ประสบการณ์รู้ล่วงหน้า
ประสบการณ์ลึกลับ เดชาวู เกิดขึ้นได้อย่างไร
...เคยไหมครับที่คุณกำลังทำอะไรเพลิน ๆ อยู่ จู่ ๆ ก็กลับมีความรู้สึกว่า "เอ๊ะ ! เหตุการณ์แบบนี้มันเคยเกิดขึ้นมาแล้วนี่! " แถมบางครั้งยังรู้อีกด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในช่วงสั้น ๆ แล้วหายไป
ในภาษาไทย ไม่มีคำเรียกความรู้สึกที่ว่านี้ ส่วนฝรั่งมีคำใช้หลายคำ เช่น promnesia และ paramnesia แต่ที่นิยมที่สุด เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศส ว่า "deja vu" (ออกเสียงว่า เดชาวู ไม่ใช่ เดจาวู) ซึ่งแปลว่า เคยเห็นมาก่อน คำว่า เดชาวู นี้ นักวิจัยชาวฝรั่งเศสซึ่งศึกษาเรื่องลึกลับของจิต ชื่อ เอมิล บัวรัก (Emile Boirac ค.ศ. 1851-1917) ใช้ครั้งแรกในหนังสือชื่อ L'Avenia des Sciences Psychiques
ในปี ค.ศ. 1986 ได้มีการทำโพล สำรวจพบว่า คนอเมริกันราว 67% เคยมีประสบการณ์เดชาวู ส่วนคนไทยเป็นเท่าไหร่ยังไม่เคยได้ยินครับ แต่ที่แน่ ๆ ผมเองก็เคยมีประสบกาณ์นี้ กว่า 1 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม คำวา เดชาวู นี้ เป็นคำ กลาง ๆ ที่ใช้เรียกประสบการณ์ประเภท "เคย..มาแล้ว" (deja experience) เพราะถ้าแบ่งอย่างละเอียดตาม ดร. เวอร์นอน เอ็ม เนปเป (Dr. Vernon M. Neppe) ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง เดชาวู ก็จะได้ถึง 21 แบบ
แต่ในบรรดาเดชาวูทั้งหมดนี้ ถ้าไปถามนักวิชาการอีกท่าหนึ่งคือ ดร. อาเทอร์ ฟังก์เฮาเซอร์ (Dr. Arthur Funkhouser) ท่านจะบอกว่า น่าจะเลิกใช้คำว่า เดชาวู ได้แล้ว แต่ให้เจาะลึกลงไปเลยว่าเป็นประสบการณ์แบบไหน มีทั้งหมด สามแบบที่น่าสนใจ เพราะมีตัวอย่างอ้างอิงชัดเจนได้แก่ เดชา เวกู (deja vecu) เดชาวู ซองตี (deja senti) และ เดชา วิซิเต้ (deja visite)
เดชาวู ที่น่ารู้จักสามแบบหลัก
เดชา เวกู หรือ "เคยใช้ชีวิตในลักษณะเช่นนี้ มาแล้ว" ก็เหมือนกับท่เกริ่นเรื่องเอาไว้ นั่นคือ คนที่มีประสบการณ์นี้จะรู้สึกเหมือนกับว่า เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน นั้น ได้เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้วในอดีต ตรงกันหมดในรายละเอียดไม่ว่าสถานที่ สิ่งของ คนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำพูด และกิริยา ท่าทางของคนรอบข้าง
นี่เองที่ทำให้ ดร. อาเทอร์ ฟังก์เฮาเซอร์ เสนอว่าควรจะเลิกใช้คำว่า "เดชาวู" ซึ่งมีความหมายตรงตัวเพียงแค่ "เคยเห็น" เพราะในกรณีเดชาวู นั้น มีครบเครื่องทุก การรับรู้และความรู้สึก (เห็น+ได้ยิน+สัมผัส+อื่น ๆ) ราวกับว่าเคยใช้ชีวิตในช่วงนี้มาแล้ว
จากการสำรวจ (ของฝรั่ง) พบว่า ประชากรประมาณหนึ่งในสามเคยมีประสบการณ์นี้ โดยมักเกิดช่วงที่อายุประมาณ 15-25 ปี โดยจุดสำคัญของ เดชาวู ก็คือ เรื่องที่รู้สึกวาเคยเกิดขึ้นมาแล้วนั้นมักจะเป็นเรื่องแสนจะธรรมดา แต่กลับมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอย่างน่าพิศวง เช่น จำได้ว่าตรงนี้เป็นยังไง ใครพูดหรือทำอะไร และที่น่าพิศวงที่สุดก็คือ จะรู้สึกมั่นใจวาจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปในอีกไม่กี่อึดใจ อีกด้วย (ทำนายเหตุการณ์ต่อไปได้)
