เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 15:47:12
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ตานตอด มหาทานที่ไม่ต้องการการตอบแทน ประเพณีที่ใกล้สูญหาย โดย พนมกร นันติ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ตานตอด มหาทานที่ไม่ต้องการการตอบแทน ประเพณีที่ใกล้สูญหาย โดย พนมกร นันติ  (อ่าน 2912 ครั้ง)
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2012, 16:24:07 »

ตานตอด  มหาทานที่ไม่ต้องการการตอบแทน

   วิถีชีวิตของชาวล้านนานั้นมีประเพณีวัฒนธรรมมากมาย  ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย นับหลายร้อยปี  ซึ่งประเพณีวัฒนธรรมหลายอย่างได้รับการรักษามากระทั่งปัจจุบัน  แต่ก็ยังมีอีกไม่น้อยที่เริ่มสูญหายและถูกละเลยจากคนรุ่นใหม่  บางคนอาจะยังไม่มีโอกาสได้รับรู้ด้วยซ้ำว่ามีประเพณีแบบนี้ด้วยหรือ ซึ่งหนึ่งในวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามที่ผู้เขียนจะได้นำมากล่าวต่อไปนี้  เป็นประเพณีที่ครั้งหนึ่งผู้เขียนเองได้มีโอกาสเข้าร่วม  และเห็นว่าเป็นประเพณีที่คนรุ่นหลังควรศึกษาและสืบทอดไม่ให้สูญหายไปจากแผ่นดินล้านนา  ประเพณีนั้นก็คือ “ตานตอด”



“ตานตอด” หรือ "ตานต๊อด" หมายถึงอะไร ผู้เขียนขออธิบายความหมายของคำ ๒ คำนี้ก่อนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น  คำว่า “ตาน” มาจากคำว่า ทาน หรือการให้ทาน ส่วนคำว่า “ตอด” หรือ "ต๊อด" เป็นภาษาถิ่นล้านนา หรือออกเสียงภาษากลางว่า ทอด คือการเอาของไปวางไว้ วางทอดไว้  ถ้านึกภาพไม่ออกก็ให้นึกถึงการทอดผ้าบังสุกุลที่เราเอาผ้าไปวางทอดไว้  ดังนั้นคำว่า “ตานตอด” จึงหมายถึงการทำทานโดยการเอาของไปวางให้นั่นเอง  
   “ตานตอด” เป็นประเพณีที่งดงามแสดงถึงความมีน้ำใจไมตรี ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันในสังคมชนบท  ส่วนใหญ่จะทำกันในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังการเก็บเกี่ยว  และผู้คนในชนบทจะมีเวลาว่างจากการทำไร่ไถนา  การตานตอดนี้คนในชุมชนจะรวมตัวกันเพื่อพิจารณาว่าคนในหมู่บ้านหรือในชุมชนที่มีความขัดสน มีความยากไร้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองหรือไม่สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้  โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไม่มีลูกหลานคอยดูแล  หลังจากนั้นคนในชุมชนจะร่วมบริจาคทรัพย์ ข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้า อาหาร ยารักษาโรคต่างๆ ตามแต่กำลังของแต่ละคนที่พอจะช่วยกันได้  เมื่อได้รับข้าวของเครื่องใช้แล้วก็กำหนดวันที่จะทำการตานตอด  โดยจะเริ่มในเวลากลางคืนและเป็นเวลาที่ผู้คนเข้านอนกันแล้ว  ชาวบ้านจะนัดชุมนุมกันที่วัดโดยไม่ให้ผู้จะรับการตานตอดรู้ล่วงหน้า  เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วชาวบ้านก็จะช่วยกันนำสิ่งของเครื่องใช้เหล่านั้น  ไปยังบ้านผู้ที่ชาวบ้านจะมอบให้ด้วยความสงบ  ทุกคนจะเดินตามกันไปอย่างเงียบๆ โดยมีผู้นำหมู่บ้านหรือผู้อาวุโสของชุมชนเป็นผู้นำขบวน  เมื่อไปถึงยังบ้านนั้นแล้วทุกคนจะนำข้าวของไปวางไว้ที่หน้าบ้านอย่างเงียบๆ  จากนั้นทุกคนจะพากันไปแอบอยู่ตามพุ่มไม้บ้าง ตามแนวรั้วบ้านบ้างเพื่อไม่ให้เจ้าของบ้านหรือผู้ที่รับทานเห็น   หลังจากนั้นก็จะทำการจุดประทัดแล้วโยนเข้าไปใต้ถุนบ้านบ้าง  เอาก้อนหินปาที่ข้างฝาบ้านบ้างเพื่อให้ผู้เป็นเจ้าของบ้านนั้นตกใจตื่น  เท่านั้นเองผู้เขียนเห็นแสงตะเกียงในบ้านผู้เฒ่าผู้แก่นั้นถูกจุดขึ้น  พร้อมกับเสียงตะโกนด่าของแม่เฒ่าคนหนึ่ง  พร้อมทั้งเปิดประตูบ้านออกมาดูพอเปิดประตูออกมาเท่านั้นเอง สิ่งที่เห็นคือข้าวของเครื่องใช้และเครื่องดำรงชีพอีกมากมายกองอยู่ สิ้นสุดจากเสียงตะโกนด่าสิ่งที่พร่างพลูออกมาคือรอยยิ้มของแม่เฒ่ากับสายน้ำตาแห่งความตื้นตันใจ  ผู้เขียนเองถึงแม้จะยังเล็กแต่ก็ยังจำความได้ดี  และมีน้ำตาซึมออกมาเช่นเดียวกับแม่เฒ่านั้น  เมื่อเหลือบไปมองคนรอบๆ ข้าง  ความรู้สึกของทุกคนที่อยู่ที่นั่นขณะนั้นก็ไม่ต่างไปจากผู้เขียนเท่าใดนัก  เสียงตะโกนด่าจากแม่เฒ่าเปลี่ยนเป็นคำว่า “สาตุ๊” ภาษากลางออกเสียงว่า “สาธุ”  พร้อมกับให้พรเป็นภาษาเหนือ  เมื่อพรของแม่เฒ่าจบลง ก็มีเสียงดังกระหึ่มออกมาจากท่ามกลางความมืดพร้อมๆ กันว่า สาตุ๊  สาตุ๊  สาตุ๊  



