วิธีคิดดอกเบี้ยให้กู้ยืมเงิน
การคิดดอกเบี้ยการให้กู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คิดดอกเบี้ยได้อย่างสูงไม่เกิน
ร้อยละ15 ต่อปี ส่วนสถาบันการเงินใช้กฎหมายอื่น จึงอาจเรียกดอกเบี้ยได้เกิน
ร้อยละ 15 ต่อปี
1. การคิดดอกเบี้ยการให้กู้ยืมเงิน
การให้เงินมาโดยไม่คิดดอกเบี้ย เรียกว่า "ยืมเงิน" ถ้าเจ้าของเงินคิดดอกเบี้ยด้วย เรียกว่า "กู้เงิน"
การกู้ยืมเงินนั้น กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หรือใน
อัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน
หากผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผลก็คือดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งหมด ผู้ให้กู้สามารถเรียกให้ผู้กู้ชำระเงินต้นคืนให้แก่ตนได้เท่านั้น และผู้ให้กู้ยังต้องคิดคุก เพราะมีความผิด
ทางอาญา ฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา อาจถูกจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ในกรณีที่ไปกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินอื่น เช่น บริษัททรัสต์ บริษัทเงินทุน ฯลฯ กฎหมายยินยอมให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินดังกล่าวคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามอัตราดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังได้กำหนดไว้
ในการกู้ยืมเงินเมื่อมีการเสียดอกเบี้ย ผู้ให้กู้ก็ต้องรู้วิธีการคิดดอกเบี้ย เพื่อจะได้คิดดอกเบี้ยได้ถูกต้อง
ผู้กู้ก็มีความจำเป็นจะต้องรู้ว่าตนเองจะต้องเสียค่าดอกเบี้ยเท่าไร เพราะฉะนั้น การคิดดอกเบี้ย จึงมีความจำเป็น อย่างมากสำหรับตัวผู้ให้กู้และผู้กู้
วิธีการคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้น
ตัวอย่างที่ 1 ราตรีกู้เงินจากบัวขาวเป็นจำนวนเงิน 26,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ราตรีกู้
เงินเป็นเวลา 2 ปี 2 เดือน ราตรีจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่บัวขาวเท่าไร
วิธีคิด ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี หมายความว่าเงินต้น 100 บาท ในเวลา 1 ปี จะต้องเสีย
ดอกเบี้ย 15 บาท
ดังนั้น เงินต้น 26,000 บาท ในเวลา 1 ปี จะต้องเสียดอกเบี้ย = 15 X 26,000/100
= 3,900 บาท
สิ้นปีราตรีต้องเสียดอกเบี้ย 3,900 บาท หรือบัวขาวได้ดอกเบี้ย 3,900 บาท (เฉลี่ยเดือนละ 325 บาท)
ไม่ทราบว่าคิดถูกผิดยังไงช่วยชี้แนะด้วยนะคะ