แบบที่สอง คือ เดชาซองตี (deja senti) หรือ "เคยรู้สึกเช่นนี้มาแล้ว" นั้นมีจุดแตกต่างจากเดชาวูตรงที่วา เดชาซองตี เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น ในใจเป็นหลัก และมักจะถูกกระตุ้นด้วย "คำ" เช่น ได้ยินคนอื่นพูด คิดคำอยู่ในใจ หรืออ่านคำคำหนึ่งแล้วคิดตาม และที่สำคัญคือ ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อ (ทำนายเหตุการณ์ไม่ได้) ซึ่งต่างจากกรณีแรก
นักประสาทวิทยาพบว่า เดชาซองตี มักจะเกิดควบคู่ไปกับโรคลมบ้าหมู อันเนื่องมาจาก มีปัญหาที่สมองกลีบขมับ (temporal lobe epilepsy) โดยก่อนที่จะเกิดอาการชักอย่างเต็มขั้นนั้น คนไข้อาจจะมีความรู้สึกในลักษณะนี้มาก่อน ด้วยเหตุนี้เองนักประสาทวิทยาบางท่านจึงได้เสนอว่า เดชาซองตี น่าจะเกิดจากสาเหตุเดียวกับโรคลมบ้าหมู
แต่แม้ว่าเดชาซองตี จะเป็นเดชาวู แบบหนึ่ง ก็อย่างตีความผิด ๆ เพี้ยน ๆ อย่างฝรั่งบางคนว่า คนที่มีประสบการณ์แบบเดชาวู จะต้องเป็นโรคลมบ้าหมู ทุกรายไป!
สำหรับแบบที่สาม คือ เดชาวิซิเต้ (deja visite) หรือ "เคยเยือนสถานที่นี้มาแล้ว" นี่ก็ลึกลับไม่เบา เพราะมีหลายกรณีที่บางคนบันทึกไว้ว่ารู้สึกคุ้นเคยราวกับว่าเคยมาอาศัยมาแล้ว หรือเคยไปเยี่ยมเยือน สถานที่หนึ่ง ๆ มาแล้ว ทั้ง ๆ เพิ่งไปครั้งแรก
บางคนที่เชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิด พอได้ยินอย่างนี้เข้าก็ตีปีกร้องดัง ๆ ว่าเห็นไหม เป็นเพราะชาติก่อน คนคนนี้ เคยใช้ชีวิต อยู่ในสถานที่นั้น พอกลับมาเยือนอีกครั้งก็เลยจำได้ ส่วนคนที่เขียนเรื่องกายทิพย์ (astral body) หรือประสบการณ์ออกนอกกายเนื้อ (out-of-body experience . OBE) ก็จะบอกว่าเป็นเพราะกายทิพย์ของคนคนนั้น ได้ไปเยือน สถานที่แห่งนั้นมาแล้ว พอกายเนื้อได้ไปที่นั้นจริง ๆ ก็เลยจำได้ แต่ดูเหมือนว่าทฤษฏีกลับชาติมาเกิดและกายทิพย์นี่จะใช้กับ "เดชา" แบบอื่น ๆ ไม่ได้ เช่น ไม่ได้ตอบคำถามว่า แล้วรู้สึกได้อย่างไรว่า จะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้นในกรณีของเดชาเวกู
มีเหมือนกันที่เชื่อเพียงว่า เดชาวิซิเต้ เกิดจากการที่เราเคยไป (หรือเคยรับรู้เกี่ยวกับ) สถานที่นั้นมาแล้ว แต่ดันลืมไปเอง แม้ทฤษฏีนี้จะดุง่ายไปหน่อย แต่ก็มีหลักฐาน สนับสนุนอยู่ เช่น กรณีที่ นาทาเนียล ฮอว์ทอร์น (Nathaniel Hawthorne) ไปเยือน คฤหาสน์ Stanton harcourt ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองออกซ์ฟอร์ด ในอังกฤษเมื่อ ปี ค.ศ. 1856 ฮอร์ทอร์น เขียนไว้ใบันทึก การเดินทางชื่อ Our Old Home ว่า เขารู้สึกตะลึงเมื่อได้เห็นห้องครัวขนาดใหญ่ที่ดูเหมือนวาเขาจะเคยเห็นที่ไหนมาก่อน แต่ต่อมาพอไล่เลียงสาเหตุก็กลับพบว่า ที่เขารู้สึกเช่นนั้น เป็นเพราะเคยอ่านงานเขียนของ อเล้กซานเดอร์ โป๊ป ซึ่งกล่าวถึงสถานที่นั้นมาก่อนั่นเอง
