ฝากให้ สายเชื้อเมืองพาน เพิ่มค่ะข้อความ : ต้นตระกูลเชื้อเมืองพานที่แท้จริงคือ หลวงพูลสวัสดิ์ ที่เป็นเจ้าเมืองคนแรกของอำเภอพาน ท่านปราบกบฏฮ้อที่มาจากแพร่ชนะ เลยได้รับการสถาปนายศเป็นพระยาชัยชนะสงคราม ผมเคยไปสืบประวัติจากเหลนของท่าน ปัจจุบันหากใครสนใจทราบประวัติอย่างละเอียดต้องเดินทางไปสอบถาม สัมภาษณ์ พ่ออุ้ย ยืน นาซ้าย อยู ที่หมู่บ้าน ป่าไม้ใหม่ ไกล้กับบ้านฝั่งตื้น ต. ม่วงคำ อ. พาน หรือ พ่ออุ้ยจู นาซ้าย ที่ บ้านสันปู่ย่า ต. ม่วงคำ เช่นกันสองท่านนี้คือเหลนที่มีชีวิตอยู่ และหากท่านไปพบ 2 ท่านนี้แล้ว รบกวนท่านทั้ง 2 พาไปดูคุ้มเก่าที่แท้จริงของพระยาชัยชนะสงครามอยู่ไม่ห่างจากโรงเรียนบ้านฝั่งตื้นสักเท่าไหร่ ปัจจุบันเป็นสวนร้าง ผมไม่แน่ใจว่า ทางโรงเรียนมีการสืบค้นข้อมูลรึเปล่า เพราะใกล้ๆโรงเรียนมีการสร้างศาลพระยาชัยชนะสงคราม แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หากเยาวชนรุ่นหลังสนใจและต้องการสืบทอดประวัติศาสตร์ของชุมชนไว้ก็ไม่เสียหลาย คุณว่าจริงไหมครับ............
จาก : ลูกหลานคนพาน - 23/06/2007 10:40
ข้อความ : ผมกะเป้นคนทีนามสกุลเชื้อเมืองพาน อยากทราบประวัติศาสตร์ที่แท้จริงเหมือนกัน เท่าที่ทราบมาจาก คุณพิเชษฐ เชื้อเมืองพานแก เป้น สส ของ อ พาน แก ได้นำรูปของเจ้าของตระกูลเก่าแก เชื้อเมืองพานของเรามา ตอนหาเสียง ตระกูลนี้ได้สืบเชื้อสายมาจาก หลวงพงษ์ พูลสวัสดิ์ เจ้าหัวเมืองชั้นนอก คือ อ.พานของเรานี้เอง และได้รับพระราชทานนามสกุลมาจาก ร.6 เป็นเชื้อเมืองพาน ซึ่ง เชื้อ จะเป้นการสืบสกุล มากจาเจ้าหัวเมืองชั้นนอก เหมือนเชื้อเจ็ดตน คือเจ้าหัวเมืองชั้นนอก ที่เชียงแสน ส่วน ณ คือสายเชื้อ เจ้าหัวเมืองชั้นใน เช่น เชียงใหม่ น่าน ลำพูน สมัยโบราณ ไม่มี เมืองเชียงราย เท่าที่ทราบแต่จริงๆ น่าจะมีการค้นหาที่แท้จริง นะครับ นามสกุลเรากะต้องรู้ที่มาที่ไป แต่จริงๆ อีกอย่างผมไม่เห้นด้วยกะ อ.พาน ที่เรียกสั้นๆว่า อ.พาน อยากให้เรียกว่า อ.เมืองพาน มากกว่า เห้นด้วยกันไหม เพราะ เวลาเราอยู่กทม หรือ ต่างจังหวัด คนจะคิดว่า อ.พาล สะกดไม่ถูกกันเลย เพิ่มไปหน่อย เหมือน ตำบลยังเรียก ตำบล เมืองพาน เพราะกว่า และยังคงความขลังของ เมืองพานแต่เดิมอีกด้วย
จาก : เชื้อเมืองพานเหมือนกัน - -
tharavudhi@hotmail.com - 06/07/2007 21:49
ข้อความ : ผม ก้อ ณ น่านคนนึงคับ
จาก : ปทาน ณ น่าน - -
Zephyr_Quagmire_Zildjian@hotmail.com - 14/07/2007 13:39
ข้อความ :
ราว พ.ศ 2275 นครเชียงใหม่ ยังเป็นของพม่า หัวเมืองรอบๆก็แตกแยก และรบราแย่งชิงอำนาจกันเอง คราวนั้น ท้าวมหายศ เจ้าเมืองลำพูน ได้เข้าตีลำปาง ได้ชัยชนะ กดขี่ข่มเหงชาวเมือง จึงเกิดมีคนดีเป็นพรานผู้กล้าหาญและเป็นที่นับถือของชาวบ้านชื่อ นาย ทิพช้าง ได้ร่วมมือกับ พระมหาเถระ เจ้าอธิการวัดพระแก้ว เข้าสู้รบกับกองทัพ ท้าวมหายศ และมีชัย จึงยกนายทิพช้างขึ้นเป็นเจ้าครองนครลำปาง มีนามว่า เจ้าพระยาสุระฤาไชยสงคราม ตั้งแต่ปี2275 ครองนครลำปาง อยู่27 ปี