ในความคิดของผู้เขียนการ“ตานตอด”มิใช่เป็นเพียงแค่ประเพณีเท่านั้น   แต่หากเป็นสิ่งที่คนสมัยก่อนแฝงไว้ซึ่งคำสอนมากมายที่ให้คนในชุมชนและสังคมรู้จักการให้  รู้จักการแบ่งปัน ความมีน้ำใจไมตรีและคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ซึ่งนำมาซึ่งความรักความสามัคคีของคนในชุมชนนั่นเอง
น่าเสียดายและน่าเป็นห่วงก็คือปัจจุบันนี้ คนในสังคมมีความเห็นแก่ตัวและขาดการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน   นับวันประเพณีอันดีงามนี้ยิ่งนานวันยิ่งถูกลืมเลือน  และเริ่มที่จะจางหายไปจากความทรงจำและการสืบทอดของชาวล้านนามากยิ่งขึ้น  
   คำว่า “ตาน” หรือ “ทาน” นี้หมายถึงการให้หรือการสละข้าวของอันเป็นของตนเพื่อเผื่อแผ่และเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ การให้ทานนั้นถือเป็นพื้นฐานของมวลมนุษยชาติ  โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน  เรารู้จักการให้ทานมาตั้งแต่เกิดโดยที่เราไม่รู้ตัว  เมื่อยามเยาว์เราได้รับการอบรมสั่งสอนให้รู้จักแบ่งปันอาหารและข้าวของต่างๆ ให้เพื่อนที่โรงเรียน  นั่นก็คือการให้ทาน ครู-อาจารย์ที่ให้การอบรมสั่งสอนลูกศิษย์   พระสงฆ์องค์เจ้าที่คอยเทศนาธรรมโปรดบุคคลทั่วไปก็ถือเป็นการให้ทาน  ทานที่ว่าก็คือวิทยาทานหรือความรู้ต่างๆ  พ่อแม่ดูแลลูกให้เสื้อผ้าอาหาร  บุตรเลี้ยงดูบุพการี เหล่านี้ก้อคือการให้ทานทั้งสิ้น  ดังนั้นคำว่า “ตาน” หรือ “ทาน” ในหลักพระพุทธศาสนาจึงมีอยู่หลายประเภทกล่าวคือ
๑. อามิสทาน คือ การให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน
๒. ธรรมทานหรือวิทยาทาน คือ การให้ความรู้เป็นทาน
๓. อภัยทาน คือ การสละอารมณ์โกรธ การให้อภัยและการไม่จองเวรซึ่งกันและกัน
จุดมุ่งหมายของการให้ทาน
๑. ให้เพื่อทำคุณ ให้เพื่อยึดเหนี่ยวใจเพื่อให้เกิดความรักความนิยมชมชอบแก่ผู้ให้
๒. ให้เพื่อนุเคราะห์ เป็นการให้เพื่อค้ำจุน เผื่อแผ่แก่บุคคลอื่นให้มีความสุข
๓. ให้เพื่อบูชาคุณเพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณต่อผู้ให้การอุปการะและได้ช่วยเหลือ
เกื้อกูลเรามา  เป็นเครื่องหมายแห่งความกตัญญูกตเวทิตา



