เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2025, 13:36:43
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ประเทศไทยมีสลัมกี่แห่ง
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ประเทศไทยมีสลัมกี่แห่ง  (อ่าน 19174 ครั้ง)
theroosterclub
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 24 มิถุนายน 2011, 21:16:46 »

เคยมีไครทราบข้อมูลนี้บ้างครับ

IP : บันทึกการเข้า
witoonaha
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 552


ทำงานเพื่อลูก


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 24 มิถุนายน 2011, 21:25:03 »

ที่มีชื่อเสียงก็สลัมคลองเตย แต่ที่อื่นไม่รู้เพราะมีคนไม่อยากให้เรียกสลัม ฮืม (ใช้เป็นชุมชนแออัด)
IP : บันทึกการเข้า
Benzram
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 216


หนุ่มน้อย ไร้ร้อยตีนกา


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2011, 13:37:50 »

เยอะครับโดยเฉพาะแถวกรุงเทพ แต่ส่วนมากเขาจะไม่เรียกว่าสลัมครับ แต่ความเป็นอยู่ก็สลัมนั่นแหละครับ บางแห่งก็ซุกตัวอยู่ในย่านที่อยู่อาศัยของคนมีเงิน ความเป็นอยู่ต่างกันอย่างฟ้ากับเหว ทั้งที่อยู่ห่างกันไม่กี่กิโล นี่แหละครับเมืองหลวง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 25 มิถุนายน 2011, 13:41:07 โดย Benzram » IP : บันทึกการเข้า
theroosterclub
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2011, 17:47:36 »

ปัญหาชุมชนแออัด

 

            ปัญหาชุมชนแออัดหรือแหล่งเสื่อมโทรม เป็นปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของสังคมเมือง ชุมชนแออัด หมายถึง บริเวณที่มีอาคารบ้านเรือนปลูกอยู่อย่างแออัดยัดเยียด สภาพบ้านเรือนชำรุดทรุดโทรมผุผัง ไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้เป็นที่อยู่อาศัย มีประชากรอาศัยอยู่แออัด เครื่องสาธารณูปการและสาธารณูปโภคขาดแคลน สถานที่อยู่คับแคบ สกปรก เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

            ชุมชนแออัดมักพบเห็นได้โดยทั่วไปตามเมืองใหญ่ที่มีประชากรอพยพจากชนบทเข้ามาประกอบอาชีพ ผู้อพยพจะอาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ประกอบอาชีพ บริเวณดังกล่าวจึงแออัดยัดเยียดมากขึ้น และขยายอาณาเขตออกไป กลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรมได้ในเวลาอันรวดเร็ว

            บริเวณที่เป็นชุมชนแออัด จะสังเกตได้จากลักษณะดังต่อไปนี้

1.       มีบ้านเรือนปลูกหนาแน่น

2.       มีประชากรอาศัยอยู่อย่างแออัดยัดเยียด

3.       บริเวณที่อยู่อาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ

4.       อาคารบ้านเรือนชำรุดทรุดโทรม

5.       ผู้อยู่อาศัยมีอาชีพมมากมายหลายประการ ส่วนใหญ่เป็นอาชีพชั่วคราวมีรายได้ไม่ประจำและไม่แน่นอน

            สาเหตุที่ทำให้เกิดชุมชนแออัด

            สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดชุมชนแออัด มีดังนี้

1. การอพยพโยกย้ายเข้าสู่ตัวเมือง เนื่องมาจากการที่ชาวชนบทอพยพเข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อหาอาชีพซึ่งมีรายได้ดีกว่าในชนบท เมื่อเข้ามาในตัวเมืองจะประสบกับปัญหาที่อยู่อาศัยขึ้น จึงจำต้องไปอาศัยกับเพื่อนหรือญาติพี่น้องที่อพยพเข้ามาก่อน ทำให้เกิดชุมชนแออัดขึ้น

2. การขาดแคลนที่อยู่อาศัยราคาถูก เนื่องจากผู้มีรายได้น้อยไม่อาจจัดหาที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูกได้ จึงต้องอาศัยอยู่ตามชุมชนแออัดต่างๆ เรื่อยไป

ปัญหาในชุมชนแออัด

ชุมชนแออัดเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาต่างๆ มากมาย ปัญหาที่พบได้ในสังคมปัจจุบัน ได้แก่

1. ปัญหาสุขภาพอนามัย โดยเหตุที่ชุมชนแออัดไม่ถูกสุขลักษณะ จึงเป็นแหล่งที่เพาะเชื้อโรคต่างๆ และกระจายเชื้อโรคได้ง่าย

2. ปัญหาความไม่ปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย เนื่องจากสภาพควาดชำรุดทรุดโทรมของบ้านเรือน เป็นสาเหตุให้เกิดการหักพังและเกิดอัคคีภัย อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยได้ง่าย