เจ้าพระยาสุรฤาไชยสงคราม มีโอรส 7องค์ ธิดา 3องค์ คือ
1.เจ้าอ้าย 2. เจ้าแก้ว ตอนหลังพม่าตั้งให้เป็น เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว 3. เจ้าหญิงคำ 4.เจ้าหญิงคำปา 5. เจ้าพ่อเรือน 6. เจ้าหญิงกลม
โอรสที่2 คือ เจ้าฟ้าหลวงชายแก้วนี้แหละ ทีเป็นบิดา ของเจ้าเจ็ดตน คือ
1. เจ้ากาวิละ ครองนครลำปาง ภายหลังมาครองนครเชียงใหม่ เป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ
2. เจ้าคำสม เมือ่เจ้ากาวิละไปครองนครเชียงใหม่ เจ้าคำสม ก็ครองลำปางแทน
3.เจ้าธรรมลังกา ครองนครเชียงใหม่ต่อจาก เจ้ากาวิละ เมือ่เจ้ากาวิละ ทิวงคต
4.เจ้าดวงทิพย์ ครองนครลำปางต่อจาก เจ้าคำสม
5. เจ้าหมูหล้า เป็นเจ้าราชวงศ์ลำปาง
6. เจ้าคำฝั้น ครองนครลำพูน ภายหลังไปครองนครเชียงใหม่ เป็นองค์ที่3 ต่อจาก เจ้าธรรมลังกา
7. เจ้าบุญมา ครองนครลำพูน ต่อจากเจ้าคำฝั้น เมือ่เจ้าคำฝั้นไปครองเชียงใหม่
เจ้านายฝ่ายเหนือ ทั้งปวงล้วนสืบ เชื่อสายมาจาก เจ้าเจ็ดตน
ธิดาอีก3คนคือ
1. เจ้าหญิงศรีโนชา หรือ ศรีอโนชา ได้เป็นชายาเอก ของ เจ้าพระยาสุรสีห์ แต่คนวังหน้าเรียกท่านว่า เจ้าศิริรจจา บ้าง ศิริรจนาบ้าง
2.เจ้าหญิงศรีวรรณา
3.เจ้าหญิงศรีบุญตัน
เจ้าหญิงศรีอโนชาเคยเสด็จเยี่ยมเยือนพระบิดา และญาติพี่น้อง ณ นครลำปาง ราว พ.ศ. 2331 เวลานั้น เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ชราภาพมากแล้ว เจ้าพี่เจ้าน้องได้พบกันด้วยความปรีดา ว่าจะจบแค่นี้ แต่พูดถึงเจ้านายฝ่ายเหนือแล้ว ถ้าไม่พูดถึง พระราชชายาดารารัศมีก็ยังไงอยู่จึงขอต่อละกัน
เจ้าพี่เจ้าน้องผลัดกันครองนครเชียงใหม่ จนถึงจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่6 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ องค์ที่6กลับมาเป็นโอรส เจ้ากาวิละ คือ เจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
เจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ มีชายเอก คือ เจ้าแม่อุษามหาเทวี มีธิดา2ท่านคือ
1.เจ้าหญิงทิพเกษร หรือ ทิพไกรสร
2. เจ้าหญิงอุบลวรรณา
เจ้าหญิงทิพเกษร ได้เสกสมรสกับพระญาติ ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่7 คือ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เดิมชื่อ เจ้าน้อยอินทนนท์
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ก็มีธิดากับเจ้าแม่ทิพเกษร มหาเทวีเพียง2องค์เช่นกัน คือ
1. เจ้าหญิง จันทร์โสภา สิ้นชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์