ในหลักของพระพุทธศาสนา  มีทานบางประเภทที่ให้แล้วไม่ได้บุญและไม่เกิดกุศลประกอบด้วย
๑. ให้สุรายาเสพย์ติด เช่น บุหรี่ เหล้า ฝิ่น กัญชา ฯลฯ
๒. ให้อาวุธ เช่น เขากำลังทะเลาะกัน ยื่นปืน ยื่นมีดให้
๓. ให้มหรสพ เช่น พาไปดูหนังดูละคร ฟังดนตรี เพราะทำให้กามกำเริบ
๔. ให้สัตว์เพศตรงข้าม เช่น หาสุนัขตัวเมียไปให้ตัวผู้ หาสาวๆไปให้เจ้านาย ฯลฯ
๕. ให้ภาพลามก รวมถึงหนังสือลามก และสิ่งยั่วยุกามารมณ์ทั้งหลาย
การทำทานที่จะให้ได้บุญหรือเกิดอานิสงส์มากนั้นประกอบไปด้วยหลัก ๓ ประการคือ
๑. วัตถุบริสุทธิ์ ของที่จะให้ทานต้องเป็นของที่ได้มาโดยสุจริตชอบธรรม ไม่ได้คดโกง  เบียดเบียน  หรือยักยอกเอาของผู้อื่นมา
๒.  เจตนาบริสุทธิ์ คือ มีเจตนาเพื่อกำจัดความตระหนี่ของตนด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์  ให้ทานด้วยความบริสุทธิ์ใจและเมื่อให้แล้วไม่เกิดความเสียดายหรือให้เพื่อเอาหน้า
๓.  บุคคลบริสุทธิ์ คือ เลือกให้กับผู้ที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ หรือบุคคลอันควรให้เช่นพระสงฆ์ อุบาสก-อุบาสิกา ผู้ปฏิบัติธรรม ไม่ใช้โจรผู้ร้ายหรือผู้มีจิตใจอันต่ำช้า



การให้ทานเป็นเรื่องของจิตใจ ผู้ที่ให้ทานอยู่เสมอย่อมมีใจผ่องใส เมื่อจิตใจเกิดความบริสุทธิ์และผ่องใสแล้วทำให้เกิดปัญญาและมีสุขภาพที่ดี  สิ่งเหล่านี้ถือเป็นอานิสงส์ของการให้ทาน การให้ทานนั้นไม่ได้ให้เพื่อความนิยมหรือเห็นผู้อื่นให้แล้วอยากให้ตาม  ไม่ได้ให้เพื่อมายาสาไถหรือเพื่อรักษาหน้าตาทางสังคม  การให้ทานไม่ได้ให้เพื่อตามกระแสนิยมหรือสร้างภาพ   การให้ทานให้ด้วยความเมตตาความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน  ให้ด้วยความหวังดีต่อเพื่อมนุษย์และสรรพสัตด้วยกัน  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงยกย่องทานไว้หลายลักษณะ ดังนี้
๑.  คนควรให้ในสิ่งที่ควรให้
๒.  การเลือกให้ทานพระสุคตสรรเสริญ
๓.  คนพาลเท่านั้นที่ไม่สรรเสริญการให้ทาน
๔.  เมื่อมีจิตเลื่อมใสแล้วทักษิณาทานหาเชื่อว่าเป็นของน้อยไม่
๕.  บุญของผู้ให้ย่อมเจริญก้าวหน้า
๖.  ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
๗.  ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
๘.  ผู้มีปัญญาให้ความสุขย่อมได้รับความสุข
๙.  ผู้ให้อาหารเชื่อว่าให้กำลัง
๑๐.ผู้ให้ผ้าเชื่อว่าให้วรรณะ
๑๑.ผู้ให้ยานพาหนะเชื่อว่าให้ความสุข
๑๒.ผู้ให้ประทีปโคมไฟเชื่อว่าให้จักษุ
๑๓.ผู้ให้ที่พักอาศัยเชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
๑๔.ผู้ให้ธรรมทานเชื่อว่าให้อมฤตธรรม
๑๕.ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ
๑๖.ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
๑๗.ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี
๑๘.ผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ
๑๙.ผู้ใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ ผู้นั้นนั้นจะเกิด ณ ที่ใดๆย่อมมีอายุยืน มียศ ณ ที่นั้นๆ



 อานิสงส์การบำเพ็ญทาน
๑. เป็นที่มาของสมบัติทั้งหลาย
๒. เป็นที่ตั้งแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง
๓. ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข
๔. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รับของคนหมู่มาก
๕. ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
๖. ทำให้เป็นผู้มีเสน่ห์
๗. ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี
๘. ทำให้เข้าสังคมได้คล่องแคล่ว
๙. ทำให้แกล้วกล้าอาจหาญในทุกชุมชน
๑๐. ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติคุณดี
๑๑. แม้ตายแล้วก็ไปเกิดในสวรรค์          
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 25 สิงหาคม 2012, 17:29:47 โดย maekok_14 » IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2012, 16:26:43 »

มีอยู่แถวไหนบ้างคับ บ้านผมไม่มี ตกใจ ตกใจ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2012, 17:29:14 »

มีอยู่แถวไหนบ้างคับ บ้านผมไม่มี ตกใจ ตกใจ

ที่เมืองพาน(อ.พาน) ยังคงหลงเหลือประเพณีนี้อยู่ แต่มีไม่มากแล้วครับ
IP : บันทึกการเข้า
เวียงเก่า
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 280



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 27 สิงหาคม 2012, 12:02:04 »

เสียดายนะครับ ถ้าประเพณีดีๆแบบนี้ต้องสูญหายไป ผมก็เพิ่งนี้ยินว่ามีประเพณีแบบนี้ด้วย เป็นการทำบุญที่อิ่มใจทั้งผู้ให้ผู้รับ น่าจะช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้นะครับ ประเพณีแบบนี้หาได้ยากแล้วในสังคมวัตถุนิยมในปัจจุบัน ที่ืึทุกคนมุ่งหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน  ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า

ผลมันไม่ออกมาตามที่คาดหวัง จะมานั่งเสียใจไปทำไม เมื่อได้พยายามทำเหตุให้ดีที่สุดแล้ว
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 27 สิงหาคม 2012, 12:55:26 »

