เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 19:04:17
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ถึงโลกถึงธรรม
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 [2] พิมพ์
ผู้เขียน ถึงโลกถึงธรรม  (อ่าน 4003 ครั้ง)
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #20 เมื่อ: วันที่ 10 พฤษภาคม 2012, 15:01:37 »

    ตารางที่ท่านยกมาแสดงนั้น   ส่วนใหญ่แล้วท่านแสดง “ผล” ของความคิดทั้งสิ้น  ซึ่งถ้าท่านบอกว่ารู้ทันว่าเบื่อก็เท่ากับคิด นั้น แสดงว่าอย่างน้อยที่สุด “ทุกข์” คือความเบื่อเกิดขึ้นแล้ว  มันจะไปเท่ากับคิดได้อย่างไรกัน?? ยิ่งคำอธิบายท้ายตารางยิ่งเป็นการอธิบายถึง “ผล” ของความคิดทั้งหมด มันจะไปรู้ทัน “คิด” ได้อย่างไร       
ในสิ่งที่คุณโค้ดมาถามมันเป็นเพียงข้อปลีกย่อยและเป็นผลอย่างที่คุณว่าแต่คนละความหมายซึ่งความหมายที่ว่าอาตมาหมายถึงคุณควรใส่ใจในเหตุแห่งการเกิดสติมากกว่าจะมามัวตั้งข้อสงสัยในสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้มันคล้ายกับว่าคุณกกำลังโดนลูกธนูปักหัวเข่าอยู่แต่พอจะมีหมอมาทำการรักษาให้คุณกลับบอกว่าถ้าคุณยังไม่รู้ที่มาของลูกธนูว่ามาจากไหน สร้างด้วยวัตถุใด คันธนูที่ใช้ยิงผลิตจากไม้หรือโลหะ สายธนูใช้วัสดุอะไรทำ ตราบใดก็ตามถ้ายังไม่ทราบข้อมูลเหล่านี้คุณจะไม่ยอมรักษา  คุณคิดว่าคุณมีสิทธิ์เสียขาข้างนั้นไหม?
          อย่างไรก็ดีคำว่า "คิด"ที่อาตมาใช้อยู่นั้นแท้จริงมันก็เปรียบเสมือนคำบริกรรมนี่เองถ้าผู้ฝึกไม่ชอบคำนี้จะเอาคำอื่นที่ชอบมาใช้ก็ได้ไม่แปลก คุณจะใช้คำว่าจ๊ะเอ๋ก็ยังได้นะ เจอสภาวะก็จ๊ะเอ๋แต่อาตมาว่ามันยาวไป
          สาระที่คุณควรศึกษาอาตมาบอกไปแล้ว

การสร้างผู้รู้ สามารถกระทำได้สองทาง คือ ทางร่างกายและทางความคิด, ทางกายนั้นฝึกตามรู้ได้สองทางเช่นกันคือ   (ท่านเอามหาสติปัฏฐาน 4 ไปไว้ไหนครับ  ทำไมจึงเหลือเพียง 2 ทางเท่านั้น??)
                เมื่อได้อ่านประโยคนี้ในนักภาวนาจะไม่มีคำถามนี้เด็ดขาด จะอธิบายให้นะ
                ร่างกาย หรือ กาย คือ รูป
                ความคิด            คือ นาม
                ในสติปัฏฐานสี่มี กาย เวทนา จิต และธรรม
                กาย     คือ รูป
                เวทนา จิต ธรรม  คือนาม
                หากไม่ใช้คำว่ารูป นาม เราก็ใช้คำว่า กาย ใจ แทนทีนี้พอจะเห็นหรือยังว่าอาตมาเอาสติปัฏฐานสี่ไปไว้ไหน?

ารเอาใจใส่ ถือได้ว่าบรรลุ จุดประสงค์แล้ว  ความคิดเป็นเหตุแห่งทุกข์มิใช่หรือ  การหลงลืมต่อการฝึก กลับเป็นเหตุแห่งทุกข์ไปตั้งแต่ตอนไหน?
อาศัยวินาทีทองนั้นตามรู้ความคิดได้เลย เพราะเมื่อท่านเกิดอาการหงุดหงิด       เบื่อ โมโหนั้นแหละคือความคิดของท่าน    หงุดหงิด  และโมโห   น่าจะเป็นผลจากความคิด ไม่ใช่คือความคิด
     ขอผ่าน


   ท่านกับความคิด อย่าทำตัวเหมือนแมวกับหนูจงอย่าคิดว่าท่านคือแมว               และความคิดคือหนูโดยเด็ดขาด เพราะแมวกับหนูเมื่อเจอกันบ่อยๆ ย่อมทำให้เกิดความคุ้นเคยกันได้

“ผู้รู้”หากไม่สนใจ “สิ่งที่ถูกรู้” บ่อย ๆ จะรู้ทันกันได้อย่างไร ? 
ไม่ได้บอกว่าไม่ให้สนใจแต่มีผู้ที่หัดภาวนาส่วนใหญ่มักเข้าไปหลงอยู่ในความคิดโดยเข้าใจว่าตนเองกำลังรู้ทันความคิดอยู่ และการรู้ทันความคิดที่ถูกต้องคือการไปรู้ว่าจิตมันกำลังคิดหรือรู้สภาวะคิดนั่นเองไม่ใช่ไปรู้เรื่องที่คิด