2. เจ้าหญิง ดารารัศมี คือพระราชชายาฯในรัชกาลที่5และมีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว คือ พระองค์เจ้าหญิง วิมลนาคนพีสี แต่ก็สิ้นพระชนตั้งแต่พระชันษาเพียง4ขวบกว่า พระพุทธเจ้าหลวงตรัสเรียกพระธิดาพระองค์นี้ว่า - หญิงลาว
เจ้าดารารัศมี เข้ามาเป็นเจ้าจอม พระสนมเอก ตั้งแต่ ชันษา15 โปรดเกล้าฯสถาปนา เป็นพระมเหสีตำแหน่งที่ 5 หลังจากเป็นบาทบริจาริกามาได้ 21ปี
มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อ เจ้า ดารารัศมี โสกัน ชันษา ราว11-12 พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดเกล้าฯให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ซึ่งเสด็จมาจัดราชการเมืองเชียงใหม่ เชิญ พระกุณฑล ประดับเพชร มาพระราชทาน เป็นของขวัญ นัยว่าการพระราชทานพระกุณฑล ครั้งนั้น เหมือนเป็นการหมั้นหมาย ไว้
พระราชชายาฯ เข้ามารับราชการ เป็นเจ้าจอม พระสนมเอก เมือ่ตามพระบิดา ลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในงานพระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อครั้งที่อังกฤษได้พม่าและเชียงตุงไว้ในครอบครองแล้ว ก็พยายามจะผนึกเชียงใหม่ เข้าไว้ในปกครองด้วย เจ้านายฝ่ายเหนือ แบ่งแยกออกเป็นสองฝ่าย พระบิดาพระราชชายาทรงมีหนังสือมาเล่าความถึงพระธิดา ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าจอมพระสนมเอก
พระราชชายาฯ ได้ทูลเกล้าถวายหนังสือฉบับนั้น และทรงปรึกษากับกรมหลวงพิชิต ปรีชากร ในที่สุดพระราชชายาฯทรงมีหนังสือทูลตอบพระเจ้าอินทวิชยานนท์ว่า หากเชียงใหม่ ยอมเซ็นสัญญาอยู่ใต้บังคับอังกฤษ ก็ให้พระบิดา เตรียมการรับศพลูกกลับไปเชียงใหม่
เพราะฉะนั้น เชียงใหม่จึงอยู่เป็นไทยมาตลอดจนทุกวันนี้
หลังจากเป็นบาทบริจาริกาแล้ว21ปี พระราชชายาฯกราบทูลาขึ้นไปเยี่ยมเยือนพระประยูรญาติ ณ เชียงใหม่ เวลานั้น พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระบิดา ทิวงคต แล้ว ผู้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ คือ เจ้าอินทวโรรส สุริยวงศ์ เชษฐาต่างชนนีกับพระราชายาฯ
ครั้งนั้นเสด็จไปประทับเชียงใหม่ ราว 6 เดือนกว่า จึงเสด็จกลับกรุงเทพ
จนกระทั่งพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จสววรคตแล้ว เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์สุดท้าย ผู้เป็นเชฐาต่างชนนี เช่นกัน ลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 พระราชชายาฯจึงกราบถวายบังคมลา ขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต เสด็จคืนไปประทับเชียงใหม่ ขณะนั้นพระชันษา 41 ประทับอยู่เชียงใหม่ ถึงพ.ศ. 2476 ก็ประชวร ด้วยพระโรคปอด สิ้นพระชน สิริรวมพระชันษา 60ปี
ครับก็จบเกร็ดความรู้ เรื่องเจ้า เจ็ดตน เพียงนี้ เรื่องต่อไป เป็นเรื่องอะไร โปรดติดตามต่อนะครับ
