เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 17:58:30
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ขอความรู้เกี่ยวกับความชื้นในตู้ฟักไข่
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ขอความรู้เกี่ยวกับความชื้นในตู้ฟักไข่  (อ่าน 6084 ครั้ง)
sutthisak.pa
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 592


« เมื่อ: วันที่ 26 พฤศจิกายน 2014, 14:22:37 »

ขอความรู้เกี่ยวกับความชื้นในการฟักไข่ไก่ครับ ความชื้นควรมีค่าเท่าไรถึงจะดีครับ ถ้าความชื้นต่ำไปแก้ไขยังไงครับ นอกจากเพิ่มถาดน้ำ จะต้องเจาะรูอากาศเข้าให้ใหญ่หรือให้เล็กครับ รูปบนคือรูปในตู้ฟักครับ รูปล่างภายนอกตู้ฟัก อุหณภูมิภายนอก กำลังทดสอบตู้ฟักครับ


IP : บันทึกการเข้า
saharat.som
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 22


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 29 พฤศจิกายน 2014, 07:00:09 »

อุณหภูมิที่เหมาะสมในตู้ฟัก แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
        ระยะที่ 1 ช่วงระหว่างวันที่ 1-18 ของการฟัก อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับตู้ฟักที่มีพัดลมระบายอากาศ อยู่ระหว่าง 99.50-99.75 องศาฟาเรนไฮต์
        ระยะที่ 2 ช่วงระหว่างวันที่ 19-21 ของการฟัก ในระยะนี้ อุณหภูมิจะลดต่ำลงเล็กน้อย อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 97-99 องศาฟาเรนไฮต์
        2.2 ความร้อน มีความสัมพันธ์กับการฟักตัวของลูกไก่ ดังนี้
        1. เปอร์เซ็นต์การฟักตัวของลูกไก่ ถ้าอุณหภูมิการฟักถูกต้องและสม่ำเสมอ จะทำให้เปอร์เซ็นต์การฟักตัวของลูกไก่มีสูง แต่ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ก็จะทำให้เปอร์เซ็นต์การฟักตัวของลูกไก่ต่ำ
        2. ระยะเวลาการฟักตัว โดยปกติ ไข่ไก่จะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 21 วัน ถ้าใช้อุณหภูมิสูงกว่าปกติ แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตรายต่อเชื้อลูกไก่ ก็จะทำให้ลูกไก่ฟักตัวออกมาเร็วกว่าทั่วไป แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ลูกไก่จะฟักตัวช้า
        3. ขนาดของลูกไก่ที่ฟักออกมา จะสัมพันธ์กับระยะเวลาการฟักตัวของลูกไก่ด้วย คือ ถ้าฟักออกช้า เพราะอุณหภูมิต่ำ ลูกไก่ก็จะมีขนาดตัวโต ถ้าฟักตัวออกมาเร็ว เพราะใช้อุณหภูมิสูง ลูกไก่จะมีขนาดตัวที่เล็ก แต่ไม่ว่าจะขนาดตัวเล็กหรือใหญ่ ลูกไก่จะมีสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรง
        4. เปอร์เซ็นต์เชื้อลูกไก่ตาย ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป จะส่งผลทำให้เปอร์เซ็นต์เชื้อตายสูง โดยเฉพาะช่วง 2-4 วันแรกของระยะฟักตัว
        5. จำนวนไก่ที่มีความผิดปกติ ถ้าอุณหภูมิไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ลูกไก่ที่ฟักออกมามีความผิดปกติของร่างกาย ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ก็จะเป็นสาเหตุให้ลูกไก่พิการหรืออ่อนแอได้
    3. ปริมาณความชื้น ที่ พอเหมาะ จะช่วยให้เชื้อของลูกไก่เจริญเติบโตได้ตามปกติ และยังช่วยให้ขนของลูกไก่ไม่ติดกับเยื่อหุ้มเปลือกไข่ ในขณะที่ลูกไก่กำลังจะฟักตัวออกจากไข่
        ความชื้นที่เหมาะสมภายในตู้ฟัก แบ่งออกเป็น 2 ระยะ
        ระยะที่ 1 ช่วงวันที่ 1-18 วันแรกของระยะฟักตัว จะใช้ความชื้นประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 84-86 องศาฟาเรนไฮต์
        ระยะที่ 2 ช่วงวันที่ 19-21 ของระยะฟักตัว จะใช้ความชื้นประมาณ 70-75 เปอร์เซ็นต์  ประมาณ 86-88 องศาฟาเรนไฮต์
    ความ ชื้นภายในตู้ฟักจะได้จากการระเหยของน้ำในถาดน้ำที่อยู่ภายในตู้ฟัก หรืออาจได้จากการฉีดพ่นน้ำเป็นละอองเข้าไปในตู้ วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความชื้นในตู้ฟักได้เช่นเดียวกัน