           เอาล่ะอาตมาก็ตอบข้อสงสัยของคุณไปจนหมดแล้วทีนี้อาตมาจะถามบ้าง  คุณสังเกตไหมว่าขณะที่คุณพิมพ์คำถามอยู่นั้นความรู้สึกของคุณเป็นอย่างไร? คุณมีสติรู้สึกถึงความอึดอัดขัดข้องหรือไม่ จิตเจตนาของคุณเป็นเช่นไร คุณมีความรู้สึกว่ากำลังทำหน้าที่พิทักษ์ศาสนาอยู่หรือเปล่า ความหงุดหงิดขุ่นเคืองที่คุณใส่ลงมาในคำถามโดยใช้คำว่าสนทนาธรรมเหมาะสมหรือไม่คุณเห็นมันมั้ย สิ่งที่อาตมาถามนี้ล้วนเป็นจิตของคุณทั้งสิ้น คุณดูมันทันมั้ย
           ถึงคำตอบของอาตมาจะถูกใจหรือไม่ถูกใจคุณก็ตามขออย่าได้นำไปเป็นเงื่อนไขในการพบกันของเราเลย เพราะอาตมายินดีพบใครก็ตามที่ต้องการกัลยาณมิตรอยู่ตลอดเวลาโดยถือว่าเป็นหน้าที่ที่ควรแล้ว
           อาตมาเป็นคนเชียงรายและพักอาศัยที่วัดในตัวเมืองดังนั้นจึงมีเวลาสำหรับสาธุชนทั่วไป
ตลอดเวลาเพียงแค่คุณแจ้งมาล่วงหน้าหนึ่งวัน ตามe-mail ที่แสดงไว้


             เจริญธรรม.






IP : บันทึกการเข้า
narutokung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36


« ตอบ #21 เมื่อ: วันที่ 11 พฤษภาคม 2012, 18:52:50 »