เสียดายนะครับ ถ้าประเพณีดีๆแบบนี้ต้องสูญหายไป ผมก็เพิ่งนี้ยินว่ามีประเพณีแบบนี้ด้วย เป็นการทำบุญที่อิ่มใจทั้งผู้ให้ผู้รับ น่าจะช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้นะครับ ประเพณีแบบนี้หาได้ยากแล้วในสังคมวัตถุนิยมในปัจจุบัน ที่ืึทุกคนมุ่งหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน  ยิ้มเท่ห์

นั่นซินะ ใครที่เป็นผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ ที่เป็นประธานชมรม นายก อบต. นายกเทศมนตรี ท่าน สอบต. ทั้งหลาย น่าจะเอาไปจัดในชุมชน เพื่อเป็นการรื้อฟื้น และสืบสานประเพณีนี้ไว้ นับวันจะหายสาบสูญ และคนก็จะเห็นแก่ตัวกันมากขึ้นน่ะครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 31 สิงหาคม 2012, 14:50:56 »

เสียดายนะครับ ถ้าประเพณีดีๆแบบนี้ต้องสูญหายไป ผมก็เพิ่งนี้ยินว่ามีประเพณีแบบนี้ด้วย เป็นการทำบุญที่อิ่มใจทั้งผู้ให้ผู้รับ น่าจะช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้นะครับ ประเพณีแบบนี้หาได้ยากแล้วในสังคมวัตถุนิยมในปัจจุบัน ที่ืึทุกคนมุ่งหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน  ยิ้มเท่ห์

นั่นซินะ ใครที่เป็นผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ ที่เป็นประธานชมรม นายก อบต. นายกเทศมนตรี ท่าน สอบต. ทั้งหลาย น่าจะเอาไปจัดในชุมชน เพื่อเป็นการรื้อฟื้น และสืบสานประเพณีนี้ไว้ นับวันจะหายสาบสูญ และคนก็จะเห็นแก่ตัวกันมากขึ้นน่ะครับ ยิงฟันยิ้ม
เคยทำเมื่อประมาณ 40กว่าปีที่แล้วยังเด็กๆ อยู่ ตอนนี้ได้เกริ่นกับพ่อหลวงแล้วไว้แหมสักหว่างก่อน เพราะยังหาคนยากไร้ที่มีคุณธรรมบ่ป๋ะเตื้อ มีก้าคนเฒ่าขี้เหล้า
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 31 สิงหาคม 2012, 15:11:15 »

เสียดายนะครับ ถ้าประเพณีดีๆแบบนี้ต้องสูญหายไป ผมก็เพิ่งนี้ยินว่ามีประเพณีแบบนี้ด้วย เป็นการทำบุญที่อิ่มใจทั้งผู้ให้ผู้รับ น่าจะช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้นะครับ ประเพณีแบบนี้หาได้ยากแล้วในสังคมวัตถุนิยมในปัจจุบัน ที่ืึทุกคนมุ่งหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน  ยิ้มเท่ห์

นั่นซินะ ใครที่เป็นผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ ที่เป็นประธานชมรม นายก อบต. นายกเทศมนตรี ท่าน สอบต. ทั้งหลาย น่าจะเอาไปจัดในชุมชน เพื่อเป็นการรื้อฟื้น และสืบสานประเพณีนี้ไว้ นับวันจะหายสาบสูญ และคนก็จะเห็นแก่ตัวกันมากขึ้นน่ะครับ ยิงฟันยิ้ม
เคยทำเมื่อประมาณ 40กว่าปีที่แล้วยังเด็กๆ อยู่ ตอนนี้ได้เกริ่นกับพ่อหลวงแล้วไว้แหมสักหว่างก่อน เพราะยังหาคนยากไร้ที่มีคุณธรรมบ่ป๋ะเตื้อ มีก้าคนเฒ่าขี้เหล้า

ถ้าขี้เหล้าคนเฒ่า ต้องตานไม้เกี๊ยะกับหลัวครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!