แล้วจะอธิบายได้ยังไง
นอกจากแนวคิดเรื่องกลับชาติมาเกิด กายทิพย์ และทฤษฏีลมบ้าหมู แล้ว ยังมีคำอธิบายอื่น ๆ เกี่ยวกับเดชาวู อีกนักสอบแบบ เช่น คนที่เชื่อเรื่องการหยั่งรุ้อนาคต (precognition) จะอธิบายว่า บางคนมีความสมารถในการรับรู้อนาคตได้ แล้วนำมาเก็บไว้ในความจำ เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นจิงก็เลยระลึกขึ้นได้ว่าเคยรู้สึกอย่างนี้มาแล้ว
ส่วนนักจิตวิเคราะห์บางท่านอธิบายว่า เดชาวู เกิดจากการที่จิตปรับการรับรู้เรื่องเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ แต่คำอธิบายนี้ดุไม่ค่อยไม่เข้าเค้า เท่าไร เพราะในกรณี ของเดชาวุนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมักเป็นเรื่องธรรมดาซึ่ง ไม่ได้คุกคามความรุ้สึกของคนคนนั้นแต่อย่างใด ส่วนอีกท่านก็บอกว่า เดชาวู เกิดจาก การที่จิตต้องการได้รับประสบการณ์ใน อดีตซ้ำ แต่คราวนี้อยากให้ประสบการณืคลี่คลายไปในทิศทางที่พึงประสงค์ แต่นี่ก็ไม่ได้อธิบายการเกิดขึ้นของเดชาซองตี และเดชาซีเต้ เลย
ในปี ค.ศ. 1895 เฟรเดอริก ไมเออร์ส (Frederix w.H. Myers) เสนอว่า เดชาวู เกิดจาการที่จิตใต้สำนึกบันทกเหตุการณ์ไว้ก่อน จิตสำนึกเล็กน้อย ทำให้สมองตีความไปว่า เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินไปอยู่นั้น เคยเกิดขึ้นมาในอดีต มาก่อน แนวคิดนี้อาจนำไปเทียบได้ กับอีกทฤษฏีหนึ่งที่อธิบายว่า เดชาวู เกิดจากความผิดพลาดในขั้นตอนกระบวนการรับรู้ (perception และการระลึกได้ ของสมอง โดยข้อมูลจากประสบการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและรับรู้อยู่นั้นถูกส่งไปเก็บเป็นความจำก่อน จากนั้นสมองจึงนำมาแปล ความหมายและระลึกได้ภายหลัง เลยกลายเป็นว่าประสบการณ์ ณ ขณะนั้นถูกตีความว่าเป็นประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต
ในปี ค.ศ. 1997 ปิแอร์ กลูร์ (Pierr gloor) ได้เสนอทฤษฏีไว้ว่า เดชาวู เกิดใน ขณะที่ระบบความจำส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ ดึงข้อมูลออกมาใช้ (retrieval system) ไม่ทำงาน ในขณะทีส่วนที่เกี่ยวข้องกับความคุ้นเคย ทำงานเป็นปรกติ แต่ก็มีคนแย้งวา ระบบดึงข้อมูล ออกมาใช้ไม่น่าจะปิดตาย แต่ระบบทั้งสอง น่าจะทำงานไม่ประสานกันมากกว่า
ส่วนอีกทฤษฏีหนึ่งบอกว่า ความจำของคนเรานั้นถูกเก็บไว้ในลักษณะของภาพ โฮโลแกรม สามมิติ โดยแต่ละจุดมีข้อมุลของภาพใหญ่อยู่คบ เพียงแต่ภาพยิ่งเล็กเท่าไร ภาพใหญ่ (ที่สร้างใหม่จากข้อมูลในจุดนี้) ก็จะยิ่งไม่ชัด แนวคิดนี้ อธิบายเดชาวู ว่า หากเราได้รับรู้ข้อมูลในกับอดีต แม้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ประสบการณ์ในอดีตทั้งหมดก็จะถูกขุดกลับออกมาปะปนกับ เหตุการณ์ในปัจจุบัน เราก็เลยรู้สึกว่าเคยผ่านประสบการณ์นี้มาก่อน นั่นเอง
http://www.mythland.org/v3/thread-244-1-1.html อ้างอิง....