู้ในแต่ละวัน เพราะเรื่องอุณหภูมิมีความสำคัญกับการเลี้ยงปลาทะเลพอสมควร การเลี้ยงปลาทั่วไปอุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 27-30 องศาเซลเซียส เลือกค่าใดค่าหนึ่งก็ได้แต่ควรรักษาอุณหภูมินั้นๆให้คงที่เข้าไว้
6 ระบบไฟ
ระบบ ไฟ สำหรับตู้ปลาทะเล หากเป็นตู้ที่เลี้ยงปลาล้วน จะใช้ใช้ไฟอย่างไรก็แล้วแต่ความต้องการของตัวผู้เลี้ยง เพราะตู้ปลาล้วน ไฟมีหน้าที่เพียงแค่เพื่อให้ความสวยงามเท่านั้น
แต่สำหรับตู้เลี้ยง ปะการัง ระบบไฟ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆของระบบ เพราะเป็นแหล่งอาหารหลักของปะการังที่สังเคราะห์แสงในตู้ ระบบไฟที่ได้รับ การยอมรับ และแพร่หลายในการใช้เลี้ยงปะการังมากที่สุด ก็คือ MH( เมทัล ฮาไลน์) ซึ่งจะให้แสงสว่างค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับไฟชนิดอื่นๆ ในอัตราการกินไฟที่เท่ากัน
อุปกรณ์ ที่จำเป็นในการใช้วัดคุณภาพน้ำ
ตัววัดค่าคุณภาพน้ำ มีหลักๆ ที่จำเป็นก็คือ
NH3/NH4+ (แอมโมเนีย) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการเน่าเสีย เมื่อเกิดการเน่าเสียของของเสียในตู้ ก็จะปล่อยแอมโมเนียออกมา ซึ่งเป็นพิษกับสัตว์น้ำมากที่สุด แต่แอมโมเนีย สามารถโดนกำจัดได้โดยง่ายและรวดเร็ว โดย “แบคทีเรียแบบใช้ออกซิเจน” (Aerobic Bacteria)
แอมโมเนียจะถูกเปลี่ยนรูปไปเป็นไนไตรท์ (No2) ซึ่งเป็นพิษน้อยกว่า เราจึงมักจะตรวจพบแอมโมเนียเพียงแค่ในช่วงแรกๆของการเซตตู้เท่านั้น หลังจากนั้น หากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงอะไร (เช่นปลาตายเน่าในตู้) ก็จะตรวจพบแอมโมเนียได้ยากมาก หรือหากตรวจพบ ก็จะพบว่ามีไนไตรท์สูงควบคู่กันไปด้วย ดังนั้น ตัวเทสแอมโมเนีย ก็อาจจะไม่มีความจำเป็นเท่าไหร่นัก เพราะหากเรามีตัวเทสไนไตรท์อยู่แล้ว ก็พอที่จะสามารถบอกถึงคุณภาพน้ำโดยรวมได้เช่นกัน
No2 (ไนไตรท์)
เกิด จากการย่อยสลาย และเปลี่ยนรูปมาจากแอมโมเนีย มีความเป็นพิษต่อสัตว์น้ำค่อนข้างสูงเช่นกัน (แต่น้อยกว่าแอมโมเนีย) ถูกกำจัดได้ช้ากว่าแอมโมเนีย หาก No2 สูงเท่าไหร่ ก็จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในตู้มากเท่านั้น น้ำยาเทส No2 จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับตู้ทะเล ตู้เลี้ยงที่ดีไม่ควรจะมี No2 อยู่ในระบบ
ไนไตรท์ จะถูกกำจัดโดย “แบคทีเรียแบบใช้ออกซิเจน” (Aerobic Bacteria) ให้เปลี่ยนรูปไปเป็นไ นเตรท(No3) ซึ่งมีความเป็นพิษต่อสัตว์น้ำน้อยมาก
แต่ถึงอย่างไร หากมีไนเตรทสะสมในระบบเป็นจำนวนมาก ก็มีผลเสียต่อคุณภาพน้ำโดยรวม และเป็นสาเหตุของตะใคร่ได้เช่นกัน
No3(ไน เตรท) เป็นสิ่งที่กำจัดได้ยากที่สุดในกระบวนการ เพราะสิ่งที่จะกำจัดไนเตรท ก็คือ “แบคทีเรีย แบบไม่ใช้ออกซิเจน” (Anaerobic Bacteria) ซึ่งจะพบในที่ที่ปราศจากออกซิเจน หรืออ๊อกซิเจนต่ำมากๆ เท่านั้น
ไนเตรท จะถูกเปลี่ยนให้เป็น