    ผลของความชื้นที่มีต่อตัวอ่อน มีดังนี้
        1. ถ้าความชื้นในตู้ฟักมากเกินไป จะมีผลทำให้
            - ลูกไก่ฟักตัวออกเร็วกว่าปกติ
            - ขนาดตัวของลูกไก่จะโต ท้องป่อง และตัวจะนิ่ม
            - สะดือไม่แห้ง และปิดไม่สนิท
            - ลูกไก่ไม่แข็งแรง
        2. ความชื้นในตู้ฟักไข่ต่ำเกินไป
            - ลูกไก่จะมีขนาดตัวเล็กและแห้ง
            - น้ำหนักตัวน้อย
            - บางตัวจะแห้งอยู่ภายในไข่ และขนจะติดกับเปลือกไข่ ไม่สามารถฟักออกมาได้
            - ลูกไก่ที่ออกจากเปลือกไข่อาจจะไม่แข็งแรง และอาจพิการได้
    4. การระบายอากาศ ภายในไข่จะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือเผาผลาญให้เป็นอาหารสำหรับตัวอ่อน ไข่ที่นำเข้าตู้ฟักในระยะแรก จะต้องการปริมาณก๊าซออกซิเจนน้อย เมื่อฟักไปนานๆ ไข่จะต้องการปริมาณก๊าซออกซิเจนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ไข่จะคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากด้วย ดังนั้น หากตู้ฟักมีการระบายอากาศไม่ดี จะทำให้ตัวอ่อนขาดก๊าซออกซิเจน และตายในที่สุด โดยเฉพาะช่วงที่ลูกไก่โตเต็มที่ในระยะท้ายของการฟัก ลูกไก่จะต้องใช้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจมากขึ้น ถ้าการระบายอากาศไม่ดี จะทำให้ลูกไก่ตาย ตู้ฟักทุกชนิดจึงมีช่องระบายอากาศ หรือมีระบบระบายอากาศ ตู้ฟักที่มีพัดลมจะช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น
    5. การพลิกไข่ โดยธรรมชาติ ถ้าแม่ไก่ฟักไข่ของมันเองมันจะพลิกไข่โดยเฉลี่ยวันละ 96 ครั้ง การพลิกไข่จะช่วยให้เชื้อลูกไก่ไม่ติดเปลือกสามารถเคลื่อนไหวได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพลิกไข่คือมุมที่ใช้พลิกไข่ ใช้มุม 45 องศากับแนวดิ่ง และควรพลิกไข่วันละ 6-10 ครั้ง
    6. ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าปัจจัยเหล่านี้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงก็ตาม แต่ก็มีผลกระทบต่อการฟักตัวของลูกไก่ คือ
        6.1 การแยกตู้ฟักและตู้เกิด สำหรับตู้ฟักที่แยกตู้เกิดออกจากกัน จะทำให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และสามารถปรับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับไข่ในแต่ละช่วงเวลาได้ตาม ที่ต้องการ ซึ่งทำให้ไข่ที่ได้มีคุณภาพ และลูกไก่มีสุขภาพแข็งแรง
        6.2 การส่องไข่ สามารถคัดเลือกไข่ที่ไม่มีเชื้อ หรือไข่เสียออกก่อนที่จะระเบิดในตู้ ไข่ที่ระเบิดจะทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ อันเป็นก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น
        6.3 ความดันของอากาศ หากความดันของอากาศต่ำลง จะทำให้การฟักออกเป็นตัวของลูกไก่ลดลง
        6.4 การให้ไข่ของแม่ไก่ ไข่ฟองแรกๆ ของแม่ไก่จะมีอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำกว่าไข่ปกติ ดังนั้น จึงควรเก็บไข่เข้าฟัก หลังจากแม่ไก่ออกไข่มาแล้วประมาณ 2 สัปดาห์
        6.5 ภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ไม่ว่าร้อนหรือหนาวกว่าปกติ จะทำให้อัตราการฟักออกเป็นตัวของลูกไก่ลดลง เพราะพ่อแม่พันธ์จะกินอาหารลดลง
        6.6 คุณภาพภายในไข่ พบว่าไข่ที่มีสัดส่วนของไข่ขาวข้นสูง หรือมีไข่ขาวเหลวต่ำ จะมีอัตราการฟักออกเป็นตัวสูงกว่าไข่ที่มีไข่ขาวเหลวสูง
ปัจจัยที่สำคัญในการฟักไข่
ผู้ เลี้ยงจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟักตัวของลูกไก่ เช่น อุณหภูมิ ความร้อน ความชื้น และการระบายอากาศ เป็นต้น เพื่อไข่ที่ผลิตจะมีความสมบูรณ์ที่สุด
เครดิตจากเวป www.ismed.or.th
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!