ไม่ได้เข้ามาดูวันเดียว ท่านตอบไวเหมือนกัน ผมบ้างนะครับ

1.   การที่ท่านจะไม่แจงถึงการ “หยิบยืมภาษาพูด” จากแหล่งใดก็แล้วแต่ และจะโดยวิธีการใดก็แล้วแต่  ไม่ใช่สาระอีกต่อไป  เนื่องเพราะถ้าอ่านและพิจารณาคำตอบที่ผมสงสัย ก็จะรู้ชัดได้เองว่าข้อสงสัยนั้น สงสัยตรงไหน และคำตอบนั้นตรงประเด็นหรือไม่
2.   สมมุติสัจจะ เป็นของที่มีอยู่ในโลกจริง มีบัญญัติไว้ให้สื่อสารรู้ความกันได้จริง แม้ไม่ตรงเผ็งเสียทีเดียวแต่ก็ไม่ได้พลาดเป้าถ้าไม่เบี่ยงเบนและหลงประเด็น  ชี้สีขาว แล้วเรียกสีขาว คนก็เข้าใจ แต่ชี้สีดำแล้วเรียกสีขาว แล้วจะมาบอกว่า “ผมเรียกอย่างนี้” ก็จนใจที่จะสื่อสารกันได้ครับ ในข้อสงสัยและคำตอบมีหลากกรรมหลายวาระที่พบว่าสมมุติสัจจะของเราทั้งคู่ไม่ตรงกัน
3.   การเจริญสติมิได้เป็นของแปลกใหม่ จนไม่เคยมีใครศึกษาและปฏิบัติ หากแต่มีหลายสำนักที่พยายามดัดแปลงและยัดเยียดความเห็นส่วนตัวว่ามาจากประสบการณ์จริงด้วยกันทั้งสิ้น  เพิ่มเติมลงไป  จะด้วยเหตุผลอะไรก็สุดแล้วแต่  ขณะเดียวกันก็มีนักปฏิบัติจำนวนไม่น้อยที่เพียรพยายามปฏิบัติจริง ๆ ศึกษาจริง ๆ และรู้จริง ๆ แต่ครูบาอาจารย์นักปฏิบัติเหล่านั้นก็มิได้ให้ความสำคัญไปกว่าการปฏิบัติตามแบบอริยมรรค และไตรสิกขา โดยอรรถาธิบายเพิ่มเติมถึงความสำคัญของไตรสิกขาข้อแรกคือศีลอย่างมากมายดังจะเคยได้ยินได้ฟังบ่อย ๆ ว่า สีเลนะสุคติงยันติ  สีเลนะโภคะสัมปทา สีเลนะนิพพุติงยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย “ศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมซึ่งความสุข ศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์ ศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมซึ่งพระนิพพาน เพราะเหตุนั้นพึงรักษาศีลให้หมดจด”  การเริ่มต้นจากศีลบริสุทธิ์จึงเป็นก้าวแรกที่ครูบาอาจารย์เหล่านั้นได้เพียรพยายามให้ศิษย์หรือผู้สนใจใฝ่รู้ได้ยึดถือ เพื่อให้เกิดสัมมาสมาธิ และสัมมาปัญญา  ทั้งยังได้เมตตาชี้แจงถึงวิธีการที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ มากน้อยตามแต่กำลังและความเพียรของผู้ปฏิบัติเอง แต่ในข้อเขียนของท่านมิได้กล่าวถึง “ศีล” เลยแม้แต่น้อยนิด ของท่านกล่าวไปในช่วงที่ 2 ต่อที่ 3 เลย คือสมาธิและปัญญา ผมวนเวียนอยู่ในความทุกข์ เดินเข้าเดินออกอยู่กับครูบาอาจารย์มานานยังไม่มีปัญญารักษาศีลให้บริสุทธิ์ ได้เลย สมาธิและปัญญายังไม่เป็นที่พึ่งแก่ตัวเองเลย จึงไม่แปลกใจที่จะพบเห็นข่าวการละเมิดศีลของพลโลกอยู่เนือง ๆ ตามสื่อต่าง ๆ และอัศจรรย์ปนตกใจที่พบเห็นข้อเขียนของท่านที่กล่าวขึ้นหัวกระทู้ไว้ว่า “ถึงโลกถึงธรรม” คำถามเกิดขึ้นทันทีว่าใครหนอ?? ที่ใช้สำนวนทับศัพท์หลวงปู่เทสก์ หรือเค้าหยิบยืมคำสอนหลวงปู่เทสก์มาและ “มันถึงจริงหรือ” ลองโหลดดูหน่อยซิลักษณะของงานเขียนเช่นของท่านนี้ ท่านไม่ได้เป็นเจ้าแรก หากแต่มีท่านเจ้าสำนักชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกท่านเขียนเอาไว้ ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเป็นฆราวาสในยุคอินเตอร์เน็ตยังราคาแพงอยู่ นอกจากนั้นก็ยังมีนักเขียนท่านอื่นทยอยเขียนออกมาเรื่อย ๆ แต่ทุกฉบับล้วนได้รับการ “ปฏิเสธ” จากสำนักมาตรฐานของวัดป่าหลายแห่ง เพราะท่านผู้แต่งหนังสือ “เด็ดยอด” ของการปฏิบัติ โดยไม่ได้ใส่ใจ “พื้นฐาน คือศีล และสมาธิ” หนังสือหลายฉบับยังกล่าวพรรณาถึงลักษณะอาการแห่งการบรรลุความทุกข์ หรือบรรลุธรรมชั้นต่าง ๆ ว่ามีลักษณะและกริยาเช่นใดทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่ส่อเจตนาให้ผู้อ่านเข้าใจว่าท่านผู้แต่งหนังสือเอง “บรรลุ” แล้ว เช่นเดียวกันกับท่าน  แต่พอถูกถามจี้จุดตรง ๆ ก็ย้อนผู้ถามในลักษณะเดียวกันนี้ว่า “คำถามนี้ไม่สมควรถามลองพิจารณาดูให้รอบคอบหน่อยนะอีกอย่างถ้าคุณได้คำตอบจะส่งผลให้คุณเป็นหรือไม่เป็นอะไร?”  มันไม่ได้สำคัญที่ว่าถ้าผมได้คำตอบแล้วจะมีใครเป็นอะไร หากแต่สำคัญตรงที่ อาการที่ท่านว่าอย่างนั้น  “มันเป็นของจริงหรือเปล่า?” เป็นเครื่องวัดการปฏิบัติได้จริงหรือเปล่า? มีใครที่รับรองได้จริง ๆ หรือ? ก็เท่านั้นเอง!  เพราะถ้าเป็นจริงอย่างท่านว่าก็แล้วกันไป โลกจะได้เข้าใจและมั่นใจ (หรือเปล่า) ว่าการบรรลุนั้น อาการเป็นแบบนี้นี่เอง แต่ถ้ามันไม่จริง “ปาราชิก” ก็เป็นเรื่องของท่าน
4.   ผมไม่เถียงว่าข้อเขียนของท่านนั้นมีประโยชน์ในแง่ของการปฏิบัติตาม เหมือนเช่นของท่านเจ้าสำนักชายฝั่งทะเลตะวันออก อย่างไรเสียก็ยังดีกว่าไปทำอะไรผิดทำนองคลองธรรม แต่ถ้าจะนำไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์ขั้นปรมัตถ์จริง ๆ แบบนิรันดร์ที่ท่านว่า ก็จะมีความเห็นที่ต่างกันไม่สอดคล้องต้องกันอยู่เนือง ๆ  ในทุกเว็บบอร์ดที่นำข้อเขียนไปเผยแพร่            ดังคำเขาว่ากันมา
“ผู้รู้จริง เห็นจริง เหมือนกัน   พบกัน       แม้ไม่เอ่ยปาก แต่ก็เข้าใจตรงกัน
ผู้รู้จริง เห็นจริง พบผู้ไม่รู้จริง ไม่เห็นจริง      พบกันพอเอ่ยปากก็ขัดแย้งกัน
ผู้ไม่รู้จริง ไม่เห็นจริง ทั้งคู่ พบกันก็มีแต่ไม่ลงรอยกัน แม้จะอธิบายความสักเพียงใดก็มีข้อ ขัดแย้งกันอยู่ดี”
ถ้าข้อความที่พบเห็นในที่สาธารณะต่าง ๆ เป็นจริง ดังนั้น ในกรณีนี้  ผม และท่าน อาจมีใครที่จริง หรือ ไม่มีใครจริงเลยสักคน  ก็เป็นได้   
5.   ต่อข้อซักถามของท่านบ้าง
1.   คุณสังเกตไหมว่าขณะที่คุณพิมพ์คำถามอยู่นั้นความรู้สึกของคุณเป็นอย่างไร?  >>>
ตอบ. การเจริญสติไม่ได้เป็นของแปลกใหม่ ถึงผมจะมีความเลวเต็มหัวใจ แต่การฝึกสตินั้นครูบาอาจารย์ท่านส่งเสริมให้ปฏิบัติและผมเองก็ฝึกอยู่เช่นกัน จึงตอบได้ว่าความรู้สึกเป็นเช่นไร ถึงแม้จะไม่สามารถอธิบายบอกได้จนหมดสิ้นถึงความรู้สึกที่รู้ชัดเฉพาะตนเอง ซื้อ ขาย ให้หยิบยืมไม่ได้ ก็ตาม แต่ยังพอสามารถสื่อและรับรู้ได้ว่าผู้สื่อต้องการสื่อความรู้สึกใด ๆ ออกมา  ผมรู้สึกเฉย ๆ ครับ
2.   คุณมีสติรู้สึกถึงความอึดอัดขัดข้องหรือไม่  ?
 >>> ตอบ. ถ้ารู้สึกเฉย ๆ แล้วยังจะมีความรู้สึกอื่นใดปนอยู่อีกหรือครับ
3.   จิตเจตนาของคุณเป็นเช่นไร ? 
>>> ตอบ. ข้อนี้ท่านต้องลงไปดูข้อ 6 ครับ
4.   คุณมีความรู้สึกว่ากำลังทำหน้าที่พิทักษ์ศาสนาอยู่หรือเปล่า  ? 
>>> ตอบ. ลำพังตัวยังเอาตัวไม่รอด จะไปพิทักษ์คุ้มครองใครได้อีก อย่าว่าแต่ศาสนามิใช่สิ่งของที่ต้องผุพัง และถูกทำร้ายได้เลย คนต่างหากที่เสื่อมและเจริญตามเหตุปัจจัย
5.   ความหงุดหงิดขุ่นเคืองที่คุณใส่ลงมาในคำถามโดยใช้คำว่าสนทนาธรรมเหมาะสมหรือ ไม่คุณเห็นมันมั้ย ? 
>>> ตอบ. ก็ถ้าเฉย ๆ แล้วผมจะหงุดหงิด ขุ่นเคืองหรือ?? และถ้าหากสนทนาโดยการเห็นพ้องต้องกันกับข้อเขียนของท่านถือเป็นการสนทนาธรรม แล้ว การเห็นต่างจากท่าน ไม่เหมาะสมที่จะใช้คำว่า “สนทนาธรรม” หรือ?
6.   สิ่งที่อาตมาถามนี้ล้วนเป็นจิตของคุณทั้งสิ้น คุณดูมันทันมั้ย ? 
>>> ตอบ. ท่านรู้โดยอาศัยเจโตฯ หรือท่าน “ทักจิต” ท่านลืมแล้วหรือ “ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ วิญญูหิ” แปลสั้น ๆ ได้ว่า “พระธรรมอันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตนผู้อื่นไม่พลอยตามรู้เห็นด้วย” แล้วท่านท่านเป็นใครกัน???  ที่รู้เห็นเป็นความไปในจิตใจของผู้อื่น แถมรู้ดีกว่าเสียด้วย! โดยการบอกว่า คุณดูมันทันมั้ย???
IP : บันทึกการเข้า
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #22 เมื่อ: วันที่ 12 พฤษภาคม 2012, 10:16:21 »