3. ปัญหาอาชญากรรม ดังได้กล่าวแล้วว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดเป็นผู้ที่อพยพโยกย้ายมาจากแหล่งต่างๆ เพื่อการประกอบอาชีพและมีอาชีพไม่แน่นอน เมื่อเกิดความจำเป็นขาดอาชีพและมีภาระทางครอบครัวต้องเลี้ยงดู ทำให้อาจประกอบอาชีพในทางผิดกฎหมายได้

4. ปัญหาด้านศีลธรรม เนื่องจากสภาพบ้านเรือนในชุมชนแออัดคับแคบมีเนื้อที่จำกัด ทำให้ไม่อาจแบ่งแยกการอยู่อาศัยของสมาชิกในครอบครัวออกจากกันได้ ดังนั้นลักษณะบ้านในชุมชนแออัดซึ่งส่วนใหญ่จะมีเพียงห้องเดียว จะมีลักษณะเป็นห้องอเนกประสงค์ กล่าวคือใช้ประโยชน์ในการเป็นที่รับแขก รับประทานอาหาร ทำงาน หลับนอน และอื่นๆ ไปพร้อมกัน ความสัมพันธ์และการกระทำที่สมาชิกซึ่งเป็นผู้ใหญ่ เช่น บิดามารดา แสดงต่อกันจึงกลายเป็นสิ่งปกติธรรมดาของสมาชิกผู้เยาว์ในครอบครัว จนกระทั่งถือเป็นสิ่งธรรมดาที่ตนก็อาจปฏิบัติได้ อันจะเป็นทางนำไปสู่ปัญหาทางด้านศีลธรรมและความประพฤติผิดได้ต่อไป
IP : บันทึกการเข้า
theroosterclub
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2011, 17:49:36 »

ชุมชนแออัด หมายถึง ชุมชนส่วนใหญ่ที่มีอาคารหนาแน่น ไร้ระเบียบและชำรุดทรุดโทรม ประชาชนอยู่อย่างหนาแน่น มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย โดยให้ถือเกณฑ์ความหนาแน่นของบ้านเรือนอย่างน้อย 15 หลังคาเรือนต่อพื้นที่ 1 ไร่เป็น 1 ชุมชน

 ลักษณะของคนในชุมชนแออัด
 1. อาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคนอกระบบ เช่น รับจ้างทั่วไป ค้าขาย หาบเร่ แผงลอย รับงานอิสระ มอเตอร์ไซด์รับจ้าง ขับแท็กซี่ ลูกจ้างโรงงาน คนงานก่อสร้าง ฯลฯ ทั้งนี้มักไม่มีความมั่นคงในด้านอาชีพและไม่ได้รับการคุ้ครองด้านแรงงานและสวัสดิการ
 2. รายได้ คนจนเมืองมีรายได้น้อย ไม่แน่นอน โดยวัดตามเส้นวัดระดับความยากจน (poverty line) ของคนจนในเมือง มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 บ./เดือน
 3. สภาพการอยู่อาศัย พบว่าที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ของคนจนในเมือง จะมีสภาพทรุดโทรม แออัด ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่มีควมมั่นคงในการอยู่อาศัย
 4. การได้รับบริการทางสังคม พบว่า คนจนเมืองขาดโอกาสในการรับบริการต่าง ๆ ทางสังคมน้อยกว่าเปรียบเทียบกับคนทั่วไป เช่น การศึกษา สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ฯลฯ

 ปัจจุบันมีชุมชนแออัดทั่วประเทศประมาณ 5,500 ชุมชน 1.5 ล้านครัวเรือน ประชากรประมาณ 6.75 ล้านคน ขณะที่ในกรุงเทพ ฯ มีสลัมประมาณ 1,000 แห่ง และในต่างจังหวัด เช่น จังหวัดนครสวรรค์มีชุมชนกว่า 50 แห่ง, อยุธยามีประมาณ 50 – 60 แห่ง และเมืองใหญ่ทั้งเชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลาก็มีชุมชนแออัด และสลัมมากมายหลายแห่ง ซึ่งในแต่ละเมืองก็จะมีที่ว่างเปล่า แต่ไม่ได้จัดให้คนจนอยู่ เพราะฉะนั้น คนจนก็เลยจัดหาที่กันเอง ซึ่งเรียกว่า “ชุมชนบุกรุก” หรือ ชุมชนบุกเบิก” ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก
ที่มา:
http://www.nhanet.or.th/chs/chsjob.html
http://poverty.nesdb.go.th/poverty_new/urban/urban_pov_define.aspx
http://www.fm100cmu.com/fm100/100programs_detail.php?id_sub_group=58&id=969
IP : บันทึกการเข้า
....คนหน้าแหลม....
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,535


..........................


