การใช้งาน Raspberry Pi สำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโดย อ.จักรกฤษณ์ แสงแก้ว สาขาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เขียน 23:47 น. วันที่ 10 มกราคม 2556
บทนำวันนี้นำท่านศึกษาการใช้งาน Raspberry Pi ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ในบอร์ดเดียว (Single Board Computer) พัฒนาขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Raspberry Pi Foundation ภายใต้การทำงานขององค์ไม่หวังผลกำไร สร้างคอมพิวเตอร์ในบอร์ดเดียวเพื่อใช้สำหรับการสอนและสำหรับเรียนของนักศึกษาในสาขา Computer Science การจำหน่าย Raspberry Pi ได้ลิขสิทธิ์ร่วมระหว่าง Element 14 และ RS Electronics จำหน่าย Raspberry Pi ทางออนไลน์

Raspberry Pi ได้ใช้ชิป Broadcom BCM2835 (SoC : System on Chip) ซึ่งทำงานกับซีพียู ARM1176JZF-S ความเร็ว 700 MHz, ใช้หน่วยประมวลผลกราฟิก VideoCore IV GPU, หน่วยความจำ 256 MB เวอร์ชั่นใหม่ใช้ 512 MB มีสองรุ่น $25 เหรียญ และ $35 เหรียญ ผู้สร้าง Raspberry Pi ได้ใช้ Debian และ Arch Linux ARM และวางแผนให้สนับภาษาไพธอนเป็นภาษาหลักในการควบคุม Raspberry Pi นอกจากนั้นสามารถใช้งานภาษาเบสิก BBC Basic บนระบบปฏิบัติการ RISC OS, ภาษาซี , ภาษา Perl ได้ด้วย
ความแตกต่างของ Raspberry Pi กับ Android Mobile
ความแตกต่างมี 2 ประเด็น คือ
1. ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานสำหรับบอร์ด Raspberry Pi เป็น PC Linux ปัจจุบันนี้ได้มีนักพัฒนานำเอา Android มาติดตั้งใน Raspberry Pi และใช้งานได้
2. Raspberry Pi สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ผ่าน GPIO (Gerneral Purpose Input Output) ซึ่งประกอบด้วย UART, SPI, PWM และอื่น ๆ เพื่อสื่อสารกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ความรู้ในเรื่อง Microcontroller สามารถจบด้วยบอร์ดนี้เพียงบอร์ดเดียว ท่านสามารถเปิดมุมมองในการพัฒนาแอพลิเคชั่นทั้งฮาร์ดแวร์ / เว็บ / ฐานข้อมูลได้อย่างไม่มีขีดจำกัดในการเรียนรู้
วิศวกรผู้สร้าง Raspberry Pi
วิศวกรผู้สร้าง Raspberry Pi คือ คุณ Eben Christopher Upton ปัจจุบันอายุ 35 ปี (พ.ศ.2556) ทำงานที่บริษัท Broadcom ในตำแหน่ง Technical Director และ ASIC Architect รับผิดชอบระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมดและสถาปัตยกรรมฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์ Raspberry Pi

Eben Christopher Upton
แผนภาพวงจรของ Raspberry Pi (Schematic)
หากท่านสนใจที่จะสร้างคอมพิวเตอร์ในบอร์ดเดียว (Single Board Computer) สามารถศึกษาวงจรและออกแบบเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์และทำ PCB (Print Circuit Board) และลงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างเป็นคอมพิวเตอร์ในบอร์ดเดียวได้ เช่นกัน โดยศึกษาจากแผนภาพวงจร ต่อไปนี้

Raspberry Pi - Schematic
สั่งซื้อ Raspberry Pi ได้ที่ไหน
ท่านสามารถสั่งซื้อได้จาก
http://element14.com ,
http://thaieasyelec.com,
http://inex.co.th และ
http://www.raspberrypithai.comปล. ราคาขายในประเทศไทย ผ่านพ่อค้าคนกลาง อยู่ที่ประมาณ $60 ถึง $83
เริ่มต้นใช้งาน
การติดตั้งระบบปฏิบัติการลงบน SDCard
ในการใช้งาน Raspberry Pi เหมือนกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป เพียงแต่ท่านต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการลงบน SDCard ซึ่งควรมีขนาดความจุตั้งแต่ 2 GB ขึ้นไป ท่านสามารถดาวน์โหลดระบบปฏิบัติการสำหรับ Raspberry Pi ได้ที่
http://www.raspberrypi.org/downloads ในบทความนี้ผู้เขียนใช้ OS-Image จากลิงค์
http://downloads.raspberrypi.org/images/raspbian/2012-12-16-wheezy-raspbian/2012-12-16-wheezy-raspbian.zipการเขียน OS-Image ลงใน SDCard
การเขียน OS-Image ลงใน SDCard ทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่ความสะดวกของท่าน ผู้เขียนแนะนำ 3 แนวทางดังนี้
1. หากท่านใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ให้ดาวน์โหลดโปรแกรม Win 32 Disk Imager ได้จากลิงค์
http://ie.archive.ubuntu.com/download.sourceforge.net/pub/sourceforge/w/project/project/wi/win32diskimager/Archive/2. หากท่านใช้ระบบปฏิบัติการ Linux สามารถใช้โปรแกรม Usb-Imagewriter และ Gparted
$ sudo apt-get install usb-imagewriter gparted
$ imagewriter
3. ใช้คำสั่ง dd ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ การใช้งานคำสั่ง DD บน Ubuntu - Linux
การเชื่อมต่ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
ผู้เขียนเชื่อมต่อ Raspberry Pi เข้ากับ LAN เพื่อต่ออินเตอร์เน็ต และจ่ายไฟ 5V จากสายชาร์ต I-Mobile ให้กับบอร์ด Raspberry Pi ดังภาพต่อไปนี้

ชื่อผู้เข้าใช้ระบบที่มาพร้อมกับ OS-Image
USERNAME : pi
PASSWORD : raspberry
การรีโมทเข้าไปยังเครื่อง Raspberry Pi ด้วย SSH
โปรแกรม SecureCRT เพื่อเชื่อมเข้าไปยังเครื่อง Raspberry Pi
การเชื่อมต่อไปยังเครื่อง Raspberry Pi ด้วย SSH ผ่าน Ubuntu Terminal
ผู้เขียนใช้ระบบปฏิบัติการ Ubuntu และใช้งาน VirtualBox เพื่อใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ภายใน Ubuntu เป็นแนวคิดของการทำ Virtualization ทำให้สะดวกในการทำงานมาก เพราะหากต้องการใช้แอพลิเคชั่นบนวินโดวส์ จะทำงานใน VirtualBox นอกจากนั้น สามารถใช้พาทิชั่นร่วมกันได้อีกด้วย ทำให้การทำงานมีความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพสูง ดังภาพต่อไปนี้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การใช้งาน Raspberry Pi สำหรับผู้เริ่มต้น
โดย อ.จักรกฤษณ์ แสงแก้ว สาขาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม