เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 18:23:18
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  เอามาฝาก "ปริวาสกรรม"
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน เอามาฝาก "ปริวาสกรรม"  (อ่าน 2413 ครั้ง)
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« เมื่อ: วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2013, 12:19:14 »

เพื่อความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องของชาวพุทธ

เครดิต... พันทิป

ข้าพเจ้าได้เห็นพฤติกรรมการจัดปริวาสกรรม เพื่อระงับครุกาบัติที่ออกด้วยวุฏฐานวิธีสำหรับพระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ที่ไม่ถูกต้องตามพระวินัยพุทธบัญญัติ คือเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า “การอยู่กรรม” หรือ “อยู่ปริวาสกรรม” นั้น ตามพระวินัยพุทธบัญญัติ เป็นกิจเฉพาะพระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเท่านั้น ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อออกจากครุกาบัตินี้ด้วยวุฏฐานวิธี คือการอยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาสกรรมนี้ และ การต้องอาบัติสังฆาทิเสสทั้งหมด (ยกเว้นสิกขาบทที่ 5-6-7) เป็นสจิตตกะ คือต้องด้วยเจตนา กล่าวคือจงใจ

ดังตัวอย่างพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติและพระปฐมบัญญัติ ที่แสดงไว้แล้วข้างต้น

สำหรับ 9 สิกขาบทแรกต้องอาบัติเมื่อแรกทำ 4 สิกขาบทหลังให้ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสครบ 3 จบ ผู้ต้องครุกาบัติดังกล่าวจึงเป็นผู้ต้องอยู่ปริวาสกรรม พระปกตัตตภิกษุ ผู้มีศีล หาต้องอยู่กรรมไม่ ดังปรากฏในบทสรุปว่า

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส 13 สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว 9 สิกขาบทให้ต้องอาบัติเมื่อแรกทำ 4 สิกขาบทให้ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสครบ 3 จบ   ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งแล้ว รู้อยู่ แต่ปกปิดไว้สิ้นวันเท่าใด ภิกษุนั้นต้องอยู่ปริวาสด้วยความไม่ปรารถนา สิ้นวันเท่านั้น 

ภิกษุอยู่ปริวาสแล้ว ต้องประพฤติวัตรเพื่อมานัต สำหรับภิกษุเพิ่มขึ้นอีก 6 ราตรี ภิกษุประพฤติมานัตแล้ว   ภิกษุสงฆ์ 20 รูป อยู่ในสีมาใด พึงเรียกภิกษุนั้น    ถ้าภิกษุสงฆ์ 20 รูปเข้าหมู่ในสีมานั้นหย่อนแม้รูปหนึ่ง พึงเรียกภิกษุนั้นเข้าหมู่  ภิกษุนั้นก็ไม่เป็นอันสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว และภิกษุเหล่านั้นควรถูกตำหนิ นี้เป็นสามีจิในกรรมนั้น”

หลักพระธรรมพระวินัยมีอย่างนี้ แต่ปรากฏพฤติกรรมเป็นเจตนากรรมที่ไม่ถูกต้อง ของทั้งผู้จัดปริวาสกรรมบ้าง ของผู้ไปอยู่ปริวาสกรรมเองบ้าง ของผู้ชักนำเพื่อนสหธรรมิกให้ไปอยู่กรรมบ้าง และผู้ชักนำให้สาธุชนมาร่วมทำบุญและมาร่วมปฏิบัติธรรมบ้าง ซึ่งมีค่อนข้างจะมากรายที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จนกลายเป็นเรื่องปกติไป เสมือนหนึ่งว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องไปแล้วหลายประการ

ความที่ไม่ถูกต้องนั้น มีดังเช่น

มีการชักชวนพระภิกษุผู้บวชใหม่กันมากว่า ก่อนลาสิกขาควรต้องไปอยู่ปริวาสกรรมเพื่อให้เป็นผู้บริสุทธิ์ (โดยไม่คำนึงถึงว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือไม่) บ้าง   บางรายก็อ้างว่าเผื่อว่าตนเองจะเผลอต้องอาบัติสังฆาทิเสสโดยไม่รู้ตัวบ้าง  ทั้งๆ ที่การต้องอาบัตินี้ทุกสิกขาบท (ยกเว้นสิกขาบทที่ 5-6-7) เป็นสจิตตกะ คือต้องโดยเจตนาหรือจงใจกระทำ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น

ผู้จัดปริวาสกรรม มักมีเจตนาที่จะให้มีผู้มาร่วมกิจกรรมนี้มากๆ โดยขาดหลักการตามพระธรรมวินัย คือเพียงแต่ต้องการให้มีประชาชนมาร่วมทำบุญด้วยมากๆ โดยอ้างว่าประชาชนมีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมน้อย จึงควรมีเมตตาอนุเคราะห์ให้เขาได้มีโอกาสมาร่วมปฏิบัติธรรมด้วยมากๆ จึงพากันโฆษณาเพื่อให้ทั้งพระภิกษุมาอยู่ปริวาสกรรม ณ อาวาสนั้นมากๆ และทั้งให้ประชาชนมาร่วมปฏิบัติธรรมและมาร่วมบำเพ็ญกุศลด้วยมากๆ

มีทั้งการติดตั้งป้ายบอกการจัดปริวาสกรรม และมีทั้งการโฆษณาให้ญาติโยมมาร่วมบำเพ็ญกุศลด้วยมากๆ อ้างว่าการได้มาอยู่ปริวาสกรรมนั้นเป็นความบริสุทธิ์มากเป็นพิเศษ 1 การได้มาบำเพ็ญกุศลกับผู้อยู่ปริวาสกรรมนั้นจึงเป็นมหานิสงส์ คือได้บุญมากเป็นพิเศษ 1 โฆษณาเรื่องบุญกุศลนี้อย่างเลอเลิศ และอย่างโจ่งแจ้ง กว้างขวาง จึงมีผลให้

ก. มีพระภิกษุบางรูปทั้งที่ไม่ได้ต้องครุกาบัตินี้ก็พลอยหลงเชื่อไปตามเขา แทนที่จะเป็นความบริสุทธิ์ กลับไปได้การต้องอาบัติปาจิตตีย์เพิ่ม เพราะล่วงสิกขาบทที่ 1 พูดปด แห่งมุสาวาท-วรรคที่ 1 และแถมยังเป็นสีลัพพตปรามาส คือหลงถือศีลพรตโดยสักว่า ไปตามเขาด้วยความงมงายอีกด้วย ส่วนบางราย (พระภิกษุเก่า) ก็ไปเข้าปริวาสกรรมกับเขาได้ทุกปี ปีละหลายๆ แห่ง ที่เป็นพระผู้เฒ่าก็ยังเห็นมีไม่น้อย ไม่รู้ว่าต้องอาบัติอะไรกันหนักหนา ถ้าต้องครุกาบัติเป็นอาจิณเช่นนั้น แสดงว่าแทบจะไม่เคยมีความสังวรระวังในศีล อินทรีย์ และสติสัมปชัญญะเลย จนพระภิกษุบางรูปได้ชื่อว่า “นักล่าปริวาส” ก็มี

ข. คฤหัสถ์ชายบางคนหลงเชื่อว่า การอยู่ปริวาสกรรมนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมอันเป็นการขัดเกลา ให้ถึงความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง จึงพากันมาบวชเตรียมรออยู่ 1 วันบ้าง 2 วันบ้าง หรือแม้บวชในวันที่เขาจะมีพิธีเข้าปริวาสกรรมนั้นเองบ้าง  ด้วยความตั้งใจที่จะมาอยู่ปริวาสกรรมกับเขา  เพื่อทำตนให้เป็นผู้บริสุทธิ์ ทั้งที่ตนเองยังมิได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสนั้นเลย และ/หรือยังไม่ได้เรียนรู้เลยว่าอาบัติสังฆาทิเสสนั้นคืออย่างไร ตนเองเป็นผู้ต้องครุกาบัตินี้ด้วยหรือไม่ ก็มาตามที่เขาโฆษณาว่า มาเข้าปริวาสกรรมแล้วจะเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างยิ่ง ยิ่งกว่าการบรรพชาอุปสมบทตามปกติเสียอีก เมื่ออยู่กรรมกับเขาแล้ว ก็ลาสิกขาด้วยความกระหยิ่มใจว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ทั้งๆ ที่กลับพกเอาความหลงผิดเป็น สีลัพพตปรามาส คือ หลงถือศีลพรตด้วยความงมงายติดตัวไป

ค. แม้ชาย-หญิง อื่นก็หลงมาอยู่ปฏิบัติธรรมร่วมกับเขา โดยเข้าใจว่า นั้นก็เป็นการมาอยู่กรรม ซึ่งจะได้มีความบริสุทธิ์มากกว่าการปฏิบัติธรรมคือการรักษาศีลและเจริญภาวนาโดยธรรมดามากมายนัก จึงเป็นสีลัพพตปรามาสติดตัวเองไปกับเขาอีกด้วย

ง. ญาติโยมผู้มาทำบุญ ก็มาทำบุญด้วยความเข้าใจว่า มาทำบุญกับพระภิกษุ ผู้อยู่กรรมนี้จะได้ผลบุญมากมาย ยิ่งกว่าการทำบุญกับพระภิกษุผู้มีศีลเป็นปกติเสียอีก เพราะผู้อยู่กรรมเป็นผู้มีความขัดเกลาเพื่อความบริสุทธิ์มากที่สุด

ทั้งๆ ที่ผู้ที่จะต้องอยู่ปริวาสนั้น คือพระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เท่านั้น และการอยู่ปริวาสกรรมนี้ก็เป็นเพียงวุฏฐานวิธีเพื่อให้พระภิกษุผู้ต้องครุกาบัติออกจากอาบัติได้ เป็นปกตัตตภิกษุ คือเป็นพระภิกษุผู้มีศีลโดยปกติ ตามพระวินัยเท่านั้น   หาใช่ว่าผู้อยู่ปริวาสกรรมแล้วจะเป็นผู้บริสุทธิ์ที่เลิศเลอกว่าปกตัตตภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมหรือผู้ทรงศีลทรงธรรมตามพระธรรมวินัยโดยปกติไม่  และแถมยังจะมีมลทินมัวหมอง คือ ความหลงผิด เป็นสีลัพพตปรามาส การถือศีลวัตรด้วยความงมงาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระภิกษุผู้ที่มีได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสจริงๆ แต่ไปขออยู่ปริวาสกรรมกับเขา และปฏิญาณตนต่อสงฆ์ว่า “อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ...” (ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว (หรือตัวเดียว) แล้ว...) ดังนี้ เป็นต้น ย่อมกลับต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะล่วงสิกขาบทที่ 1 เพราะพูดปด ตามมุสาวาทวรรคที่ 1 อีกด้วย

จ. การประกาศข่าวโจ่งแจ้งว่าที่อาวาสนี้มีการจัดปริวาสกรรม ให้อนุปสัมบันคือประชาชนทั่วไปทราบเช่นนี้   พระภิกษุผู้ทำการประกาศเองเช่นนั้นก็ดี หรือสั่งให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้นก็ดี ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะล่วงสิกขาบทที่ 9 บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่นแก่อนุปสัมบัน ตามมุสาวาทวรรคที่ 1 นี้อีกด้วยเช่นกัน   และยังเป็นอาบัติที่จัดเป็นอาจิณได้ เพราะต้องอาบัติตลอดเวลาที่มีการโฆษณาการอยู่ปริวาสกรรมเช่นนั้นให้อนุปสัมบันทราบ  แม้จะปลงอาบัติกันทุกๆ วัน จะพ้นจากอาทีนพคือโทษจากอกุศลเจตนาที่ได้กระทำอยู่บ่อยๆ เช่นนั้นได้หรือ ?

ฉ. ยิ่งถ้าโฆษณาด้วยเจตนาเพียงเพื่อที่จะให้ผู้คนมาร่วมกิจกรรมและมาทำบุญด้วยมากๆ อีกว่า  ผู้ได้มาอยู่กรรมแล้วจะได้ความบริสุทธิ์ยิ่งนัก  ยิ่งกว่าการปฏิบัติธรรมตามพระธรรมวินัยโดยปกติเสียอีก  เช่นนั้น ก็คงไม่พ้นการล่วงละเมิดสิกขาบทที่ 1 เพราะพูดปด ตามมุสาวาทวรรคที่ 1 นี้บ่อยๆ  อันเป็นการเพิ่มความหลงเข้าใจผิดแก่ทั้งพระภิกษุ และแม้อนุปสัมบันผู้ยังมิได้เรียนรู้พระธรรมวินัยดีพอไม่น้อยเลย แล้วอย่างนี้ จะพ้นอาทีนพได้ละหรือ ? จะคุ้มกันหรือ กับลาภสักการะที่ได้มา ?

ช. ยังมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยอีกว่า มีการโฆษณาชักชวนพระภิกษุผู้มิได้เรียนรู้พระธรรมวินัยดีพอ ให้หลงเชื่อตามๆ กันว่า

“การอยู่ปริวาสกรรมนี้ เป็นหนึ่งในกิจวัตร 10 อย่าง ที่พระภิกษุพึงปฏิบัติเป็นประจำ (ทุกปี) ”

โดยมิได้อธิบายให้แจ้งชัดว่า ข้อนี้เป็นกิจวัตรเฉพาะพระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเท่านั้น ทั้งนี้โดยอาศัยข้อความในหัวข้อ กิจวัตร 10 อย่าง ในหนังสือ “มนต์พิธี สำหรับพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป” โดย พระครูวินัยธรเอี่ยม สิริวณฺโณ วัดอรุณราชวราราม ที่มีใช้กันอย่างดกดื่น กว้างขวาง ว่า

“กิจวัตร 10 อย่าง
1) ลงอุโบสถ
2) บิณฑบาตเลี้ยงชีพ
3) สวดมนต์ไหว้พระ
4) กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
5) รักษาผ้าครอง
6) อยู่ปริวาสกรรม
7) โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ
เจ๋ง ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์
9) เทศนาบัติ
10) พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง 4 เป็นต้น
กิจวัตร 10 เหล่านี้เป็นกิจใหญ่ควรที่ภิกษุจะต้องศึกษาให้ทราบความชัดและจำไว้เพื่อปฏิบัติสมควรแก่สมณสารูปแห่งตน”1

ซึ่งตามพระวินัยจริงๆ แล้ว คำว่า “กิจวัตร” หมายถึง กิจที่พึงกระทำ หน้าที่ หรือธรรมเนียมความประพฤติ ข้อปฏิบัติต่างๆ เช่น อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาคันตุกวัตร เป็นต้น2 ว่าพระภิกษุพึงปฏิบัติอย่างไรเป็นประจำ จึงไม่น่าจะหมายถึง “การอยู่ปริวาสกรรม” ซึ่งเป็นกิจที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเท่านั้น จะพึงต้องปฏิบัติเพื่อออกจากครุกาบัตินี้ด้วยวุฏฐานวิธีนี้ หาใช่เป็นกิจที่ภิกษุผู้ปกตัตตะจะพึงปฏิบัติด้วยไม่ แม้จะมีคำอธิบายว่า

“กิจวัตร 10 เหล่านี้ เป็นกิจใหญ่ควรที่ภิกษุจะต้องศึกษาให้ทราบความชัด และจำไว้เพื่อปฏิบัติสมควรแก่สมณสารูปแห่งตน”

ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนแจ่มแจ้งดีพอแก่พระภิกษุผู้ยังมิได้ศึกษาพระวินัยมาดีแล้ว จึงมีพระภิกษุหลงชักจูงกันผิดๆ หลงเข้าใจผิด และปฏิบัติตามอย่างกันผิดๆ กันมากว่า “การอยู่ปริวาส เป็นกิจที่พระภิกษุ (ทั่วไป) พึงต้องปฏิบัติ” โดยไม่ได้คำนึงถึงว่า ผู้ที่จะต้องอยู่ปริวาสกรรมนี้ คือพระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เพื่อออกจากอาบัตินี้ด้วยวุฏฐานวิธี ตามพระวินัยพุทธบัญญัติเท่านั้น หาใช่เป็นกิจวัตรแก่พระภิกษุทั้งหลายทั่วไปผู้ปกตัตตะด้วยไม่ และหาใช่เป็นกิจวัตรของสามเณรและคฤหัสถ์ด้วยไม่ อันจะพลอยให้พระภิกษุผู้มิได้ศึกษาพระวินัยให้ดีนั้น ต้องอาบัติ “ปาจิตตีย์” เพราะพูดปด เมื่อกล่าวปฏิญาณตนต่อสงฆ์เพื่อขออยู่ปริวาสกรรม ว่าตนเองต้องอาบัตินี้ และยังเป็นสีลัพพตปรามาส คือการถือศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย ไม่เข้าใจความมุ่งหมายที่แท้จริงตามพระวินัยพุทธบัญญัติ อีกด้วย

ซ. ส่วนการเมตตาสงเคราะห์ญาติโยมที่ไม่ค่อยจะมีโอกาสปฏิบัติธรรม ให้ได้มาร่วมปฏิบัติด้วย ในอาวาสเดียวกัน แม้แต่จะให้แยกกันอยู่ (พักผ่อนหลับนอน) คนละส่วน ก็จริง แต่ก็ไม่ได้แยกไกลกันออกไป คงอยู่ใกล้ๆ กันในบริเวณอาวาสเดียวกันนั้นเอง และมีการโฆษณากันอย่างเปิดเผยโจ่งแจ้งว่า มีการจัดพระภิกษุอยู่ปริวาสกรรมในอาวาสนี้ แก่อนุปสัมบัน ได้แก่ สามเณรและคฤหัสถ์ ให้ได้ยิน ได้รู้ ได้เห็น และยังจัดให้ปฏิบัติธรรมร่วมกันกับพระภิกษุ ผู้อยู่ปริวาสกรรมนั้นเองด้วย ก็เท่ากับเป็นการบอกอาบัติชั่วหยาบของเพื่อนพระภิกษุแก่อนุปสัมบันทราบตลอดเวลา เช่นนี้ พระภิกษุผู้จัด ผู้ร่วมจัด ผู้ทำการโฆษณา จะพ้นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะล่วงสิกขาบทที่ 9 แห่งมุสาวาทวรรคที่ 1 หรือ ?

การอนุเคราะห์ญาติโยมด้วยธรรมปฏิบัตินี้เป็นการดีเลิศ แต่ถ้าประสงค์อนุเคราะห์ญาติโยมจริง ก็น่าจะจัดการอยู่ปริวาสกรรมเฉพาะพระภิกษุแยกไปต่างหาก ให้ห่างไกลออกไปคนละส่วน จัดให้การมาอยู่ปฏิบัติธรรมของปกตัตตภิกษุ สามเณร และคฤหัสถ์ อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ย่อมจะเป็นเจตนากรรมที่บริสุทธิ์จริงแท้แก่ทุกฝ่าย จะมิดีกว่าหรือ ?
IP : บันทึกการเข้า
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2013, 12:23:45 »

(ต่อ)

แม้จะอ้างว่า คำว่า “ปริวาส” ก็หมายถึงการอยู่ปฏิบัติธรรมด้วย ก็ไม่ตรงประเด็น เพราะในคำว่า “ปริวาสํ” ในเรื่องของการปฏิบัติวิปัสสนา เป็นคนละเรื่อง คนละความหมาย กับการอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุผู้ต้องครุกาบัติ ที่จะต้องออกจากอาบัติได้ด้วยวุฏฐานวิธี โดยสิ้นเชิง ดังมีปรากฏในอรรถกถาว่า

“โยปิ รูปารูปํ ปริคฺคเหตฺวา นามรูปํ ววตฺถเปนฺโต ทุกฺเขน กสิเรน กิลมนฺโต ววตฺถเปติ, ววตฺถปิเต จ นามรูเป วิปสฺสนาปริวาสํ วสนฺโต จิเรน มคฺคํ อุปฺปาเทตุ ํ สกฺโกติ, ตสฺสปิ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา นาม โหติ.”1

“ฝ่ายท่านผู้ใดกำหนดเอารูปและอรูปแล้ว เมี่อจะกำหนดนามและรูป ย่อมเป็นผู้เหน็ดเหนื่อย กำหนดเอาโดยยากโดยลำบาก และเมื่อกำหนดนามและรูปได้แล้ว เมื่อ อบรมบ่มวิปัสสนาอยู่ ย่อมอาจทำมรรคให้เกิดขึ้น ได้โดยเวลาเนิ่นนาน แม้สำหรับผู้นั้น ก็ย่อมชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า”

คำว่า “ปริวาสํ” ในกรณีนี้หมายถึง “การอบรมวิปัสสนาอยู่” ซึ่งเป็นคนละเรื่อง คนละความหมายกับการอยู่ปริวาสกรรม เพื่อออกจากครุกาบัติด้วยวุฏฐานวิธี จึงมิใช่เป็นเรื่องที่สมควรจะจัดการอบรมธรรมปฏิบัติให้แก่อนุปสัมบันอันมีสามเณรและคฤหัสถ์ ให้ปฏิบัติธรรมร่วมกับพระภิกษุผู้กำลังประพฤติวุฏฐานวิธี ในอาวาสเดียวกัน อันเป็นการแสดงอาบัติชั่วหยาบของเพื่อนภิกษุแก่อนุปสัมบันทั้งทางตรงและทางอ้อม อยู่ตลอดเวลาของการจัดปริวาสกรรมนั้น

การจัดให้ทั้งพระภิกษุ และอนุปสัมบัน ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม โดยทั่วไปตามปกติ เป็นการดี เป็นการสมควร น่าอนุโมทนาอย่างยิ่ง แต่ไม่ควรจัดให้มาปฏิบัติร่วมกันกับพระภิกษุผู้อยู่ปริวาสกรรม เพื่อมิให้เป็นอาบัติเพราะล่วงสิกขาบทที่ 9 แห่งมุสาวาทวรรค ที่ 1 นี้ โดยไม่จำเป็นจะต้องเสี่ยงกับอาบัติเช่นนี้เป็นอาจิณ (ทุกวัน) ถึงจะเป็นอาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง (เทสนาคามินี) ก็คงจะไม่ปลอดภัยจากอาทีนพคือโทษหรือผลฝ่ายชั่ว เพราะการแสดงอาบัติกับพระภิกษุหรือสงฆ์นั้น ต้องไม่ลืมว่า ผู้แสดงได้ปฏิญาณตนว่า

“สาธุ สุฏฺฐุ ภนฺเต (อาวุโส) สํวริสฺสามิ.
ทุติยมฺปิ... ตติยมฺปิ สาธุ สุฏฺฐุ ภนฺเต (อาวุโส) สํวริสฺสามิ. น ปุเนวํ กริสฺสามิ, น ปุเนวํ ภาสิสฺสามิ, น ปุเนวํ จินฺตยิสฺสามิ.”

“ดีละ ท่านผู้เจริญ (อาวุโส) กระผมจักสำรวมระวังให้ดี.
แม้ครั้งที่สอง... แม้ครั้งที่ 3 ดีละ ท่านผู้เจริญ (อาวุโส) กระผมจักสำรวมระวังให้ดี.
กระผมจะไม่ทำอย่างนี้อีก. กระผมไม่กล่าวอย่างนี้อีก. กระผมจะไม่คิดอย่างนี้อีก.”

เมื่อแสดงอาบัติแล้ว จะต้องสำรวมระวัง ไม่คิด ไม่พูด ไม่ทำอีก อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลานานพอสมควร การแสดง (ปลง) อาบัตินั้น จึงจะได้ผลเป็นความบริสุทธิ์จริง ไม่ใช่ปลงอาบัติอยู่ทุกวันแต่ก็ต้องอาบัติวัตถุเดียวกันเช่นนั้นอยู่อีกทุกวันๆ ไม่น่าจะได้เป็นความบริสุทธิ์จริง เพราะเป็นสักแต่ว่ากิริยาเปล่งวาจา ปลงหรือแสดงอาบัติ แต่หาได้ปฏิบัติตนเพื่อให้เป็นความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ที่แท้จริงๆ ไม่ กลายเป็นการแสดงความไม่จริงใจ และพอกพูนอาทีนพ (โทษ) ให้ติดอยู่ในกมลสันดานหนาแน่นยิ่งขึ้นไปอีก

เพราะฉะนั้น พระภิกษุพึงบริหารตนด้วยการสมาทาน การศึกษาและปฏิบัติศีลสิกขานี้ให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระสังฆาธิการ ผู้บริหารหมู่คณะสงฆ์และบริหารวัด จะได้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธบริษัทโดยทั่วไป เพื่อช่วยกันสืบบวรพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป.

พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล*, การบริหารวัด, โรงพิมพ์ เอชทีพีเพรส, พ.ศ.2539, หน้า 44-50.

* ปัจจุบัน คือ พระราชญาณวิสิฐ วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ป.ธ.6 ประธานศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย
IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2013, 01:19:08 »

อนุโมทนา  สาธุ  ใน  ธรรมทาน ของแท้ ครับ  มีหลักฐาน อ้างอิง ช้ดเจน
ชัดแจ้ง  ทำความเข้าใจได้ เชื่อถือได้  
เรื่อง ปริวาสกรรม คือ  การทำให้ บริสุทธิ์ จาก  ความผิดหนัก ของ ภิกษุ ที่ กลายเป็น  ธรรมกลาย ธรรมเพี้ยน   ที่ นิยม จัด มีมาก ใน ภาคกลาง ยุคนี้
แต่ หาก มีพระ จีบสาว  เล่นว่าว ผิดหนัก จริง ก็จัดได้  แต่  ก็ไม่ใช่ จัดแบบเพี้ยน ๆ จาก หลักการ พระศาสนา
ศาสนาเสื่อมถอย ด้อยค่า ลงไป จากจิต  จากใจ ของ คน   หาก  พุทธบริษัท  ไม่ศึกษา แล้ว กระทำตาม พระพุทธะ  ที่ทรง  วางหลักปักฐาน การพระศาสนา

ทำแบบ เพี้ยน เป็น ธรรมเพี้ยน  ธรรมกลาย
เรา ไม่ศึกษา แย่กว่า เราศึกษา       ศึกษา   แต่  ไม่ทำตาม ก็ ยังมีดี    ที่ ศึกษา
 หาก ทั้งศึกษา แล กระทำจริง อย่างถูกตรง  ถูกต้อง นี่สิดีที่สุด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2013, 13:05:12 โดย nantong » IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
jirapraserd
midafXD
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 691


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2013, 13:57:50 »

ไปปริวาสทุกๆปี ทุกๆที่  แสดงว่าไม่หลาบจำ  อาบัติบ่อยไม่เคารพพระวินัย สึกดีกว่าอยู่ไปก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น

แต่ถ้าเป็นญาติโยมคนธรรมดามีโอกาสก็ไปบ้างจะได้ใกล้ พระใกล้วัด อย่าไปตอนจะเข้าโลงเลย
แก่แล้วจะไปทำอะไรได้นั่งนานๆก็เมื่อย คนหนุ่มสาวควรจะไป  สวดมนต์ ฟังเทศน์ ทำสมาธิ
อยู่ในที่สงบๆเสียบ้างก็จะดี แนวทางชีวิตอาจจะดีขึ้นก็ได้
IP : บันทึกการเข้า

teetee2011
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 664


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2013, 14:59:33 »

ไปปริวาสทุกๆปี ทุกๆที่  แสดงว่าไม่หลาบจำ  อาบัติบ่อยไม่เคารพพระวินัย สึกดีกว่าอยู่ไปก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น

แต่ถ้าเป็นญาติโยมคนธรรมดามีโอกาสก็ไปบ้างจะได้ใกล้ พระใกล้วัด อย่าไปตอนจะเข้าโลงเลย
แก่แล้วจะไปทำอะไรได้นั่งนานๆก็เมื่อย คนหนุ่มสาวควรจะไป  สวดมนต์ ฟังเทศน์ ทำสมาธิ
อยู่ในที่สงบๆเสียบ้างก็จะดี แนวทางชีวิตอาจจะดีขึ้นก็ได้
   เรียกว่านักล่าปริวาส  เพราะจะมีโพยยาวเป็นหางว่าวว่าที่ไหน . วันไหน, ก็จะนัดเจอกันที่นั่นที่นี่ ยังไง ๆ ก็เชิญเข้าไปร่วมเสวนากันได้จุดนัดพบ  หมอชิต 2 ห้อง.....
แหล่งข้อมูลความรู้ (ศึกษาไว้ก่อนว่า)   ใครจัด ? ผู้จัดชั้นใหน ? ใครได้ใกล้ชิดผู้จัด ? (หาเส้นสาย)  ที่ไหนมีอะไรเป็นเครื่องล่อใจให้อยากไปบ้าง (จับสลากวันสุดท้าย)  เช่น ตั๋วเครื่องบิน ? ตั๋วรถทัวร์  ? อัฐบริขาร ? (เกรดไหน ? อะไรบ้าง ) ใครมีพระเครื่องดี ๆ อะไรบ้าง ? ราคาเท่าไหร่ ? ใครให้เท่าไหร่แล้ว ? (นัดส่่องกัน) มือถือรุ่นไหน ? ถ่ายรูปถ่ายคลิปได้ป่าว ? ไอโฟน ? ไอแพด ? ยี่ห้อไหน ? อาหารการกิน ? โยมใครรวย ? ขออะไรได้บ้าง ? ( มีเบอร์โทรเพียบ ) ข้อสุดท้ายบุหรี่ ? ต้องมีถ้าไม่มี /ไม่มีรุ่น / งั้นตกเทรน  ฮืมฮืมฮืมฮืม??   ที่ว่าทั้งหมดนี้มิได้มีในตัวคน ๆ เดียวนะอย่าเข้าใจผิด สรุปประมาณนี้จขกท. นำมาโพสอย่างนี้เป็นผลดีกับโยมทั้งหลายเพราะได้เข้าใจกับคำว่าปริวาาส แต่ก็เป็นผลเสียสำหรับผู้เสียผลประโยชน์   
IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2013, 12:45:13 »

ไปปริวาสทุกๆปี ทุกๆที่  แสดงว่าไม่หลาบจำ  อาบัติบ่อยไม่เคารพพระวินัย สึกดีกว่าอยู่ไปก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น

แต่ถ้าเป็นญาติโยมคนธรรมดามีโอกาสก็ไปบ้างจะได้ใกล้ พระใกล้วัด อย่าไปตอนจะเข้าโลงเลย
แก่แล้วจะไปทำอะไรได้นั่งนานๆก็เมื่อย คนหนุ่มสาวควรจะไป  สวดมนต์ ฟังเทศน์ ทำสมาธิ
อยู่ในที่สงบๆเสียบ้างก็จะดี แนวทางชีวิตอาจจะดีขึ้นก็ได้
  เรียกว่านักล่าปริวาส  เพราะจะมีโพยยาวเป็นหางว่าวว่าที่ไหน . วันไหน, ก็จะนัดเจอกันที่นั่นที่นี่ ยังไง ๆ ก็เชิญเข้าไปร่วมเสวนากันได้จุดนัดพบ  หมอชิต 2 ห้อง.....
แหล่งข้อมูลความรู้ (ศึกษาไว้ก่อนว่า)   ใครจัด ? ผู้จัดชั้นใหน ? ใครได้ใกล้ชิดผู้จัด ? (หาเส้นสาย)  ที่ไหนมีอะไรเป็นเครื่องล่อใจให้อยากไปบ้าง (จับสลากวันสุดท้าย)  เช่น ตั๋วเครื่องบิน ? ตั๋วรถทัวร์  ? อัฐบริขาร ? (เกรดไหน ? อะไรบ้าง ) ใครมีพระเครื่องดี ๆ อะไรบ้าง ? ราคาเท่าไหร่ ? ใครให้เท่าไหร่แล้ว ? (นัดส่่องกัน) มือถือรุ่นไหน ? ถ่ายรูปถ่ายคลิปได้ป่าว ? ไอโฟน ? ไอแพด ? ยี่ห้อไหน ? อาหารการกิน ? โยมใครรวย ? ขออะไรได้บ้าง ? ( มีเบอร์โทรเพียบ ) ข้อสุดท้ายบุหรี่ ? ต้องมีถ้าไม่มี /ไม่มีรุ่น / งั้นตกเทรน  ฮืมฮืมฮืมฮืม??   ที่ว่าทั้งหมดนี้มิได้มีในตัวคน ๆ เดียวนะอย่าเข้าใจผิด สรุปประมาณนี้จขกท. นำมาโพสอย่างนี้เป็นผลดีกับโยมทั้งหลายเพราะได้เข้าใจกับคำว่าปริวาาส แต่ก็เป็นผลเสียสำหรับผู้เสียผลประโยชน์  

   
อนิจจัง  คือ  การเปลี่ยนแปลง   หาก ไม่เจริญขึ้น  ก็เสื่อมลง
 การมา ให้ธรรมทาน ให้ได้สติ ได้ปัญญา กัน   ทำให้ เกิดกุศล คือ ความฉลาด

ขอกราบ ไหว้สาธุ  ใน  ธรรมทาน ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 02 พฤษภาคม 2013, 00:26:45 โดย nantong » IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013, 21:25:44 »

  ปริวาสกรรม  เป็น วัตร ที่ ทำให้สงฆ์ บริสุทธิ์ ออกจาก  อาบัติหนัก สังฆาทิเสส     ปริวาสกรรม มีใน กิจวัตร 10 อย่าง ของภิกษุ
1.ลงอุโบสถ
2.บิณฑบาตรเลี้ยงชีพ
3.สวดมนต์ ไหว้พระ
4.กวาดอาวาส  วิหาร  ลานพระเจดีย์
5.รักษาผ้าครอง
6.อยู่ปริวาสกรรม
7.โกนผม  ปลงหนวด  ตัดเล็บ
8.ศึกษา สิกขาบท  และ  ปฎิบัติพระอาจารย์
9.เทศนาบัตร
10.พิจารณา ปัจจเวกขณะทั้ง 4 เป็นต้น

กิจวัตร 10 อย่าง  เหล่านี้ เป็นกิจใหญ่  ควรที่ภิกษุ จะต้องศึกษาให้ทราบ ความชัดเจน และ จำไว้ เพื่อ ปฎิบัติสมควรแก่ สมณสารูป แห่งตน  ฯ

ที่มา : หนังสือสวดมนต์เจ็ดตำนาน  สำนักพิมพ์อำนวยสาส์น

IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 02 พฤษภาคม 2013, 00:42:06 »

  กิจ สิบ อย่าง  ท่านว่า  พระภิกษุ ต้อง ศึกษา ให้ทราบ อย่างชัดเจน เข้าใจ หากลงมือ ทำการ  ก็ต้อง  มีความถูกต้อง
เราคนบ้าน  ศึกษา เอาไว้  หากมีบุญได้ เป็น นักบวช จะได้ รู้ ได้เข้าใจ  ทำได้ถูกต้อง

ช่วยกัน รักษา พระศาสนา  เป็น  ภาระ ของ  พุทธบริษัทสี่     
ผมจำ มาจาก ครูบาอาจารย์ ฯ พอสรุป ประมาณนี้ ว่า
  ศาสนาเสื่อมลงได้  ด้วยเพราะ การสอนผิด  เรียนผิด จำผิด  ลงมือทำผิด


กราบขอสมา  อภัย  หาก เป็นการล่วงเกิน ญาติธรรม
IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 18 พฤษภาคม 2013, 17:08:47 »

  พวกเดียรถีย์  คือ  คนนอกศาสนา  พวกขึ้นผิดท่า

อเจล กัสสป  ผู้เกิดศรัทธา  ใน  พระตถาคต  ใคร่บวช
พระองค์เจ้า  จึงให้  เข้าปริวาสกรรม  ก่อนรับ  การบรรพชา  4 เดือน
แต่ อเจล  กัสสป  ยินดี ขออยู่ นานกว่านั้น

อัญญเดียรถีย์ ก่อนบวช  พระพุทธะ  ทรงให้  อยู่ปริวาสกรรม 4 เดือน

IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!