เจ้าพระยาสุลวฤาไชยสงคราม หรือ พ่อเจ้าทิพย์ช้าง มีนามเดิมว่า “ทิพย์จักร” หรือ “หนานทิพย์ช้าง”
เกิดที่ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมีความสามารถและมีกำลังกายแข็งแรงได้สร้างวีรกรรมกอบกู้
เอกราชนครลำปางจากพม่า
ปรากฏว่าเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ดังนี้ ระหว่างปี พ.ศ. 2272 – 2275 หัวเมืองลานนาทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจของพม่า
ชาวเมืองระส่ำระสาย มีจลาจลวุ่นวาย พม่าส่งผู้ปกครองมาดูแลหัวเมืองลานนาทั้งหมด อาทิ เชียงใหม่ เชียงแสน
เชียงราย แพร่ น่าน ลำพูน ส่วนนครลำปางอิทธิพลพม่าแผ่เข้ามาแล้ว
แต่ยังมิได้ส่งผู้แทนมาปกครองเหมือนหัวเมืองอื่น ๆ ขณะนั้นกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองคือ เจ้าลิ้นก่าน ยังทรงพระเยาว์อยู่
ชาวนครลำปางจึงตั้งขุนนาง 4 คน เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนเป็นการชั่วคราว
คือ แสนหนังสือ แสนเทพ แสนบุญเฮือน และจเรน้อย
ขณะนั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนายางหรือวัดนายาบ (ปัจจุบันอยู่ในเขต อ.แม่ทะ
จังหวัดลำปาง) มีวิทยาอาคม ประชาชนนับถือสมัครเป็นบริวารจำนวนมาก สมภารวัดสามขา
กับสมภารวัดบ้านฟ่อน(วัดนี้รู้จักดีเลย เหอๆ ไปเที่ยวมาบ่อยๆ สาวเยอะน่ะ)
ต่างก็สึกออกมาเป็นเสนาซ้ายขวา ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่าขึ้น
เป็นเหตุให้พม่าไม่พอใจส่งท้าวมหายศผู้ครองเมืองลำพูนยกกองทัพมาปราบ
สมภารวัดนายาง ก็คุมสมัครพรรคพวกออกรบกองทัพพม่าที่ตำบลป่าตัน (แถวๆ ตำบลน้ำโจ้ อ.แม่ทะอ่ะ)
ต้านทานกองกำลังพม่าไม่ได้พ่ายหนีไปยังวัดพระธาตุลำปางหลวง พม่าตามไปล้อมไว้ พอตกกลางคืน
สมภารวัดนายางกับเสนาซ้ายขวา ก็พากันหนีออกจากวงล้อมทหารพม่า
แต่ก็หนีไม่พ้นถูกทหารพม่าใช้ปืนยิงถึงแก่ความตาย ทั้งสมภารวัดนายางและเสนาซ้ายขวา
กองทัพพม่าก็กลับมาตั้งมั่นที่วัดพระธาตุลำปางหลวงและทัพพม่าท้าวมหายศได้แต่งตั้งให
้หาญฟ้าแมบ หาญฟ้าง้ำ
หาญฟ้าฟื้น เข้าไปเจรจาความเมืองต่อขุนนางทั้ง 4 โดยที่ตัวแทนของพม่าทั้ง 3 ได้เหน็บอาวุธเข้าไปด้วย
พอได้โอกาสก็พากันฟันแทงขุนนางทั้ง 4 และ ยกกองกำลังหนุนเข้าไปปล้นเอาเมืองลำปางได้
แสนหนังสือ แสนเทพ และแสนบุญเฮือนถูกฆ่าตาย
ส่วนจเรน้อยและเจ้าลิ้นก่านพากันหนีไปที่ประตูผานครลำปางตกอยู่ในครอบครอง
ของท้าวมหายศ ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในเขตกำแพงวัดพระธาตุลำปางหลวง (เหตุที่ตั้งที่นี่เพราะเป็นเมืองหลวงเก่า)
ท้าวมหายศทารุณกดขี่ราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั่วไปมิมีผู้สามารถปราบกองทัพท้าวมหาย
ศได้
เจ้าอธิการวัดพระแก้วหรือวัดชมภู (ปัจจุบันอยู่ในเขต อ.เมืองลำปาง)