เจริญธรรม คุณนารุ

             
1.   การที่ท่านจะไม่แจงถึงการ “หยิบยืมภาษาพูด” จากแหล่งใดก็แล้วแต่ และจะโดยวิธีการใดก็แล้วแต่  ไม่ใช่สาระอีกต่อไป  เนื่องเพราะถ้าอ่านและพิจารณาคำตอบที่ผมสงสัย ก็จะรู้ชัดได้เองว่าข้อสงสัยนั้น สงสัยตรงไหน และคำตอบนั้นตรงประเด็นหรือไม่
2.   สมมุติสัจจะ เป็นของที่มีอยู่ในโลกจริง มีบัญญัติไว้ให้สื่อสารรู้ความกันได้จริง แม้ไม่ตรงเผ็งเสียทีเดียวแต่ก็ไม่ได้พลาดเป้าถ้าไม่เบี่ยงเบนและหลงประเด็น  ชี้สีขาว แล้วเรียกสีขาว คนก็เข้าใจ แต่ชี้สีดำแล้วเรียกสีขาว แล้วจะมาบอกว่า “ผมเรียกอย่างนี้” ก็จนใจที่จะสื่อสารกันได้ครับ ในข้อสงสัยและคำตอบมีหลากกรรมหลายวาระที่พบว่าสมมุติสัจจะของเราทั้งคู่ไม่ตรงกัน


                ถูกของคุณ.

แต่ในข้อเขียนของท่านมิได้กล่าวถึง “ศีล” เลยแม้แต่น้อยนิด ของท่านกล่าวไปในช่วงที่ 2 ต่อที่ 3 เลย คือสมาธิและปัญญา ผมวนเวียนอยู่ในความทุกข์ เดินเข้าเดินออกอยู่กับครูบาอาจารย์มานานยังไม่มีปัญญารักษาศีลให้บริสุทธิ์ ได้เลย สมาธิและปัญญายังไม่เป็นที่พึ่งแก่ตัวเองเลย
     อาตมาขอฝากพระสูตรนี้นะ 

 

อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อาสิงสวรรค
๖. กัญจนขันธชาดก ว่าด้วยการบรรลุธรรมอันเกษม
               พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย ปหฏฺเฐน จิตฺเตน ดังนี้.
               ได้ยินว่า กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว บวชถวายชีวิตในพระศาสนา คือพระรัตนตรัย. ครั้งนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์ของเธอ กล่าวสอนถึงศีลว่า ผู้มีอายุ ที่ชื่อว่าศีล อย่างเดียวก็มี สองอย่างก็มี สามอย่างก็มี สี่อย่างก็มี ห้าอย่างก็มี หกอย่างก็มี เจ็ดอย่างก็มี แปดอย่างก็มี เก้าอย่างก็มี ที่ชื่อว่าศีลมีมากอย่าง นี้เรียกว่า จุลศีล นี้เรียกว่า มัชฌิมศีล นี้เรียกว่า มหาศีล นี้เรียกว่า ปาฏิโมกขสังวรศีล นี้เรียกว่า อินทริยสังวรศีล นี้เรียกว่า อาชีวปาริสุทธิศีล นี้เรียกว่า ปัจจยปฏิเสวนศีล.
               ภิกษุนั้นคิดว่า ขึ้นชื่อว่า ศีลนี้มีมากยิ่งนัก เราไม่อาจสมาทานประพฤติได้ถึงเพียงนี้ ก็บรรพชาของคนที่ไม่อาจบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ได้ จะมีประโยชน์อะไร. เราจักเป็นคฤหัสถ์ ทำบุญมีให้ทานเป็นต้น เลี้ยงลูกเมีย ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ก็เรียนอาจารย์และอุปัชฌาย์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่อาจรักษาศีลได้ เมื่อไม่อาจรักษาศีลได้ การบรรพชาก็จะมีประโยชน์อะไร? กระผมจะขอลาสิกขา โปรดรับบาตรและจีวรของท่านไปเถิด.
               ลำดับนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์จึงบอกกะภิกษุนั้นว่า ผู้มีอายุ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอจงไปถวายบังคมพระทศพล ดังนี้แล้ว พาเธอไปยังธรรมสภาอันเป็นที่ประทับของพระศาสดา.
               พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้น ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่ปรารถนา (บรรพชาเพศ) มาหรือ? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ภิกษุนี้บอกว่า เธอไม่อาจรักษาศีลได้ จึงมอบบาตรและจีวรคืน เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงพาเธอมา.
               พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุไร พวกเธอจึงได้บอกศีลแก่ภิกษุนี้มากนักเล่า ภิกษุนี้อาจรักษาได้เท่าใด ก็พึงรักษาเท่านั้นแหละ ตั้งแต่นี้ไป พวกเธออย่าได้พูดอะไรๆ กะภิกษุนี้เลย ตถาคตเท่านั้นจักรู้ ถึงการที่ควรทำ แล้วตรัสกะภิกษุนั้นว่า มาเถิดภิกษุ เธอจะต้องการศีลมากๆ ทำไมเล่า เธอจักไม่อาจเพื่อจะรักษาศีล ๓ ประเภทเท่านั้นหรือ?
               ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า.
               มีพระพุทธดำรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ตั้งแต่บัดนี้ เธอจงรักษาทวารทั้ง ๓ ไว้ คือกายทวาร วจีทวาร มโนทวาร อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยกาย อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยวาจา อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยใจ ไปเถิด อย่าสึกเลย จงรักษาศีล ๓ ข้อ เหล่านี้เท่านั้นเถิด.
               ด้วยพระพุทธดำรัสเพียงเท่านี้ ภิกษุนั้นก็มีใจยินดี กราบทูลว่า ดีละ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักรักษาศีล ๓ เหล่านี้ไว้ ดังนี้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดา ได้กลับไป พร้อมกับอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ทั้งหลาย.
               เมื่อเธอบำเพ็ญศีลทั้ง ๓ เหล่านั้นอยู่นั่นแล จึงได้สำนึกว่า ศีลที่อาจารย์และอุปัชฌาย์บอกแก่เรา ก็มีเท่านี้เอง แต่ท่านเหล่านั้นไม่อาจให้เราเข้าใจได้ เพราะท่านไม่ใช่พระพุทธเจ้า. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจัดศีลทั้งหมดนี้เข้าไว้ในทวาร ๓ เท่านั้น ให้เรารับเอาไว้ได้ เพราะพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ทรงรู้ดี (และ) เพราะพระองค์เป็นพระธรรมราชาชั้นยอด พระองค์ทรงเป็นที่พำนักของเราแท้ๆ ดังนี้ แล้วเจริญวิปัสสนา ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล โดย ๒-๓ วันเท่านั้น.
               ภิกษุทั้งหลายทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ประชุมกันในธรรมสภา ต่างนั่งสนทนาถึงพระพุทธคุณว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุนั้นกล่าวว่า ไม่อาจรักษาศีลทั้งหลายได้ กำลังจะสึก พระศาสดาทรงย่นย่อศีลทั้งหมดโดยส่วน ๓ ให้เธอรับไว้ได้ ให้บรรลุพระอรหัตผลได้ โอ ขึ้นชื่อว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอัจฉริยมนุษย์.
               พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร?
               ครั้นพวกภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
               ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภาระแม้ถึงจะหนักยิ่ง เราก็แบ่งโดยส่วนย่อยให้แล้ว เป็นดุจของเบาๆ แม้ในปางก่อน บัณฑิตทั้งหลายได้แท่งทองใหญ่ แม้ไม่อาจจะยกขึ้นได้ ก็แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ แล้วยกไปได้ ดังนี้แล้ว
               ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
               ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี. พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นชาวนาอยู่ในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง.
               วันหนึ่ง กำลังไถที่นาอยู่ในเขตบ้านร้างแห่งหนึ่ง. แต่ครั้งก่อนในบ้านหลังนั้น เคยมีเศรษฐีผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติผู้หนึ่ง ฝังแท่งทองใหญ่ขนาดโคนขา ยาวประมาณ ๔ ศอกไว้ แล้วก็ตายไป. ไถของพระโพธิสัตว์ไปเกี่ยวแท่งทองนั้น แล้วหยุดอยู่.
               พระโพธิสัตว์คิดว่า คงจะเป็นรากไม้ จึงคุ้ยฝุ่นดู เห็นแท่งทองนั้นแล้ว ก็กลบไว้ด้วยฝุ่น แล้วไถต่อไปทั้งวัน ครั้นดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว จึงเก็บสัมภาระมีแอกและไถเป็นต้น ไว้ ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง คิดว่า จักแบกเอาแท่งทองไป ไม่สามารถจะยกขึ้นได้ เมื่อไม่สามารถจึงนั่งลง แบ่งทองออกเป็น ๔ ส่วน โดยคาดว่า จักเลี้ยงปากท้องเท่านี้ ฝังไว้เท่านี้ ลงทุนเท่านี้ ทำบุญให้ทานเป็นต้นเท่านี้. พอแบ่งอย่างนี้แล้ว แท่งทองนั้นก็ได้เป็นเหมือนของเบาๆ. พระโพธิสัตว์ยกเอาแท่งทองนั้นไปบ้าน แบ่งเป็น ๔ ส่วน กระทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วก็ไปตามยถากรรม.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาดังนี้
               ครั้นได้ตรัสรู้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
               นรชนผู้ใด มีจิตร่าเริงแล้ว มีใจเบิกบานแล้ว บำเพ็ญธรรมเป็นกุศล เพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ นรชนนั้น พึงบรรลุความสิ้นสังโยชน์ทุกอย่างได้โดยลำดับ. ดังนี้