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2011, 17:50:50 »

ผมอยากรู้ที่เจียงฮายบ้านเฮา ที่ไหนเข้าข่ายสลัม มาก น่าจะมี
IP : บันทึกการเข้า
theroosterclub
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2011, 17:54:18 »

ชุมชนแออัดต้นแบบหรือการลวงโลก

Mon, 2009-10-05 23:38

ดร.โสภณ พรโชคชัย

โสภณ พรโชคชัย วิจารณ์นโยบายแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดในไทยเปรียบเทียบกับชาติเพื่อนบ้าน “ถ้าสิงคโปร์ ฮ่องกง หรือจีน ยอม ‘อนุรักษ์’ ชุมชนแออัดเอาไว้ ไม่เพิ่มความหนาแน่น ไม่สร้างเป็นตึกสูง ป่านนี้ก็คงไม่มีที่ทางเหลือพอจะพัฒนาอะไรแล้ว ป่านนี้ก็คงเป็นประเทศยากจนที่รอแต่ความช่วยเหลือจากนานาชาติแล้ว”

มีชุมชนแออัดบุกรุกบนที่ดินริมคลองชลประทานแห่งหนึ่ง อยู่กันมานานหลายสิบปี วันหนึ่งก็มีหน่วยงานบางแห่งเข้าไปช่วยสร้างบ้านให้ใหม่ ให้เงินกู้ แถมด้วยสัญญาเช่าที่ดินในราคาถูกระยะยาวเพื่อให้ได้อยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จากนั้นก็มีการอัดฉีดงบประมาณเข้าไปในดำเนินการอีกหลายโครงการ จนกลายเป็นชุมชนต้นแบบที่มีคนมาดูงานจากทั่วโลก
 
แต่หากฉุกคิดมองต่างมุมเลยครับ! ชุมชนแห่งนี้อาจเป็น:
 
1. การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและไม่คุ้มค่างบประมาณแผ่นดิน
2. การเล่นปาหี่ เพราะความสำเร็จเกิดขึ้นจากเงินสนับสนุนต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นมาขอกัน
3. การใช้งบประมาณแผ่นดินเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนเฉพาะกลุ่ม โดยกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอื่นเสียโอกาส และกลุ่มประชาชนทั่วไปเสียหาย อันนำไปสู่การสร้างความไม่เท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
 
ชุมชนลักษณะนี้ไม่อาจเป็นต้นแบบที่จะประสบความสำเร็จในที่อื่นได้ การเข้าใจผิดจะทำให้การพัฒนาชุมชนแออัดและมหานครหลงทิศผิดทางไปใหญ่
 
 
การใช้ที่ดินที่ขาดประสิทธิภาพ
ชุมชนแห่งนี้มีประชากรประมาณ 250 หลังคาเรือนบนพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ ที่ดินนี้หากนำมาพัฒนาตามมาตรฐานทั่วไป จะสามารถใช้สอยสุทธิได้ราว 80% หรือ 8 ไร่ ที่เหลือก็คือถนนหรือสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ
 
ที่ดิน 8 ไร่ หากนำมาสร้างอาคารแบบแฟลต 5 ชั้น ก็จะสามารถสร้างได้ประมาณ 64,000 ตารางเมตร โดยคิดจากที่ดิน 8 ไร่ หรือ 12,800 ตารางเมตร คูณด้วย 5 ชั้น พื้นที่ก่อสร้าง 64,000 ตารางเมตรนี้ สามารถใช้สอยสุทธิเพียง 80% หรือ 51,200 ตารางเมตร โดยที่เหลือก็คือทางเดิน บันได และอื่น ๆ หากคิดจากแฟลตเอื้ออาทร 32 ตารางเมตรก็จะสามารถจัดหาที่อยู่อาศัยได้ถึง 1,600 หน่วย หรือประมาณ 6.4 เท่าของจำนวนบ้านเดิมในชุมชน
 
กรณีนี้รัฐสามารถจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยอื่นในละแวกนั้น เข้ามาอยู่อาศัยได้อีก 1,350 ครัวเรือน หรือหากรัฐใจดีแจกให้ชาวบ้าน 250 ครัวเรือนนี้คนละ 2 ห้องไปเลย ก็ยังเหลือห้องให้ผู้มีรายได้น้อยแถวนั้นได้เข้ามาอยู่อีก 1,100 ครัวเรือน แต่รัฐกลับเอาที่ดินทั้งผืนไปแบ่งเช่าให้เฉพาะกับผู้อยู่อาศัยเดิม ถ้าเป็นที่ดินของพวกเขาเอง ก็ว่าไปอย่าง แต่นี่เป็นที่หลวง ประชาชนที่ด้อยโอกาสอื่น โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีกระทั่งบ้านในที่ดินบุกรุกเป็นของตนเอง ก็ไม่สามารถกระทั่งเข้ามาเช่าบ้านแบบแฟลตได้เลย
 
 
ความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
ถ้าสร้างเป็นแฟลต แล้วให้คนอีก 1,350 ครัวเรือนเข้ามาอยู่ หากคิดค่าเช่าหน่วยละ 2,000 บาท ก็จะได้เงินถึงปีละ 32.4 ล้านบาท แต่ในกรณีนี้ นอกจากรัฐจะไม่ได้เงินแล้ว ยังต้องเจียดงบประมาณแผ่นดินไปช่วยชุมชนนี้อีกต่างหาก
 
แต่บางคนก็อาจบอกว่า ชาวบ้านไม่ชอบอยู่แฟลต อยากอยู่ติดดินมากกว่า บางคนคิดไปไกลถึงขนาดว่า แฟลตไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยตามวิถีไทย แนวคิดนี้คงใช้ได้ในแง่ที่เรามีความสามารถในการหาซื้อบ้านเองในตลาดเปิด แต่นี่เป็นกรณีกึ่งให้เปล่า การจะมาเลือกอย่างนั้นอย่างนี้คงไม่ได้ และจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ผู้ที่รายได้น้อยนับล้านก็ยินดีซื้อห้องชุดในโครงการเมืองทองธานี ปลาทองกะรัต ช้างทองรังสิต ฯลฯ นี่แสดงว่าผู้มีรายได้น้อยเขาปรับตัวได้ในการอยู่อาศัยแบบแฟลต
 
ความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจอีกแง่หนึ่งก็คือ นอกจากรัฐจะไม่ได้เงินสักบาทจากการใช้ที่หลวงแล้ว ยังต้องจ่ายให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนนี้ถึงครัวเรือนละประมาณ 80,000 บาท (แรกเริ่ม 65,000 บาท) นัยเพื่อเป็นทุนประเดิมสำหรับครัวเรือนในการสร้างชุมชนใหม่ นี่เป็นเงินประมาณ 20 ล้านบาท ที่มาจากภาษีอากรของประชาชนทั่วประเทศ
 
นอกจากนี้รัฐยังให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำอีกจำนวนหนึ่งเพื่อให้ชาวบ้านสร้างบ้านของตนเอง เช่น ประมาณ 100,000 บาท โดยในขณะนี้ ชาวบ้านก็ยังผ่อนใช้คืนอยู่ตามปกติ รวมทั้งอัดฉีดโครงการพัฒนาอีกสารพัด แต่จากประสบการณ์โครงการแบ่งปันที่ดิน (Land Sharing) ในอดีตที่ผ่านมา ปรากฏว่าชาวบ้าน ‘ชักดาบ’ กันแทบทั้งชุมชน จนทางราชการต้องยกหนี้ให้ไปเลย บางแห่งผ่อนเพียงตารางวาละ 1 บาทต่อเดือน ก็ยัง ‘เบี้ยว’ หนี้ คงเพราะถือว่าเป็นเงินหลวง แต่ถ้าเป็นหนี้นอกระบบ คงไม่มีใครกล้า ‘เบี้ยว’ เพราะนั่นหมายถึงชีวิต! ชุมชน Land Sharing ที่เคยได้ชื่อว่าสำเร็จเหล่านี้ เมื่อก่อนก็เคยต้อนรับคณะดูงานจากทั่วโลกเหมือนกัน แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปแล้ว
 
 
ค่าเช่าที่ดินแสนถูก
ที่ดิน 10 ไร่ติดคลองชลประทานใหญ่ดังกล่าว เมื่อก่อนคงแทบไม่มีราคา แต่ตามสภาพที่เป็นชุมชนแออัดในปัจจุบัน หากขายได้คงเป็นเงินตารางวาละไม่เกิน 15,000 บาท หากรัฐขอ ‘ไถ่’ คืนจากชาวบ้าน ณ ราคาข้างต้น รัฐก็ควรจ่ายเงินแก่ชาวบ้านรวม 60 ล้านบาท หรือหลังละ 240,000 บาท แล้วต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันไป ซึ่งในแง่หนึ่งชาวบ้านก็น่าจะดีใจที่ได้อยู่ฟรีกันมา 40-80 ปี (2-4 ชั่วรุ่น) แล้ว อยู่ ๆ ก็ยังได้เงิน ‘ค่าทำขวัญ’ หรือ ‘โบนัส’ อีกต่างหาก
 
เมื่อที่ดินแปลงนี้สามารถนำมาพัฒนาในทางอื่นที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ราคาที่ดินก็อาจสูงขึ้นถึงตารางวาละ 50,000 บาท หรือไร่ละ 20 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 200 ล้านบาท หากให้เอกชนเช่า ณ 4% ของราคาตลาด รัฐก็จะได้เงินถึง 8 ล้านบาทต่อปี รัฐสามารถนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาประเทศหรือช่วยเหลือชุมชนแออัดอื่นได้อีก โดยรัฐไม่ต้องเอาภาษีอากรของประชาชนมาใช้แต่อย่างใดเลย
 
 
ผิดหลักนิติธรรม
บางท่านอาจมีความคิดว่า การที่ชาวบ้านบุกรุกกันอยู่อย่างผิดกฎหมายนั้นไม่ดี จึงพยายามทำให้ถูกกฎหมายด้วยการให้เช่า จะได้อยู่เย็นเป็นสุขเสียที แต่ในความเป็นจริง ชาวบ้านเหล่านี้อยู่ฟรีโดยไม่เสียเงินซื้อหรือไม่เสียค่าเช่ามานาน หากรายใดอยู่มานานถึง 50 ปี และมีต้นทุนการอยู่อาศัย 2,000 บาทต่อเดือนตามมาตรฐานห้องเช่าเล็กๆ ก็เท่ากับได้อยู่ฟรีมาเป็นเงินถึง 1.2 ล้านบาทแล้ว เรายังจะทุ่มเทงบประมาณลงไปอีกหรือ
 
หากเราถือว่าคนที่อยู่ในชุมชนแออัดต้องอยู่กันที่เดิม ย้ายไปไหนไม่ได้ บ้านเมืองของเราก็คงจะย่ำแย่ และส่งผลกระทบเชิงลบอย่างรุนแรงต่อประชาชนทั่วประเทศในอนาคต ดูอย่างประเทศเพื่อนบ้านของเรา ถ้าสิงคโปร์ ฮ่องกง หรือจีน ยอม ‘อนุรักษ์’ ชุมชนแออัดเอาไว้ ไม่เพิ่มความหนาแน่น ไม่สร้างเป็นตึกสูง ป่านนี้ก็คงไม่มีที่ทางเหลือพอจะพัฒนาอะไรแล้ว ป่านนี้ก็คงเป็นประเทศยากจนที่รอแต่ความช่วยเหลือจากนานาชาติแล้ว
 
ในทางตรงกันข้าม ประเทศเหล่านี้ กลับจัดหาที่อยู่อาศัยให้ใหม่ พื้นที่ชุมชนแออัดใจกลางเมือง ก็นำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในทางอื่นแก่ประเทศชาติให้มากขึ้น ประเทศไทยก็เคยทำเหมือนกัน แต่ทำไม่ตลอดรอดฝั่ง ท่านทราบหรือไม่ พื้นที่บริเวณกระทรวงการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปัจจุบัน เมื่อ 50 ปีก่อนเป็นชุมชนแออัดขนาด 1,500 หลังคาเรือน ซึ่งใหญ่กว่าชุมชนคลองเตยที่ในวันนั้นยังมีขนาดเล็กอยู่ ถ้าวันนี้ชุมชนดังกล่าวยังอยู่ ทุกคนคงตอบได้ว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อประเทศชาติและประชาชนกันแน่
 
ปัจจุบันนี้ อย่าว่าแต่จีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ที่ไม่ได้เห็นชุมชนแออัดเป็นสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ แม้แต่เขมร เวียดนาม เขาก็พัฒนากันใหญ่ ที่เวียดนาม เขารื้อย้ายชุมชนนับหมื่นหลังคาเรือน อพยพประชาชนนับแสน ออกจากพื้นที่ ‘ถูเทียม’ เพื่อสร้างศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่เหมือนพื้นที่ ‘ผู่ท่ง’ ของเซี่ยงไฮ้ หากเราไม่รักษากฎหมาย แปลงสิ่งผิดกฎหมาย เป็นสิ่งถูกกฎหมายในราคาถูก สักวันประเทศชาติเราจะต้องล่มสลายก็เป็นได้
 
 
หลักคิดแบบเล่น ‘ปาหี่’
มีความพยายามในการประชาสัมพันธ์ว่า สาเหตุที่ทำโครงการนี้สำเร็จ ก็เพราะชาวบ้านช่วยกันออมทรัพย์ (ไมใช่เพราะรัฐทุ่มงบประมาณลงมา ‘บันดาล’ ให้สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้น) ลองตรองดูให้ดี ครัวเรือนหนึ่งออมวันละ 5 บาท ปีละ 1,825 บาท ถ้าเป็นเช่นนี้จริง ก็คงต้องออมถึง 22 ปีกระมัง จึงจะพอมีเงินสัก 40,000 บาท เพียงเพื่อมาตบแต่งต่อเติมแบบสุดประหยัดสำหรับบ้านที่สร้างขึ้นใหม่ แต่ในทางปฏิบัติ ชุมชนดังกล่าว ออมอยู่ไม่นาน ก็บอกว่ามีสิทธิที่จะกู้เงินมาสร้างบ้านได้แล้ว
 
การจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ประชาชนนั้น ไม่จำเป็นต้องให้สิทธิเป็นเจ้าของบ้าน ถ้าเขาไม่ได้อาบเหงื่อต่างน้ำมาจนมีเงินพอหาซื้อได้เอง เขาก็อาจไม่มีภูมิคุ้มกัน ไม่มี Sense of Belonging ไม่มีความตั้งใจและความสามารถในการรักษาบ้านนั้นไว้ วันหนึ่งก็อาจขายไป เซ้งไป หรือปล่อยให้คนอื่นมาเช่าต่อ ความจริงประการหนึ่งก็คือ คนในชุมชนมีฐานะไม่เท่ากัน บางคนที่มีฐานะดี ก็มีบ้านดี ๆ อยู่นอกชุมชนอยู่แล้ว บ้านตามโครงการที่ได้มาก็คงปล่อยให้เช่าต่อ ผู้ที่มีฐานะย่ำแย่มาก ๆ แม้รัฐแทบให้เปล่า ก็ยังรักษาบ้านไว้ไม่ได้อยู่ดี การมีแนวคิด (กึ่ง) ให้ที่ดินและบ้านแก่ชาวบ้านทั้งชุมชนแบบ ‘มาด้วยกัน ไปด้วยกัน เลือดสุพรรณ’ จึงเป็นสิ่งที่ควรทบทวนอย่างยิ่ง
 
