อาจจะพอช่วยได้ครับ
ในการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ พิธีกรรม หรือศาสตร์โบราณของไทย ที่ต้องใช้วันเดือนปีเกิดตามปฏิทิน บ่อยครั้งมีความสับสนว่าเกิดวันใด เพราะบางครั้งวันเกิดตามโหราศาสตร์ที่ผู้พยากรณ์ใช้ตั้งต้น ไม่ตรงกับวันเกิดปีเกิดตามสูติบัตร ปฏิทิน หรือตามที่เข้าใจ
ถ้าย้อนไปประมาณ 100 กว่าปี ประเทศไทยยังใ
ช้ปฏิทินจันทรคติอยู่ ตอนนั้นชื่อเดือน มกราคม ยังไม่มีใครรู้จัก ผู้คนยุคจะรู้จักวันแรมค่ำ เดือนอ้ายยี่ ปีชวด ฉลู เท่านั้น คนรุ่นปู่ย่า รุ่นทวดจะจำวันเกิด เช่น วันศุกร์ เดือนยี่ ปีกุน และหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงเริ่มใช้วันเดือนปีตามสากล วันทางจันทรคติก็เหลือใช้เฉพาะกลุ่มเช่น ทางโหราศาสตร์ พิธีกรรม ศาสนา ส่วนอื่นๆจะใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลเกือบทั้งหมด ดังนั้น หากจะใช้ตำราโหราศาสตร์ พิธีกรรม แบบเก่าก็ควรต้องเข้าใจหลักปฏิทินแบบเก่าด้วย จะนำเงือนไข
ปฏิทินสุริยคติปัจจุบันมาใช้ไม่ได้ ต้องเปรียบเทียบหาวันเวลาที่ถูกต้องก่อนใช้ สำหรับความสับสนในเรื่องการใช้ปฏิทินสุริยคติและจันทรคติ แบ่งเป็น 2 เรื่องหลักๆ ดังนี้
....การนับวันเวลาเกิด...
ครั้งโบราณ ไม่มีนาฬิกา จึงถือเอาเวลาพระออกบิณฑบาต หรือเมื่อมองเห็นลายมือบนฝ่ามือชัดเจน(ไม่ใช้แสงไฟช่วย) ด้วยตาเปล่าให้นับเป็นวันใหม่ ซึ่งก็คือใช้เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นหรือประมาณ 06.00 น. เป็นเกณฑ์ในการเปลี่ยนวัน ในยุคปัจจุบันซึ่งมีนาฬิกา การเทียบเวลาเปลี่ยนวันใหม่ เริ่มที่ 06.00 น. หรือตามเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริง ดังนั้นการนับรอบวันที่ใช้ในทางโหราศาสตร์ พิธีกรรม ศาสตร์โบราณต่างๆของไทย จะใช้ปฏิทินจันทรคติไทย โดยถือรอบวันตามดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นหลัก คือหนึ่งวันเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.-05.59 น. แตกต่างจาก รอบวันตามสากลซึ่งปฏิทินสุริยคติ หรือเป็นแบบที่ใช้ในสูติบัตร รอบวันจะเริ่ม 00.01 น.- 24.00น.
การนับรอบวันจันทรคติจะใช้แบบนั้นทั้งหมด จะมีวันพุธที่แยกย่อย 2 ช่วง คือ เกิดวันพุธช่วงเวลา 06.00 น.-17.59 น. จะเรียกว่า วันพุธกลางวัน แต่ถ้าท่านเกิดช่วงเวลา 18.00น.-05.59 น. จะเรียกว่า วันพุธกลางคืน หรือวันราหู ตัวอย่าง เกิดวันอาทิตย์ก็จะเริ่มนับเวลาเกิดจาก 06.00น. ของเช้าวันอาทิตย์ไปจนถึง 05.59 น.ของวันจันทร์ ยังคงนับเป็นวันอาทิตย์อยู่ เมื่อถึง 06.00น. ของเช้าวันจันทร์เมื่อใดจึงถือเป็นวันจันทร์ เช่น ตามสูติบัตร บอกว่าท่านเกิดอาทิตย์เวลา 04.13น. แต่เมือนับตามปฏิทินจันทรคติไทยจะถือว่าเป็นวันเสาร์อยู่ เพราะยังไม่เลย 06.00น. ซึ่งเป็นช่วงย่างเข้าวันอาทิตย์จริงๆ ตามการนับแบบจันทรคติ , ตามสูติบัตร บอกว่าท่านเกิดพฤหัสบดีเวลา 05.13น. แต่เมือคิดตามหลักจันทรคติถือว่าเป็นวันพุธอยู่ เพราะยังไม่เลย 06.00น. และเป็นวันพุธกลางคืนเพราะอยู่ช่วงเวลา 18.00น.-05.59 น.
สรุปเป็นหลักการง่ายๆ ก็คือ หากเวลาเกิดตามสูติบัตร อยู่ระหว่าง หลังเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้า (00.01- 06.00น.) สูติบัตรบอกว่าเกิดวันอะไรให้ย้อนมาหนึ่งวัน ก็จะได้วันทางจันทรคติ ที่ใช้สำหรับโหราศาสตร์ แต่หากเวลาเกิดตามสูติบัตรอยู่ช่วงเวลาอื่นใช้วันจันทรคติ แบบเดียวกับสูติบัตรได้เลย (ยกเว้น วันพุธกลางคืน ให้ดูเงื่อนไขเพิ่มเติม)
สำหรับการคำนวณอีกแบบที่มีการตัดเวลาท้องถิ่น จะกระทบในลักษณะเดียวกัน เช่น ตามสูติบัตรเกิดอังคารเวลา 06.03น. ตามหลักข้างต้นต้องเป็นวันอังคารแต่ตามหลักจันทรคติ ตัดเวลาท้องถิ่น จะกำหนดให้มีการตัดเวลาท้องถิ่นออก คือลบด้วย 18 นาที เป็นช่วงเวลาจริงที่ต่างกันระหว่าง จังหวัดกรุงเทพฯ และจังหวัดอุบลราชธานี (ลองติจูด 105° เริ่มใช้ 1 เมษายน พ.ศ. 2463) ซึ่งใช้อ้างอิงเวลา เมื่อคำนวณแล้ว เวลาเกิดจริง คือ 05.45น.(06.03น. ลบออก 18 นาที ) ก็จะถือว่าเป็นวันจันทร์เพราะยังไม่ถึง 06.00น. ซึ่งเป็นเวลาเปลี่ยนวันใหม่ นอกจากนี้ยังมีอีกแบบที่ใช้เวลาท้องถิ่นจังหวัดที่เกิดนั้นๆ เช่น เกิดจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ลบด้วย 20:39 นาที หรือลงลึกระดับอำเภอ ตำบล ก็มีใช้ , นอกจากนี้ยังมีการตัดวันอีกแบบที่ใช้ เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริงของวันนั้นๆ แทนเวลา 06.00 น.
ที่มา :
http://www.myhora.com