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหฏฺเฐน ได้แก่ปราศจากนิวรณ์.
               บทว่า ปหฏฺฐมนโส ความว่า เพราะเหตุที่มีจิตปราศจากนิวรณ์นั่นแล จึงชื่อว่ามีใจเบิกบานแล้ว เหมือนทองคำ คือเป็นผู้มีจิตรุ่งเรือง สว่างไสวแล้ว.
               พระบรมศาสดาทรงยังเทศนาให้จบลงด้วยยอด คือพระอรหัต ด้วยประการดังนี้.
               แล้วทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
               บุรุษผู้ได้แท่งทองในครั้งนั้น ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.


               -----------------------------------------------------               
.. อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อาสิงสวรรค ๖. กัญจนขันธชาดก ว่าด้วยการบรรลุธรรมอันเกษม จบ.

อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=369&Z=374
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๑  ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
 
                ศีลทั้งหมดรวมลงที่ทวารทั้งสาม คือ กาย วาจาและใจ จึงขอเพียงมีสติรักษาใจอย่างเดียวถือได้ว่าได้รักษาศีลทั้งหมดแล้ว

                 นอกจากนั้นก็ยังมีนักเขียนท่านอื่นทยอยเขียนออกมาเรื่อย ๆ แต่ทุกฉบับล้วนได้รับการ “ปฏิเสธ” จากสำนักมาตรฐานของวัดป่าหลายแห่ง เพราะท่านผู้แต่งหนังสือ “เด็ดยอด” ของการปฏิบัติ โดยไม่ได้ใส่ใจ “พื้นฐาน คือศีล และสมาธิ” หนังสือหลายฉบับยังกล่าวพรรณาถึงลักษณะอาการแห่งการบรรลุความทุกข์ หรือบรรลุธรรมชั้นต่าง ๆ ว่ามีลักษณะและกริยาเช่นใดทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่ส่อเจตนาให้ผู้อ่านเข้าใจว่าท่านผู้แต่งหนังสือเอง “บรรลุ” แล้ว เช่นเดียวกันกับท่าน  แต่พอถูกถามจี้จุดตรง ๆ ก็ย้อนผู้ถามในลักษณะเดียวกันนี้ว่า “คำถามนี้ไม่สมควรถามลองพิจารณาดูให้รอบคอบหน่อยนะอีกอย่างถ้าคุณได้คำตอบจะส่งผลให้คุณเป็นหรือไม่เป็นอะไร?”  มันไม่ได้สำคัญที่ว่าถ้าผมได้คำตอบแล้วจะมีใครเป็นอะไร หากแต่สำคัญตรงที่ อาการที่ท่านว่าอย่างนั้น  “มันเป็นของจริงหรือเปล่า?” เป็นเครื่องวัดการปฏิบัติได้จริงหรือเปล่า? มีใครที่รับรองได้จริง ๆ หรือ? ก็เท่านั้นเอง!  เพราะถ้าเป็นจริงอย่างท่านว่าก็แล้วกันไป โลกจะได้เข้าใจและมั่นใจ (หรือเปล่า) ว่าการบรรลุนั้น อาการเป็นแบบนี้นี่เอง แต่ถ้ามันไม่จริง “ปาราชิก” ก็เป็นเรื่องของท่าน

                 การหาบุคคลเพื่อยืนยันในความถูกต้องในผลของการปฏิบัติธรรมอาตมาขอแนะนำให้อ่านพระสูตรนี้นะ
อินทขีลสูตร
ผู้รู้ตามเป็นจริง ย่อมรู้ผู้อื่นว่ารู้หรือไม่รู้
             [๑๗๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อม
ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่
เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย เป็นของเบา คอยจะลอยไปตามลม บุคคลวางไว้ที่ภาคพื้นอัน
ราบเรียบแล้ว ลมทิศบูรพา พึงพัดปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้นไปทางทิศประจิมได้ ลมทิศประจิมพึงพัด
เอาไปทางทิศบูรพาได้ ลมทิศอุดรพึงพัดเอาไปทางทิศทักษิณได้ ลมทิศทักษิณพึงพัดเอาไปทางทิศ
อุดรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?  เพราะปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้นเป็นของเบาฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข-
*นิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์
อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?  เพราะไม่เห็น
อริยสัจ ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน.
             [๑๗๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ตามความ
เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่
ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่
เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาหินมีรากลึก เขาฝังไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ถึงแม้
ลมฝนอย่างแรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา ... ทิศประจิม ... ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้าน
หวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุไร?  เพราะรากลึก เพราะเสาหินเขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
*ปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้
เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่  ข้อนั้นเพราะเหตุไร?  เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว
ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?  คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
         
