มาต่อเรื่อง ทำไมรู้สึกว่าเปลื่องกว่าเบนซิล กับทำไม มันเร่งแล้วกระตุก ตอนเช้าๆ
ขอเกรินนิดหนึ่งน่ะครับว่า ความรู้ที่ได้มาจากการอ่านกับการทดลองน่ะครับ บางข้อความก็หยิบขอท่านๆอื่นมาใช้เช่นกันครับ ขอไห้เครดิตไว้ก่อน
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับ ค่าA/F ratio,A/F=Air/Fuelแปลเป็นภาษาไทยแบบง่ายๆ คือคืออัตราส่วนผสมระหว่างอากาศและเชื้อเพลิง
หากใครพอจบช่างหรือมีความรู้ทางด้านช่างยนต์ คงเคยเห็นตัวเลขนี้น่ะครับสำหรับเครื่องยนต์เบนซิล 14.7:1
ซึ่งสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำให้การสันดาปหรือการระเบิดในกระบอกนั้น สมบูรณ์ที่สุดคือ คือ 14.7: 1
นั่นคือมวลอากาศ 14.7 กรัม ต่อมวลน้ำมัน 1 กรัม (โดยน้ำหนักน่ะครับสังเกตุหน่วย)
ซื้ง 14.7: 1 คือค่าที่เผาไหม้แล้วสะอาดที่สุด ออกซิเจน คาร์บอน และไฮโดรเจน ที่ถูกนำเข้ามาในฝาสูบแล้วเผาไหม้ในอัตราส่วน ผสม A/F 14.7:1 จะมีละอองน้ำพ่นออกปลายท่อไอเสีย (สังเกตุตอยเช่าๆ)
แต่ใช้งานจริงๆ ค่าA/F จะน้อยกว่านี้
คิดง่ายๆก็คือ ถ้า A/F มากกว่า 14.7 : 1 เช่น 15.8 : 1 คือน้ำมันบาง
ถ้า A/F น้อยกว่า 14.7 : 1 เช่น 12.1 : 1 คือน้ำมันหนา
อย่าพึ้งโกรธผมน่ะครับว่าแล้วมันไปเกี่ยวอะไรกับ แก็สโซฮอล์
มาดูตารางนี้ก่อนครับ เป็นตารางที่แสดงค่าA/Fของเชื้อเพลง ชนิดต่างๆ
ช่องแรกคือ เปอร์เซนต์ส่วนผสมของEthanolในน้ำมันเบนซิล เช่น เบนซิลล้วนๆก้0%
แก็สโซฮอล์ ทั่วไปที่เราเรียกว่า E10ก็คือ มีEthanolผสม10%
E20ก็คือ มีEthanolผสม20%
E85ก็คือ มีEthanolผสม85%
E100ก็คือ มีEthanolผสม100% (ใช้ในประเทศโซนแอฟริกาเช่นประเทศบลาซิล)
ช่องที่2คือค่าA/F ratio ที่เผาไหม้แล้วสะอาดที่สุด
ช่องที่3คือค่าA/F ratio ที่เผาไหม้แล้วไห้กำลังมากที่สุด
ตาราง

เราจะเห็นว่าแก็สโซฮอล์ E10 จะใช้ อากาศ14.1กรัม :น้ำมัน1กรัม
E20 จะใช้ อากาศ13.0กรัม :น้ำมัน1กรัม
แปลไทยเป็นไทยก็คือ ในการเผาไหม้แก็สโซฮอล์ ไห้สมบูรณ์ ง่ายๆก็คือใช้จะใช้เชื้อเพลิงมากกว่าการเผาไหม้เชื้อเพลิงเบนซิล
อย่างE20 ออัตราส่วนผสมระหว่างอากาศและเชื้อเพลิง อยู่ที่13.0:1
14.7(เบนซิล)กับ13.0(E20)หลายคนคิดว่าค่าสวนต่างแค่1.7กรัมคงไม่มีผลมั้ง แต่ให้คิดไหม่น่ะครับ อากาศ1.7กรัม มันเป็นปริมาตรไม่น้อยเลยที่เดียว
1 เครื่องยนต์หัวฉีดทำไมรู้สึกว่าแก็สโซฮอล์หรือE20 เปลื่องกว่าเบนซิล
ผมตอบได้เลยครับไม่ใช่แค่รู้สึกอุปทานครับ มันเปลื่องกว่าจริงๆถามว่าแค่ไหน ก็กลับไปดูที่ตารางข้างบนครับ
2คำถามคือรถทั่วไปเติมเเก็สโซฮอล์ได้หรือป่าว
ตอบ ได้ครับ แต่ต้องปรับอากาศจากเดิมเบนซิล 14.7:1 เป็น 14.1:1 ,E20ก็ 14.7:1 เป็น 13.0 :1 พูดง่ายๆก็คือ จูนน้ำมันไห้หนาขึ้นนั้นเอง
น้ำมันบาง เร่งแล้วกระตุก และเครื่องร้อนด้วยครับ
3แล้วทำไมมันกระตุก อัตราเร่งอืด ภาษาชาวบ้านคือ มันไม่แรง
ตอบ น้ำมันบางครับ คือคุณไม่ได้ปรับส่วนผสมไหม่ไห้เหมาะสมนั้นเอง เหมือนข้อ2
4 อีกคำถาม มีปัญหาตอนเช้า สตาร์ทรถติดยากขนาดครับ สตาร์ท 3-4 ครั้ง....พอติดแล้ว ขับออกตัวไปกระตุก ๆ [แต่ถ้าขับไปเครื่องร้อนแล้วก็จะปกติครับ]
ตอบ ที่ตอนเช้า ความหนาแน่น อากาศมากกว่าปรกติครับ ส่วนประกอบของอากาศ จะประกอบด้วยแก๊สไนโตรเจนประมาณ ร้อยละ 78 แก๊สออกซิเจน ประมาณร้อยละ 21 และแก๊สอื่นๆ อีกประมาณ ร้อยละ 1
ที่ 30 C อากาศมีความหนาแน่น 1.166 kg/m3 จะมี O2 = 1.166*0.232 = 0.2705 kg
ที่ 20C --- อากาศมีความหนาแน่น 1.205 ดังนั้น จะมี O2 = 1.205*0.232 = 0.2795 kg
ดังนั้น ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ถ้ามีอุณภูมิเป็น 20 C: (0.2795 - 0.2705)/0.2705 * 100 = 3.33 %
อากาศบ้านเราต่ำกว่า 20Cด้วยซ้ำตอนเช้า เมมมมื่อออกซิเจนเยอะขึ้น ไม่ต้องแปลกใจครับ ว่าทำไมสตาร์ทติดยาก ออกซิเจนมันเยอะเกินนิเอง
สังเกตุไหมครับว่ารถสมัยก่อน จึงมีสติ๊กเกอร์ เตือนไว้ว่า ไห้ดึงโช๊คเวลาสตาร์ทเครื่องอากาศเย็น ดึงโช๊คจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำมันในการผสมก่อนเผาไหม้นั้นเอง
และก็เครื่องเย็นกระตุก ร้อนๆหาย เครื่องยนต์ไม่ได้ถูกออกแบบไว้เผาไหม้ที่14'c(หน้าหนาวเช้าๆ) ครับ ในสมุดแนะนำการใช้รถจึงบอกไว้ว่า อุ่นเครื่องทุกครั้งก่อนใช้งาน
พอถึงอุณหภูมิทำงาน ก้ใช้ได้ตามที่ท่านบอกครับว่า [แต่ถ้าขับไปเครื่องร้อนแล้วก็จะปกติครับ]อีกส่วนหนึ่งผมว่า ไม่ได้จูนด้วยแน่ๆครับ
สังเกตุรถหัวฉีดจะไม่เป็นไร เพราะมันสามารถปรับได้เองครับ มันมีกล่องประมวลผม
ขอบคุณครับ