กรณีนี้ดูแล้วเหมือน ‘ต้าจ้าย’ และ ‘ต้าชิ่ง’ ซึ่งเป็นต้นแบบพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่อุตสาหกรรมของจีนเมื่อ 40 ปีที่แล้วเหลือเกิน ในยุคนั้น จีนทำการโฆษณาชวนเชื่อ ยกย่องความสำเร็จแบบกำมะลอประเภทนี้อย่างบ้าคลั่ง และสุดท้ายจึงค้นพบว่า นั่นไม่ใช่ต้นแบบที่แท้ และโชคดีที่กลับตัวเดินแนวทางใหม่ทัน จีนในวันนี้ที่มีประชากร 1,200 ล้าน จึงจะเจริญแซงหน้าไทยที่มีประชากรเพียง 66 ล้านคน
 
 
ข้อคิดส่งท้าย
การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่การจะอำนวยประโยชน์เฉพาะกลุ่มเป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมที่ผู้มีรายได้น้อยอื่นเข้าร่วมด้วยไม่ได้ แทนที่รัฐจะช่วยเหลือเช่นนี้ ควรที่จะจัดหาที่อยู่ให้ใหม่ นำพื้นที่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม หาไม่แล้ว งบประมาณแผ่นดินก็ถูกใช้ไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ความสำเร็จของโครงการนี้ก็เป็นแค่ข้อยกเว้นที่ไม่ใช้บรรทัดฐาน เข้าทำนอง “Exception cannot be made norm”
 
เพื่อการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สุขต่อประชาชนในมหานครและแก่ประเทศชาติโดยรวม เราต้องพัฒนาที่ดินเพื่อส่วนรวมเชิงรุก ไม่ใช่ปล่อยให้ชุมชนแออัดอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น แค่พัฒนา ปรับปรับตัวบ้านและชุมชนเป็นสำคัญ โดยไม่นำพาต่อการพัฒนาเมืองโดยรวม
 
สำหรับคนจนจริงๆ สังคมต้องไม่ทอดทิ้ง และให้การช่วยเหลือกันตามอัตภาพ แต่ไม่ใช่ว่าคนจนเป็นคนที่วิจารณ์ไม่ได้ แตะต้องไม่ได้ ทำผิดไม่ได้ เข้าทำนอง Untouchable หรือ Can Do No Wrong!
IP : บันทึกการเข้า
theroosterclub
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2011, 17:55:52 »

ชาวสลัมโอดแก้ 'ชุมชนแออัด' ไม่คืบ ชี้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ คาราคาซังสร้างปัญหา

Mon, 2010-08-16 22:39

นักวิชาการชี้การวางผังเมืองแบบที่ไม่ให้ชุมชนไปมีส่วนร่วม ทำสังคมอยู่ไม่เป็นสุข ด้าน ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ เผยคณะปฏิรูปฯ ชุดนายอานันท์เน้นเรื่องที่ดินก่อนเรื่องอื่นๆ ขณะที่ กทม.เดินหน้าเวนคืนป้อมมหากาฬ ทวงคืนที่ดิน 5 ไร่ ชดเชย 70 ล้านบาท เนรมิตสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ
 
เมื่อวันที่ 15 ส.ค.53 เครือข่ายสลัม 4 ภาค สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และชุมชนแออัดที่มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะเรื่อง "จะปฏิรูปประเทศไทยประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาท้องถิ่น" เพื่อติดตามและเร่งรัดการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานคร ที่สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ เขตพระนคร ก่อนรวบรวมเสนอต่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ทางผู้จัดงานได้ส่งจดหมายเชิญผู้ว่าฯ กทม.รวมทั้งเชิญตัวแทนคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยเข้าร่วมเวทีด้วย
 
มติชนออนไลน์ รายงานว่า นางประทิน เวคะวากยานนท์ ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัม 4 ภาค เปิดเผยในเวทีพูดคุยว่า พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ที่แก้ไขตั้งแต่ปี 2550 ก่อให้เกิดปัญหาคาราคาซังมานาน แม้พี่น้องชุมชนต่างๆ จะร่วมกันผลักดันให้ร่นพื้นที่จากรั้วเข้ามาตัวบ้านให้ขยายกว้างขึ้น แต่การแก้ไขก็ไม่เป็นรูปธรรม สุดท้ายสร้างบ้านดีแค่ไหนก็ยังปลูกผิดกฎหมาย ขณะนี้ยังหวังกฎกระทรวงที่จะมาใช้ระหว่างรอ พ.ร.บ. แต่ดูเหมือนกระทรวงมหาดไทยไม่สนใจประกาศใช้จนล่วงเลยมากว่า 1 เดือน หากภายใน 2 สัปดาห์ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ เครือข่ายจะไปถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยตรง
 
นายบุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า ปัญหาที่ยืดเยื้อ เนื่องจากฝ่ายการเมืองขาดความชัดเจนในการบริหารว่า จะทำอย่างไรให้ชุมชนอยู่ได้ แต่กลับใช้วิธีซื้อเวลาตั้งคณะกรรมการต่างๆ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ดำเนินการ เช่น ปัญหา พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ที่คนมีที่ดินหน้ากว้าง 4 เมตร แต่ปักเสากินพื้นที่แล้ว 2 เมตร แบบนี้ต้องแก้กฎหมายให้ผ่อนปรนด้วย การวางผังเมืองแบบที่ไม่ให้ชุมชนไปมีส่วนร่วม จะทำให้สังคมอยู่อย่างไม่เป็นสุข
 
นายธวัชชัย วรมหาคุณ ผู้แทนชุมชนป้อมมหากาฬ กล่าวว่า ขอเสนอ กทม.ให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชกฤษฎีกาเวนคืนชุมชนป้อมฯ ให้เป็นสวนสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ดูแลสวนสาธารณะ เนื่องจากเป็นชุมชนใกล้เคียง
 
ขณะที่ ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ กรรมการปฏิรูป กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยโดยประชาชนมีส่วนร่วมว่า ปัญหาในประเทศไทยรุนแรงมาก และคณะปฏิรูปฯ ชุดนายอานันท์ ปันยารชุน เน้นเรื่องที่ดินก่อนเรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินในชนบทหรือในเมืองโดยเฉพาะกรณีถูกฟ้องขับไล่ออกจากพื้นที่
 
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้เสนอให้กรุงเทพมหานครจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาชุมชนใน กทม.โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานและมีชาวชุมชนร่วมเป็นกรรมการ ภายหลังการจัดตั้งคณะกรรมการตั้งวันที่ 19 ม.ค.2553  มีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ผู้ว่าฯ กทม.ไม่เคยมาร่วมประชุม นอกจากนี้ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาก็ยังไม่เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการหยุดไล่รื้อชุมชนในที่สาธารณะและเร่งออกโฉนดชุมชนตามนโยบายรัฐบาล, การผ่อนปรน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารในโครงการบ้านมั่นคง, การชะลอการดำเนินคดีกับชาวชุมชน, การมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาเมืองของชุมชน รวมไปถึงนโยบายเกี่ยวกับคนไร้บ้าน
 
ทุบทิ้ง 65 หลังคาเรือน 'ป้อมมหากาฬ'
ก่อนหน้านี้ เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ รายงานว่า แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ กทม.เตรียม เข้ารื้อย้าย อาคารบ้านเรือนซึ่งเป็นชุมชนอยู่อาศัยบริเวณป้อมมหากาฬ บนที่ดินของ กทม.ย่านถนนราชดำเนิน ที่เหลือ จำนวน 65 หลังคาเรือน เพื่อนำที่ดินจำนวน 5 ไร่ มาพัฒนาเป็นสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สำคัญ ถนนราชดำเนิน และพื้นที่ใกล้เคียง บริเวณป้อมมหากาฬ เป็นเขตโบราณสถาน ซึ่งจะต้องปรับทัศนียภาพให้อยู่ในสภาพที่ดีและสวยงาม โดยจะเริ่มเปิดเวที ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่และสมาชิกประชาชนสลัม4ภาค เพื่อหาข้อยุติ พร้อมทั้งจัดหาที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ให้ชาวบ้าน ใกล้แหล่งงานที่สะดวกสบายบริเวณย่านดังกล่าว
 
อย่างไรก็ดีที่ผ่านมา ที่ดินแปลงดังกล่าวบริเวณป้อมมหากาฬ เมื่อปี 2503 หรือ 50 ปีก่อน ได้มีแผนพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ แต่ยังไม่ทันดำเนินการ ได้มีชาวบ้านทยอยบุกรุกจนกลายเป็นชุมชนเต็มพื้นที่ จำนวน 102 หลังคาเรือน แต่ กทม.ได้เจรจากับชาวบ้านเพื่อขอพื้นที่คืนมาโดยตลอด โดยใช้วิธีประนีประนอมแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาในปี 2535 กทม.ได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินและชดเชยกรรมสิทธิ์ให้ ซึ่งมีชาวบ้านครึ่งหนึ่งยอมรื้อย้ายออก และคืนพื้นที่ 2 ไร่ ให้ กทม.
 