                   หรือในพุทธธรรมฉบับสมบูรณ์ของท่านเจ้าคุณประยุทธ(ป.อ.ประยุตฺโต)ใน  การทำหน้าที่ของกัลยาณมิตร หน้า733(ตามโปรแกรมอ่าน)หรือ642(ในหน้าหนังสือ)และหลักศรัทธาโดยสรุป หน้า739(647)และพุทธพจน์แสดงหลักศรัทธาหน้า742(650)ในนั้นมีการกล่าว
ถึงข้อความในพระสูตรต่างๆดังท่านได้อ้างอิงไว้ซึ่งถ้าสรุปตามประสาอาตมาจะมีความหมายประมาณว่า''การที่คนเราขณะรับประทานอาหารนั้นทำไมจะต้องไปถามคนอื่นด้วยว่าสิ่งที่เรากินน่ะเราอร่อยไหม และเมื่อรับประทานจนพอแล้วยังต้องไปถามคนอื่นเพื่อให้เขามารับรองยืนยันว่าเราอิ่มหรือไม่อิ่ม? สิ่งนี้มันรู้ได้เฉพาะตนมิใช่หรือ?''
                    และที่อาตมาไม่ยกข้อธรรมหรือกล่าวถึงครูบาอาจารย์นั้นก็เพื่อหลีกเลี่ยงการถกเถียงจนลามไปเป็นกรณีย์พิพาทจนมีการตั้งอธิกรณ์ขึ้นมาตามที่เป็นข่าวนั่นแหละ อีกอย่างธรรมะครูบาอาจารย์แต่ละองค์นั้นย่อมทรงคุณค่าตามคุณแห่งสาวกของพระศาสดาเหนือเศียรเกล้าทั้งสิ้นหากเรานำมาเป็นข้อตัดสินในมุมมองของแต่ละคนซึ่งเห็นไม่ตรงกันข้อเสียย่อมตกที่เราเป็นแน่แท้และในความเห็นของอาตมานักมวยในค่ายๆหนึ่งเรียนมาเหมือนกันหมดทุกกระบวนท่าและเคล็ดวิชาแต่พอขึ้นชกบนเวทีไม่มีรายไหนได้รับบาดแผลตรงกันสักรายเดียวบ้างคิ้วแตก,บ้างปากเจ่อ,บ้างหัวปูด,บ้างดั้งหัก มีแต่ผลเท่านั้นที่ตรงกันคือชนะก็ได้รางวัลไปใครแพ้ก็ไปฝึกมาใหม่

ท่านรู้โดยอาศัยเจโตฯ หรือท่าน “ทักจิต”

                หากมีใครถามอาตมาว่า"ทักจิตหรือ"ถ้าเป็นการพูดคุยต่อหน้าอาตมาจะตอบว่าทักจิตทักเจิตบ้าบอคอแตกอะไร เราไม่ได้เรียนมาทางนี้ และที่เรียนมามันก็ไม่มีของแถมเป็นสิ่งนี้
แต่นี่เป็นภาษาเขียนจึงต้องให้เหมาะสมกับความเป็นสาธารณะหน่อย คำตอบจึงได้ดังนี้ "อาตมามิได้ทักจิตดอกเพียงแต่อาศัยการคำนวณแบบบ้านๆทั่วไปแหละ ในจากน้ำเสียง และท่วงทำนองที่คุณใช้ถาม และเมื่อผิดก็ขออภัยด้วย"
                ส่วนคำถามที่ถามถึงความรู้สึกของคุณเมื่อคุณตอบว่ารู้สึกเฉยๆนั่นก็ดีแล้วและคำถามมันก็หมดความหมายในตัวอยู่แล้วด้วย
                สุดท้ายอาตมาขอขอบคุณมากที่ให้เกียรติวิจารย์นะ,รู้สึกยินดีที่ได้คุยกับคุณ.
                คุยกันได้เรื่อยๆนะ จะเล่าเรื่องการภาวนาของคุณมาเป็นวิทยาทานบ้างก็ได้

                      เจริญธรรม.


IP : บันทึกการเข้า
narutokung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36


« ตอบ #23 เมื่อ: วันที่ 12 พฤษภาคม 2012, 10:59:07 »

อ้างอิง :
   
     
Re: ถึงโลกถึงธรรม
« ตอบ #22 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:16:21 »    ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
เจริญธรรม คุณนารุ

             
1.   การที่ท่านจะไม่แจงถึงการ “หยิบยืมภาษาพูด” จากแหล่งใดก็แล้วแต่ และจะโดยวิธีการใดก็แล้วแต่  ไม่ใช่สาระอีกต่อไป  เนื่องเพราะถ้าอ่านและพิจารณาคำตอบที่ผมสงสัย ก็จะรู้ชัดได้เองว่าข้อสงสัยนั้น สงสัยตรงไหน และคำตอบนั้นตรงประเด็นหรือไม่
2.   สมมุติสัจจะ เป็นของที่มีอยู่ในโลกจริง มีบัญญัติไว้ให้สื่อสารรู้ความกันได้จริง แม้ไม่ตรงเผ็งเสียทีเดียวแต่ก็ไม่ได้พลาดเป้าถ้าไม่เบี่ยงเบนและหลงประเด็น  ชี้สีขาว แล้วเรียกสีขาว คนก็เข้าใจ แต่ชี้สีดำแล้วเรียกสีขาว แล้วจะมาบอกว่า “ผมเรียกอย่างนี้” ก็จนใจที่จะสื่อสารกันได้ครับ ในข้อสงสัยและคำตอบมีหลากกรรมหลายวาระที่พบว่าสมมุติสัจจะของเราทั้งคู่ไม่ตรงกัน

                ถูกของคุณ.