มีความรู้ทางโหราศาสตร์ประชาชนเลื่อมใสสมัครเข้าเป็นบริวารจำนวนมาก
ประสงค์จะหาผู้มีความสามารถกู้อิสรภาพคืนจากพม่า มีผู้แนะนำว่า
หนานทิพย์ช้างพรานป่าเป็นผู้มีความสามารถ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกำลังกายแข็งแรง
รู้จักและชำนาญในการใช้อาวุธ เจ้าอธิการวัดพระแก้วจึงไปขอร้องให้หนานทิพย์ช้างไปกอบกู้บ้านเมือง
ในครั้งนี้โดยมีข้อเสนอให้ เมื่อกอบกู้บ้านเมืองคืนมาได้
จะสถาปนาให้เป็นเจ้าครองเมืองลำปางต่อไป หนานทิพย์ช้างขันอาสาโดยได้นำไพร่พลไป 300 คน
ให้ซุ่มรออยู่ข้างนอกวัดพระธาตุลำปางหลวงหนานทิพย์ช้างได้ลอบเข้าไปในวัดทางท่อระบาย
น้ำ
โดยปลอมเป็นคนลำพูนเข้าไปส่งข่าวให้แก่ทัพพม่า เมื่อสามารถเข้าไปในวัดได้แล้วไปถามทหารว่าแม่ทัพเป็นคนไหน
แลบอกว่าตนมาจากลำพูนเพื่อมาส่งข่าว ทหารพม่าหลงเชื่อก็ชี้บอกแม่ทัพท้าวมหายศ
ซึ่งขณะนั้นนั่งเล่นหมากรุกอยู่ในศาลาหลวง
เมื่อหนานทิพย์ช้างรู้ว่าแม่ทัพพม่าคือคนไหนก็ใช้ปืนที่พกมายิงจนแม่ทัพพม่าเสียชีวิ
ต
และชิงเปิดประตูวัด ให้ไพร่พลที่อยู่ข้างนอก เข้าไปจัดการไล่ทหารลำพูนออกไปจนหมดสิ้น
และสามารถยึดเมืองกลับคืนมาได้ พร้อมสถาปนาตนเป็น เจ้าทิพยจักรหลวง หรือ เจ้าสุลวฤาไชยสงคราม
(พ่อเจ้าทิพย์ช้าง) ปกครองเมืองลำปางตั้งแต่ พ.ศ. 2275 นาน 27 ปี พระองค์ได้พิราลัยในปี 2302 รวมอายุได้ 85 ปี
พ่อเจ้าทิพย์ช้างมีโอรสและพระธิดากับเจ้าแม่พิมพา รวม 6 องค์ คือ
เจ้าอ้าย (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์) เจ้าชายแก้ว, เจ้านางคำ, เจ้านางคำปา, เจ้าคำปอเฮือน (ตายในสนามรบ)
และเจ้านางกม
พระโอรสองค์ที่2 คือ เจ้าฟ้าแก้ว ซึ่งเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวที่เหลืออยู่
จึงได้ครองราชย์ต่อจากพ่อเจ้าทิพย์ช้าง เจ้าฟ้าแก้วมีโอรส 7 องค์ ธิดา 3 องค์ ได้แก่
เจ้ากาวิละ, เจ้าคำโสม, เจ้าน้อยธรรมลังกา, เจ้าดวงทิพย์, เจ้าศรีอโนชา, เจ้าศรีวรรณ (ถึงแก่กรรม) เจ้าหมู่หล้า,
เจ้าคำฝั้น, เจ้าศรีบุญตัน (ถึงแก่กรรม) และเจ้าบุญมา
ในช่วงที่เจ้าฟ้าแก้วครองเมืองลำปาง ช่วงนั้นพระองค์ได้ถูกเจ้าลิ้นก่าน
(โอรสของเจ้าเมืองลำปางที่เสียเมืองให้แก่ท้าวมหายศ) เข้ายึดอำนาจ เจ้าฟ้าแก้วได้หนีไปพึ่งเจ้าเมืองแพร่
เมืองลำปางที่อยู่ในการปกครองของเจ้าลิ้นก่าน ต่อมาปี พ.ศ.2304 พม่าก็ได้มีอำนาจอีก
ได้ส่งกองทัพมายึดหัวเมืองต่างๆ ในอาณาจักรลานนานไทย หัวเมืองต่าง ๆ
ยอมอ่อนน้อมและพม่าได้จัดการปกครองลำปางใหม่และให้เจ้าฟ้าแก้วขึ้นปกครองเมืองลำปาง
ทำให้เจ้าลิ้นก่านเกิดความไม่พอใจ พม่าจึงเข้ามาชำระความโดยการดำน้ำพิสูจน์
โดยให้เจ้าฟ้าแก้วและเจ้าลิ้นก่าน ดำน้ำแข่งกัน ปรากฏว่าท้าวลิ้นก่าน พ่ายแพ้ จึงถูกพม่าประหารชีวิต
พร้อมทั้งริบทรัพย์สินและครอบครัว สำหรับสถานที่ที่ดำน้ำชิงเมือง อยู่บริเวณหน้าวัดปงสนุก