ส่วนที่เหลืออีก 65 หลังคาเรือนไม่ยินยอมออกจากพื้นที่ และที่ผ่านมา ได้มีการเจรจากันอย่างต่อเนื่อง และ ล่าสุด กทม.ขีดเส้นที่จะขอพื้นที่คืน โดยมีมติเข้ารื้อย้ายทันที เพราะ ได้ออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินและมีงบประมาณเพื่อจ่ายชดเชยจำนวน 60-70 ล้านบาท เพื่อขอคืนพื้นที่ที่เหลือ อีก เกือบ 3 ไร่ คืน เพื่อนำไปพัฒนาสวนสาธารณะดังกล่าวต่อไป
 
"กทม.ซื้อที่ดินมา สมัย ปี 2503 เพื่อพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ กว่า 50ปีหรือครึ่งศตวรรษแล้ว แต่ชาวบ้านบุกรุกกลายเป็นชุมชนใหญ่ นับ100 หลังคาเรือน มีชาวบ้านอยู่อาศัย ไม่ต่ำกว่า 400-500คน และไม่ยอมรื้อย้าย หากวันที่ 15 สิงหาคม ยังไม่ได้ข้อยุติ กทม.จะ เข้ารื้ออาคารสิ่งปลูกสร้างทันที"
IP : บันทึกการเข้า
focus
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,484


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2011, 18:05:11 »

oนี่คือความเดือดร้อนของคนไทยที่มีมานานแสนนาน ขาดการเอาใจใส่ดูแลและให้โอกาศกับเขาเหล่านั้น ทั้งทางด้าน การศึกษาและที่ดินทำกิน สังคมในส่วนนี้จึงเป็นบ่อเกิดปัญหาของสังคมไทยในทุกวันนี้ ไม่ว่า ขายตัว ติดยาเสพติด ค้ายาบ้า ปล้นจี้ ฆ่าชิงทรัพย์ และอื่นๆอีกมากมาย แล้วใครล่ะที่จะต้องรับผิดชอบแก้ไขในส่วนนี้ คงหนีไม่พ้นคือ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
นั่นคือการเมืองครับ สังเกตุได้จากหลายๆประเทศที่เขามีการเมืองที่เข้มแข็งคิดสร้างสรรไม่คิดทำลาย    ปชช เขาอยู่ดีกินดี การเมืองเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากมีผลต่อการดำรงชีวิตของเราทุกด้าน  ยกตัวอย่างการสร้างสาธารณูปโภค เช่นถนนหนทาง  ในประเทศไทยเรา สร้างเพียงไม่กี่ปี ถนนพังแล้ว เราๆท่านๆก็จะทราบว่าเกิดจาก นักการเมือง ที่โกงกินจึงได้แต่ของไม่ดี ใช้ไม่ได้ นี่คือชีวิตประจำวันของเราที่ต้องขึ้นอยู่กับการเมือง ดังนั้นการเมืองและ ปชช แยกกันไม่ออกครับ
IP : บันทึกการเข้า
Toy88
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,730


โลกจะสงบสุขถ้าทุกคนมอบความรักให้แก่กัน


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2011, 18:21:17 »

ที่เชียงรายก็มีครับโดยเฉพาะบริเวณเชิงดอยที่เป็นที่ตั้งของวัดในเมืองเช่น
ดอยทอง ดอยสเก็นฯลฯ ดอยๆ ทั้งหลายว่างๆ พี่น้องขับรถ วน รอบดอยที่
ตั้งของวัดในเมืองดูกันเถอะครับ เศร้า
IP : บันทึกการเข้า

เหนือฟ้ายังมีฟ้่า เหนือคนยังมีคน
 แต่ไม่มีอะไรเหนือกฎแห่งกรรม
theroosterclub
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2011, 18:23:54 »

oนี่คือความเดือดร้อนของคนไทยที่มีมานานแสนนาน ขาดการเอาใจใส่ดูแลและให้โอกาศกับเขาเหล่านั้น ทั้งทางด้าน การศึกษาและที่ดินทำกิน สังคมในส่วนนี้จึงเป็นบ่อเกิดปัญหาของสังคมไทยในทุกวันนี้ ไม่ว่า ขายตัว ติดยาเสพติด ค้ายาบ้า ปล้นจี้ ฆ่าชิงทรัพย์ และอื่นๆอีกมากมาย แล้วใครล่ะที่จะต้องรับผิดชอบแก้ไขในส่วนนี้ คงหนีไม่พ้นคือ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
นั่นคือการเมืองครับ สังเกตุได้จากหลายๆประเทศที่เขามีการเมืองที่เข้มแข็งคิดสร้างสรรไม่คิดทำลาย    ปชช เขาอยู่ดีกินดี การเมืองเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากมีผลต่อการดำรงชีวิตของเราทุกด้าน  ยกตัวอย่างการสร้างสาธารณูปโภค เช่นถนนหนทาง  ในประเทศไทยเรา สร้างเพียงไม่กี่ปี ถนนพังแล้ว เราๆท่านๆก็จะทราบว่าเกิดจาก นักการเมือง ที่โกงกินจึงได้แต่ของไม่ดี ใช้ไม่ได้ นี่คือชีวิตประจำวันของเราที่ต้องขึ้นอยู่กับการเมือง ดังนั้นการเมืองและ ปชช แยกกันไม่ออกครับ

คนที่คิดว่าเบื่อ หรือคิดว่าเป็นเรื่องใกลตัว ส่วนใหญ่มีการศึกษานะครับ แต่ไร้ความสำนึก
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!