เนื่องเพราะเหตุที่เราสองต่างก็มีความเห็นสอดคล้องตรงกัน 2 ประเด็นดังที่ผมหยิบยกมากล่าวอ้างนี้ เรื่องอื่น ในหัวข้ออื่นลำดับถัดไป ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน เนื่องเพราะ "จนใจที่จะสื่อสารกันได้" นะครับ ดังนั้นผมจึงขออนุญาตหยุดการวิพากษ์ใด ๆ ที่เนื่องมาจากสิ่งที่ท่านแสดง และขอบพระคุณท่านเช่นกันที่เปิดโอกาสรับฟัง (เรื่องไร้) สาระอันออกมาจากใจที่คงความเลวอย่างเต็มพิกัดเช่นผม   สวัสดีครับ
IP : บันทึกการเข้า
james_cr2001
midafXD
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 275


« ตอบ #24 เมื่อ: วันที่ 07 มิถุนายน 2012, 12:43:50 »

กราบมนัสการพระคุณเจ้าครับ ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเืพื่อเป็นไปในทางที่ไม่ถกเีถียงว่าอะไรถูกหรืออะไรผิด ผมขอกราบขอบพระคุณพระคุณเจ้า ที่พยายามจะย่อยธรรมะเพื่อให้บุคคลที่อ่านให้เข้าใจ ซึ่งจริต หรือความเข้าใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ตลอดจนพื้นฐาน หรือความเชื่อ และความศรัทธา ก็ยิ่งจะไม่เหมือนกัน แต่หนทางนั้นย่อมไปในทิศทางเดียวกัน ก็คือ พ้นทุกข์ ผมไม่กล้าที่จะใช้คำว่า พ้นทุกข์ เพราะเหตุผลว่า มันไกลเอามาก ๆ ฟังดูเหมือน อะไรที่มันอยู่ไกล ๆ ทำยังไงก็ไม่รู้ และอะไรที่มันพ้นทุกข์ เราเหรอที่จะพ้นทุกข์ ซึ่งตัวผมเองก็หาคำตอบอยู่นานมาก ๆ ถึงวิธีการต่างๆ ลองผิดลองถูก สมถะกรรมฐานคืออะไร วิปัสนาคืออะไร ศาสนาพุทธ สอนถึงเรื่องอะไร อะไรที่ศาสนาพุทธกล่าวถึง แก่นจริง ๆ คืออะไร อะไรคือเปลือก เป็นคำถามที่ไม่เฉพาะตัวผมเอง คนอื่น ๆ ก็มีคำถามเช่นนี้เหมือนกัน และตำหรับ ตำรา หนังสือธรรมมะก็มีหลากหลาย และสำนักต่าง ๆ ก็มีหลากหลาย จนสับสนไปหมด ทำให้บางคนเอือมระอา เมื่อพูดถึงธรรมะ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของตัวผมเองและจากการที่ได้เห็นได้ยิน ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งคือ  คนที่สนใจในเรื่องของธรรมะ ต้องมี ความเชื่อก่อนเป็นสิ่งแรก พอมีความเชื่อแล้ว จะต้องมีศรัทธา ครับ เมื่อมีสองสิ่งนี้แล้ว จิตใจมันถึงจะอ่อนลงและเริ่มจะยอมรับฟังธรรมะและคำสอนต่าง ๆ ในศาสนาพุทธ ได้ครับ ถ้าไม่มีความเชื่อ และศรัทธา ต่อศาสนาพุทธแล้ว พูดหรือฟังไป ก็ไม่สนใจหรอกครับ เผลอๆ จะต่อต้านด้วยซ้ำไป ธรรมะหรือการปฏิบัติ เป็นเรื่องเฉพาะคนจริง ๆ ครับ ซึ่งความรู้ความเข้าใจในธรรมะ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน และกระบวนการของมัน ซึ่งมันมีเหตุและผลรองรับทั้งหมดครับ แต่ละสิ่งไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างลอย ๆ แบบไม่มีเหตุไม่มีผล เฉกเช่นเดียวกับ กระบวนการเกิดขึ้นของอริยมรรค ที่เป็นปลายทางสุดท้ายในศาสนาพุทธ ก็มีกระบวนการและเหตุผลรองรับครับ การที่บุคคลทั่วๆ ไปจะข้ามไปสู่อริยบุคคลได้ ก็ต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรอง
จนจิตใจมันแห้งผาก และยอมรับโดยตัวของมันเอง ที่จิตมันยอมรับได้ก็เพราะมันมีปัญญา มันฉลาด มันเห็นทุกข์ เห็นโทษโดยตัวของมันเอง ไม่ได้มานั่งคิดเอาๆ คิดก็คือความคิดครับ เป็นความปรุงแต่งตามธรรมชาติของจิต จิตมีหน้าที่รับรู้อารมย์ และนำมาปรุงแต่ง และให้ค่าเป็นสุขหรือทุกข์ ชอบหรือเกลียดตามกระบวนการธรรมชาติของจิต ที่มีหน้าที่ นึก คิด ปรุงแต่ง แต่ถึงยังไงก็ต้องอาศัยความคิดนี่แหละครับในการขึ้นสู่การภาวนา

ครูบาอาจารย์ที่ท่านสั่งสอนเรา ท่านเคยเดินหรือปฏิบัติมาแบบใดท่านก็จะสอนเราในแบบที่
ท่านปฏิบัติมา แต่ถ้าเราเป็นลูกศิษย์ท่านและจริตนิสัยไม่ตรงกับที่ท่านปฏิบัติมา มันก็จะเนิ่นช้า
การหาครูบาอาจารย์สำคัญครับ เพราะเส้นทางนี้เราไม่สามารถเดินเองหรือคิดนึกวาดภาพการปฏิบัติภาวนาเองได้ครับ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านกระบวนการเกิดของอริยมรรณมาแล้วมาสัี่งสอนเรา มันจะทำให้เราเข้ารกเข้าพง เนิ่นช้าออกไปอีกครับ

ผิดถูกอย่างไรต้องกราบขออภัยพระคุณเจ้าและท่านผู้อ่านข้อความนี้ทุกท่านด้วยครับ
ขอให้เจริญในธรรมครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 มิถุนายน 2012, 16:50:44 โดย james_cr2001 » IP : บันทึกการเข้า

หน้า: 1 [2] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!