ซึ่งแม่น้ำวังไหลผ่านในสมัยนั้นยังมีศาลท้าวลิ้นก่านปรากฏอยู่ตรงข้าง วัดปงสนุกมาจนกระทั่งทุกวันนี้
พม่าแต่งตั้งให้เจ้าชายแก้วเป็นที่ "เจ้าฟ้าหลวงไชยแก้ว" ครองเมืองนครลำปาง
แต่พม่า ยังปกครองชาวนครลำปางอย่างกดขี่ทารุณอยู่ หากผู้ใดขัดขืนก็จะถูกลงโทษอย่างหนัก
นับตั้งแต่ การจองจำ ริบทรัพย์สมบัติ ลูกเมีย ไปจนถึงการประหารชีวิต
อันเป็นสภาวะที่ชาวนครลำปางสุดแสนจะทนทานต่อไปได้ ดังนั้นเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรี
ทรงมีบัญชาให้เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ (รัชกาลที่ 1)
และสมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพไปตีเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2314
เจ้ากาวิละ (โอรสของเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว) จึงพาอนุชาทั้งหกเข้าสวามิภักดิ์
แล้วนำทหารชาวนครลำปางเข้าสมทบยกขึ้นไปตีเชียงใหม่ พม่าได้จับเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วไว้เป็นประกัน
เมื่อกองทัพไทยยกขึ้นไปเชียงใหม่ เจ้ากาวิละ จึงนำทหารชาวนครลำปางตีหักเข้าเมืองได้ก่อน
ช่วย พระบิดาออกจากที่คุมขังได้สำเร็จ แล้วนำกำลังสมทบกับกองทัพไทยใต้ตีพม่าแตกพ่ายไป
ความดีความชอบครั้งนี้ เจ้ากาวิละได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมือง "นครลำปาง"
และต่อมาเลื่อนเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างนครลำปางกับกรุงเทพฯ
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ความสัมพันธ์ระหว่างนครลำปางกับกรุงเทพฯ เป็นผลสืบเนื่องมาจากเจ้ากาวิละและ
พระอนุชา ได้นำเอาบ้านเมืองเข้าสวามิภักดิ์ต่อกองทัพไทยที่ยกขึ้นไปตีพม่าที่เชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2314
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เสด็จขึ้นครองราชสมบัติความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านครลำปางกับราชวงศ์จักรีมีความผูกพัน
กันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
เพราะเจ้านายฝ่ายเหนือต้องการสวามิภักดิ์ต่อคนไทยด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติ
เนื่องจากสมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาทได้สู่ขอเจ้าศรีอโนชา
กนิษฐาของเจ้ากาวิละเป็นชายาทางกรุงเทพฯก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่เมืองนครลำปางอย่าง
สม่ำเสมอด้วยดีตลอดมา
บรรดาเจ้านายฝ่ายเหนือได้รับยกย่องให้มีฐานะสูงขึ้น เป็นถึงเจ้าประเทศราช
อย่างไรก็ตามพม่าก็มิได้ลดละความพยายามที่จะกลับเข้ามามีอิทธิพลในลานนาไทยอีก
เพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมผู้คนและเสบียงอาหาร เข้าโจมตีกรุงเทพ ฯ
หลังจากที่พระเจ้าปะดุงพ่ายแพ้แก่กองทัพไทยไปจากสงครามเก้าทัพ (พ.ศ. 2318)
และสงครามที่ท่าดินแดง (พ.ศ. 2329) แล้ว บรรดาหัวเมืองประเทศราชลื้อ เขิน ของพม่า
แถบเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง เมืองสาด เมืองปุก็พากันกระด้างกระเดื่องแข็งเมือง
พระเจ้าปะดุงจึงโปรดให้ยกกองทัพไป ปราบปรามใน พ.ศ. 2330 โดยมีหวุ่นยีมหาชัยสุระเป็นแม่ทัพใหญ่
คุมรี้พล 45,000 คน ลงมาทางหัวเมืองไทยใหญ่
ครั้นยกมาถึงเมืองนายได้แบ่งกำลังออกเป็นสองส่วนออกปราบบรรดาหัวเมืองที่กระด้างกระเ
ดื่อง
สำหรับกองทัพพม่าที่ยกเข้าทางหัวเมืองลานนาไทย จอข่องนรทาเป็นแม่ทัพคุมรี้พล 5,000 คน
ยกลงมายึดเมืองฝางไว้เป็นแหล่งชุมนุมพล และสะสมเสบียงอาหารไว้รอกำลังส่วนใหญ่เพื่อเตรียมเข้าตีนครลำปาง
ฝ่ายโปมะยุง่วนเจ้าเมืองเชียงใหม่ซึ่งหลบหนีกองทัพไทยไปอยู่เมืองเชียงแสนมีกำลังรัก
ษาบ้านเมืองไม่มากนัก
เพราะกำลังส่วนหนึ่งถูกเกณฑ์ไปช่วยทำนาที่เมืองฝาง จึงทำให้พระยาแพร่ ชือมังชัย
และพระยายองเห็นเป็นโอกาสคุมกำลังเข้าโจมตีเมืองเชียงแสนโปมะยุง่วนสู้ไม่ได้หนีไปอา
ศัยอยู่กับพระยาเชียงราย
จึงถูกพระยาเชียงรายควบคุมตัวส่งแก่ พระยาแพร่ และพระยายอง
แล้วพระยาแพร่และพระยายองคุมตัวส่งแก่เจ้ากาวิละ
ที่นครลำปางเนื่องจากเห็นว่าโปมะยุง่วนเป็นบุคลสำคัญระดับเจ้าเมือง ทางนครลำปางจึงคุมตัวส่งลงไปถวายยังกรุงเทพฯ
การจับโปมะยุง่วนเป็นเชลยได้ กลายเป็นผลดีต่อฝ่ายไทยอย่างมาก เพราะได้นำตัวไปสอบสวนข้อราชการสงคราม
ทำให้ทราบข่าว แน่ชัดว่า พม่าเตรียมกองทัพเข้ามาตีนครลำปางในฤดูแล้ง เมื่อตีได้แล้วก็จะกลับไปตั้งมั่นอยู่ที่เชียงใหม่
อีกครั้งหนึ่ง(คำให้การของโปมะยุง่วนต่อมากลายเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ฉบับห
นึ่ง ที่เรียกว่า
คำให้การของชาวอังวะ) การที่พม่ามีนโยบายเข้ามายึดเชียงใหม่เป็นที่มั่น
นับว่าเป็นอันตรายต่อบรรดาหัวเมืองเหนือทั้งปวง ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงคิดหาทางป้องกันไว้ก่อน
โดยมีพระบรมราชโองการให้เจ้ากาวิละแบ่งครอบครัวจากนครลำปางส่วนหนึ่ง ขึ้นไปรักษาเมืองเชียงใหม่
ส่วนทางเมืองนครลำปางโปรดให้เจ้าคำโสมอนุชา เจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองสืบแทน
เนื่องจากมีกำลังน้อยเจ้ากาวิละเห็นว่าไม่เพียงพอที่จะรักษาเมืองเชียงใหม่ ที่อยู่ในสภาพทรุดโทรม
เพราะเป็นเมืองร้างมาหลายปี ดังนั้นจึงอพยพครอบครัวไปตั้งที่ป่าซางก่อนเป็นการชั่วคราว
โดยมีกองทหารจากเมืองสวรรคโลก และกำแพงเพชรยกขึ้นมาช่วยป้องกันบ้านเมือง
ในระหว่างนั้นได้รวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายบริเวณชายแดน มาไว้ในบ้านเมืองตามนโยบายที่เรียกว่า
"เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง" แต่ยังไม่ทันจะอพยพขึ้นไปตั้งมั่นที่เชียงใหม่ พม่าก็ได้ยกกองทัพมาโจมตีเสียก่อน
ดังนั้นจึงตั้งมั่นอยู่ที่ป่าซางถึง 5 ปี เศษ ครั้นถึงฤดูแล้ง พ.ศ. 2330
กองทัพของหวุ่นยีมหาชัยสุระยกลงจากเชียงตุงเข้ายึดเชียงใหม่คืน
ตีเชียงรายแล้วเข้าสมทบกับกองทัพของจอข้องนรทาที่ฝาง รวมรี้พลได้ ราว 30,000 คน ยกลงมาทางเมืองพะเยา
เข้าตีนครลำปาง ส่วนทางป่าซางพระเจ้าปะดุงทรงมีรับสั่งให้ยีแข่งอุเมงคีโป คุมกำลัง 16,000 คน
จากเมืองเมาะตะมะ
เข้าโจมตีล้อมไว้ป้องกันมิให้ยกไปช่วยทางนครลำปาง ฝ่ายกองทัพพม่าที่ล้อมนครลำปาง
เจ้าคำโสมได้นำทัพชาวเมืองต่อสู้ป้องกันบ้านเมืองไว้อย่างเข้มแข็ง พม่าพยายามเข้าปล้น
เมืองหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จจึงตั้งค่ายล้อมไว้ให้ขาดเสบียงอาหาร ขณะนั้นทางกรุงเทพฯ
กำลังเตรียมกองทัพจะไปตีเมืองทวาย ครั้นทราบข่าวการศึกทางหัวเมืองเหนือ จึงโปรดให้พระอนุชาธิราช
สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกขึ้นมาช่วย พอยกขึ้นมาถึงนครลำปาง
โปรดให้ตั้งค่ายโอบล้อม พม่าไว้อีกชั้นหนึ่ง เมื่อพร้อมแล้วก็ ส่งสัญญาณให้กองกำลังในเมืองตีกระหนาบออกมาพร้อมกัน
พม่าสู้ไม่ได้จึงแตกพ่ายหนีกลับไปยัง เชียงแสน
ส่วนที่ป่าซางกองทัพไทยก็ได้ยกขึ้นไปช่วยตีกระหนาบข้าศึกแตกพ่ายไป เช่นเดียวกัน
ภายหลังเสร็จจากการศึกสงครามคราวนี้ เจ้ากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่และเจ้าคำโสม เจ้าเมืองนครลำปาง
ได้พาพระอนุชา (เจ้าเจ็ดตน) เข้าเฝ้าสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
แล้วถวายพระพุทธสิหิงค์ให้นำไปประดิษฐาน ณ กรุงเทพ ฯ มาจนกระทั่งทุกวันนี้
ใน พ.ศ. 2337 เจ้ากาวิละได้เรียกพระอนุชาทั้ง 6 เข้าเฝ้าแล้ว มีโอวาทคำสอน
โดยมุ่งให้มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งมีสาระสำคัญ ตอนหนึ่งว่า
"ตั้งแต่เจ้าเราทั้งหลายไปภายหน้าสืบไป ถึงชั่วลูก ชั่วหลาน เหลน หลีด หลี้ ตราบสิ้น ราชตระกูลแห่งเราทั้งหลาย
แม้นว่าลูกหลาน เหลน หลีด หลี้ บุคคลใดยังมีใจใคร่กบฏ คิดสู้รบกับ พระมหากษัตริย์เจ้า แห่งราชวงศ์จักรี
แล้วเอาตัวและบ้านเมืองไปพึ่งเป็น ข้าม่าน ข้าฮ่อ ข้ากูลา ข้าแก๋ว ข้าญวน ขอผู้นั้นให้วินาศฉิบหาย ตายวาย
พลันฉิบหายเหมือนกอกล้วย พลันม้วยเหมือนกอเลา กอคา ตายไปแล้วก็ขอให้ตกนรกแสนมหากัปป์ อย่าได้เกิดได้งอก
ผู้ใดยังอยู่ตามโอวาทคำสอนแห่งเรา อันเป็นเจ้าพี่ ก็ขอให้อยู่สุข วุฒิจำเริญ
ขอให้มีเตชะฤทธีอนุภาพปราบชนะศัตรูมีฑีฆา อายุมั่นยืนยาว"
ด้วยเหตุนี้หัวเมืองทางเหนือจึงไม่แข็งเมืงกับทางภาคกลางจนถึงปัจจุบัน
และ เชื้อเจ้าเจ็ดตนก็ได้สืบเชื้อสายราชสกุล อันได้แก่ ณ เชียงใหม่, ณ ลำปาง, ณ ลำพูน ฯลฯ
สืบต่อกันมาร่วม 2 ร้อยกว่า กว่าปีมานี่ล่ะครับ